30.2 พระสูตรหลักถัดไป คือนันทนสูตร [พระสูตรที่ 11]
การสนทนาธรรมนี้ต่อเนื่องมาจาก
30.1 พระสูตรหลักถัดไป คือนันทนสูตร [พระสูตรที่ 11]

ความคิดเห็นที่ 20
GravityOfLove, 13 พฤษภาคม เวลา 22:41 น.

              คุณ GravityOfLove พอจะยกตัวอย่างความเฉลียวฉลาด
ของพระนางมัลลิกาได้หรือไม่?
             ๑. มัลลิกาสูตรและราชสูตร
             พระนางมัลลิกาทูลตอบพระสวามี (พระเจ้าปเสนทิโกศล) ตามจริงตามที่ตนคิด
(ไม่ได้พูดหวานเพื่อเอาใจ) คือตอบว่าไม่มีใครอื่นเป็นที่รักยิ่งกว่าตน เพื่อเป็นอุบาย
ให้พระสวามีได้คิดให้ประจักษ์ด้วยตนเองว่า เป็นดังนั้นจริง
             ๒. ปิยชาติกสูตร
             พระนางมัลลิกาทรงอธิบายคำว่า โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส และอุปายาส
ว่าย่อมเกิดแต่ของที่รัก เป็นมาแต่ของที่รัก ให้พระเจ้าปเสนทิโกศลฟังจนเข้าใจและ
เลื่อมใสในพระธรรม
//84000.org/tipitaka/read/v.php?B=13&A=8452&Z=8627

             เพิ่มเติม
             อรรถกถากล่าวว่า พระนางมัลลิกาเทวีนั้นเป็นบัณฑิต เป็นอุปัฏฐายิกาของพระพุทธเจ้า
ป็นอุปัฏฐายิกาของพระสงฆ์ มีปัญญามาก
//www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=15&i=346

             อรรถกถากล่าวว่า ท่านพระอานนท์ทูลพระผู้พระภาคว่า
             พระนางมัลลิกาเทวี เรียนโดยเคารพ ท่องโดยเคารพ อาจให้ข้าพระองค์รับรองพระบาลีโดยเคารพ
//www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=25&i=14&p=7#พระอานนท์สอนธรรมพระราชเทวีทั้งสอง

ความคิดเห็นที่ 21
ฐานาฐานะ, 13 พฤษภาคม เวลา 23:29 น.

              ตอบคำถามได้ดีครับ
              ข้อที่ผมเห็นว่า พระนางมัลลิกาทรงเฉลียวฉลาด
ก็มาในพระสูตรที่นำมาตอบเหมือนกัน คือในปิยชาติกสูตร
              1. เมื่อพระนางยังไม่แน่ใจว่า เนื้อความนั้นเป็นพระพุทธดำรัส
ทั้งยังไม่เข้าใจอรรถแห่งเนื้อความนั้น ก็ทรงตอบอย่างมีเงื่อนไขว่า
              พระนางมัลลิกาเทวีกราบทูลว่า
              ข้าแต่พระมหาราช ถ้าคำนั้นพระผู้มีพระภาคตรัสจริง คำนั้นก็เป็นอย่างนั้น เพคะ
              เป็นการตอบที่ฉลาด เพราะมีเงื่อนไข.
              2. เมื่อยังไม่แน่ใจและยังไม่เข้าใจอรรถแห่งเนื้อความนั้น
ก็ขวนขวายเพื่อให้เข้าใจอรรถแห่งเนื้อความนั้น ด้วยการส่งเจ้าพนักงาน
ไปเข้าเฝ้าพระผู้มีพระภาค แล้วให้กราบทูลถาม และสั่งให้เจ้าพนักงาน
เรียนพระพุทธดำรัส หรือคำตอบนั้นมาให้ดี (กำชับ) ด้วยคำว่า

              และท่านจงทูลถามอย่างนี้ว่า
              ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระวาจาว่า โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส และอุปายาส
ย่อมเกิดแต่ของที่รัก เป็นมาแต่ของที่รัก ดังนี้ พระผู้มีพระภาคตรัสจริงหรือ
              พระผู้มีพระภาคทรงพยากรณ์แก่ท่านอย่างไร ท่านพึงเรียนพระดำรัสนั้นให้ดี
แล้วมาบอกแก่ฉัน อันพระตถาคตทั้งหลายย่อมตรัสไม่ผิดพลาด.

