ใดๆในโลกล้วนเป็นสิ่งสมมติ
 
มหากาพย์อุลตร้าแมน ตอนที่3/6 (ไม่ได้เขียนเอง Credit Henshin Club

ตอนที่ ๙ ข้อพิพาทปรากฏต่อสาธารณชนในเมืองไทย

สำหรับคดีระหว่างซึบูราญ่า โปรดัคชั่นส์ กับ ไชโยฯ นั้นมีอยู่หลายคดี จะเป็นคดีไหนก็ให้ดูหัวเรื่องและวันฟ้องครับ คดีฟ้องร้องกันไปๆมาๆระหว่างทั้งสองบริษัทมีอยู่หลายคดี ต่างกรรม ต่างวาระกัน แต่ผลของคดีที่มีนอกจากคดีใหญ่เรื่องสัญญาอนุญาตใช้สิทธิ์ ก็มักมีผลในรูปคดีทางแพ่งให้จ่ายค่าเสียหายเท่านั้นไม่ได้มีผลเปลี่ยนแปลงคดีหลักแต่อย่างไร

ในความเป็นจริง ศาลสูงของญี่ปุ่นกับศาลฎีกาไทยก็มีคำตัดสินเรียบร้อยไปแล้วว่าใครมีกรรมสิทธิในคาร์แร็คเตอร์อุลตร้าแมนนั้นตั้งแต่ 5-7 ปีที่แล้ว การที่จะมาอ้างว่าศาลเพิ่งตัดสินไปนั้นไม่เป็นความจริง เพียงแค่เอาแพะมาตัดต่อยีนส์กับช้างแล้วออกข่าวใหญ่โตเข้าข้างตัวเองเท่านั้น

คดีความเรื่องกรรมสิทธิ์อุลตร้าแมนเริ่มต้นเมื่อซึบูราญ่า โปรดัคชั่นส์ ฟ้องลุงสมโพธิที่ญี่ปุ่นเมื่อเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2540 และฟ้องที่เมืองไทยเมื่อเดือนธันวาคมปีเดียวกัน

แต่ที่เริ่มเข้าสู่สายตาสาธารณชนในบ้านเรา น่าจะเป็นโฆษณาเต็มหน้าในหนังสือพิมพ์ที่เอารูปมาลงให้ดูกัน  หลังศาลชั้นต้นไทยมีตำพิพากษาออกมา โดยซึบูราญ่า โปรดัคชั่นส์ เริ่มก่อนเมื่อเดือนมิถุนายน 2544 โดยอ้างสิทธิโดยชอบธรรมของคาเร็คเตอร์อุลตร้าแมน และกำลังอุทธรณ์งาน 9 ชิ้นของอุลตร้าแมนที่กำลังเป็นข้อพิพาทกับบริษัทไชโย



ไชโยจึงตอบโต้ด้วยโฆษณาหนังสือพิมพ์เต็มหน้าเช่นกันในเดือนกรกฎาคม ปีเดียวกัน โดยมีรูปถ่ายของจดหมายขอโทษจากซึบูราญ่า โปรดัคชั่นส์ เรื่องสิทธิอุลตร้าแมน และ คำตัดสินศาลชั้นต้นในเมืองไทยที่ให้ไชโยชนะคดี เป็นจุดสำคัญอยู่กลางโฆษณา และถ้าสังเกตุให้ดี มีอุลตร้าแมนมิลเลนเนียมยืนท้าวสะเอวอยู่แถวหน้าเลย



เป็นที่ฉงนงงงวยสำหรับแฟนๆอุลตร้าแมนในเมืองไทยเป็นยิ่งนัก ว่านี่มันเกิดอะไรขึ้น และยากจะเชื่อว่า “ยอดมนุษย์อุลตร้าแมน” กลายเป็นของคนไทย !

เรื่องหนุมานพบเจ็ดยอดมนุษย์ยังมีเรื่องน่าเล่าอีกหลายอย่าง เช่น

เดิมตั้งใจว่าชื่อเรื่องจะเป็นหนุมานพบ 6 ยอดมนุษย์ แต่ในวงการภาพยนตร์ไทยเขาถือว่าเลข 6 นำโชคร้าย คือ หกล้ม หกคะเมน ก็เลยเปลี่ยนไปใช้เลข 7 แทน



ในหนังจะเห็นโลโก้ของสายการบินสยาม (สปอนเซอร์) อยู่หลายแห่งเช่นบนจรวด หรือบนเสื้อของทีม แอร์สยาม สมัยนั้นเป็นสายการบินลำดับสองรองจากการบินไทย แต่ตอนหลังโดนรัฐบาลไทยบีบไม่ให้บินในเส้นทางเดียวกับสายการบินไทย สุดท้ายก็แบกต้นทุมไม่ไหว เลิกกิจการไปในปี 2520







พีระศิษฎ์ แสงเดือนฉายตอนนั้นอายุ 3 ย่าง 4 ขวบ มีชื่อเป็นผู้กำกับหนังเรื่องนี้ (และเรื่องต่อๆมา)



ลุงสมโพธิ แสดงเป็นช่างภาพอยู่ตอนต้นเรื่อง



ฉากในห้องบังคับการคือกองบัญชาการของทีม MAC ในเรื่องอุลตร้าแมนเลโอ

ชุดทีมงานคือชุดของทีม SAF (Scientific-Attack-Force) จากเรื่อง Fireman (มนุษย์ไฟใต้พิภพ)



ส่วนตลก 2 คนในชุด ZAT คือ สีเผือกและศรีสุริยา เป็นหัวหน้าตลกคณะ ''สี่สี'' (มีสีหมึกและเทพ เทียนชัย อีก 2 หน่อ) เป็นตลกดังมากยุคนั้น อาจจะดูไม่เข้าท่ายุคนี้ แต่ตอนนั้นทั้งคู่ดังมาก เรียกแขกได้เยอะครับ



ปลายปี 2517 หลังหนังหนุมานฯออกฉายไม่นาน คณะสี่สีประสพอุบัติเหตุรถเสียหลักตกข้างทางที่อุบลฯ ศรีสุริยา เสียชีวิต สีเผือก เป็นอัมพาตต้องนั่งรถเข็นในเวลาต่อมา สีเผือกพยายามจะออกแสดงตลกบนรถเข็นแต่ผู้ชมดูแล้วเวทนาเสียมากกว่าจึงหยุดการแสดงไปและเสียชีวิตต่อมาอีกไม่นาน

เรื่องหนุมานพบเจ็ดยอดมนุษย์ยังมีเรื่องน่าเล่าอีกหลายอย่าง เช่น

เดิมตั้งใจว่าชื่อเรื่องจะเป็นหนุมานพบ 6 ยอดมนุษย์ แต่ในวงการภาพยนตร์ไทยเขาถือว่าเลข 6 นำโชคร้าย คือ หกล้ม หกคะเมน ก็เลยเปลี่ยนไปใช้เลข 7 แทน



