คนเกิดวันพุธ ความทุกข์โถมทับทวี
Flatland: โลกสองมิติกับชีวิตสารพัดเหลี่ยม




Flatland เป็นนิยายวิทยาศาสตร์รุ่นดึกดำบรรพ์ คือเขียนไว้ตั้งแต่ปี 1884 และตีพิมพ์ครั้งแรกอย่างนิรนาม แต่เนื้อหายังคงความคลาสสิคจนถึงปัจจุบัน นิยายว่าด้วยอาณาจักรแบนที่มีสองมิติคือกว้างและยาว สิ่งมีชีวิตในอาณาจักรนี้จะมีรูปร่างเป็นเหลี่ยมทรงต่างๆ มีพฤติกรรม สติปัญญาและรูปแบบสังคมไม่ต่างอะไรจากสิ่งมีชีวิตในจักรวาลสามมิติอย่างเรา

ผู้เขียนเล่าเรื่องในอาณาจักรแบนด้วยมุมมองของบุคคลที่หนึ่ง-สี่เหลี่ยมแบนๆตนหนึ่ง ซึ่งบรรยายภูมิศาสตร์ สังคมและประวัติศาสตร์ของอาณาจักรอย่างเรียบง่ายแต่น่าสนใจ ทั้งยังคงแทรกประเด็นเสียดสีสังคมในยุควิคโตเรี่ยน (Victorian era) ไว้อย่างแสบสันเกือบทั้งเล่ม สิ่งมีชีวิตในอาณาจักรแบนแบ่งเป็นสองเพศคือหญิงและชาย เพศหญิงมีรูปร่างเป็นเส้นตรงอย่างเดียว ส่วนเพศชายมีรูปร่างหลากเหลี่ยมตั้งแต่สามเหลี่ยมฐานแคบไปจนถึงรูปร่างร้อยเหลี่ยม

สังคมของอาณาจักรแบนแบ่งวรรณะตามจำนวนเหลี่ยม ดังนั้นเพศหญิงจึงมีสถานะทางสังคมต่ำมาก มีหน้าที่แค่เป็นภรรยาและแม่เรือน ทั้งถูกพิจารณาว่าเป็นสิ่งมีชีวิตที่ไร้เหตุผล เต็มไปด้วยอารมณ์ และไม่ควรสนับสนุนให้ได้รับการศึกษา (คุ้นๆไหมครับ) สำหรับเพศชายก็จะแบ่งชนชั้นตามเหลี่ยม สามเหลี่ยมฐานแคบเป็นกรรมกรแรงงาน จัณฑาลชั้นต่ำ สามเหลี่ยมด้านเท่าเป็นพ่อค้า สี่เหลี่ยมจตุรัสเป็นทนาย ห้าเหลี่ยมหกเหลี่ยมขึ้นไปเป็นพวกชนชั้นสูง วงกลมไร้เหลี่ยมเป็นสถานะสูงสุด แต่ในอาณาจักรดังกล่าวไม่มีวงกลมสมบูรณ์แบบ มีแต่รูปร่างหลายร้อยเหลี่ยมซึ่งใกล้เคียงกับวงกลม ถือเป็นชนชั้นปกครอง หรือพระสงฆ์องค์เจ้าไป

ชีวิตสังคมของประชากรอาณาจักรแบนล้วนหมกหมุ่นอยู่กับการแบ่งวรรณะ (คุ้นๆอีกเช่นกันครับ) การแยกวิถีชีวิตของแต่ละชนชั้นให้ห่างออกจากกันให้มากที่สุด และการพยายามเพิ่มสถานะสังคมภายในตระกูล (สิ่งมีชีวิตจะเพิ่มจำนวนเหลี่ยมรุ่นต่อรุ่น) คำถามคือประชากรในอาณาจักรแยกแยะกันและกันได้อย่างไร ประเด็นนี้คือส่วนที่น่าสนใจมากในนิยาย เนื่องจากสิ่งมีชีวิตในโลกสองมิติย่อมมองเห็นทุกสิ่งทุกอย่างเป็นเพียงเส้นตรงและจุด (ดูรูปประกอบ) จากแค่เส้นตรงและจุด สิ่งมีชีวิตเหล่านี้แยกแยะรูปร่างต่างๆได้อย่างไร มิใยจะพูดถึงการแบ่งวรรณะอีก เป็นปริศนาที่อยากให้อ่านในหนังสือมากกว่าเดี๋ยวจะเสียอรรถรสครับ



