Group Blog
 
<<
ตุลาคม 2550
 123456
78910111213
14151617181920
21222324252627
28293031 
 
5 ตุลาคม 2550
 
All Blogs
 
ความสำคัญของ ๖ ตุลา กับสถานะทางประวัติศาสตร์

เรียบเรียงโดย วิภา ดาวมณี





ในอดีตเคยมีเหตุการณ์นองเลือดทางการเมืองเกิดขึ้นในกรุงเทพฯ หลายครั้งหลายหน ได้แก่ กบฎบวรเดช ๑๑ – ๒๗ ตุลาคม ๒๔๗๖ กบฎวังหลัง ๒๖ กุมภาพันธ์ ๒๔๙๒ กบฎแมนฮัตตัน ๒๙ มิถุนายน ๒๔๙๔ เหตุการณ์ ๑๔ ตุลาคม ๒๕๑๖ เหตุการณ์ ๖ ตุลาคม ๒๕๑๙ เหตุการณ์ ๑๘ – ๒๐ พฤษภาคม ๒๕๓๕ คงไม่มีใครปฏิเสธได้ว่าเหตุการณ์นองเลือด กลางพระนครครั้งรุนแรงและโหดร้ายที่สุด คือ เหตุการณ์ ๖ ตุลาคม ๒๕๑๙

ในบทความซึ่งอาจจะดีที่สุดเกี่ยวกับ “การรัฐประหาร ๖ ตุลาคม ๒๕๑๙” โดยศาสตราจารย์เบเนดิก แอนเดอร์สัน กล่าวไว้ว่า โดยตัวของมันเองแล้วรัฐประหาร ๖ ตุลา ไม่ใช่เรื่องใหม่ในประวัติศาสตร์ไทย ไม่ว่าจะในสมัยใหม่หรือสมัยเก่า เพราะเคยมีรัฐประหารหรือความพยายามที่จะทำรัฐประหารมาแล้วครั้งแล้วครั้งเล่านับตั้งแต่การปฏิวัติ ๒๔๗๕ ดังนั้นทั้งนักวิชการและนักหนังสือพิมพ์ตะวันตก ต่างก็ลงความเห็นว่า “การรัฐประหาร ๖ ตุลา” เป็นเรื่อง “ธรรมดาๆ” ของการเมืองไทย และเป็นการกลับไปสู่ “สภาพปกติ” หลังจากยุค “ประชาธิปไตยเบ่งบาน” หลังการปฏิวัติ ๑๔ ตุลา ๒๕๑๖ มาเป็นเวลา ๓ ปี

แต่เบเนดิก แอนเดอร์สัน ก็กล่าวว่า “การรัฐประหาร ๖ ตุลา” เป็นหัวเลี้ยวหัวต่อใหม่ของการเมืองไทยอย่างน้อย ๒ ประเด็น คือ (๑) บรรดาผู้นำฝ่ายซ้าย แทนที่จะจบลงด้วยการถูกจับเข้าคุกจนลืม หรือลี้ภัยการเมืองไปอยู่ต่างประเทศ กลับเข้าร่วมกับพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย หรือกองทัพปลดแอกประชาชนแห่งประเทศไทยในเขตป่าเขา และ (๒) การรัฐประหาร ๖ ตุลา แตกต่างจากการรัฐประหารที่เคยมีมา คือ ไม่ใช่เพียงการยึดอำนาจกันในหมู่ผู้นำเท่านั้น แต่เป็นการรัฐประหารที่ฝ่ายขวาหรือ กลุ่มอนุรักษ์นิยมใช้เวลากว่า ๒ ปี ในการวางแผนการรณรงค์ คุกคาม และใช้ความรุนแรงอย่างเปิดเผย เห็นได้อย่างโจ่งแจ้งในการปลุกปั่นยุยงให้เกิดความบ้าคลั่งของฝูงชน “ม็อบ” เมื่อวันที่ ๖ ตุลาคม ๒๕๑๙

การรัฐประหาร ๖ ตุลา มาพร้อมกับความรุนแรงและป่าเถื่อน อย่างชนิดที่ไม่มีผู้ใดคาดคิดว่าจะเกิดขึ้นได้ในสังคมไทย ภาพของความทารุณโหดร้ายได้รับการเผยแพร่ไปทั่วโลก การสังหารหมู่กลางพระนคร หน้าพระบรมมหาราชวัง และ พระอารามหลวงในวันนั้น ถูกถ่ายทอดออกโทรทัศน์ช่อง ๙ ด้วย เหยื่อความรุนแรงก็ถูกจับเข้าคุก ส่วนผู้ที่ก่ออาชญากรรมก็ได้รับการขอบคุณยกย่องจากบุคคลระดับสูงของสังคมไทย เย็นวันเดียวกันนั้น คณะทหารก็ประกาศยึดอำนาจ ทางการแถลงว่าในวันนั้นมีผู้เสียชีวิตประมาณ ๔๐ คน บาดเจ็บเป็นร้อย และถูกจับกุมไป ๓ พันคน แต่ก็เชื่อกันว่าจำนวนผู้เสียชีวิต บาดเจ็บ รวมทั้งสูญหายน่าจะสูงกว่าที่ทางการแถลง