ในหนังจะเห็นโลโก้ของสายการบินสยาม (สปอนเซอร์) อยู่หลายแห่งเช่นบนจรวด หรือบนเสื้อของทีม แอร์สยาม สมัยนั้นเป็นสายการบินลำดับสองรองจากการบินไทย แต่ตอนหลังโดนรัฐบาลไทยบีบไม่ให้บินในเส้นทางเดียวกับสายการบินไทย สุดท้ายก็แบกต้นทุมไม่ไหว เลิกกิจการไปในปี 2520







พีระศิษฎ์ แสงเดือนฉายตอนนั้นอายุ 3 ย่าง 4 ขวบ มีชื่อเป็นผู้กำกับหนังเรื่องนี้ (และเรื่องต่อๆมา)



ลุงสมโพธิ แสดงเป็นช่างภาพอยู่ตอนต้นเรื่อง



ฉากในห้องบังคับการคือกองบัญชาการของทีม MAC ในเรื่องอุลตร้าแมนเลโอ

ชุดทีมงานคือชุดของทีม SAF (Scientific-Attack-Force) จากเรื่อง Fireman (มนุษย์ไฟใต้พิภพ)



ส่วนตลก 2 คนในชุด ZAT คือ สีเผือกและศรีสุริยา เป็นหัวหน้าตลกคณะ ''สี่สี'' (มีสีหมึกและเทพ เทียนชัย อีก 2 หน่อ) เป็นตลกดังมากยุคนั้น อาจจะดูไม่เข้าท่ายุคนี้ แต่ตอนนั้นทั้งคู่ดังมาก เรียกแขกได้เยอะครับ



ปลายปี 2517 หลังหนังหนุมานฯออกฉายไม่นาน คณะสี่สีประสพอุบัติเหตุรถเสียหลักตกข้างทางที่อุบลฯ ศรีสุริยา เสียชีวิต สีเผือก เป็นอัมพาตต้องนั่งรถเข็นในเวลาต่อมา สีเผือกพยายามจะออกแสดงตลกบนรถเข็นแต่ผู้ชมดูแล้วเวทนาเสียมากกว่าจึงหยุดการแสดงไปและเสียชีวิตต่อมาอีกไม่นาน

ウルトラ6兄弟VS怪獣軍団 ฉบับภาษาญี่ปุ่น ต้นฉบับเอามาจากวิดีโอเทป ภาพพอดูได้ครับ

ตอนที่ ๑๐ LICENSE GRANTING AGREEMENT สัญญาของจริงหรือปลอม?

สัญญาเจ้าปัญหา LICENSE GRANTING AGREEMENT ลงวันที่ 4 มีนาคม 1976 นั้นนายสมโพธิ อ้างว่าให้เงินยืมแก่โนโบรุไป 44 ล้านบาทแต่โนโบรุไม่มีเงินคืน เลยมอบสัญญาฉบับนี้ไว้ให้แทน

คำว่า GRANTING ในภาษาอังกฤษมีความหมายว่า การอนุญาต การให้ หรือ ยอมให้ การโอน

grant [นิติศาสตร์ ๑๑ มี.ค. ๒๕๔๕] ๑. การให้สิทธิ (โดยทำเป็นหนังสือ) ๒. เงินช่วยเหลือ เงินอุดหนุน
grant of patent [นิติศาสตร์ ๑๑ มี.ค. ๒๕๔๕] การโอนสิทธิตามสิทธิบัตร

สมโพธิใช้คำแปลจากชื่อสัญญานั้นว่า “เป็นข้อตกลงมอบสิทธิ์” คือสมโพธิมีสิทธิอันชอบธรรมที่จะเอาไปทำอะไรก็ได้ เช่น ดัดแปลงเป็นยอดมนุษย์ตัวใหม่ๆ



ตัวสัญญาระบุภาพยนตร์ 9 เรื่อง เกือบทั้งหมดมีชื่อหรือจำนวนตอนที่ไม่ตรงกับตวามเป็นจริงดังนี้

(1)   ไจแอนท์ VS จัมโบ้ “เอ” (ภาพยนตร์ ยักษ์วัดแจ้งพบจัมโบ้เอ)
(2)   ฮารุแมน แอนด์ เดอะ เซเว่น อุลตร้าแมน (ภาพยนตร์ หนุมานพบเจ็ดยอดมนุษย์) *ชื่อ หนุมาน เขียนผิดเป็น ฮารุแมน*
(3)   อุลตร้าแมน 1 “อุลตร้า คิว” *เรื่องนี้เป็นข้ออ้างในศาลว่าเป็นสัญญาปลอมเพราะใช้ชื่อผิด*
(4)   อุลตร้าแมน 2 (อุลตร้าแมน) *เรื่องนี้เป็นข้ออ้างในศาลว่าเป็นสัญญาปลอมเพราะใช้ชื่อผิด*
(5)   อุลตร้าแมน เซเว่น *เรื่องนี้เป็นข้ออ้างในศาลว่าเป็นสัญญาปลอมเพราะใช้ชื่อและมีจำนวนตอนผิด*
(6)   รีเทิร์น อุลตร้าแมน *เรื่องนี้เป็นข้ออ้างในศาลว่าเป็นสัญญาปลอมเพราะใช้ชื่อผิด*
(7)   อุลตร้าแมน เอช *เรื่องนี้เป็นข้ออ้างในศาลว่าเป็นสัญญาปลอมเพราะมีจำนวนตอนผิด*
(8 )    อุลตร้าแมน ทาโร่ *เรื่องนี้เป็นข้ออ้างในศาลว่าเป็นสัญญาปลอมเพราะมีจำนวนตอนผิด*
(9)   จัมบอร์ก เอซ (บ้านเราเรียกว่า “จัมโบ้ เอ”)

ซึบูราญ่า โปรดัคชั่นส์ อ้างว่าเอกสารการอนุญาตใช้สิทธิ์เป็นเอกสารปลอมโดยต่อสู้คดีว่า

