ดาวน์โหลดโปรแกรม ดูละครย้อนหลัง อ่านเรื่องราวของความรู้รอบตัว วิทยาศาสตร์ ท่องเที่ยว สุขภาพ อาหาร รถยนต์ต่างๆ ไม่ทิ้งเรื่องราวความบันเทิงและเรื่องส่วนตัวอีกด้วย
Group Blog
 
<<
กันยายน 2553
 1234
567891011
12131415161718
19202122232425
2627282930 
 
16 กันยายน 2553
 
All Blogs
 
การโอนลอยรถยนต์..คืออะไรและใช้เอกสารอะไรบ้าง...ที่นี่มีคำตอบ

สิ่งที่หลายๆ คนพบเจอเมื่อมีการซื้อรถมือสองก็คือ การโอนลอย แต่สิ่งที่ตามมาคือ การโอนลอยนั้น มีอะไรที่น่ากลัว หรือจะถูกหลอกหรือไม่ ผมได้ค้นหามาให้อ่านดูครับ ขออภัยที่ไม่ได้เรียบเรียงใหม่ เพราะกลัวจะผิดหรือคลาดเคลื่อนไป ดังนี้ครับ

โอนลอย คือ การที่ผู้ขายรถ ทำการขายรถโดยส่งมอบรถให้ผู้ซื้อ พร้อมมอบแบบ “คำขอโอนและรับโอนรถ” ที่ได้ ทำการลงลายมือชื่อในช่องผู้โอน (โดยไม่กรอกรายละเอียดอะไร) แล้วมอบให้ผู้ซื้อไป พร้อมกับเอกสารอื่นของผู้ขาย คือ เล่มทะเบียน , สำเนาบัตรประชาชนและสำเนาทะเบียนบ้านของผู้ขาย และหนังสือมอบอำนาจที่ผู้ขายลงลายมือชื่อไว้ (โดยไม่กรอกรายละเอียดอะไร) โดยไม่ไปจดทะเบียนโอนที่สำนักงานขนส่งแต่อย่างใด จึงไม่ถือว่าเป็นการโอนตามความหมายของทางราชการแต่อย่างใด

ผลดีของการโอนลอย
1 . สะดวกเหมาะกับการซื้อขายในธุรกิจซื้อขายรถยนต์มือสอง เพราะสามารถถือเอกสารไว้รอใครที่มาซื้อรถ ก็สามารถส่งรถ-ส่งเอกสารต่อไปให้คนที่ซื้อได้เลย
2. สามารถเปลี่ยนตัวผู้รับโอนได้เสมอ

ผลเสีย ของการโอนลอย
1. หากบัตรประชาชนของผู้ขายสิ้นอายุ จะมีปัญหาในการโอนกับนายทะเบียนกรมการขนส่ง ต้องตามตัวคนขาย หาเอกสารใหม่ที่ไม่สิ้นอายุมาให้ได้ ถ้าเขาตายละ จะไปหาที่ไหน ขอเอกสารใหม่ไม่ได้ จะโอนไม่ได้ตามมา ยุ่งยากและหนักใจมาก
2. ในระหว่างที่ยังไม่ไปจดทะเบียนโอนที่สำนักงานขนส่ง หากคนที่เอาไปเกิดขับไปชนคนแล้วหนีไป หรือเอาไปขนยาบ้า ตำรวจเขาจะตรวจสอบทางทะเบียนว่าใครเป็นเจ้าของรถ ซึ่งยังมีชื่อคุณอยู่ เขาก็อาจจะต้องเชิญคุณไปให้ปากคำ หรือตั้งข้อหา .......ทำให้ยุ่งยาก กว่าจะพิสูจน์ตนเองว่าไม่ได้เกี่ยวข้อง
3. หากเขาไม่ไปโอน มิหนำซ้ำไม่เคยไปต่อทะเบียนเสียภาษีเลย ดังนั้น ในทางเอกสารราชการจะถือว่า คุณเป็นคนค้างภาษีป้ายวงกลม

ข้อมูลจาก : สถาบันเซฟตี้โรด จำกัด

"โอนลอยรถ" อย่างไร ไม่ต้องคดี "อาญา" โดยไม่รู้ตัว!!

หาก ท่านเป็นคนหนึ่งที่ประสงค์อยากจะขายรถเก่า ไม่ว่าจะขายให้กับ "เต้นท์รถ" หรือบุคคลทั่วไป หรือท่านประสงค์อยากจะซื้อรถเก่าก็ตาม ถ้าท่านเป็นมือใหม่ในการซื้อ-ขายรถ คำถามหนึ่งที่มักเกิดขึ้นก็คือการ "โอนลอย" ดีหรือไม่??!!

