*** พื้นที่ส่วนตัวของ พันตำรวจเอก ดร. ศิริพล กุศลศิลป์วุฒิ รองผู้บังคับการกองคดีอาญา สำนักงานกฎหมายและคดี นี้ จัดทำขึ้นเพื่อยืนหยัดในหลักการที่ว่า คนเรานั้นจะมีความเป็นมนุษย์โดยสมบูรณ์ได้ ก็ต่อเมื่อมีเสรีภาพในการแสดงความคิดโดยบริบูรณ์ และความเชื่อที่ว่าคนเราเกิดมาเสมอภาคและเท่าเทียมกัน ไม่มีอำนาจใดจะพรากความเป็นมนุษย์ไปจากเราได้ ไม่ว่่าด้วยวิธีการใด ๆ และอำนาจผู้ใด ***
*** We hold these truths to be self-evident, that all men are created equal, that they are endowed by their Creator with certain unalienable rights, that among these are life, liberty and the pursuit of happiness. That to secure these rights, governments are instituted among men, deriving their just powers from the consent of the governed. That whenever any form of government becomes destructive to these ends, it is the right of the people to alter or to abolish it, and to institute new government, laying its foundation on such principles and organizing its powers in such form, as to them shall seem most likely to effect their safety and happiness. [Adopted in Congress 4 July 1776] ***
Group Blog
 
All Blogs
 
แนวโน้มสันติภาพที่จะเกิดขึ้นในเมืองไทย กับ กม.การชุมนุมสาธารณะ !

สำหรับ Blog ในกลุ่มนี้ ผมได้เสนอแนวทางสันติวิธีในการแก้ไขปัญหา โดยเฉพาะเกี่ยวกับปัญหาทางการเมือง ที่จะต้องมีการนำแนวคิดเรื่อง Collaborative Governance ที่เป็นการดึงเอาทุกภาคส่วนที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับความขัดแย้ง รวมถึงกลุ่มที่อาจจะได้รับผลกระทบมาคิด ตัดสินใจร่วมกันในการกำหนดนโยบายของรัฐบาล พูดง่าย ๆ คือ รัฐไม่ได้ทำงานโดยลำพัง แต่เกิดจากการตัดสินใจร่วมกัน ซึ่งถ้าตัดสินใจร่วมกันแล้ว ก็จะมีความขัดแย้งที่ไม่รุนแรง หรือ สามารถเปลี่ยนแปลงความขัดแย้ง (Conflict Transformation) นั้นได้โดยไม่ยากนัก

ทั้งนี้ การทำงานของรัฐบาลของประเทศที่ปกครองในระบอบประชาธิปไตย ไม่ใช่เรื่องที่ที่ผู้ชุมนุมทางการเมือง จะต้องรอ "ความเมตตา" จากรัฐบาล แต่เป็นเรื่อง "สิทธิ" และ "ความเท่าเทียม หรือ ความเป็นธรรม" ของสังคม ที่รัฐ และ ประชาชน หรือ ผู้ชุมนุม จะต้อง "ปรึกษาหารือ" และ "ตัดสินใจร่วมกัน" ไม่ใช่ว่า ถ้ารัฐบาลเสนอแล้ว ผู้ชุมนุมไม่รับ แสดงว่า "ไม่ต้องใช้สันติวิธี" ในการเจรจากัน .. เพราะถ้ารัฐบาลบอกจะทำแบบนี้ แต่ผู้ชุมนุมเสนอแนวทางมา นั่นก็คือ กระบวนการเจรจา หรือ การปรองดอง นั่นแหละ ที่สำคัญคือ อย่างไรก็ต้อง "เจรจา" โดยมีคนกลางเข้ามาพูดคุยกันให้จนได้ สันติวิธี ไม่มีคำว่า "สาย" หรือ "ช้าเกินไป" เพราะ ชีวิตของคน มีค่าอย่างประมาณไม่ได้ และมีค่ามากกว่า "ความเจริญทางเศรษฐกิจ" อย่างไม่อาจจะเทียบเปรียบกันได้เลย