ก. นายโนโบรุ ซึบูราญ่า ประธานบริษัท ซึบูราญ่า โปรดัคชั่นส์ ฯ ช่วงนั้นไม่เคยพูดถึงสัญญาอนุญาตใช้สิทธิ์ดังกล่าวมาตลอด 20 ปีจนกระทั่งเสียชีวิต และเหตุใดนายสมโพธิจึงรอมา 20 ปีจนกระทั่งนายโนโบรุเสียชีวิตไปแล้ว ถึงได้เอาเอกสารอนุญาตใช้สิทธิ์มาอ้าง โดยเฉพาะเมื่อซึบูราญ่า โปรดัคชั่นส์ เปิดบริษัท Ultracom Inc. ในอเมริกาเมื่อปี 2532 (1989) เพื่อดูแลลิขสิทธิ์ทั่วโลกและนำเรื่อง อุลตร้าแมน กับ อุลตร้าเซเว่น ออกฉายทั้งในอเมริกา ประเทศในแถบอเมริกาใต้ รวมถึงประเทศอื่นๆอีกหลายประเทศ แต่นายสมโพธิไม่เคยออกมาโต้แย้ง ต้องรอจนกระทั่งนายโนโบรุเสียชีวิตเมื่อมิถุนายน 2538 (1995) นายสมโพธิจึงนำสัญญาฉบับนี้แจ้งต่อ นายคาซูโอะ ซึบูราญ่า บุตรชายนายโนโบรุที่มารับตำแหน่งประธานบริษัทฯ

ข. มาที่หนังสือสัญญาอนุญาตใช้สิทธิ์ ก็มีจุดที่น่าสงสัยหลายประเด็น เช่น
     a. ชื่อบริษัท  “Tsuburaya prod. and Enterprise” เป็นชื่อบริษัทที่ไม่เคยใช้มาก่อน ในข้อเท็จจริงบริษัทจะใช้ชื่อว่า  “Tsuburaya Pro” หรือใช้ตัวย่อ “TPC” ไม่ใช่ “Tsuburaya prod.” ที่ใช้ตัว “p” ตัวเล็ก และ “Tsuburaya prod. and Enterprise” ไม่มีตัวตน มีแต่ Tsuburaya Pro และ Tsuburaya Enterprise
     b. ขณะนั้นนายโนโบรุมีหุ้นอยู่แค่ 15% ในซึบูราญ่า โปรดัคชั่นส์ ยังไม่ได้นำเสนอเพื่อรับการอนุมัติจากผู้ถือหุ้นรายใหญ่ (โตโฮถือหุ้นใหญ่อยู่ 60%)
     c. สัญญาไม่ระบุมูลค่าตอบแทนที่ชัดเจน
     d. โดยปกติสัญญาแบบนี้จะไม่ใช้หัวจดหมายที่มีชื่อบริษัท
     e. ชื่อภาพยนตร์ทีวีหรือจำนวนตอนไม่ถูกต้อง
          i. ULTRA Q ถูกเขียนในสัญญาว่า “ULTRAMAN 1: ULTRA Q”
          ii. ULTRAMAN กลับถูกเรียกว่า “ULTRAMAN 2”
          iii. ULTRA SEVEN กลายเป็น “ULTRAMAN SEVEN”
          iv. ULTRA SEVEN มีทั้งหมด 49 episodes. แต่สัญญาระบุ 50 ตอน (ไม่รวมตอนที่ 12 ที่โดนแบนในญี่ปุ่น)
          v. RETURN OF ULTRAMAN เขียนเป็น “RETURN ULTRAMAN”
          vi. ULTRAMAN ACE มี 52 ตอน แต่ในสัญญาระบุเป็น 51 ตอน
          vii. ULTRAMAN TARO มี 53 ตอน แต่ในสัญญาระบุ 54 ตอน
     f. ลายมือชื่อ Noboru Tsuburaya เป็นของปลอม



แล้วสัญญาฉบับนี้มันเป็นของจริง (โนโบรุ มั่วเรื่องรายละเอียด หรือจงใจเขียนสัญญาผิดๆ แม้กระทั่งดัดแปลงลายมือชื่อตัวเอง?) หรือ ของปลอม (คนไทยทำกันเองแบบลวกๆ ปลอมลายมือชื่อแล้วแอบเอาฮังโคของโนโบรุมาประทับ – ซึ่งก็ไม่น่าจะยากถ้าใช้ความสนิทสนมส่วนตัว) กันแน่ ?

ตอนที่ ๑๐ LICENSE GRANTING AGREEMENT สัญญาของจริงหรือปลอม?

สัญญาเจ้าปัญหา LICENSE GRANTING AGREEMENT ลงวันที่ 4 มีนาคม 1976 นั้นนายสมโพธิ อ้างว่าให้เงินยืมแก่โนโบรุไป 44 ล้านบาทแต่โนโบรุไม่มีเงินคืน เลยมอบสัญญาฉบับนี้ไว้ให้แทน

คำว่า GRANTING ในภาษาอังกฤษมีความหมายว่า การอนุญาต การให้ หรือ ยอมให้ การโอน

grant [นิติศาสตร์ ๑๑ มี.ค. ๒๕๔๕] ๑. การให้สิทธิ (โดยทำเป็นหนังสือ) ๒. เงินช่วยเหลือ เงินอุดหนุน
grant of patent [นิติศาสตร์ ๑๑ มี.ค. ๒๕๔๕] การโอนสิทธิตามสิทธิบัตร

สมโพธิใช้คำแปลจากชื่อสัญญานั้นว่า “เป็นข้อตกลงมอบสิทธิ์” คือสมโพธิมีสิทธิอันชอบธรรมที่จะเอาไปทำอะไรก็ได้ เช่น ดัดแปลงเป็นยอดมนุษย์ตัวใหม่ๆ



ตัวสัญญาระบุภาพยนตร์ 9 เรื่อง เกือบทั้งหมดมีชื่อหรือจำนวนตอนที่ไม่ตรงกับตวามเป็นจริงดังนี้

(1)   ไจแอนท์ VS จัมโบ้ “เอ” (ภาพยนตร์ ยักษ์วัดแจ้งพบจัมโบ้เอ)
(2)   ฮารุแมน แอนด์ เดอะ เซเว่น อุลตร้าแมน (ภาพยนตร์ หนุมานพบเจ็ดยอดมนุษย์) *ชื่อ หนุมาน เขียนผิดเป็น ฮารุแมน*
(3)   อุลตร้าแมน 1 “อุลตร้า คิว” *เรื่องนี้เป็นข้ออ้างในศาลว่าเป็นสัญญาปลอมเพราะใช้ชื่อผิด*
(4)   อุลตร้าแมน 2 (อุลตร้าแมน) *เรื่องนี้เป็นข้ออ้างในศาลว่าเป็นสัญญาปลอมเพราะใช้ชื่อผิด*
(5)   อุลตร้าแมน เซเว่น *เรื่องนี้เป็นข้ออ้างในศาลว่าเป็นสัญญาปลอมเพราะใช้ชื่อและมีจำนวนตอนผิด*
(6)   รีเทิร์น อุลตร้าแมน *เรื่องนี้เป็นข้ออ้างในศาลว่าเป็นสัญญาปลอมเพราะใช้ชื่อผิด*
(7)   อุลตร้าแมน เอช *เรื่องนี้เป็นข้ออ้างในศาลว่าเป็นสัญญาปลอมเพราะมีจำนวนตอนผิด*
(8 )    อุลตร้าแมน ทาโร่ *เรื่องนี้เป็นข้ออ้างในศาลว่าเป็นสัญญาปลอมเพราะมีจำนวนตอนผิด*
(9)   จัมบอร์ก เอซ (บ้านเราเรียกว่า “จัมโบ้ เอ”)

