ติดตาม twitter ได้ที่ @karnoi กด
ติดตามข้อมูลเว็บทาง FaceBook กด

cartoonthai
Location :


[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 237 คน [?]




New Comments
Group Blog
 
All Blogs
 
Friends' blogs
[Add cartoonthai's blog to your web]
Links
 

 
ผักหวานป่า เงินล้าน ปลูกยาก ตายยาก ขึ้นแล้วเก็บขายได้นับ 10 ปี

ผักหวานป่า เงินล้าน ปลูกยาก ตายยาก ขึ้นแล้วเก็บขายได้นับ 10 ปี

คนแถวบ้านเรียกเขาว่า เสี่ยเร่ง เพราะเสี่ยเร่งทำกิจการเพาะพันธุ์ไม้นานาชนิด เป็นล่ำเป็นสันมายาวนาน ตั้งแต่ ปี 2535 ถึงปัจจุบัน ต้นกล้าไม้จากฟาร์มเสี่ยเร่ง มีผู้นำไปจำหน่าย ไปปลูกกระจายทั่วไปทุกภาคของประเทศ กล้าไม้แต่ละชนิด เสี่ยเร่งเพาะเป็นพันเป็นหมื่นต้น ทำเงินให้เป็นแสนเป็นล้าน โดยเฉพาะการเพาะต้นกล้าป่า เสี่ยเร่ง ซื้อเมล็ดพันธุ์จากทางเหนือปีละหลายแสนบาท


เสี่ยเร่งมีชื่อจริงว่าเร่ง ยางธิสาร อยู่บ้านเลขที่ 59 หมู่ที่ 9 ตำบลเหล่าโพนค้อ อำเภอโคกศรีสุพรรณ จังหวัดสกลนคร เริ่มแรกของการเพาะกล้าไม้ขาย ตั้งแต่ ปี 2535 เพาะต้นไม้ทุกชนิด ตั้งแต่ไม้ล้มลุก ไม้ยืนต้น ไม้ดอก ไม้ประดับ โดยเฉพาะไม้ประดับยอดฮิตตามสมัยนิยม ไม่ว่า โป๊ยเซียน ชวนชม เฟื่องฟ้า บอนสี และว่านต่างๆ มีครบในฟาร์มเสี่ยเร่ง

สำหรับเพาะพันธุ์ผักหวานป่า แรกๆ ก็หาเมล็ดพันธุ์จากแถวเทือกเขาภูพาน กาลเวลาผ่านไป ต้นพันธุ์ผักหวานป่าถูกทำลายจนไม่สามารถหาเมล็ดพันธุ์ได้ จึงเปลี่ยนเป็นเมล็ดพันธุ์จากทางภาคเหนือ ซึ่งก็เป็นผักหวานป่าพันธุ์เดียวกันกับที่เคยเพาะขาย นั่นคือ พันธุ์ยอดสีทอง ส่วนพันธุ์ผักหวานป่าดง หรือพันธุ์ดง ก็เพาะไว้บ้าง แต่ก็ไม่ได้รับความสนใจจากผู้ซื้อ เพียงเพาะไว้เปรียบเทียบให้ผู้สนใจไว้เรียนรู้เท่านั้น

ต่อมา ปี 2550 ได้นำต้นกล้าผักหวานป่าที่เพาะ ไปปลูกในที่ดินของตนเอง จำนวน 5 ไร่ จากที่ดินแปลงนั้น 12 ไร่ โดยปลูกระหว่างต้น 50 เซนติเมตร ระหว่างแถว 1 เมตร ยกร่องขึ้นสูงจากพื้นเล็กน้อย มีไม้พี่เลี้ยงปลูกไว้ห่างๆ ต่อมาได้เพิ่มเนื้อที่ปลูกจนเต็มพื้นที่ ทั้ง 12 ไร่ ผักหวานป่าที่ปลูกใหม่ มีต้นพี่เลี้ยงจำพวก ลำไย และตะขบ รวมต้นกล้าผักหวานป่าทั้งสิ้น เกิน 4,000 ต้น

ด้านผลผลิต เริ่มเก็บยอดได้ตั้งแต่ปีที่ 4 เรื่อยมาจวบปัจจุบัน เนื่องจากมีกิจการการเพาะต้นไม้เป็นหลัก ทำให้ไม่มีเวลาเพียงพอกับการจัดการดูแลสวนผักหวานป่าได้เต็มที่ จึงได้อาศัยเทวดาช่วยดูแลแทน แม้มีเวลาน้อยในสวนผักหวานป่า ผักหวานป่าก็ยังมีใจให้ผลตอบแทนปีละไม่น้อยเหมือนกัน