              3. เมื่อเข้าใจอรรถแห่งเนื้อความแล้ว และเมื่อจะอธิบายต่อพระราชา
ก็ยกบุคคลอื่นๆ ขึ้นถามว่า บุคคลเหล่านั้นเป็นที่รักของพระราชาหรือ?
จากนั้น จึงค่อยยกตนเองขึ้นเป็นคำถาม เพราะหากยกตนเองขึ้นเป็นคำถาม
พระราชายังทรงกริ้วอยู่ อาจไม่ทรงตอบตามที่คาดคะเนไว้ การอธิบายก็จะไม่เป็นผล.

              [๕๔๖] ข้าแต่พระมหาราชา ทูลกระหม่อมจะทรงเข้าพระทัยความข้อนั้นเป็นไฉน
หม่อมฉันเป็นที่รักของทูลกระหม่อมหรือ เพคะ?
              ป. อย่างนั้น มัลลิกา เธอเป็นที่รักของฉัน.
              ม. ข้าแต่พระมหาราชา ทูลกระหม่อมจะทรงเข้าพระทัยความข้อนั้นเป็นไฉน
เพราะหม่อมฉันแปรปรวนเป็นอย่างอื่นไป โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส และอุปายาส
จะพึงเกิดแก่ทูลกระหม่อมหรือหาไม่ เพคะ?
              ป. ดูกรมัลลิกา เพราะเธอแปรปรวนเป็นอย่างอื่นไป แม้ชีวิตของฉันก็พึงเป็นอย่างอื่นไป
ทำไม โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส และอุปายาส จักไม่เกิดแก่ฉันเล่า.
              ม. ข้าแต่พระมหาราชา ข้อนี้แล ที่พระผู้มีพระภาคผู้ทรงรู้ ทรงเห็น เป็นพระอรหันต์
ตรัสรู้เองโดยชอบ ทรงมุ่งหมายเอา ตรัสไว้ว่า โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส และอุปายาส
ย่อมเกิดแต่ของที่รัก เป็นมาแต่ของที่รัก เพคะ?
//84000.org/tipitaka/read/v.php?B=13&A=8452&Z=8627#546

              ก็สมัยนั้น พระนางมัลลิกาเทวีได้ทิวงคต
//84000.org/tipitaka/pitaka_item/r.php?B=22&A=1306&w=พระนางมัลลิกาเทวีได้ทิวงคต

ความคิดเห็นที่ 22
GravityOfLove, 13 พฤษภาคม เวลา 23:45 น.

ขอบพระคุณค่ะ

ความคิดเห็นที่ 23
ฐานาฐานะ, 13 พฤษภาคม เวลา 23:45 น.

             เป็นอันว่า พระสูตรชื่อว่า นันทนสูตร, นันทิสูตรและนัตถิปุตตสมสูตร จบบริบูรณ์.
//84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=15&A=141&Z=179

              พระสูตรหลักถัดไป คือ ขัตติยสูตร [พระสูตรที่ 14].
              พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๕  พระสุตตันตปิฎก เล่ม ๗
              สังยุตตนิกาย สคาถวรรค
              ขัตติยสูตรที่ ๔
//84000.org/tipitaka/read/v.php?B=15&A=180&Z=191
              ศึกษาอรรถกถานี้ ได้ที่ :-
//84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=15&i=30

ความคิดเห็นที่ 24
GravityOfLove, 13 พฤษภาคม เวลา 23:57 น.