ซึบูราญ่า โปรดัคชั่นส์ อ้างว่าเอกสารการอนุญาตใช้สิทธิ์เป็นเอกสารปลอมโดยต่อสู้คดีว่า

ก. นายโนโบรุ ซึบูราญ่า ประธานบริษัท ซึบูราญ่า โปรดัคชั่นส์ ฯ ช่วงนั้นไม่เคยพูดถึงสัญญาอนุญาตใช้สิทธิ์ดังกล่าวมาตลอด 20 ปีจนกระทั่งเสียชีวิต และเหตุใดนายสมโพธิจึงรอมา 20 ปีจนกระทั่งนายโนโบรุเสียชีวิตไปแล้ว ถึงได้เอาเอกสารอนุญาตใช้สิทธิ์มาอ้าง โดยเฉพาะเมื่อซึบูราญ่า โปรดัคชั่นส์ เปิดบริษัท Ultracom Inc. ในอเมริกาเมื่อปี 2532 (1989) เพื่อดูแลลิขสิทธิ์ทั่วโลกและนำเรื่อง อุลตร้าแมน กับ อุลตร้าเซเว่น ออกฉายทั้งในอเมริกา ประเทศในแถบอเมริกาใต้ รวมถึงประเทศอื่นๆอีกหลายประเทศ แต่นายสมโพธิไม่เคยออกมาโต้แย้ง ต้องรอจนกระทั่งนายโนโบรุเสียชีวิตเมื่อมิถุนายน 2538 (1995) นายสมโพธิจึงนำสัญญาฉบับนี้แจ้งต่อ นายคาซูโอะ ซึบูราญ่า บุตรชายนายโนโบรุที่มารับตำแหน่งประธานบริษัทฯ

ข. มาที่หนังสือสัญญาอนุญาตใช้สิทธิ์ ก็มีจุดที่น่าสงสัยหลายประเด็น เช่น
     a. ชื่อบริษัท  “Tsuburaya prod. and Enterprise” เป็นชื่อบริษัทที่ไม่เคยใช้มาก่อน ในข้อเท็จจริงบริษัทจะใช้ชื่อว่า  “Tsuburaya Pro” หรือใช้ตัวย่อ “TPC” ไม่ใช่ “Tsuburaya prod.” ที่ใช้ตัว “p” ตัวเล็ก และ “Tsuburaya prod. and Enterprise” ไม่มีตัวตน มีแต่ Tsuburaya Pro และ Tsuburaya Enterprise
     b. ขณะนั้นนายโนโบรุมีหุ้นอยู่แค่ 15% ในซึบูราญ่า โปรดัคชั่นส์ ยังไม่ได้นำเสนอเพื่อรับการอนุมัติจากผู้ถือหุ้นรายใหญ่ (โตโฮถือหุ้นใหญ่อยู่ 60%)
     c. สัญญาไม่ระบุมูลค่าตอบแทนที่ชัดเจน
     d. โดยปกติสัญญาแบบนี้จะไม่ใช้หัวจดหมายที่มีชื่อบริษัท
     e. ชื่อภาพยนตร์ทีวีหรือจำนวนตอนไม่ถูกต้อง
          i. ULTRA Q ถูกเขียนในสัญญาว่า “ULTRAMAN 1: ULTRA Q”
          ii. ULTRAMAN กลับถูกเรียกว่า “ULTRAMAN 2”
          iii. ULTRA SEVEN กลายเป็น “ULTRAMAN SEVEN”
          iv. ULTRA SEVEN มีทั้งหมด 49 episodes. แต่สัญญาระบุ 50 ตอน (ไม่รวมตอนที่ 12 ที่โดนแบนในญี่ปุ่น)
          v. RETURN OF ULTRAMAN เขียนเป็น “RETURN ULTRAMAN”
          vi. ULTRAMAN ACE มี 52 ตอน แต่ในสัญญาระบุเป็น 51 ตอน
          vii. ULTRAMAN TARO มี 53 ตอน แต่ในสัญญาระบุ 54 ตอน
     f. ลายมือชื่อ Noboru Tsuburaya เป็นของปลอม



แล้วสัญญาฉบับนี้มันเป็นของจริง (โนโบรุ มั่วเรื่องรายละเอียด หรือจงใจเขียนสัญญาผิดๆ แม้กระทั่งดัดแปลงลายมือชื่อตัวเอง?) หรือ ของปลอม (คนไทยทำกันเองแบบลวกๆ ปลอมลายมือชื่อแล้วแอบเอาฮังโคของโนโบรุมาประทับ – ซึ่งก็ไม่น่าจะยากถ้าใช้ความสนิทสนมส่วนตัว) กันแน่ ?

หนังสือ 2 เล่ม “อุลตร้าแมน” เป็นของใคร / ความลับของอุลตร้าแมน

เมื่อตอนที่ผมกลับมาอ่าน 2 เล่มนี้ใหม่เพื่อเขียนกระทู้นี้ ก็นึกได้ว่าเคยจดข้อผิดพลาดของทั้งสองเล่มไว้

เลยขอคั่นเรื่อง เผื่อจะมีสนใจไปอ่านกัน

หนังสือเล่มเล็กของคุณท็อป เรื่อง “อุลตร้าแมน เป็นของใคร” วางขายปลายปี 2550



ในหนังสือเล่มนี้เล่าเรื่องของคดีความไว้พอสมควร โดยเฉพาะการเตรียมการในศาลและการสืบพยานในหลายๆครั้ง ซึ่งเป็นไปตามที่ผมได้เคยคุยกับคุณท็อปและคุณ ธานินทร์ (TIGA) เมื่อปี 2544

คำนิยมหนังสือเล่มนี้ได้คุณอา สะอาด เปี่ยมพงศ์สานต์ ผู้ร่วมแสดงหนัง Project Ultraman เป็นผู้เขียนให้ แต่ผมคิดว่าท่านไม่ได้ศึกษาเรื่องราวความเป็นมาของการฟ้องร้องสิทธิ์อุลตร้าแมนก่อนลงมือเขียน



อาสะอาดเขียนคำนิยมในหน้า 4 ของหนังสือเล่มนี้ว่า “ศาลญี่ปุ่นได้ตัดสินความ ให้คู่กรณีฝ่ายไทยเป็นผู้มีลิขสิทธิ์ใน “อุลตร้าแมน” โดยชนะคดีทั้งสามศาล...!

