บอกแล้วไม่ฟัง
Group Blog
 
All blogs
 

=> สามเสาหลักเพื่อความมั่นคงของชีวิตวัยเกษียณ

รัฐบาลของทุกประเทศมีกฏหมายที่ว่าด้วยการสร้างความปลอดภัยให้ชีวิตของประชาชนในวัยชรา ด้วยการให้ความมั่นคงทางด้านการเงิน โดยสร้างระบบเงินออมเพื่อวัยชรา หรือที่เรียกว่า ระบบบำนาญ (Pension system) (คำว่า บำนาญ ในที่นี้หมายถึงเงินทุกแบบที่จะได้รับเมื่อเกษียณอายุจากการทำงาน ไม่ว่าจะได้รับในรูปแบบใดนานเท่าใด)


ตามแนวทางกว้างๆที่ใช้เป็นสากล ระบบบำนาญที่แข็งแรงต้องประกอบด้วยสามส่วน หรือที่เรียกกันว่า "สามเสาหลักของระบบบำนาญ (3 Pillars) "





คลิกอ่านต่อที่นี่ค่ะ




 

Create Date : 04 พฤษภาคม 2553    
Last Update : 29 พฤษภาคม 2553 20:02:53 น.
Counter : 1007 Pageviews.  

=>จะเห็นคุณค่าการออมก็ตอน...?

ช่วงหลัง ๆ มักจะเล่าเรื่องความจำเป็นของการออมเงิน การวางแผนทางการเงิน เพื่อตัวเราเองให้มีความมั่นคงทางด้านการเงินไปตลอดเวลา เพราะถ้าเราไม่ได้เกิดมามีเงินกองไว้รอให้ใช้เป็นถุง เป็นถัง แต่เป็นคนธรรมดาที่มีพ่อ แม่ ผู้ปกครอง ส่งเสียให้เล่าเรียนสูง ๆ เพื่อให้มีงานที่ดีทำ ด้วยความหวังว่า จะได้ไม่ลำบากเหมือนเช่นรุ่นพ่อ แม่ และแถมยังสามารถขยายขอบเขตไปดูแลท่านในยามแก่เฒ่าได้อีกด้วย ซึ่งเป็นเหมือนวัฎจักรของชีวิตปกติชน เราจึงจำเป็นต้องขยายกรอบความคิดเราให้ได้ว่า ท่านกลางแต่ละช่วงเวลาของเรานั้นเราต้องไม่ประมาท เพราะความประมาทเป็นหนทางไปสู่ความหายนะได้ เราจึงต้องวางแผนในแต่ละช่วงชีวิตในทุกด้านไว้เสมอ


ดังนั้น การคิด และ วางแผนการเงิน ก็เพื่อให้เราคิดป้องกันความเสี่ยงทางด้านการเงินของเราไว้ล่วงหน้า ไม่ว่าจะเป็นการเก็บออมเงินสำรองเอาไว้ หรือ การซื้อประกันเพื่อป้องกันความเสี่ยงก็ตาม ก็เพื่อให้เกิดความอุ่นใจว่า เมื่อถึงวัน หรือ เหตุการณ์หนึ่ง ๆ ขึ้นที่ไม่ได้คาดไว้ล่วงหน้า เช่น ในภาวะเศรษฐกิจที่ไม่รุ่งโรจน์เช่นเคย ส่งผลให้บริษัท หรือองค์กรเราต้องปลด หรือลดจำนวนผู้บริหารและพนักงานออก และเราก็อยู่ในข่ายถูก lay off หรือมีโครงการเสนอให้คน early retire ก็ตาม หรืออาจมีกรณีรถยนต์เสีย หรือถูกขโมยหายไป หรือ เหตุการณ์เจ็บป่วยเกิดขึ้น ซึ่งไม่ว่าจะเป็นเรื่องใด เราจำเป็นต้องใช้เงินทั้งสิ้น เพื่อเยียวยา หรือ รักษาชีวิตให้ดำเนินต่อไปได้โดยไม่สะดุด





คลิกอ่านต่อที่นี่ค่ะ






 

Create Date : 03 พฤษภาคม 2553    
Last Update : 29 พฤษภาคม 2553 20:11:31 น.
Counter : 601 Pageviews.  