             กรุณาอธิบายค่ะ
             ๑๕. สกมานสูตร
//84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=15&A=192&Z=199&bgc=honeydew&pagebreak=0

             ๑. ชื่อพระสูตร สกมาน  แปลว่าอะไรคะ
             ๒. ชื่อว่าเวลาเที่ยงวันนี้เป็นเวลาทุรพลแห่งอิริยาบถของสรรพสัตว์ทั้งหลาย
เมื่อนกทั้งหลายพักร้อน ในเวลาตะวันเที่ยง ป่าใหญ่ประหนึ่งว่าครวญคราง
ความครวญครางของป่านั้นเป็นภัยปรากฏแก่ข้าพเจ้า
             แปลว่า ตอนเที่ยงเสียงนกร้องระงมเสียงดังรบกวน ต้นไม้ก็เสียดสีดังรบกวน
หรือแปลว่า ตอนเที่ยงเสียงนกเงียบไป ต้นไม้เสียดสีดังรบกวนคะ
---------------
             ๑๖. นิททาตันทิสูตร
//84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=15&A=200&Z=208&bgc=honeydew&pagebreak=0

             พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนอัคคิเวสนะ เราย่อมทราบ ในเดือนท้ายฤดูคิมหันต์
(ฤดูร้อน) เราก้าวลงสู่ความหลับ ดังนี้ เพราะความหลับอันเป็นอัพยากตะเห็นปานนี้
ถีนมิทธะจึงเกิดขึ้นในอกุศลจิตอันเป็นสสังขาริกของพระเสขะและปุถุชนทั้งหลาย
ทั้งในส่วนเบื้องต้นและเบื้องปลาย.


             บทว่า อริยมคฺโค ได้แก่ โลกุตรมรรค. <--- เทวดากล่าว
             บทว่า อริยมคฺโค ได้แก่ โลกิยะและโลกุตรมรรค. <--- พระผู้มีพระภาคตรัส
             ๒ บรรทัดนี้ความหมายต่างกันอย่างไรคะ
             ขอบพระคุณค่ะ

ความคิดเห็นที่ 25
ฐานาฐานะ, 14 พฤษภาคม เวลา 01:17 น.

GravityOfLove, 16 นาทีที่แล้ว
             กรุณาอธิบายค่ะ
             ๑๕. สกมานสูตร
//84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=15&A=192&Z=199&bgc=honeydew&pagebreak=0

             ๑. ชื่อพระสูตร สกมาน  แปลว่าอะไรคะ
ตอบว่า สันนิษฐานว่า สกมาน น่าจะแปลว่า ใจของตน
นัยคือ ปรากฎแก่ตนๆ หรือปรากฎแก่ใจตนๆ
             กล่าวคือ สิ่งที่เหมือนกัน แต่บางอย่างปรากฎแก่ใจของผู้หนึ่งอย่างหนึ่ง
แก่อีกบุคคลหนึ่งอีกอย่างหนึ่ง ขึ้นอยู่ใจของคนๆ นั้นจะเป็นอย่างไร.
             สันนิษฐานล้วน.

             ๒. ชื่อว่าเวลาเที่ยงวันนี้เป็นเวลาทุรพลแห่งอิริยาบถของสรรพสัตว์ทั้งหลาย
เมื่อนกทั้งหลายพักร้อน ในเวลาตะวันเที่ยง ป่าใหญ่ประหนึ่งว่าครวญคราง
ความครวญครางของป่านั้นเป็นภัยปรากฏแก่ข้าพเจ้า
             แปลว่า ตอนเที่ยงเสียงนกร้องระงมเสียงดังรบกวน ต้นไม้ก็เสียดสีดังรบกวน
หรือแปลว่า ตอนเที่ยงเสียงนกเงียบไป ต้นไม้เสียดสีดังรบกวนคะ