แต่ที่เมืองไทย ศาลไทยกลับตัดสินความให้คู่กรณีฝ่ายญี่ปุ่นที่เพียงมอบให้คนไทยเป็นตัวแทนมาดำเนินการฟ้องร้อง และได้รับคำตัดสินให้เป็นผู้ชนะคดีในศาลชั้นต้น...!


แต่ที่จริงไชโยชนะที่ศาลญี่ปุ่นทั้ง 2 ศาล เพราะไม่มีศาลอุทธรณ์ในคดีเกี่ยวกับทรัพย์สินทางปัญญา ส่วนที่ศาลชั้นต้นในไทย ไชโย ก็เป็นฝ่ายชนะ

อาสะอาดลงวันที่เขียนเอาไว้ว่าเป็นวันที่ 4 ตุลาคม 2550 ซึ่งศาลฎีกาไทยได้กลับคำตัดสินศาลชั้นต้นให้ซึบูราญ่า โปรดัคชั่นส์ ชนะคดีไปเมื่อวันที่ 14 พฤษภาคม ปีเดียวกัน

ส่วนที่ซึบูราญ่า โปรดัคชั่นส์มอบให้คนไทยเป็นตัวแทนก็เป็นเรื่องปกติทั่วไป ทั้งยังแต่งตั้ง บริษัท เบเคอร์ แอนด์ แม็คเค็นซี่ จำกัด (นายมนู รักวัฒนกุล ทนายความ) เป็นทนายความบริษัท ซึบูราญ่า โปรดักชั่นส์ ด้วย

ท่านคงรู้บทสรุปแต่ไม่รู้ที่มาที่ไปของเรื่อง ได้แต่รับข้อมูลจากฝ่ายไทยฝ่ายเดียวเหมือนคนอื่นๆเช่นกัน

ส่วนอีกเล่ม “ความลับของยอดมนุษย์ อุลตร้าแมน”



หนังสือเล่มนี้ตีพิมพ์เมื่อ กันยายน 2550 โดยใช้ข้อมูลของลุงสมโพธิแต่ฝ่ายเดียวล้วนๆ คนเรียบเรียงเป็นเพื่อนผมเอง นักเรียนทุนญี่ปุ่นแต่ไม่ค่อยรู้เรื่องอุลตร้าแมนเอาซะเลย แต่เล่มนี้ก็ให้ข้อมูลบางอย่างที่น่าสนใจซึ่งผมก็ได้รวบรวมเอาประเด็นสำคัญๆมาบรรจุอยู่ในกระทู้นี้

ทว่าข้อมูลบางส่วนของอุลตร้าแมนในเล่มนี้ ผิดแบบไม่น่าให้อภัย



หรือรูปตีลังกาแบบนี้


หนังสือ 2 เล่ม “อุลตร้าแมน” เป็นของใคร / ความลับของอุลตร้าแมน

เมื่อตอนที่ผมกลับมาอ่าน 2 เล่มนี้ใหม่เพื่อเขียนกระทู้นี้ ก็นึกได้ว่าเคยจดข้อผิดพลาดของทั้งสองเล่มไว้

เลยขอคั่นเรื่อง เผื่อจะมีสนใจไปอ่านกัน

หนังสือเล่มเล็กของคุณท็อป เรื่อง “อุลตร้าแมน เป็นของใคร” วางขายปลายปี 2550



ในหนังสือเล่มนี้เล่าเรื่องของคดีความไว้พอสมควร โดยเฉพาะการเตรียมการในศาลและการสืบพยานในหลายๆครั้ง ซึ่งเป็นไปตามที่ผมได้เคยคุยกับคุณท็อปและคุณ ธานินทร์ (TIGA) เมื่อปี 2544

คำนิยมหนังสือเล่มนี้ได้คุณอา สะอาด เปี่ยมพงศ์สานต์ ผู้ร่วมแสดงหนัง Project Ultraman เป็นผู้เขียนให้ แต่ผมคิดว่าท่านไม่ได้ศึกษาเรื่องราวความเป็นมาของการฟ้องร้องสิทธิ์อุลตร้าแมนก่อนลงมือเขียน



อาสะอาดเขียนคำนิยมในหน้า 4 ของหนังสือเล่มนี้ว่า “ศาลญี่ปุ่นได้ตัดสินความ ให้คู่กรณีฝ่ายไทยเป็นผู้มีลิขสิทธิ์ใน “อุลตร้าแมน” โดยชนะคดีทั้งสามศาล...!

แต่ที่เมืองไทย ศาลไทยกลับตัดสินความให้คู่กรณีฝ่ายญี่ปุ่นที่เพียงมอบให้คนไทยเป็นตัวแทนมาดำเนินการฟ้องร้อง และได้รับคำตัดสินให้เป็นผู้ชนะคดีในศาลชั้นต้น...!


แต่ที่จริงไชโยชนะที่ศาลญี่ปุ่นทั้ง 2 ศาล เพราะไม่มีศาลอุทธรณ์ในคดีเกี่ยวกับทรัพย์สินทางปัญญา ส่วนที่ศาลชั้นต้นในไทย ไชโย ก็เป็นฝ่ายชนะ

อาสะอาดลงวันที่เขียนเอาไว้ว่าเป็นวันที่ 4 ตุลาคม 2550 ซึ่งศาลฎีกาไทยได้กลับคำตัดสินศาลชั้นต้นให้ซึบูราญ่า โปรดัคชั่นส์ ชนะคดีไปเมื่อวันที่ 14 พฤษภาคม ปีเดียวกัน

ส่วนที่ซึบูราญ่า โปรดัคชั่นส์มอบให้คนไทยเป็นตัวแทนก็เป็นเรื่องปกติทั่วไป ทั้งยังแต่งตั้ง บริษัท เบเคอร์ แอนด์ แม็คเค็นซี่ จำกัด (นายมนู รักวัฒนกุล ทนายความ) เป็นทนายความบริษัท ซึบูราญ่า โปรดักชั่นส์ ด้วย

ท่านคงรู้บทสรุปแต่ไม่รู้ที่มาที่ไปของเรื่อง ได้แต่รับข้อมูลจากฝ่ายไทยฝ่ายเดียวเหมือนคนอื่นๆเช่นกัน

ส่วนอีกเล่ม “ความลับของยอดมนุษย์ อุลตร้าแมน”



หนังสือเล่มนี้ตีพิมพ์เมื่อ กันยายน 2550 โดยใช้ข้อมูลของลุงสมโพธิแต่ฝ่ายเดียวล้วนๆ คนเรียบเรียงเป็นเพื่อนผมเอง นักเรียนทุนญี่ปุ่นแต่ไม่ค่อยรู้เรื่องอุลตร้าแมนเอาซะเลย แต่เล่มนี้ก็ให้ข้อมูลบางอย่างที่น่าสนใจซึ่งผมก็ได้รวบรวมเอาประเด็นสำคัญๆมาบรรจุอยู่ในกระทู้นี้