เรื่องราวมันน่าสนุกมากขึ้น เมื่อสิ่งมีชีวิตสองมิติได้ไปเยือนหรือพบสิ่งมีชีวิตที่อยู่โลกที่มิติแตกต่างไป เช่นโลกหนึ่งมิติ (Lineland) ซึ่งมีสิ่งมีชีวิตแค่สองรูปแบบ คือเพศชายที่เป็นเส้นตรงและเพศหญิงที่เป็นจุด เรียงแถวกันยาวไม่สิ้นสุดและเคลื่อนที่สลับซ้าย-ขวาเป็นจังหวะ ตัวเอกสี่เหลี่ยมของเราพบว่าการอธิบายให้สิ่งมีชีวิตหนึ่งมิติเข้าใจสภาพของโลกสองมิตินั้นเป็นการกระทำที่ยากมาก และพ้นวิสัยสามัญสำนึกของพระราชาเส้นตรงที่มองเห็นเพียงจุดที่จะเข้าใจได้

และหลังจากนั้น สิ่งมีชีวิตจากโลกสามมิติ (Spaceland) ก็มาเยือนตัวเอกสี่เหลี่ยมด้วยวิธีการที่น่าฉงนที่สุด เขามีรูปร่างส่วนหนึ่งที่เป็นวงกลมสมบูรณ์แบบ (ซึ่งไม่เคยพบในอาณาจักรแบน) ผลุบโผล่เข้ามาในบ้านคนอื่นได้ตามใจนึก (ลองจินตนาการเราเอานิ้วมือจิ้มทะลุ เข้า-ออกแผ่นกระดาษ) และอ้างว่ามองเห็นทุกอย่างในบ้านสองมิติ รวมถึงสิ่งที่อยู่ภายในสี่เหลี่ยม (ซึ่งคือภายในร่างกาย) ได้ในครั้งเดียว สี่เหลี่ยมพบว่ามันเป็นการยากและยอมรับไม่ได้เช่นกันว่านอกจาก'ความกว้าง'และ'ความยาว' ยังคงมี 'ความลึก' อีกด้วย แต่เมื่อสิ่งมีชีวิตจากโลกสามมิติพาเขาออกจากสองมิติ ทุกสิ่งทุกอย่างก็กระจ่างแจ้ง และโลกที่มองเห็นก็ไม่เหมือนเดิมอีกต่อไป...หลังจากนั้น...




นิยายเรื่องนี้มีความน่าประทับใจตรงที่มันเปิดโลกทัศน์ใหม่ให้กับเรา ในมุมมองของจุดย่อมมองไม่เห็นภาพของสี่เหลี่ยม ขณะที่สี่เหลี่ยมไม่เข้าใจความหมายของลูกบาศก์ ฉันใดก็ฉันนั้น เราในโลกสามมิติก็จินตนาการถึงสี่มิติไม่ได้ ทั้งยังไม่มีความสามารถที่จะจำลองภาพให้เห็นโดยประสาทสัมผัสที่มีอยู่ ทางหนึ่งที่เราจะรับรู้มิติที่สูงกว่าก็คือ "การมาเยือน" ของวัตถุจากมิตินั้นเหมือนสิ่งมีชีวิตสามมิติบุกรุกบ้านของชาวอาณาจักรแบนในนิยาย

(อย่างไรก็ดี โมเดลทางฟิสิกส์ในปัจจุบันมีการอ้างอิงถึงมิติที่สูงกว่าบ่อยครั้ง เพื่ออธิบายปรากฏการณ์ในจักรวาลบางอย่าง นักฟิสิกส์เชื่อว่ามิติที่อาจมีมากเกินสิบมีขนาดเล็กมาก เล็กกว่าอนุภาค เราจึงไม่รู้ถึงการมีอยู่ของมัน)