ท่านที่มีความชำนาญ หรือมีประสบการณ์ในการขายรถมาแล้ว อาจจะเห็นว่าคำถามเรื่องการ "โอนลอย" ไม่เห็นที่จะต้องเป็นประเด็นใหญ่โต แต่ไม่น่าเชื่อว่า จากการเปิดข้อมูลผ่านอินเตอร์เน็ต ไม่ว่าจะเป็นเว็บไซต์กระดานสนทนาชื่อดังอย่าง "พันธุ์ทิพย์" เว็บไซต์กฎหมาย หรือเว็บไซต์เกี่ยวกับการซื้อขายรถมือสอง ทุกอันจะมีคำถามเรื่องการ "โอนลอย" อยู่เต็มไปหมด

หลายคนมักจะเกิดคำถามเช่นว่า "โอนลอย" เป็นอย่างไร? ดีหรือไม่? จะทำอย่างไร? จะมีผลอะไรตามมาหรือเปล่ากรณีที่เจ้าของรถใหม่ยังไม่ได้เปลี่ยนชื่อ แล้วไปก่ออุบัติเหตุ หรือแม้แต่เหตุอาชญากรรม? หรือ รถที่เราซื้อมาไปมีปัญหาอะไรมาก่อนหน้านี้หรือไม่? ต่างๆ นานาล้วนเป็นคำถามที่พัวพันกับการ "โอนลอย"


จึงอยากจะถือโอกาสรวบรวมข้อมูลต่างๆ ที่สำคัญเกี่ยวกับการโอนลอย ให้ผู้ที่สนใจจะดำเนินการธุรกรรมเกี่ยวกับเรื่องรถได้รับทราบกัน ทั้งในแง่ของวิธีการปฏิบัติ และในแง่กฎหมาย เพื่อความสะดวกในการค้นหาข้อมูล

อย่างเว็บไซต์ //www.meechaithailand.com เว็บไซต์ "เกจิ" กฎหมายมือฉมังของเมืองไทย โดย "มีชัย ฤชุพันธุ์" มีผู้ถามเรื่องนี้ถึง 2 รายด้วยกัน โดยรายแรก ถามว่า ...

"1.การซื้อขายได้ทำสัญญาสัญญาจะซื้อจะขายและได้มีการชำระเงินส่งมอบและตรวจสภาพรถแล้ว ถือว่า กรรมสิทธิ์เป็นของใครเพราะยังไม่มีการโอนเล่มทะเบียน

2.ถ้าสมมุติว่า ผู้ซื้อทราบภายหลังว่ารถยนต์มีการชนมา ก่อนหน้าที่ข้าพเจ้าซื้อต่อมือที่ 1 โดยที่ข้าพเจ้าไม่ทราบ จะต้องรับผิดชอบรับคืนรถหรือไม่

3.หากในการตรวจสภาพรถยนต์ใช้ได้ปกติแต่ถ้าคนซื้อขับออกไป 1-2 วันแล้วมีปัญหา ข้าพเจ้าจะต้องรับผิดชอบหรือไม่

4.หาก ผู้ซื้อมิได้ไปทำการโอนเป็นชื่อของตนเอง และหากรถเกิดคดีความทางเพ่งและอาญา ข้าพเจ้าจะมีส่วนหรือไม่ จะอ้างหลักฐานการซื้อขายได้หรือไม่"

สำหรับคำตอบนั้น อ.มีชัย ระบุว่า ...
"1. เป็นของคนซื้อ เพราะสัญญาซื้อขายเสร็จสมบูรณ์แล้ว ทะเบียนรถไม่ใช่หลักฐานกรรมสิทธิ์ ถึงยังไม่เปลี่ยนแปลงทะเบียนก็โอนกันได้

2. ถ้าคุณไม่ได้ให้คำรับรองแก่เขาว่ารถไม่เคยถูกชน และเขารู้อยู่แล้วว่าคุณเองก็เป็นมือที่ 2 คุณก็ไม่ต้องรับผิดชอบ

3. เหมือน ข้อ 2

4. อ้างได้"



ขณะที่รายที่สองถามว่า ...

"ผม และภรรยาอยู่กินกันถูกต้องตามกฎหมายโดยการจดทะเบียนสมรส และในระหว่างที่อยู่กินกันนั้นผมได้ทำการเช่าซื้อรถยนต์ไว้กับไฟแนนซ์แห่ง หนึ่งโดยในสัญญาเช่าซื้อนั้นผมเป็นผู้เช่าซื้อ แต่ปัจจุบันผมและภรรยาต้องการที่จะหย่าร้างกัน โดยตกลงกันว่ารถยนต์คันดังกล่าวผมจะโอนลอยเป็นชื่อเค้า ผมจึงต้องการเรียนถามอาจารย์ ดังนี้
1. การโอนลอยรถยนต์ในขณะที่ยังผ่อนชำระไม่หมดทำได้หรือไม่ครับ
2. ถ้ามีอะไรเกิดขึ้นกับรถยนต์คันดังกล่าวผมต้องเป็นคนรับผิดชอบใช่หรือไม่ครับ
3. ผมสามารถทำหนังสือสัญญาอะไรได้บ้างครับเพื่อเป็นการยืนยันและป้องการหากเกิดอะไรขึ้นกับรถยนต์คันดังกล่าวแล้วจะไม่เดือดร้อนถึงผม