นอกจากนี้ เมื่อมีความขัดแย้งเกิดขึ้นจะต้องใช้แนวทางสันติวิธี ซึ่งได้นำเสนอทฤษฎีวิเคราะห์ความขัดแย้ง ตามแบบฉบับ สามเหลี่ยม A, B, C ซึ่งจะมี D อยู่ตรงกลางของสามเหลี่ยม ซึ่งจะหมายถึง

A - Actors ที่ขัดแย้งกันกับ Attitude ของแต่ละ Actors ซึ่งจะต้องมีการศึกษาถึง Historical Backgroud ของความขัดแย้งนั้นด้วย

B - Behaviors หรือ พฤติกรรมของความขัดแย้งของ Actors แต่ละกลุ่ม ตั้งแต่อดีต หรือ แนวโน้มของปัญหา ที่อาจจะเกิดขึ้น หากไม่มีการแก้ไขปัญหา

C - Common Ground หรือ ผลประโยชน์ร่วม หรือ ตัวเชื่อมโยงของแต่ละกลุ่มที่เกี่ยวข้องกับความขัดแย้ง อันอาจจะนำไปสู่การตกลงแก้ไขปัญหาร่วมกันได้ รวมถึง Contradiction หรือ ปัจจัยที่อาจจะทำให้ความรุนแรงเกิดขึ้นต่อไป หรือ ยากที่จะนำมาสู่ความขัดแย้ง

D - Do หรือ สิ่งที่จะต้องทำเพื่อแก้ไขปัญหาความขัดแย้งที่เกิดขึ้น




กล่าวโดยสรุป การแก้ไขความขัดแย้ง ตามตัวแบบสามเหลี่ยม A B C โดยมี D อยู่ตรงกลาง จะประกอบด้วย A หมายถึง Actors & Attitude ก็คือ คนที่เกี่ยวข้องในความขัดแย้ง และ ทัศนคติของคนมีความขัดแย้งในขณะนั้น B คือ Behavior & Dynamics หรือ พฤติกรรมต่าง ๆ ของคนที่เกี่ยวข้องกับความขัดแย้ง และความเปลี่ยนแปลงที่อาจจะเกิดขึ้นในสภาวะการณ์ต่าง ๆ และ C คือ Connector & Compatability -- Contradiction & Common Ground และ D คือ มาตรการต่าง ๆ ที่จะลงมือทำ เพื่อบรรเทาเบาบางปัญหานั้น โดยปกติ การกระทำการศึกษาในขั้นต้น ก็คือ การค้นหาว่ารากของปัญหา หรือ Root of Conflicts มันอยู่ตรงไหนบ้าง




หลังจากนั้น จะมีการวิเคราะห์แนวโน้มของปัญหา เป็น ๓ แนวทาง ได้แก่

๑) กรณีที่อาจจะเกิดขึ้นในทางที่ดีที่สุด หรือ Best Scenario หากมีการดำเนินการแก้ไขปัญหาความขัดแย้งโดยสันติวิธี เช่น การใช้วิธีการเจราที่เน้นการหาผลประโยชน์ร่วมกัน ตามแนวทาง Interest-Based Negotiation ที่เน้นการแสวงหา Win-Win solution ซึ่งจะแตกต่างจากการเจรจาต่อรองในรูปแบบดั้งเดิม (Traditional negotiation) อันแตกต่างจากการเจรจาซื้อขายสินค้า ที่ฝ่ายหนึ่งเสนอราคาต่ำสุด ฝ่ายหนึ่งเสนอขายแพงสุด แต่ Interest-Based Negotiation จะมีกระบวนการเจรจาทั้งลับ ทั้งเปิดเผย โดยมีการกำหนดกฎเกณฑ์ล่วงหน้า เช่น ต้องให้โอกาสทุกฝ่ายพูดสิ่งที่ตนต้องการจนหมดสิ้น จากนั้นก็หา สิ่งที่เป็นผลประโยชน์ร่วมของทั้งสองฝ่าย หรือ อีกฝ่ายหนึ่งเสนอแบบนี้ อีกฝ่ายหนึ่งไม่เอา จะต้องบอกเหตุผลว่า ทำไม ไม่เอา ... ไม่ใช่ ไม่เอา ก็ปิดฉากการเจรจา แต่ต้องเป็นการแสวงหาจุดร่วมนำไปสู่ผลแห่งชัยชนะทุกฝ่าย ต่างจาก Traditional negotiation ที่จะเป็น win-lose เท่านั้น