กล่าวโดยย่อ ๖ ตุลาคม ๒๕๑๙ ก็คือวันที่มีการรัฐประหาร นำการเมืองไทยกลับไปสู่การปกครองโดยคณะทหารอีกครั้งหนึ่ง โดยมีนายกรัฐมนตรีมาจากข้าราชการตุลาการ

ยิ่งนานวัน ๖ ตุลาคม ๒๕๑๙ กลายเป็นอดีตที่ดูเหมือนผ่านมาแล้วก็ผ่านไป “ขาดสถานะทางประวัติศาสตร์” ผู้ที่เกี่ยวข้องกับเหตุการณ์นั้นทั้งโดยตรงและโดยอ้อม ทั้งจากอุดมการณ์ทั้งขวาและซ้าย ดูจะสับสน งุนงง เลอะเลือน และบางครั้งขาดความเข้าใจต่อ ๖ ตุลา ในบริบทเฉพาะของการเมืองไทย และบริบทใหญ่ของการเมืองโลก

ในบริบทประวัติศาสตร์การเมืองไทย ๖ ตุลา เป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการทางสังคมที่เป็นปฏิปักษ์ ต่อต้าน และพยายามปลดปล่อยตนเองจากการครอบงำของระบอบสังคมเก่า ขบวนการนี้รู้จักในชื่อต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น “ประชาธิปไตย” “รัฐธรรมนูญ” หรือ “เสรีภาพ”

แนวความคิดทางการเมืองใหม่โดยพาะอย่างยิ่ง “เสรีนิยม” และ “สังคมนิยม” อันเป็นสิ่งที่ตรงข้ามและปฏิปักษ์กับลัทธิ “อนุรักษ์นิยม” หรือที่แตกหน่ออกมาเป็น “อำนาจนิยม” คือพื้นฐานของ “สมบูรณาญาสิทธิ์” กับ “เสนา – อำมาตยนิยม”

ถ้าหากจะดูตามลำดับเหตุการณ์ทางประวัติศาสตร์แล้ว จะเห็นได้ว่าความเปลี่ยนแปลงทางการเมืองและทางความคิด กินระยะเวลาอันยาวนานกว่า ๑๐๐ ปี

อาจกล่าวได้ว่ากระแสความคิดทางการเมืองหลักของผู้ที่ต้องการจะปลดปล่อย นับตั้งแต่เทียนวรรณมาถึงพวกกบฎ ร.ศ. ๑๓๐ (เก็กเหม็ง) จนกระทั่ง “ผู้ก่อการ” หรือ “คณะราษฎร” ๒๔๗๕ นั้นเป็นความคิดด้านเสรีนิยมเป็นหลัก เมื่อการปลดปล่อยเข้าสู่ระบอบใหม่ภายหลังการปฏิวัติ ๒๔๗๕ ไม่บรรลุตามเป้าหมายหลังการสิ้นสุดของ “สมบูรณาญาสิทธิ์” การเมืองไทยจึงได้แปลงรูประบอบเข้าสู่ความเป็น “เสนา – อำมาตยนิยม” เรียกกันทั่วๆ ไปว่า “เผด็จการทหาร” ซึ่งในความจริงไม่ได้จำกัดอยู่เพียงข้าราชการทหารเท่านั้น แต่รวมไปถึงข้าราชการพลเรือนและข้าราชการตุลาการด้วย

การปลดปล่อยตัวเองนี้ยังยืดเยื้อยาวนานมาอีก ผ่านช่วงของเหตุการณ์ ๖ ตุลา ๒๕๑๙ ผ่านช่วงพฤษภามหาโหด ๒๕๓๕ จนกระทั่งปัจจุบัน เมื่อ ๑๙ กันยายน ปีที่ผ่านมา ในช่วงของการเดินทางของประวัติศาสตร์การเมืองไทยนับแต่ ๒๕๑๙ เป็นต้นมา

ในทางสากลกระแสคลื่นของการปฏิวัติยังคงกระจัดกระจายอยู่ทั่วไป คละเคล้าด้วยความคิดทั้งแบบเสรีนิยมและแบบสังคมนิยม โดยเฉพาะอย่างยิ่งในทศวรรษ ๑๙๖๐ และ ๑๙๗๐ ที่เป็นยุคสมัยของขบวนการนักศึกษาทั่วโลก ขบวนการนักศึกษากลายเป็นพลังทางสังคมและการเมืองสำคัญ 4 ทศวรรษที่กล่าวมาแล้ว ซึ่งก็ตรงกับช่วงก่อนและหลัง ๑๔ ตุลาคม ๒๕๑๖ พลังนี้มาจากปัญญาชนที่อยู่ในสถาบันทางความรู้ อยู่ในเมืองใหญ่ ใกล้กับอำนาจและสื่อมวลชน มาจากชนชั้นนำของสังคม