ทว่าข้อมูลบางส่วนของอุลตร้าแมนในเล่มนี้ ผิดแบบไม่น่าให้อภัย



หรือรูปตีลังกาแบบนี้


ตอนที่ ๑๑ หมัดเด็ดของไชโย

เอกสารที่สมโพธิบอกว่าเป็นเสมือนของหมัดเด็ดไชโยคือจดหมายแสดงความเสียใจของ คาซูโอะ ลงวันที่ 23 กรกฎาคม 1996 (2539) เรื่องสิทธิหนังทีวีอุลตร้าแมนและจัมโบ้เอ ตามที่ระบุในสัญญาข้างต้น โดยที่ตอนนั้นซึบูราญ่า โปรดัคชั่นส์ ไปตั้งบริษัท ULTRACOM ในปี 1989 เพื่อดูแลลิขสิทธิ์ทั่วโลก



ข้อความสำคัญๆในจดหมายระบุว่า

(1) สมโพธิมีสิทธิแต่เพียงผู้เดียวที่จะใช้ประโยชน์จากทรัพย์สิน “จำนวนหนึ่ง” ที่รวมถึง ภาพยนตร์ชุดอุลตร้าแมน และ จัมโบ้ เอ ใน “อาณาเขตที่รวมถึงประเทศไทย” ตามสัญญาในปี 1976

(2) สัญญาระหว่างซึบูราญ่า โปรดัคชั่นส์ กับ อุลตร้าคอม อิ๊งค์ ที่ไม่ได้รวมสิทธิของไชโยนั้น “เป็นความผิดพลาดที่ไม่ได้ตั้งใจ”
ซึบูราญ่า โปรดัคชั่นส์ “เสียใจ” กับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นที่ทำให้เกิดความเสียหน้าและเสียหายกับไชโยในประเทศไทย
จึงได้ออกจดหมายฉบับนี้เพื่อกู้ความน่าเชื่อถือและความถูกต้องของไชโยในประเทศไทย


(3) บรรดาสัญญาที่ซึบูราญ่า โปรดัคชั่นส์ ได้ทำกับ อุลตร้าคอม อิ๊งค์ และ บริษัทต่างๆในไทย ขอให้ดำเนินต่อไปจนสิ้นสุดสัญญาโดยที่ไชโยจะไม่เรียกร้องใดๆ

ทางซึบูราญ่า โปรดัคชั่นส์ สู้ความเอกสารฉบับนี้ว่าถูกนายสมโพธิและลูกชายหลอกลวงให้หลงเชื่อโดยสัญญาปลอมว่าไชโยอยากเป็นตัวแทนจัดจำหน่ายลิขสิทธิ์อุลตร้าแมนในประเทศไทยและภูมิภาคแถบนี้ จึงเป็นเหตุให้คาซูโอะออกจดหมายฉบับนี้ให้

จดหมายฉบับดังกล่าวคาซูโอะออกให้ก็เพื่อ ให้ชี้แจงบรรดาตัวแทนจำหน่ายวิดีโอในประเทศไทยที่ไม่เชื่อสมโพธิ โดยที่รายละเอียดเรื่องสัญญาจัดจำหน่ายกำลังเจรจาอยู่และหวังว่าจะเสร็จสิ้นในอีกไม่นาน

ในจดหมายเองก็ไม่ได้บ่งบอกถึงเจตนาว่าสมโพธิได้รับมอบสิทธิ เพียงแต่เขาได้รับอนุญาตที่จะใช้ประโยชน์จากทรัพย์สินบางอย่างเท่านั้น

ตอนที่ ๑๑ หมัดเด็ดของไชโย

เอกสารที่สมโพธิบอกว่าเป็นเสมือนของหมัดเด็ดไชโยคือจดหมายแสดงความเสียใจของ คาซูโอะ ลงวันที่ 23 กรกฎาคม 1996 (2539) เรื่องสิทธิหนังทีวีอุลตร้าแมนและจัมโบ้เอ ตามที่ระบุในสัญญาข้างต้น โดยที่ตอนนั้นซึบูราญ่า โปรดัคชั่นส์ ไปตั้งบริษัท ULTRACOM ในปี 1989 เพื่อดูแลลิขสิทธิ์ทั่วโลก



ข้อความสำคัญๆในจดหมายระบุว่า

(1) สมโพธิมีสิทธิแต่เพียงผู้เดียวที่จะใช้ประโยชน์จากทรัพย์สิน “จำนวนหนึ่ง” ที่รวมถึง ภาพยนตร์ชุดอุลตร้าแมน และ จัมโบ้ เอ ใน “อาณาเขตที่รวมถึงประเทศไทย” ตามสัญญาในปี 1976

(2) สัญญาระหว่างซึบูราญ่า โปรดัคชั่นส์ กับ อุลตร้าคอม อิ๊งค์ ที่ไม่ได้รวมสิทธิของไชโยนั้น “เป็นความผิดพลาดที่ไม่ได้ตั้งใจ”
ซึบูราญ่า โปรดัคชั่นส์ “เสียใจ” กับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นที่ทำให้เกิดความเสียหน้าและเสียหายกับไชโยในประเทศไทย
จึงได้ออกจดหมายฉบับนี้เพื่อกู้ความน่าเชื่อถือและความถูกต้องของไชโยในประเทศไทย


(3) บรรดาสัญญาที่ซึบูราญ่า โปรดัคชั่นส์ ได้ทำกับ อุลตร้าคอม อิ๊งค์ และ บริษัทต่างๆในไทย ขอให้ดำเนินต่อไปจนสิ้นสุดสัญญาโดยที่ไชโยจะไม่เรียกร้องใดๆ

ทางซึบูราญ่า โปรดัคชั่นส์ สู้ความเอกสารฉบับนี้ว่าถูกนายสมโพธิและลูกชายหลอกลวงให้หลงเชื่อโดยสัญญาปลอมว่าไชโยอยากเป็นตัวแทนจัดจำหน่ายลิขสิทธิ์อุลตร้าแมนในประเทศไทยและภูมิภาคแถบนี้ จึงเป็นเหตุให้คาซูโอะออกจดหมายฉบับนี้ให้

จดหมายฉบับดังกล่าวคาซูโอะออกให้ก็เพื่อ ให้ชี้แจงบรรดาตัวแทนจำหน่ายวิดีโอในประเทศไทยที่ไม่เชื่อสมโพธิ โดยที่รายละเอียดเรื่องสัญญาจัดจำหน่ายกำลังเจรจาอยู่และหวังว่าจะเสร็จสิ้นในอีกไม่นาน

ในจดหมายเองก็ไม่ได้บ่งบอกถึงเจตนาว่าสมโพธิได้รับมอบสิทธิ เพียงแต่เขาได้รับอนุญาตที่จะใช้ประโยชน์จากทรัพย์สินบางอย่างเท่านั้น