๒) กรณีที่อาจจะเลวร้ายที่สุด หรือ Worst Scenario หากปล่อยให้มีการขัดแย้งต่อไป หรือ การใช้วิธีการรุนแรงแบบใดแบบหนึ่งในการแก้ไขปัญหาความขัดแย้ง อะไรจะเกิดขึ้นบ้าง มีปัจจัยอะไรเป็นตัวเร่ง ปัจจัยอะไรเป็นตัวเสริม แล้ว เราจะหาปัจจัยที่ไปยับยั้งมิให้เกิดสภาวะที่เลวร้ายนั้นได้ด้วยวิธีการใดบ้าง

๓) สถานการณ์ที่อยู่ระหว่าง ไม่ดี ไม่เลว หรือ In Between Scenario มีอะไรเป็นปัจจัยในการเสริม มีจุดร่วมอะไรบ้าง หากจะทำให้เป็น Best Scenario จะต้องดำเนินการอย่างไรบ้าง เป็นต้น




ตัวอย่างจากปัญหาความขัดแย้งทางการเมืองในเมือง จะเห็นว่า มี Actors ที่เกี่ยวข้องหลายส่วน เช่น เสื้อแดง เสื้อเหลือง เสื้อหลากสี ทหาร รัฐบาล และ อาจจะมีบุคคลที่อยู่เบื้องหลังความขัดแย้งอีกหลายคน ที่ไม่ได้เผยตัวออกมาอย่างชัดเจน

แต่ละ Actors มองปัญหาอย่างไร เช่น เสื้อแดง มีทัศนะคติต่อรัฐบาลในเรื่องที่มาที่ไม่ชอบธรรม การดำเนินการสองมาตรฐานในการบังคับใช้กฎหมาย การได้รับการสนับสนุนจากบุคคลที่อยู่เบื้องหลัง เช่น คณะรัฐประหาร ฯลฯ

เสื้อเหลือง & รัฐบาล มองปัญหาการชุมนุมว่า เป็นการสนับสนุนให้ทักษิณ กลับมามีอำนาจ ควรจะใช้อำนาจทางการทหารปราบปรามอย่างเด็ดขาด โดยรัฐบาล และ เสื้อเหลืองเอง มองการชุมนุมของคนเสื้อแดงว่า ขาดความชอบธรรม แตกต่างจาก การชุมนุมของตนเอง แม้จะมีการยึดสนามบินและทำเนียบรัฐบาล แต่ก็กระทำเพื่อกำจัดคนชั่ว จะใช้วิธีการที่ขัดหรือแย้งต่อกฎหมาย หรือ ระบอบประชาธิปไตยอย่างไร ก็ได้ ดังนั้น การกระทำของเสื้อเหลือง จึงแตกต่างจากเสื้อแดงที่กระทำเพื่อช่วยเหลือคนผิด คนทุจริต คนชั่ว ฯลฯ

รัฐบาล มองตัวตนเองอยู่ในฐานะที่ชอบธรรม อธิบายต่อสาธารณะว่าตนเองได้รับการสนับสนุนจากการการคัดเลือกของ สส. ได้รับการเลือกตั้งเหมือนกัน และมีความชอบธรรมในการดำรงตำแหน่ง แต่รัฐบาล ก็ไม่สามารถอธิบายได้ถึงเหตุผลในการไม่บังคับใช้กฎหมายกับคนกลุ่มเสื้อเหลืองที่กระทำผิดกฎหมายในอดีต ตั้งแต่การยึดสนามบิน หรือ ยึดทำเนียบรัฐบาล แต่รัฐบาล ได้กระทำการบังคับใช้กฎหมาย และป้องกันการชุมนุมของคนเสื้อแดงมาโดยใช้กฎหมายอย่างเฉียบขาดมาโดยตลอด ซึ่งอธิบายไม่ได้ ว่า เพราะอะไร จึงเลือกปฏิบัติเช่นนั้น นอกจากนี้ยังมีปัญหาการเลือกปฏิบัติต่อกลุ่มคนหลากสี ที่กระทำผิดกฎหมาย ตามประกาศสถานการณ์ฉุกเฉิน ที่ห้ามมิให้มีการชุมนุมเกิน ๕ คน ทุกรูปแบบ ไม่ว่าจะสงบหรือไม่ แต่รัฐบาลกลับมีท่าทีส่งเสริมกลุ่มคนเสื้อหลากสี ให้ชุมนุมได้อย่างเปิดเผย แต่ห้ามกลุ่มคนเสื้อแดงชุมนุม พร้อมใช้กำลังทหารปราบปรามอย่างเต็มที่