ตอบว่า สันนิษฐานว่า เป็นเที่ยง แดดร้อน ทำให้สัตว์ทั้งหลายร้อน
เป็นอุปสรรคต่อการยืนเดิน จึงทำให้สรรพสัตว์อ่อนกำลัง จึงหาที่พักร้อน
นกก็หาที่พักร้อน ก็ไปจับใต้กิ่งไม้ใหญ่ที่มีร่มเงา แล้วก็ส่งเสียงดังตามประสานก.
             ส่วนเสียงต้นไม้เสียดสีดังรบกวน น่าจะเป็นบทเสริมของอรรถกถาเท่านั้น
คือ เสียงดังของนกและเสียงต้นไม้เสียดสีกัน ถือนัยตามบาลีว่า
             เมื่อนกทั้งหลายพักร้อน ในเวลาตะวันเที่ยง ป่าใหญ่ประหนึ่งว่าครวญคราง
             จึงถือว่า เสียงจากนกเป็นนัยหลัก.

ความคิดเห็นที่ 26
ฐานาฐานะ, 14 พฤษภาคม เวลา 01:21 น.

             ๑๖. นิททาตันทิสูตร
//84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=15&A=200&Z=208&bgc=honeydew&pagebreak=0

             พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนอัคคิเวสนะ เราย่อมทราบ ในเดือนท้ายฤดูคิมหันต์
(ฤดูร้อน) เราก้าวลงสู่ความหลับ ดังนี้ เพราะความหลับอันเป็นอัพยากตะเห็นปานนี้
ถีนมิทธะจึงเกิดขึ้นในอกุศลจิตอันเป็นสสังขาริกของพระเสขะและปุถุชนทั้งหลาย
ทั้งในส่วนเบื้องต้นและเบื้องปลาย.

             อธิบายว่า
             อรรถกถากล่าวถึงพระดำรัสของพระผู้มีพระภาค ที่ตรัสตอบแก่สัจจกนิครน์
สัจจกนิครน์พยายามบอกว่า พระผู้มีพระภาคก็ทรงหลับ แล้วจะทึกทักเอาเองว่า
ดังนั้น พระผู้มีพระภาคก็ยังทรงหลงอยู่ โดยผูกการหลับว่า ถ้าหลับแสดงว่าหลงอยู่.
             พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า
             ดูกรอัคคิเวสสนะ เรารู้เฉพาะอยู่ว่า ในเดือนท้ายฤดูร้อน เรากลับจากบิณฑบาต
ในกาลภายหลังภัต ปูสังฆาฏิให้เป็น ๔ ชั้น แล้วเป็นผู้มีสติสัมปชัญญะ ก้าวลงสู่ความหลับ
โดยข้างเบื้องขวา.
//84000.org/tipitaka/pitaka_item/sutta_item.php?book=12&item=430#430
<<<
             กล่าวคือ ทรงเป็นผู้มีสติสัมปชัญญะ ไม่ใช่การหลง
             สัจจกนิครน์ก็ยืนยันต่อไปโดยอ้างคนอื่นว่า
             พระโคดมผู้เจริญ สมณะและพราหมณ์เหล่าหนึ่ง ย่อมกล่าวข้อนั้นในความอยู่
ด้วยความหลง.
             พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า
             บุคคลเป็นผู้หลงหรือเป็นผู้ไม่หลง ด้วยเหตุเพียงเท่านั้น หามิได้
ก็บุคคลเป็นผู้หลงหรือเป็นผู้ไม่หลง ด้วยเหตุใด ท่านจงฟังเหตุนั้น
จงทำในใจให้ดีเราจักกล่าว บัดนี้.
<<<
             นัยก็คือ ใช้หลักง่ายๆ ว่า เมื่อหลับจะกล่าวว่าหลง หลักนี้ใช้ไม่ได้
             จะหลงหรือไม่หลง ต้องพิจารณาเหตุต่างๆ ท่านจะฟังเหตุนั้น ฯ
-------------------------------------------------------