=>อยากอยู่พอเพียงต้องรู้จักเพียงพอ

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงมีพระราชดำรัส เรื่อง “เศรษฐกิจพอเพียง” เมื่อวันเฉลิมพระชนมพรรษาในปี 2540 และได้ทรงขยายความ คำว่า “พอเพียง” เพิ่มเติมต่อไปว่าหมายถึง “พอมีพอกิน” ซึ่งแปลว่าเศรษฐกิจพอเพียงนั่นเอง ถ้าแต่ละคนมีพอมีพอกินก็ใช้ได้ ยิ่งถ้าทั้งประเทศพอมีพอกินก็ยิ่งดี”


“ประเทศไทยสมัยก่อนนี้ พอมีพอกิน มาสมัยนี้อิสระ ไม่มีพอมีพอกิน จึงจะต้องเป็นนโยบายที่จะทำเศรษฐกิจพอเพียง เพื่อที่จะให้ทุกคนพอเพียงได้ พอเพียงนี้ก็หมายความว่า มีกิน มีอยู่ ไม่ฟุ่มเฟือย ไม่หรูหราก็ได้ แต่ว่าพอ” ทรงเปรียบเทียบคำว่าพอเพียงกับคำว่า Self-Sufficiency ว่า “Self-Sufficiency นั้น หมายความว่า ผลิตอะไร มีพอที่จะใช้ ไม่ต้องไปขอยืมคนอื่น อยู่ได้ด้วยตนเอง เป็นไปตามที่เค้าเรียกว่ายืนบนขาของตัวเอง”


นับแต่ปี 2540 ที่พระองค์ท่านได้มีพระราชดำรัสอันทรงคุณค่ายิ่ง และเป็นจริงทุกกาลเวลาต่อทุกคนทั้งประเทศนั้น ในวันนี้ขออัญเชิญพระราชดำรัสพระองค์ท่านมาย้ำทำความเข้าใจกันอีกครั้ง เนื่องจากในช่วงเวลาที่ผ่านมาประชาชนหลายคนจำนวนไม่น้อยได้ติดกับไปกับการบริโภคนิยม ที่นิยม“ใช้จ่าย” (Spending) มากกว่าที่จะ “ออม” (Saving) โดยเฉพาะการออมเพื่อให้มีเงินไว้ใช้ในตอนที่ไม่มีเงินหรือออมเพื่อให้มีใช้ตอนเกษียณอายุ ซึ่งนับเป็นเรื่องจำเป็นและสำคัญยิ่ง





คลิกอ่านต่อที่นี่ค่ะ




 

Create Date : 30 เมษายน 2553    
Last Update : 29 พฤษภาคม 2553 20:16:21 น.
Counter : 945 Pageviews.  

“อายุยืน” ข่าวดีและข่าวร้าย

สำหรับคนหลายคนที่จะต้องหยุดการทำงานในหน้าที่ตามปกติ อันเนื่องมาจากการเกษียณอายุราชการในเดือนนี้ หรือสำหรับภาคเอกชนก็จะเป็นปีปฏิทินในปีที่หน่วยงานนั้น ๆ กำหนดอายุไว้ว่าจะต้องเกษียณอายุ ไม่ว่าจะเป็น 55 ปี 60 ปี หรือเลยไปถึง 65 หรือ 70 ปีก็ตาม แต่สำหรับคนทำงานวันหนึ่งก็จะต้องถึงวันที่เราจะต้องหยุดการทำงานของเราทุกคน


สิ่งที่ผู้คนจะต้องคิดพร้อม ๆ ไปกับการเกษียณนั่นคือ “เราจะอายุยืนยาวเพื่อทำในสิ่งที่เราอยากทำมาตั้งนานแล้วเสียที” ไม่เชื่อไปถามใครที่จะเกษียณ หรือลาออกก่อนกำหนดก็ตาม ส่วนใหญ่แล้วก็มักจะตอบว่า อยากจะใช้เวลาทำสิ่งที่สิ่งที่ในช่วงเวลาที่ผ่านมาไม่ได้ทำหรือทำน้อยไปทั้งสิ้น ไม่ว่าจะเป็นเรื่องดูแลตัวเอง ดูแลครอบครัว ทำธุรกิจส่วนตัวที่เริ่มไว้อย่างจริงจัง พัก อ่านหรือเขียนหนังสือ ฯลฯ