นอกจากนี้ รัฐบาล ยังมองการแก้ไขปัญหาแบบเดิม คือ ใช้ทหาร ใช้อำนาจแห่งกฎหมาย ใช้ความรุนแรงในการแก้ไขปัญหา โดยไม่ได้ดำเนินการพิจารณาถึงข้อเรียกร้อง ในเรื่องความไม่เสมอภาค ความไม่ยุติธรรม แต่มองเพียงด้านเดียว คือ ผู้ชุมนุมได้กระทำเพื่อทักษิณฯ เพียงคนเดียว หรือ มีเจตนาร้ายที่จะล้มสถาบัน พร้อมยังได้ใช้ข้อหารุนแรง เช่น ข้อหาก่อการร้าย การล้มล้างสถาบัน ฯลฯ ดำเนินคดีกับผู้ชุมนุม ซึ่งเป็นการหักดิบกฎหมาย อันนำไปสู่ความชอบธรรมในการใช้กฎหมาย ทำให้กฎหมายยิ่งถูกใช้เป็นเครื่องมือในทางที่ไม่ชอบธรรม กฎหมายยิ่งไม่ศักดิ์สิทธิ์ สุ่มเสี่ยงต่การเป็นรัฐที่ล้มเหลว หากรัฐบาลมองปัญหาในมิติเพียงด้านเพียง ก็ยิ่งจะทำให้หนทางในการแก้ไขปัญหาทางการเมืองมืดมนลงไป แต่ถ้ามีการมองให้รอบด้าน มองให้ทะลุ อาจจะมองเห็นว่า แท้จริงอาจจะเป็นเรื่อง ก้าวพ้นทักษิณฯ และ เป็นเรื่องปัญหาทางการเมือง ไม่ใช่ปัญหาการบังคับใช้กฎหมาย หรือ ปัญหาด้านความมั่นคง ... การมองปัญหาในมิติที่แตกต่าง จะทำให้การแก้ไขปัญหาแตกต่างกันไปด้วย


กองทัพ
กลับกลายเป็นปัจจัยหลักในการสนับสนุนให้รัฐบาลกระทำการที่อธิบายต่อสังคมโดยส่วนรวมไม่ได้ เช่น การที่ทหาร ไม่ยอมดำเนินการยุติการชุมนุมของคนเสื้อเหลืองในขณะยึดสนามบิน แต่ยินยอมพร้อมใจที่จะดำเนินการกับคนเสื้อแดงอย่างจริงจัง ใช้อำนาจแห่งกองทัพที่มีอาวุธหลายประเภท รวมถึงอาวุธสงคราม ในการปราบปรามคนเสื้อแดง ตั้งแต่ เม.ย.๕๒ และ ๑๐ เม.ย.๕๓ (สี่แยกคอวัว) , ๒๖ เม.ย.๕๓ (ตลาดไท) และเหตุการณ์ ๒๘ เม.ย.๕๓ (อนุสรณ์สถาน) ซึ่งมีผลเป็นความเสียหายอย่างร้ายแรงต่อสังคมและความรู้สึกของคนเพราะมีผู้เสียชีวิตรวมแล้ว ๒๗ คน บาดเจ็บอีก ๙๐๐ กว่าคน ในขณะเดียวกัน กองทัพ กลับละเลยไม่ดำเนินการใด ๆ ไม่ห้ามปราบกลุ่มคนเสื้อหลากสี ฯลฯ