ในประเทศด้อยพัฒนา และกำลังพัฒนา รัฐจะดูเปราะบาง ไม่คุ้นเคยกับ ประชาธิปไตยและเสรีภาพ และไม่ฉลาดพอกับการจัดการกับขบวนการศึกษาของตนโดยสันติวิธี บ่อยครั้งรัฐจะทำเกินกว่าเหตุ ใช้ความรุนแรงและการทำลายชีวิตในการเผชิญกับปัญหา อย่างในเอเชียภาพของ “อาชญากรรมโดยรัฐ” กลายเป็นภาพที่คุ้นตา ทั้งพม่า ไทย จีน อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ เกาหลี ฯลฯ



ประติมานุสรณ์ ๖ ตุลา ที่หน้าหอประชุมใหญ่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ถูกสร้างขึ้นเมิ่สภามหาวิทยาลัยมีมติเห็นชอบ ในโอกาสครบรอบ ๒๐ ปี มี ตุลา มีลักษณะเป็นเขื่อนกั้นลำธาร การพัฒนาประชาธิปไตย อันสะท้อนว่าเจตนารมณ์ของหนุ่มสาวนักต่อสู้ที่ชิงชังต่อเผด็จการ แลอำนาจนิยมได้ถูกปิดกั้น



และประชาธิปไตยในปัจจุบันก็เป็นผลสะท้อนจากเหตุการณ์ ๖ ตุลา



คนที่มองว่าเราควรลืมเหตุการณ์ ๖ ตุล าคือคนที่ต้องการให้สังคมไทยล้มลุกคลุกคลานต่อไป

ในท่ามกลางความมืดมน ประติมานุสรณ์ ๖ ตุลา คือความพยายามระดับหนึ่งที่จะนำแสงสว่างกลับมาสู่สังคมไทย

นี่คือความจำเป็นในการชำระประวัติศาสตร์ ๖ ตุลาคม ๒๕๑๙





( หมายเหตุ: จาก ในหนังสือ ๑๔-๖ ตุลา พิมพ์ครั้งแรกในหนังสือประจำงาน ๒๐ ปี ๖ ตุลา ของ คณะกรรมการดำเนินงาน ๒๐ ปี ๖ ตุลา ๒๕๓๙ เขียนโดยชาญวิทย์ เกษตรศิริ และหนังสือ ประติมานุสรณ์ 6 ตุลา 2519 จัดทำโดย คณะกรรมการดำเนินงานสร้างกำแพงประวัติศาสตร์ ธรรมศาสตร์กับการต่อสู้เพื่อประชาธิปไตยในวาระเปิดประติมานุสรณ์ ๖ ตุลา เมื่อ วันที่ ๖ ตุลา ๒๕๔๓ )

ที่มา //www.2519.net



Create Date : 05 ตุลาคม 2550
Last Update : 5 ตุลาคม 2550 12:09:10 น. 0 comments
Counter : 875 Pageviews.

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

Darksingha
Location :
สมุทรสงคราม Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed

ผู้ติดตามบล็อก : 7 คน [?]





Click for use Graphics comment


Darksingha ที่แสดงถึงอำนาจและความมืดมัว ผมให้แทนคำว่า Age of Doubt หรือยุคแห่งความสงสัยก็แล้วกัน ดังนั้นBlogนี้จึงเป็นแดนสนธยาที่เต็มไปด้วยหมอกควันแห่งคำถาม และการละเล่น เพื่อแสวงหา ?


TV3 Live CH5 Live CH7 Live Modernine TV Live NBT LIVE - CH11 TPBS - Public Channel ASTV1 New11 - Online News 24 hours Nation Channel DMC.TV - Buddhistic Television ASTV5 - Suvarnbhumi ASTV7 - Buddhistic Television  True New 24 Channel  skynew  cnnibn Channel  cnn Channel  bbcnews_island Channel  cctv  Channel  bfmtv  Channel  ntv  Channel  fox8 Channel  foxnews5 Channel  cspan  Channel  france24 Channel  world_explorer Channel  discovery_channel Channel  nasa  Channel kimeng-channel dmc-channel ebr-channel research-channel utv-channel michigan-channel at-florida-channel islam-channel peace-usa-channel bbc-panorama-channel CH7 Live CH7 Live CH7 Live CH7 Live CH7 Live CH7 Live CH7 Live CH7 Live

music is life

ชุมทางเพลงเพื่อชีวิต

Friends' blogs
[Add Darksingha's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.