วิธีเพาะเมล็ดผักหวานป่าของเสี่ยเร่งจะยกร่องเป็นแปลง ขนาดกว้าง 1 เมตร สูง 50 เซนติเมตร ยาวนับ 10 เมตร จำนวนหลายร่อง นำเมล็ดโรยบนแปลงเต็มร่องด้านบน แล้วกลบทับด้วยดินอีกครั้ง รดน้ำทุกวันเช้า เย็น ด้านบนมุงหลังคาด้วยซาแรนกันแดด

ธรรมชาติของต้นกล้าผักหวานป่า จะแทงรากก่อน โดยประมาณ 7-12 วัน เมล็ดที่สมบูรณ์จะแทงรากจากเมล็ด รากจะยาวลงลึกไปเรื่อยๆ เว้นมีสิ่งกีดขวาง เช่น การเพาะเมล็ดในถุงพลาสติกที่มีขนาดสั้น แต่รากผักหวานป่าก็จะไม่หยุดการเติบโต เมื่อรากแทงลึกไม่ได้ ก็จะแทงขดรอบตามก้นถุงเพาะ ซึ่งการใช้ถุงเพาะที่สั้น จึงเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้ต้นกล้าที่นำไปปลูกไม่เจริญเติบโต

เมื่อเวลาผ่านไปประมาณ 1 เดือน จะมียอดต้นผักหวานป่าโผล่ขึ้นมาจากดินให้เห็น ยอดยาวขึ้น มีใบเลี้ยง 3-4 ใบ เสี่ยเร่ง ก็จะทยอยเก็บต้นกล้าจำหน่าย ต้นกล้าแบบนี้เขาเรียกกันว่า เปลือยราก เก็บต้นกล้านำมาใส่กระดาษห่อ แล้วส่งให้ผู้สั่งซื้อทางไปรษณีย์ หรือไปรับเองถึงฟาร์ม เมื่อถึงมือผู้รับก็จะนำลงถุงเพาะ หรือนำลงหลุมปลูกตามความต้องการ ต้นกล้าส่วนที่เหลือจากการขายแบบเปลือยราก เสี่ยเร่งจะนำลงถุงเพาะ ขนาดยาวไม่น้อยกว่า 10 นิ้ว วัสดุเพาะ ประกอบด้วย แกลบดำ ดินร่วน ในแต่ละถุงจะนำต้นกล้าผักหวานป่าลงปลูก 2 ต้น ต้นไม้พี่เลี้ยง 1 ต้น ไม้พี่เลี้ยงส่วนใหญ่จะเป็นต้นลำไย

นอกจากต้นกล้าผักหวานป่าที่กล่าวมาแล้ว ยังมีต้นกล้าผักหวานป่าอีกขนาดหนึ่ง ที่เสี่ยเร่ง บอกว่า ปลูกแล้วรอดแน่นอน หรือต้นจัมโบ้ แล้วแต่จะเรียก ต้นประเภทนี้เหมาะสำหรับผู้มีรสนิยมสูง จะปลูกต้นเดียวหรือเป็นร้อยเป็นพันต้น เพราะต้นกล้าลงถุงขนาดใหญ่ ผู้ขายต้องนำกระสอบปุ๋ย 1 ใบ บรรจุ 1 ถุงต้นกล้า ให้แก่ผู้ซื้อ สรุปได้ก็คือ ต้นกล้าผักหวานป่าเสี่ยเร่ง มีราคาตั้งแต่ถุงละ 20-300 บาท ขนาดใดเหมาะสมกับรสนิยมของท่าน พิจารณาเอง

ฟาร์มเพาะพันธุ์กล้าไม้เสี่ยเร่ง มีทุกชนิดตามความต้องการ ท่านใดมีที่ดินพอจะปลูกไม้ยืนต้น เป็นเงินออม โดยเฉพาะต้นไม้พะยูง ไม้แดง มะค่าโมง ประดู่ สอบถามได้โดยตรงที่ หมายเลขโทรศัพท์ (081) 055-9155 สวัสดีครับ

สมชาย นนทฤทธิ์ /เรื่อง-ภาพ
ข้อมูล : นิตยสารเทคโนโลยีชาวบ้าน www.technologychaoban.com

//money.sanook.com/282141/




Create Date : 28 พฤษภาคม 2558
Last Update : 28 พฤษภาคม 2558 8:32:31 น. 0 comments
Counter : 1378 Pageviews.

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 
 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.