สื่อมวลชน ซึ่งไม่ได้ทำเป็น Peace Media แต่กลับกลายเป็นคนสร้างปัญหาจากการมี Propaganda ในการสร้างความขัดแย้ง เกลียดชัง และเร่งเร้าให้สังคมคล้อยตามในสิ่งที่สื่อต้องการ โดยไม่คำนึงผลร้ายที่จะเกิดขึ้นในระยะยาว เช่น การที่ช่อง ๑๑ หรือ NBT นำเสนอข่าวด้านเดียว ถึงความรุนแรงที่เกิดขึ้นจากฝ่ายผู้ชุมนุม ความเสียหายทางเศรษฐกิจที่เกิดจากฝ่ายชุมนุม ผลกระทบของอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว โดยละเลยไม่เสนอความเห็นของฝ่ายผู้ชุมนุม ไม่สอบถามความเห็นนักวิชาการที่เห็นต่างจากรัฐบาล ไม่เปิดโอกาสให้ฝ่ายผู้ชุมนุมได้เสนอความเห็นของกลุ่ม หรือไม่เสนอสิ่งที่รัฐบาลกระทำผิดพลาด เช่น การละเลยไม่ดำเนินคดีกับกลุ่มเสื้อเหลือง การดำเนินการสองมาตรฐาน หรือ การกระทำผิดด้านอื่น ๆ เช่น การใช้ความรุนแรงในการแก้ไขปัญหาทำให้เกิดผลเสียหายต่อชีวิต ร่างกาย และทรัพย์สินอย่างรุนแรง โดยเฉพาะความรู้สึกเกลียดชังที่ยิ่งจะรุนแรงและร้าวฉานยิ่งขึ้น

หากสื่อเป็น Peace Media แล้วจะต้องมีการเปิดช่องทางแห่งความคิดที่แตกต่าง แสวงหา Roots of Conflicts พร้อมเสนอแนวทางแก้ไขปัญหาที่สร้างสรรค์ ไม่ใช่เสนอข่าวฝ่ายเดียวและสร้างความเกลียดชังอย่างรุนแรงยิ่งขึ้น และที่สำคัญ การใช้ถ้อยคำของสื่อ ยิ่งจะต้องระมัดระวัง เช่น การเสนอข่าวว่า การชุมนุมของเสื้อแดงผิดกฎหมาย แต่หลากสี ไม่ผิดกฎหมาย การชุมนุมของคนเสื้อแดง เป็นการกระทำที่เข้าลักษณะเป็นศัตรูของแผ่นดิน พร้อมกับการเสนอข่าวที่เป็นการใส่ร้ายกลุ่มผู้ชุมนุมเพียงด้านเดียว โดยไม่เสนอข่าวอีกด้านที่ไม่เห็นด้วยกับข้อหาดังกล่าว ฯลฯ สิ่งเหล่านี้ ล้วนแต่เป็นการกระทำที่ทำให้สันติภาพห่างไกลออกไปทุกที




สำหรับแนวทางแก้ไขปัญหานั้น หากวิเคราะห์ จุดยืนของ Actors แต่ละฝ่ายแล้วจะนำไปสู่ Connectors & Contradiction ของแต่ละส่วน อันนำไปสู่ Common Interest ร่วมกัน ตัวอย่างเช่น ทุกคนอยากเห็นระบบการเมือง มีความโปร่งใส่ มีการเลือกตั้งที่สุจริตเที่ยงธรรม ไม่ซื้อขายเสียง มีระบบกฎหมายที่มีประสิทธิภาพ และ ดำรงความเป็น "นิติรัฐ" ( ซึ่งยังมีความเข้าใจผิดกันอยู่มาก เพราะหลักนิติรัฐ คือ การมีองค์กรที่เหมาะสมในการบัญญัติกฎหมาย การบังคับใช้กฎหมายที่เป็นธรรม เสมอภาค และ เที่ยงธรรม ไม่ถูกใช้เป็นเครื่องมือในการทำลายกันโดยไม่เป็นธรรม และ การห้ามใช้กฎหมายย้อนหลัง ฯลฯ ดังนั้น นิติรัฐ จึงไม่ใช่ มีกฎหมายแล้วบังคับใช้กฎหมายให้ได้ แต่ หลักนิติรัฐ ควบคู่กับ หลักประชาธิปไตย หลักความเป็นธรรม และ หลักการแบ่งแยกอำนาจด้วย) การสะสางปัญหาการทุจริตในบ้านเมือง ซึ่งอาจจะรวมถึง การไม่ยอมรับวิธีการที่ไม่เป็นประชาธิปไตย ฯลฯ เหล่านี้ จะนำไปสู่การกำหนดกรอบกติการ่วมกัน ที่ทุก Actors รู้ว่า ยอมรับได้ ฯลฯ เป็นต้น