Urutoraman ga naiteiru -- Tsuburaya Pro no shippai koudansha gendai shinsho

หรือ

อุลตร้าแมนกำลังร้องไห้ – ความล้มเหลวของซึบูราญ่าโปร โดย ฮิเดอาคิ ซึบูราญ่า สำนักพิมพ์โคดันฉะ

หนังสือหนา 224 หน้า ราคา 777 เยน หรือราวๆ 230 บาท (รูปหน้าปกยังไม่มี)

รหัส ISBN-10: 4062882159 หรือ ISBN-13: 978-4062882156

ฮิเดอาคิ ซึบูราญ่า (円谷英明) คือ ลูกชายคนรองของฮาจิเมะ เคยนั่งเป็นประธานซึบูราญ่า โปรดัคชั่นส์ คนที่ 6 ระหว่างปี 2004-5 แทนที่พี่ชาย (ลูกชายคนโตของฮาจิเมะ) มาซาฮิโระ ซึบูราญ่า ที่ลาออกเนื่องจากกรณีคุกคามทางเพศกับพนักงานในบริษัท

แกจบจากคณะวิทยาศาสตร์และวิศวกรรมศาสตร์จากมหา’ลัยชูโอ เข้าทำงานกับบริษัทบันได ก่อนจะย้ายมาทำงานที่ซึบูราญ่า โปรดัคชั่นส์ในปี 1983 จากนั้นไปนั่งตำแหน่งกรรมการผู้จัดการที่ ซึบูราญ่า เอ็นเตอร์ไพรส์ ก่อนมาเป็นประธานบริษัทซึบูราญ่า คอมมิวนิเคชั่นส์ หลังจากนั้นมาเป็น Exectuvie Director ซึบูราญ่า โปรดัคชั่นส์ และเลื่อนเป็นประธานบริษัทคนที่ 6 ในปี 2004

หลังลาออกจากบริษัทในปี 2005 เขาไปเปิดบริษัทของตัวเองชื่อ ซึบูราญ่า ดรีม แฟ็คตอรี่ ทำ special-effects ให้กับรายการทีวีในเมืองจีน

เขาจะมาเล่าเหตุการณ์บริษัทซึบูราญ่าโปรดัคชั่นส์ที่ก่อตั้งโดย เอยิ ซึบูราญ่า ซึ่งถูกขนานนามว่าเป็น “เทพเจ้าแห่งสเปเชี่ยล เอฟเอฟส์” ผู้นำเสนออุลตร้าแมนซีรีส์จนกลายเป็นฮีโร่ในดวงใจของเด็กๆในยุค 60’s ถึง 80’s และยังเป็นผู้นำทางเท็คโนโลยี special effects รวมถึงการทำ costume และ โมเดลขนาดเล็ก น่าจะกลายเป็นบริษัทชั้นนำในอุตสาหกรรมภาพยนตร์ของญี่ปุ่นและอาจเป็นหนึ่งในโลกเสียด้วยซ้ำ

เหตุใดทายาทของเอยิไม่สามารถทำความฝันของเขาให้สำเร็จ กลับกลายเป็นว่าตระกูลซึบูราญ่าต้องถูกอัปเปหิออกจากบริษัทแค่รุ่นที่ 3

เนื่องในโอกาสครบรอบ 50 ปีของบริษัทในปีนี้ เขาจะมาสาธยายความสำเร็จและความล้มเหลวของธุรกิจตระกูลซึบูราญ่า รวมถึงข้อมูลบางอย่างที่ไม่เคยเปิดเผยมาก่อน...

แผนผังนี้เป็นของแถมครับ

ลำดับอาวุโสให้ดูจากขวามาซ้ายตามแบบญี่ปุ่น-จีน ครับ



Urutoraman ga naiteiru -- Tsuburaya Pro no shippai koudansha gendai shinsho

หรือ

อุลตร้าแมนกำลังร้องไห้ – ความล้มเหลวของซึบูราญ่าโปร โดย ฮิเดอาคิ ซึบูราญ่า สำนักพิมพ์โคดันฉะ

หนังสือหนา 224 หน้า ราคา 777 เยน หรือราวๆ 230 บาท (รูปหน้าปกยังไม่มี)

รหัส ISBN-10: 4062882159 หรือ ISBN-13: 978-4062882156

ฮิเดอาคิ ซึบูราญ่า (円谷英明) คือ ลูกชายคนรองของฮาจิเมะ เคยนั่งเป็นประธานซึบูราญ่า โปรดัคชั่นส์ คนที่ 6 ระหว่างปี 2004-5 แทนที่พี่ชาย (ลูกชายคนโตของฮาจิเมะ) มาซาฮิโระ ซึบูราญ่า ที่ลาออกเนื่องจากกรณีคุกคามทางเพศกับพนักงานในบริษัท

แกจบจากคณะวิทยาศาสตร์และวิศวกรรมศาสตร์จากมหา’ลัยชูโอ เข้าทำงานกับบริษัทบันได ก่อนจะย้ายมาทำงานที่ซึบูราญ่า โปรดัคชั่นส์ในปี 1983 จากนั้นไปนั่งตำแหน่งกรรมการผู้จัดการที่ ซึบูราญ่า เอ็นเตอร์ไพรส์ ก่อนมาเป็นประธานบริษัทซึบูราญ่า คอมมิวนิเคชั่นส์ หลังจากนั้นมาเป็น Exectuvie Director ซึบูราญ่า โปรดัคชั่นส์ และเลื่อนเป็นประธานบริษัทคนที่ 6 ในปี 2004

หลังลาออกจากบริษัทในปี 2005 เขาไปเปิดบริษัทของตัวเองชื่อ ซึบูราญ่า ดรีม แฟ็คตอรี่ ทำ special-effects ให้กับรายการทีวีในเมืองจีน

เขาจะมาเล่าเหตุการณ์บริษัทซึบูราญ่าโปรดัคชั่นส์ที่ก่อตั้งโดย เอยิ ซึบูราญ่า ซึ่งถูกขนานนามว่าเป็น “เทพเจ้าแห่งสเปเชี่ยล เอฟเอฟส์” ผู้นำเสนออุลตร้าแมนซีรีส์จนกลายเป็นฮีโร่ในดวงใจของเด็กๆในยุค 60’s ถึง 80’s และยังเป็นผู้นำทางเท็คโนโลยี special effects รวมถึงการทำ costume และ โมเดลขนาดเล็ก น่าจะกลายเป็นบริษัทชั้นนำในอุตสาหกรรมภาพยนตร์ของญี่ปุ่นและอาจเป็นหนึ่งในโลกเสียด้วยซ้ำ

เหตุใดทายาทของเอยิไม่สามารถทำความฝันของเขาให้สำเร็จ กลับกลายเป็นว่าตระกูลซึบูราญ่าต้องถูกอัปเปหิออกจากบริษัทแค่รุ่นที่ 3

เนื่องในโอกาสครบรอบ 50 ปีของบริษัทในปีนี้ เขาจะมาสาธยายความสำเร็จและความล้มเหลวของธุรกิจตระกูลซึบูราญ่า รวมถึงข้อมูลบางอย่างที่ไม่เคยเปิดเผยมาก่อน...