อ่านนิยายเล่มนี้จบแล้ว ลองคิดเล่นๆว่าถ้าตัวเองได้มีโอกาสเข้าถึงมิติที่สูงกว่ามันจะเป็นอย่างไร มุมมองที่เห็นโลกสามมิติคงจะเปลี่ยนไปโดยสิ้นเชิง เราไม่ได้เห็นแค่รูปทรงของวัตุสามมิติแต่ยังเห็น 'ภายใน' ของมันในเวลาเดียวกัน เราสามารถปรากฏและหายวับไปในจุดหนึ่งๆใดๆได้ ด้วยคุณสมบัตินั้นไม่มีวัตถุกายภาพใดในโลกสามมิติที่กักขังเราได้ พอคิดถึงตรงนี้ผมคิดว่าตัวเองไม่ต่างจากวิญญาณเท่าไรเลย


Edwin A. Abbott. Flatland: A Romance of Many Dimensions.



Create Date : 08 เมษายน 2554
Last Update : 8 เมษายน 2554 18:40:57 น. 2 comments
Counter : 3125 Pageviews.

 
น่าสนใจมากๆ ค่ะ เดี๋ยวจะไปโหลดมาอ่านบ้าง


โดย: jackfruit_k วันที่: 8 เมษายน 2554 เวลา:20:30:27 น.  

 
มีแปลไทยมั๊ยครับ สนใจมาก แต่อ่อนอังกฤษ


โดย: kittyni44 IP: 182.53.153.181 วันที่: 7 กันยายน 2555 เวลา:15:40:11 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

มีชีวิตบนดาวอังคารหรือเปล่านะ
Location :


[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 21 คน [?]






....โลกมนุษย์นี้ไม่มีที่แน่นอน
ประเดี๋ยวเย็นประเดี๋ยวร้อนช่างแปรผัน
โชคหมุนเวียนเปลี่ยนไปได้ทุกวัน
สารพันหาอะไรไม่แน่นอน
ชีวิตเหมือนเรือน้อยล่องลอยอยู่
ต้องต่อสู้แรงลมประสมคลื่น
ต้องทนทานหวานสู้อมขมสู้กลืน
ต้องจำฝืนสู้ภัยไปทุกวัน
เป็นการง่ายยิ้มได้ไม่ต้องฝืน
เมื่อชีพชื่นเหมือนบรรเลงเพลงสวรรค์
แต่คนที่ควรชมนิยมกัน
ต้องใจมั่นยิ้มได้เมื่อภัยมา


พันตรีหลวงวิจิตรวาทการ





เขามีส่วนเลวบ้างช่างหัวเขา
จงเลือกเอาสิ่งที่ดีเขามีอยู่
เป็นประโยชน์โลกบ้างยังน่าดู
เรื่องที่ชั่วอย่าไปรู้ของเขาเลย
จะหาคนที่มีดีเพียงส่วนเดียว
อย่าเที่ยวเสาะหาสหายเอ๋ย
เหมือนเที่ยวหาหนวดเต่าตายเล่าเอย
ฝึกให้เคยมองแต่ดีมีคุณจริง

หลวงพุทธทาส





ชีวิตใกล้ปัจฉิมวัย ไม่เป็นไปตามแผนการเมื่อปฐมวัย อะไรที่ยิ่งใหญ่เมื่อเช้า เป็นของเล็กน้อยเมื่อเย็น อะไรที่เป็นสัจจะเมื่อแดดจ้า กลายเป็นมายาเมื่อยามพลบ

We cannot live the afternoon if life
according to the program on life’s morning; for what was great in the morning will be little at evening, and what in the morning was true will at evening have become a lie.



C.G. Jung.




Group Blog
 
All Blogs
 
Friends' blogs
[Add มีชีวิตบนดาวอังคารหรือเปล่านะ's blog to your web]
Links
 

MY VIP Friend

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.