หากรัฐบาลมองปัญหาในมิติอื่น เช่น มองว่าเป็นปัญหาทางการเมือง ไม่ใช่ปัญหาทางการทหารและความมั่นคงแล้ว ก็จะมีหนทางเปิดขึ้นอย่างมหาศาล อาจจะมีการเสนอแนะการเจรจาอย่างสร้างสรรค์ เกี่ยวกับประเด็นที่เป็น Connectors และ กำจัด Contradiction ข้างต้น ดังเช่น จะเห็นได้จาก เมื่อนายอภิสิทธิ์ เสนอแผนปรองดองแห่งชาติ ก็ได้รับการขานรับทันที ส่วนคดีอาญา ฯลฯ ที่กล่าวหากันไป ก็ต่อสู้กันไป พร้อมกันนี้ รัฐบาลจะต้องดำเนินการให้การบังคับใช้กฎหมายอย่างเสมอภาค โดยจะต้องเร่งรัดดำเนินคดีกับ กลุ่มพันธมิตร และ ผู้เกี่ยวข้องกับเหตุการณ์ต่าง ๆ ที่ผ่านมา อย่างจริงจัง ให้เห็นผลอย่างเป็นรูปธรรมด้วย เช่น หากรัฐบาลให้กรมสอบสวนคดีพิเศษ ดำเนินคดีกับการชุมนุมกลุ่มเสื้อแดง ก็ควรจะดำเนินคดีกับกลุ่มเสื้อเหลือง ที่ยังไม่ได้ดำเนินการอะไรเลย รวมถึง กลุ่มเสื้อหลากสี ที่ออกมาชุมนุมในช่วงเวลาที่มีการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉิน อย่่างจริงจังด้วย

หากจะมีการปรองดองอย่างจริงใจจริงจังแล้ว รัฐบาลจะต้องแสดงความจริงใจก่อน โดยควรจะยกเลิกประกาศสถานการณ์ฉุกเฉิน ยกเลิกการแทรกแซงสื่อ การปิดเวปไซต์ การปิดสื่อ ฯลฯ พร้อมกับห้ามสื่อของรัฐ ในการใช้ถ้อยคำรุนแรง หรือ สร้างความเกลียดชัง เป็น Propaganda ในการให้ร้ายผู้ชุมนุมฝ่ายเดียว ดังเช่นที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน หากรัฐบาลแสดงความจริงใจเช่นนี้ ย่อมเป็นการดำเนินการทางการเมืองเชิงรุก ที่ฝ่าย นปช. หรือ ผู้ชุมนุม ไม่อาจจะปฏิเสธได้ จะต้องหาทางในการแสดงถึงการแสวงหา สันติภาพ ด้วยเช่นกัน





สุดท้าย ประเด็นที่ผมจะพูด คือ เรื่อง การชุมนุมของ นปช. ว่าสร้างความเดือดร้อนหรือไม่ แน่นอนที่สุด การชุมนุมของ นปช. ชัดเจนว่า สร้างความเดือดร้อนเสียหาย ที่ค่อนข้างรุนแรง แต่หากผมเป็นรัฐบาล ผมจะจัดการปัญหาเหล่านี้อย่างไร

๑) รัฐบาลจะเชิญผู้เกี่ยวข้องมาคุยกันตั้งแต่ ก่อนที่พวกเขา จะระดมพล เข้ามากรุงเทพ ตั้งแต่ ก่อน มีนาคม ๒๕๕๓ เพื่อหาข้อยุติให้ได้ โดยไม่ต้องมาชุมนุมให้เดือดร้อนใคร หากเป็นปัญหาทางการเมือง ความไม่เสมอภาคในการบังคับใช้กฎหมายแล้ว เช่น ทำไม รัฐบาลไม่ดำเนินคดีกับพันธมิตร ก็ต้องแก้ไขปัญหาให้จริงจัง จริงใจ เสมอภาค เพื่อแสดงให้เห็นว่า รัฐบาล ให้ความสนใจต่อข้อเรียกร้องดังกล่าวเสมอ และ จะต้องระลึกเสมอว่า "แนวทางการใช้กำลังทหาร และความรุนแรง" นั้น ไม่ได้สร้างสันติภาพอย่างแท้จริง "สันติวิธี" เท่านั้น ที่จะสร้างความสุขและมั่นคงอย่างถาวรของชาติอย่างแท้จริง