แผนผังนี้เป็นของแถมครับ

ลำดับอาวุโสให้ดูจากขวามาซ้ายตามแบบญี่ปุ่น-จีน ครับ


ตอนที่ ๑๒ ศาลชั้นต้นไทยตัดสินก่อน ไชโย 1 : ซึบูราญ่า โปรดัคชั่นส์  0

การสีบพยานคดีนี้เป็นครั้งแรกที่ใช้ระบบการประชุมทางจอภาพแบบสดๆมาจากญี่ปุ่นหลายครั้ง มีการอ้างพยานบุคคลจำนวนมากถึง 48 ปาก กว่าครึ่งเป็นพยานบุคคลชาวญี่ปุ่น ยังมีนักวิชาการ ผู้เชี่ยวชาญจากกองพิสูจน์หลักฐาน พยานเอกสารซึ่งส่วนใหญ่เป็นภาษาต่างประเทศที่ต้องทำการแปล พยานวัตถุ รวมทั้งหมดฝ่ายโจทก์อ้างพยาน 335 อันดับ ฝ่ายจำเลยอ้างพยาน 358 อันดับ ใช้เวลาสืบพยาน 2 ปีเต็ม ใช้เวลาสืบ 65 ครั้ง

จากทีผมเคยดูการสืบพยานญี่ปุ่นแล้วก็ไม่แปลกใจว่าทำไมซึบูราญ่า โปรดัคชันส์ถึงแพ้ เพราะทางโน้นดูไม่เตรียมการมาเสียเลย การตอบคำถามก็อ้ำๆอึ้งๆ ไม่เหมือนฝ่ายไทยที่ตอบได้ฉะฉานตรงประเด็นและรวดเร็วกว่า

ประเด็นอย่างเรื่องสมโพธิไม่เคยออกมาอ้างสิทธิ์ตลอด 20 ปีจนกระทั่งนายโนโบรุเสียชีวิตเมื่อมิถุนายน 2538 (1995) โดนทำให้น้ำหนักเบาลงด้วยการสืบพยานว่า สมโพธิเคยให้สัมภาษณ์นิตยสารดังฉบับหนึ่งของไทยในปี 2536 ว่าตนเองมีสิทธิ์ในลิขสิทธิ์อุลตร้าแมนอย่างไร

หลังสืบพยานในศาลเป็นระยะเวลา 840 วัน ศาลชั้นต้นไทยมีคำตัดสินเมื่อวันที่ 4 เมษายน 2543 (2000) ให้ไชโยฯชนะคดี และซึบูราญ่า โปรดัคชั่นส์ ต้องชำระค่าเสียหายลุงสมโพธิเป็นเงิน 12 ล้านบาทบวกดอกเบี้ย 7.5% นับจากวันฟ้อง



ซึบูราญ่า โปรดัคชั่นส์ ขออุทธรณ์ต่อศาลฎีกา (ศาลทรัพย์สินทางปัญญามีแค่ 2 ศาล คือ ศาลชั้นต้น แล้ว ฎีกาเลยไม่มีศาลอุทธรณ์)


ตอนที่ ๑๒ ศาลชั้นต้นไทยตัดสินก่อน ไชโย 1 : ซึบูราญ่า โปรดัคชั่นส์  0

การสีบพยานคดีนี้เป็นครั้งแรกที่ใช้ระบบการประชุมทางจอภาพแบบสดๆมาจากญี่ปุ่นหลายครั้ง มีการอ้างพยานบุคคลจำนวนมากถึง 48 ปาก กว่าครึ่งเป็นพยานบุคคลชาวญี่ปุ่น ยังมีนักวิชาการ ผู้เชี่ยวชาญจากกองพิสูจน์หลักฐาน พยานเอกสารซึ่งส่วนใหญ่เป็นภาษาต่างประเทศที่ต้องทำการแปล พยานวัตถุ รวมทั้งหมดฝ่ายโจทก์อ้างพยาน 335 อันดับ ฝ่ายจำเลยอ้างพยาน 358 อันดับ ใช้เวลาสืบพยาน 2 ปีเต็ม ใช้เวลาสืบ 65 ครั้ง

จากทีผมเคยดูการสืบพยานญี่ปุ่นแล้วก็ไม่แปลกใจว่าทำไมซึบูราญ่า โปรดัคชันส์ถึงแพ้ เพราะทางโน้นดูไม่เตรียมการมาเสียเลย การตอบคำถามก็อ้ำๆอึ้งๆ ไม่เหมือนฝ่ายไทยที่ตอบได้ฉะฉานตรงประเด็นและรวดเร็วกว่า

ประเด็นอย่างเรื่องสมโพธิไม่เคยออกมาอ้างสิทธิ์ตลอด 20 ปีจนกระทั่งนายโนโบรุเสียชีวิตเมื่อมิถุนายน 2538 (1995) โดนทำให้น้ำหนักเบาลงด้วยการสืบพยานว่า สมโพธิเคยให้สัมภาษณ์นิตยสารดังฉบับหนึ่งของไทยในปี 2536 ว่าตนเองมีสิทธิ์ในลิขสิทธิ์อุลตร้าแมนอย่างไร

หลังสืบพยานในศาลเป็นระยะเวลา 840 วัน ศาลชั้นต้นไทยมีคำตัดสินเมื่อวันที่ 4 เมษายน 2543 (2000) ให้ไชโยฯชนะคดี และซึบูราญ่า โปรดัคชั่นส์ ต้องชำระค่าเสียหายลุงสมโพธิเป็นเงิน 12 ล้านบาทบวกดอกเบี้ย 7.5% นับจากวันฟ้อง



ซึบูราญ่า โปรดัคชั่นส์ ขออุทธรณ์ต่อศาลฎีกา (ศาลทรัพย์สินทางปัญญามีแค่ 2 ศาล คือ ศาลชั้นต้น แล้ว ฎีกาเลยไม่มีศาลอุทธรณ์)




<br /><br /></p><noembed /> </body></body>




Create Date : 26 พฤษภาคม 2556
Last Update : 26 พฤษภาคม 2556 13:53:16 น. 0 comments
Counter : 5333 Pageviews.  
 
Name
Opinion
*ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก

assuming
 
Location :


[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 6 คน [?]




[Add assuming's blog to your web]

 
pantip.com pantipmarket.com pantown.com