ดังนั้น เมื่อเรามีอายุยืนยาวเพิ่มขึ้นนั่นย่อมแปลว่าเราก็ต้องแก่มากขึ้นพร้อม ๆ กันไป สิ่งนี้เป็นสัจธรรมที่หลีกเลี่ยงไม่ได้เลย แต่ว่าการมีอายุยืนยาวนั้นเป็นทั้งข่าวดีและข่าวร้าย ข่าวดีคือ เราจะมีชีวิตยืนยาวเพื่อทำสิ่งที่เราฝันอยากทำได้อย่างสมใจ แต่ในขณะเดียวกันก็เป็นข่าวร้าย เพราะเราจะมีชีวิตยืนยาวได้อย่างไม่น่าอนาถเราต้องมี “เงิน” เพราะการมีชีวิตนั้นคือการใช้จ่าย ไม่มากก็น้อยก็ต้องใช้จ่าย ยิ่งเราอายุยืนเท่าไหร่ ก็ต้องมีเงินเป็นค่าใช้จ่ายมากเท่านั้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งปัจจุบันที่ผู้คนอายุยืน 100 ปีได้ไม่ยาก เพราะการแพทย์และการใช้ชิวิตที่ดีกว่าเดิมนั่นเอง นั่นหมายถึงเมื่อคุณเกษียณเมื่ออายุ 60 ปี เท่ากับว่า คุณจะมีอายุไปอีก 4 ทศวรรษเลยทีเดียว




คลิกอ่านต่อที่นี่ค่ะ





 

Create Date : 29 เมษายน 2553    
Last Update : 29 พฤษภาคม 2553 20:19:32 น.
Counter : 726 Pageviews.  

3 เรื่องน่าคิดที่ต้องปรับให้เข้ากับชีวิตหลังแกษียณ

“ เงิน สุขภาพ สังคม ” เป็นเรื่องที่จะต้องเข้าไปเกี่ยวข้องกับการดำเนินชีวิตของบุคคลทุกเพศทุกวัยอยู่แล้ว โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ที่ก้าวเข้าสู่วัยเกษียณหรือวัยสูงอายุ 3 เรื่องนี้จะทวีความสำคัญมากขึ้นสำหรับบุคคลกลุ่มนี้ 3 เรื่องที่น่าคิดนี้ เรามาดูในประเด็นสำคัญ ๆ กันนะคะ ว่ามีอะไรกันบ้างที่ต้องคิดให้ดี ๆ กันค่ะ


3 เรื่องน่าคิดที่ต้องปรับให้เข้ากับชีวิตหลังแกษียณ“ เงิน สุขภาพ สังคม ” เป็นเรื่องที่จะต้องเข้าไปเกี่ยวข้องกับการดำเนินชีวิตของบุคคลทุกเพศทุกวัยอยู่แล้ว โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ที่ก้าวเข้าสู่วัยเกษียณหรือวัยสูงอายุ 3 เรื่องนี้จะทวีความสำคัญมากขึ้นสำหรับบุคคลกลุ่มนี้ 3 เรื่องที่น่าคิดนี้ เรามาดูในประเด็นสำคัญ ๆ กันนะคะ ว่ามีอะไรกันบ้างที่ต้องคิดให้ดี ๆ กันค่ะ





คลิกอ่านต่อที่นี่ค่ะ





 

Create Date : 28 เมษายน 2553    
Last Update : 29 พฤษภาคม 2553 20:28:13 น.
Counter : 530 Pageviews.  

1  2  3  4  5  6  7  

amaridar
Location :


[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed

ผู้ติดตามบล็อก : 2 คน [?]




Friends' blogs
[Add amaridar's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.