             คำว่า เพราะความหลับอันเป็นอัพยากตะเห็นปานนี้
ถีนมิทธะจึงเกิดขึ้นในอกุศลจิตอันเป็นสสังขาริกของพระเสขะและปุถุชนทั้งหลาย
ทั้งในส่วนเบื้องต้นและเบื้องปลาย.
             คำนี้น่าหมายถึง การหลับไม่กล่าวว่าเป็นกุศลและเป็นอกุศล แต่เป็นอัพยากตะ
             แต่การหลับของพระเสขะและปุถุชนทั้งหลาย จะมีถีนมิทธะ (การง่วงเหงา
หาวนอน) เกิดขึ้นก่อนและหลังการหลับ (ส่วนเบื้องต้นและเบื้องปลาย).

             บทว่า อริยมคฺโค ได้แก่ โลกุตรมรรค. <--- เทวดากล่าว
             บทว่า อริยมคฺโค ได้แก่ โลกิยะและโลกุตรมรรค. <--- พระผู้มีพระภาคตรัส
             ๒ บรรทัดนี้ความหมายต่างกันอย่างไรคะ
             ขอบพระคุณค่ะ

             [๓๔] นิทฺทา ตนฺที วิชิมฺหิตา            อรตี ๘- ภตฺตสมฺมโท
             เอเตน นปฺปกาสติ                   อริยมคฺโค อิธ ปาณินนฺติ ฯ
             [๓๕] นิทฺทํ ตนฺทึ วิชิมฺหิตํ                อรตึ ภตฺตสมฺมทํ
             วิริเยน นํ ปณาเมตฺวา               อริยมคฺโค วิสุชฺฌตีติ ฯ
๘ ยุ. วิชมฺภิกา อรตี ฯ ม. วิชมฺภิตา ฯ  อ. วิชมฺหิตา ฯ

             อธิบายว่า โดยนัยก็คือ ความหมายเดียวกัน
             นัยคือ เทวดากล่าวนัยว่า อริยมรรคไม่เกิดแก่ผู้หลับ เกียจคร้าน ฯ
             พระผู้มีพระภาคตรัสนัยการแก้ไขสถานการณ์นั้นว่า
การขับไล่ความหลับ เกียจคร้าน ฯ ด้วยความเพียร ก็จะทำให้อริยมรรคบริสุทธิ์ได้.

             บทว่า อริยมคฺโค คำที่สองนั้น อรรถกถาอธิบายว่า
ได้แก่ โลกิยะและโลกุตรมรรค คือ ทำอริยมรรคที่เป็นโลกิยะให้บริสุทธ์จากนิวรณ์ก็ได้
หรือแม้ทำโลกุตรมรรค ให้อุบัติก็ได้ ด้วยความเพียรอย่างนั้น.
             นัยก็คือ อรรถกถาอธิบายเสริม อาจเป็นเพราะเพื่อให้เลื่อมใส
ในความเพียรแก่กัลยาณปุถุชน ผู้ปรารภความเพียรว่า ความเพียรนี้ดี.

ความคิดเห็นที่ 27
GravityOfLove, 14 พฤษภาคม เวลา 07:49 น.

เข้าใจแล้วค่ะ ขอบพระคุณค่ะ

ความคิดเห็นที่ 28
GravityOfLove, 14 พฤษภาคม เวลา 07:57 น.

             พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๕  พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๗
             สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เทวตาสังยุต นันทนวรรคที่ ๒
             ๔. ขัตติยสูตร ว่าด้วยกษัตริย์
//84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=15&A=180&Z=191&bgc=honeydew&pagebreak=0

             เทวดากล่าวคาถาในสำนักพระผู้มีพระภาคว่า
             กษัตริย์ประเสริฐสุดกว่าสัตว์ ๒ เท้า โคประเสริฐสุดกว่าสัตว์ ๔ เท้า
             ภรรยาที่เป็นนางกุมารี (หญิงสาว) ประเสริฐสุดกว่าภรรยาทั้งหลาย
             บุตรใดเป็นผู้เกิดก่อน บุตรนั้นประเสริฐสุดกว่าบุตรทั้งหลาย

             พระผู้มีพระภาคตรัส (เป็นคาถา) ว่า
             พระสัมพุทธเจ้าประเสริฐสุดกว่าสัตว์ ๒ เท้า
             สัตว์อาชาไนย
(สัตว์ที่ฝึกมาดีแล้ว) ประเสริฐสุดกว่าสัตว์ ๔ เท้า
             ภรรยาที่ปรนนิบัติดี ประเสริฐสุดกว่าภรรยาทั้งหลาย
             บุตรใดเป็นผู้เชื่อฟัง บุตรนั้นประเสริฐสุดกว่าบุตรทั้งหลาย


--------------------------
             พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๕  พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๗
             สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เทวตาสังยุต นันทนวรรคที่ ๒
             ๑๕. สกมานสูตร ว่าด้วยเสียงป่าครวญ
//84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=15&A=192&Z=199&bgc=honeydew&pagebreak=0

             (เทวดากล่าวเป็นคาถาว่า)
             เมื่อนกทั้งหลายพักร้อน ในเวลาตะวันเที่ยง (แล้วส่งเสียงดังรำคาญ)
             ป่าใหญ่ประหนึ่งว่าครวญคราง ความครวญครางของป่านั้น
             เป็นภัยปรากฏแก่ข้าพเจ้า (รำคาญ)

             (พระผู้มีพระภาคตรัสเป็นคาถาว่า)
             เมื่อนกทั้งหลายพักร้อน ในเวลาตะวันเที่ยง
             ป่าใหญ่ประหนึ่งว่าครวญคราง
             นั้นเป็นความยินดีปรากฏแก่เรา
(เพราะเป็นเวลาที่สงัดจากผู้คน)

--------------------------
             พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๕  พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๗
             สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เทวตาสังยุต นันทนวรรคที่ ๒
             ๑๖. นิททาตันทิสูตร ว่าด้วยความหลับ
//84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=15&A=200&Z=208&bgc=honeydew&pagebreak=0

             (เทวดากล่าวเป็นคาถาว่า)
             อริยมรรคไม่ปรากฏแก่สัตว์ทั้งหลายในโลกนี้ เพราะความหลับ
             ความเกียจคร้าน ความบิดกาย ความไม่ยินดี และความมึนเมาเพราะภัต

             (พระผู้มีพระภาคตรัสเป็นคาถาว่า)
             เพราะขับไล่ความหลับ ความเกียจคร้าน ความบิดกาย
             ความไม่ยินดี และความมึนเมาเพราะภัต ด้วยความเพียร
             อริยมรรคย่อมบริสุทธิ์ได้

//www.84000.org/tipitaka/dic/v_seek.php?text=อริยมรรค

ความคิดเห็นที่ 29
ฐานาฐานะ, 15 พฤษภาคม เวลา 04:36 น.

              สรุปความได้ดีทั้ง 3 พระสูตร.
              ขัตติยสูตร, สกมานสูตรและนิททาตันทิสูตร
//84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=15&A=180&Z=208

ย้ายไปที่
//www.bloggang.com/mainblog.php?id=gravity-of-love&month=12-03-2013&group=1&gblog=1



Create Date : 18 พฤษภาคม 2557
Last Update : 22 มิถุนายน 2557 21:10:39 น.
Counter : 510 Pageviews.

0 comments

แก้วมณีโชติรส
Location :
  

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 6 คน [?]



พฤษภาคม 2557

 
 
 
 
1
2
3
4
5
7
8
9
10
13
14
15
16
17
19
20
21
22
24
25
26
27
28
29
30
31
 
All Blog