๒) รัฐบาล ควรจะได้ประชุม เพื่อหารือเกี่ยวกับ ร่างกฎหมายเกี่ยวกับการชุมนุมสาธารณะ เพื่อกำหนดแนวทางในการแก้ไขปัญหาการชุมนุมที่จะสร้างความเดือดร้อน ซึ่งสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ได้พยายามเสนอมาตั้งแต่ ปี พ.ศ.๒๕๔๓ เป็นต้นมาแล้ว และในปี ๒๕๕๑ ผมก็เป็นส่วนหนึ่งในคณะทำงานร่างกฎหมายของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ในการเสนอกฎหมายนี้ โดยยึดหลักกฎหมายของ อังกฤษ สหรัฐอเมริกา เยอรมัน เกาหลี มาเป็นตัวแบบ แต่ปรากฎว่า รัฐบาลนี้ ได้ละเลย ไม่นำเข้าพิจารณาของ ครม. จนไม่อาจจะใช้กฎหมายในการจัดการกับการชุมนุมที่สร้างความเดือดร้อนแก่ประชาชนได้ เพราะยังมีข้อกฎหมายที่เป็นอุปสรรคในการจัดการชุมนุมทางการเมือง

๓) สำหรับปัญหาทางกฎหมายเกี่ยวกับการชุมนุมของกลุ่ม นปช. นั้น แม้จะมีการยึดถนนหนทาง และยึดเส้นทางการจราจร อันเป็นการผิดกฎหมายจราจร การเปิดเครื่องขยายเสียงดังเกินกว่ากฎหมายกำหนด ฯลฯ แต่กรณีนี้ ศาลรัฐธรรมนูญ เคยวินิจฉัยว่า การห้ามชุมนุมบนเส้นทางคมนาคม เป็นกฏหมายที่ขัดต่อรัฐธรรมนูญ มาตรา ๖๓ นั่นก็คือ การชุมนุมบนทาง จะถูกห้ามโดยรัฐไม่ได้

ถามว่า ปัญหาทางกฎหมาย คืออะไร ... จะห้ามชุมนุมไม่ได้ แล้วจัดการอะไรไม่ได้เลยใช่หรือไม่ ก็ต้องตอบ ไม่ใช่ครับ รัฐยังสามารถเข้าจัดการได้ เกี่ยวกับประเด็นต่อไปนี้

๑) Time ในการชุมนุม ว่า จะให้มีการชุมนุมเวลาใดได้บ้าง
๒) Place สถานที่ชุมนุมที่ถูกจำกัดลง
๓) Manner วิธีการชุมนุม

เช่นกรณี ราชประสงค์ รัฐ จะต้องสั่งการให้แก้ไขการชุมนุมสาธารณะ เช่น การเวลาการชุมนุม ในเวลากลางคืนที่อาจจะกระทบต่อคนเจ็บป่วย การลดพื้นที่ ในการชุมนุม มิให้กีดขวางทางเข้าออกสถานที่ราชการ เกินสมควร การลดวิธีการปราศรัย มิให้มีเสียงดังเกินไป แต่รัฐจะใช้วิธีการที่รุนแรง เข้าปราบปรามเด็ดขาดไม่ได้ หากไม่มีเหตุที่จะส่อให้เห็นว่า มีความรุนแรงเกิดขึ้น ซึ่งกรณีนี้ รัฐจะต้องพิสูจน์ว่ามีเหตุรุนแรงขึ้นจริง ๆในสถานที่ชุมนุมนั้น จึงจำเป็นต้อง ใช้หลักการป้องกัน ชีวิตและทรัพย์สินของผู้อื่น ตาม ป.อาญา มาตรา ๖๘ เท่านั้น

