ติดตาม twitter ได้ที่ @karnoi กด
ติดตามข้อมูลเว็บทาง FaceBook กด

cartoonthai
Location :


[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 237 คน [?]




New Comments
Group Blog
 
All Blogs
 
Friends' blogs
[Add cartoonthai's blog to your web]
Links
 

 
ชมจันทร์ ไม้ประดับกินได้ มากคุณค่าทางโภชนาการ

ผลผลิตของเจ้าของกระทู้

ดอกชมจันทร์ หรือดอกพระจันทร์ มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Ipomoea alba L.อยู่ในวงศ์ Convolvulaceae สกุล Ipomoea มีถิ่นกำเนิดอยู่ในเขตร้อนของทวีปอเมริกากลางและอเมริกาใต้และแพร่กระจายอย่างกว้างขวาง สามารถพบได้ทั้งในเขตอบอุ่นและเขตร้อนของอเมริกา ประเทศออสเตรเลีย และในกลุ่มประเทศเขตร้อนของทวีปเอเชีย พืชในสกุลนี้มีประมาณ 650 ชนิด

การขยายพันธุ์

ขยายพันธุ์ด้วยการเพาะเมล็ด อาจปลูกโดยการหยอดเมล็ดลงแปลงโดยตรง หรือเพาะเมล็ดเป็นต้นกล้า ก่อนเพาะเมล็ดมาแช่น้ำนาน 12 ชั่วโมง เพื่อให้เปลือกหุ้มเมล็ดอ่อนตัว จะทำให้งอกได้เร็วงอกไดเร็วขึ้น เนื่องจากเมล็ดดออกพระจันทร์มีเปลิอกหุ้มเมล็ดที่แข็ง เมล็ดงอกใช้เวลานานประมาณ 7-14 วัน เมื่อต้นกล้าอายุ 30 วันสามารถปลูกลงแปลงได้ นอกจากการขยายพันธุ์ด้วยการเพาะเมล็ดแล้วต้นชมจันทร์ยังสามารถขยายพันธุ์โดยการปักชำส่วนของลำต้น

 ต้นที่บ้านเจ้าของกระทู้

การปลูก

ต้นชมจันทร์สามารถขึ้นได้ในดินเกือบทุกชนิดที่มีความร่วนซุย พื้นที่ต้องระบายได้ดี เจริญเติบโตได้ในสภาพกลางแจ้งที่มีแสงแดด แปลงปลูกอาจยกแปลงผักทั่วไปเพื่อป้องกันน้ำขัง วิธีปลูกโดยขุดหลุมปลูกลึก15-20ซม.รองก้นหลุมด้วยปุ๋ยคอก 200-500 กรัม/หลุม จากนั้นจึงนำต้นกล้าลงปลูก ระยะปลูกที่ใช้ปลูกคือ ระหว่างต้น 40-50 ซม. และระหว่างแถว 70-100 ซม. ในช่วง 1 เดือนแรกหลังปลูกควรมีการให้น้ำวันละ 2 ครั้ง คือ ตอนเช้าและตอนเย็น เมือต้นสามารถตั้งตัวได้แล้ว จึงให้น้ำวันละครั้ง เมื่อต้นดอกชมจันทร์เริ่มแตกยอดควรมีการทำค้างคล้ายกับค้างถั่วฝักยาวหรือทำเป็นซุ้ม หลังปลูกประมาณ 2-3 เดือนก็จะเริ่มออกดอก

การใช้ประโยชน์

ต้นชมจันทร์มีดอกสีขาวสวยงาม บานในเวลาตอนกลางคืน และกลิ่นหอม ในต่างประเทศ เช่นยุโรปและสหรัฐอเมริกาปลูกเป็นไม้ดอกไม้ประดับ แต่บางพื้นที่ของประเทศไทย เช่น ภาคใต้ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เรื่มมีการนำดอกมารับประทานเป็นอาหารโดยใช้ดอกตูมมาผัดกับน้ำมันหอย หรือลวกจิ้มกับน้ำพริก ผลการการวิเคราะห์คุณค่าทางโภชนาการของดอกชมจันทร์ พบว่าเป็นผักที่ไขมันต่ำมากและมีสรรพคุณเป็นยาระบายอ่อน เหมาะแก่ผู้ที่ต้องการควบคุมน้ำหนัก นอกจากนี้ยังมีธาตุเหล็ก ฟอสฟอรัส และยังประกอบด้วยวิตามินต่าง ๆ ได้แก่ วิตามินบี เป็นต้น ซึ่งมีประโยชน์ต่อร่างกาย

การบำรุงรักษา

การบำรุงรักษา เมื่อผลผลิตเริ่มลดลง หรือสังเกตเห็นต้นโทรมจะต้องตัดแต่งให้แตกต้นใหม่ พร้อมกับใส่ปุ๋ยอินทรีย์ หรือปุ๋ยคอกบำรุง พร้อมให้น้ำเช้า-เย็น เพื่อให้ต้นแตกใบอ่อน จากนั้นประมาณ 2 เดือนจึงเริ่มเก็บผลผลิตได้อีกครั้ง กระทั่งต้นมีอายุ 2 ปี จึงเอาออกและปลูกใหม่อีกครั้ง

         นอกจากคุณค่าทางโภชนาการที่มีประโยชน์ต่อร่างกายแล้ว เรายังสามารถนำดอกชมจันทร์ไปปรุงเป็นอาหารได้หลายชนิด เพราะเข้ากันดีกับทั้งเนื้อสัตว์และพืชผักอื่น ๆ เช่น

             -นำดอกชมจันทร์มาต้มกับน้ำตาลทรายแดง หรือน้ำตาลอ้อย แล้วดื่มในช่วงเช้าเพื่อช่วยให้ขับถ่ายดีขึ้น และบรรเทาอาการริดสีดวงทวาร

             -ต้มดอกชมจันทร์ 30 กรัม กับถั่วแดง 30 กรัม เติมน้ำผึ้งพอประมาณ ดื่มเพื่อขับปัสสาวะคลายร้อน และเหมาะกับผู้ที่เป็นโรคต้อหินเรื้อรัง

             -นึ่งหมูเนื้อแดงกับดอกชมจันทร์ รับประทานเพื่อเพิ่มน้ำนมในสตรีหลังคลอด

 ถั่วพู ถั่วฝักยาวม่วง ชมจันทร์ 




Create Date : 17 มีนาคม 2557
Last Update : 17 มีนาคม 2557 23:31:30 น. 0 comments
Counter : 1031 Pageviews.

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 
 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.