กรณีที่ศาลพิพากษาว่า จะต้องใช้หลักสากลนั้น กรณีนี้ เห็นว่า เป็นคำพิพากษาที่ไม่ถูกต้องนัก เพราะว่า ประเทศไทย เป็นประเทศ Civil Law หรือ ระบบประมวลกฎหมาย การจะนำหลักสากล มาใช้โดยตรงในระบบกฎหมายไทย ไม่เป็นที่ยอมรับ จะต้องมีการนำหลักสากล มาบัญญัติเป็นกฎหมายภายในของไทยเสียก่อน ต่างจาก กรณีประเทศ Common Law ที่ถือว่า หลักสนธิสัญญา หรือ หลักสากลอันเป็นที่ยอมรับโดยนานาอารยะประเทศนั้น ถือเป็น Law of the Land เลย จึงนำหลักสากลมาใช้ได้โดยตรง แต่สำหรับของไทยนั้น ศาลจะอ้างเหตุผลดังกล่าวมาใช้ในคำพิพากษาไม่ได้เลย ....




กล่าวโดยสรุป ผมไม่เคยสนับสนุนให้กลุ่มผู้ชุมนุมสร้างความเดือดร้อนให้ใครเลย เพียงแต่ไม่อยากเห็นการแก้ไขปัญหาด้วยวิธีการที่ผิด คือ การใช้ความรุนแรง การใช้กำลังทหาร ตำรวจ ในการปราบปราม เพราะมันจะสร้างปัญหามากขึ้น และ แตกแยกมากขึ้น จนไม่อาจจะอยู่ร่วมกันได้อีกต่อไป เหมือนปัญหาทางภาคใต้ของไทย ก็เกิดจากปัญหานี้ ในอดีตเมื่อหลายร้อยปีที่แล้วมา ... รัฐส่วนกลางใช้กำลังทหารกดขี่ข่มเหงเขา เขาก็ตอบโต้ มาจนถึงยุคปัจจุบัน ท่านผู้อ่าน คงไม่อยากให้สังคมไทย มีปัญหาระเบิด ฯลฯ ความรุนแรงแบบภาคใต้ของเราทั่วประเทศหรอกมั๊ง ...








Create Date : 06 พฤษภาคม 2553
Last Update : 24 พฤษภาคม 2553 14:12:13 น. 3 comments
Counter : 581 Pageviews.

 


โดย: หาแฟนตัวเป็นเกลียว วันที่: 6 พฤษภาคม 2553 เวลา:10:50:56 น.  

 
Thanks for reminding me to write something and I already did.... :)

Maybe a bit spooky and abstract, but it was something.

Take care.


โดย: amatuer translator วันที่: 6 พฤษภาคม 2553 เวลา:11:43:11 น.  

 
ถ้าผมเป็นรัฐบาล มองดูผลลัพธ์ในอนาคต ว่าจะเกิดผลอย่างไร แล้วก็เอาผลลัพธ์นั้นมาทำในปัจจุบัน โดยก้าวข้ามความสูญเสียในปุจจุบันและอนาคตไป


โดย: ดร.สลัม (aesthetic_kan ) วันที่: 10 พฤษภาคม 2553 เวลา:21:33:10 น.  

POL_US
Location :


[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 82 คน [?]




คลิ๊ก เพื่อ Update blog พ.ต.อ.ดร. ศิริพล กุศลศิลป์วุฒิ ได้ที่นี่
https://www.jurisprudence.bloggang.com






รู้จักผู้เขียน : About Me.

"เสรีภาพดุจดังอากาศ แม้มองไม่เห็น แต่ก็ขาดไม่ได้ "










University of Illinois

22 Nobel Prize & 19 Pulitzer Prize & More than 80 National Academy of Sciences (NAS) members







***คำขวัญ : พ่อแม่หวังพึ่งพาเจ้า

ครูเล่าหวังเจ้าสร้างชื่อ

ชาติหวังกำลังฝีมือ

เจ้าคือความหวังทั้งมวล



*** ความสุข จะเป็นจริงได้ เมื่อมีการแบ่งปัน :

Happiness is only real when shared!














ANTI-COUP FOREVER: THE END CANNOT JUSTIFY THE MEANS!






Online Users


Locations of visitors to this page
New Comments
Friends' blogs
[Add POL_US's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.