คำตอบของ อ.มีชัย ระบุว่า ...
"
1. ได้
2. ใช่
3 ถ้าอยากทำ ก็ทำหนังสือง่ายๆ ว่าภรรยาได้รับรถจากการโอนลอยไปแล้ว และลงชื่อภรรยา"


นอกจากนี้ ทางศูนย์พิทักษ์สิทธิผู้บริโภค โดยมูลนิธิเพื่อผู้บริโภค เคยยกตัวอย่างผู้ขายรายหนึ่ง ซึ่งใช้วิธีการโอนลอยในการซื้อขายรถ ปรากฎว่าจู่ๆ ก็มีจดหมายจากบริษัทประกันแห่งหนึ่ง แจ้งว่าให้ชำระค่าเสียหายจำนวน 12,000 บาท เหตุเพราะถูกรถของผู้ขายรายนี้ชนแล้วหลบหนี ซึ่งเป็นรถคันเก่าที่เคยขายไปให้กับเต้นท์รถเจ้าหนึ่งนานแล้ว โดยใช้วิธีการ "โอนลอย" พร้อมกับมอบหลักฐานต่างๆ เพื่อให้ทางเต้นท์ไปจัดการเรื่องทะเบียน

ทำให้ผู้ขายรายนี้ เกิดข้อข้องใจว่าเมื่อเกิดเหตุเช่นนี้ขึ้นจะทำอย่างไรต่อไป ในเมื่อไม่ใช่ผู้กระทำความผิดเลยแม้แต่น้อย

ทางศูนย์ฯ จึงแนะนำไปว่า ให้ ทำหนังสือถึงบริษัทประกันภัย เพื่อบอกกล่าวว่าไม่ได้เป็นผู้ครอบครองรถ พร้อมส่งหลักฐานการขายและส่งมอบรถแนบไปด้วย ทั้งนี้ ในทางกฎหมายการซื้อขายรถยนต์โดยการ"โอนลอย" กรรมสิทธิในรถยนต์ก็เป็นของผู้ซื้อตั้งแต่วันที่ผู้ขายส่งมอบรถยนต์ให้แก่ ผู้ซื้อแล้ว แม้ว่าจะยังไม่ได้เปลี่ยนแปลงชื่อผู้เป็นเจ้าของในทางทะเบียน

ปัจจุบัน ในการซื้อขายรถยนต์กับผู้ประกอบการเต้นท์รถ มักจะใช้วิธีการ "โอนลอย" คือให้ผู้ที่นำรถมาขายเซ็นหนังสือในหลักฐานต่างๆ ไว้ในลักษณะที่พร้อมจะเปลี่ยนชื่อในทางทะเบียนให้กับใครก็ได้ที่มาซื้อรถ ยนต์กับทางเต้นท์ ทั้งที่โดยปกติผู้ประกอบการจะต้องรับโอนรถมาเป็นชื่อของตัวเองก่อน เมื่อมีคนมาซื้อแล้วจึงค่อยโอนทะเบียนให้กับผู้ซื้อรายใหม่ต่อไป

การที่เต้นท์รถส่วนใหญ่ซื้อขายรถยนต์ด้วยการโอนลอย เพราะไม่อยากรับภาระเรื่องการเปลี่ยนแปลงทางทะเบียน ซึ่งจะต้องเสียเวลา เสียค่าใช้จ่าย จึงผลักภาระนี้มาให้กับผู้บริโภค ดัง นั้น ไม่ว่าในกรณีใดก็แล้วแต่ หากยังไม่ได้ไปดำเนินการเปลี่ยนแปลงชื่อเจ้าของในทางทะเบียน โอกาสที่จะเกิดปัญหาในลักษณะเดียวกันนี้ก็อาจเกิดขึ้นได้ เพราะเมื่อไม่สามารถจับตัวผู้กระทำผิด กฎหมายก็ต้องสันนิษฐานไว้ก่อนว่าผู้มีชื่อในทางทะเบียนเป็นผู้ที่ขับรถยนต์ดังกล่าว ซึ่งได้กระทำละเมิดต่อบุคคลอื่น

แต่หากถามว่าถึงที่สุดแล้วผู้ขายรถจะต้องรับผิดชอบจ่ายค่าเสียหายหรือไม่นั้น คำตอบคือ "ไม่" เพราะในข้อเท็จจริงไม่ใช่ผู้ขับรถยนต์ ไม่ได้เป็นผู้กระทำละเมิด จึงไม่ต้องรับผิดชดใช้ค่าเสียหาย

หาก ผู้บริโภคท่านใดเจอปัญหาในลักษณะนี้ สิ่งที่ต้องทำก็คือ แจ้งให้คู่กรณีทราบเป็นลายลักษณ์อักษรว่า ท่านมิได้เป็นผู้ครอบครองหรือใช้รถยนต์คันดังกล่าว โดยให้ข้อมูลหลักฐานต่างๆ เกี่ยวกับการซื้อขายประกอบไปด้วย เพื่อจะได้หาตัวผู้ต้องรับผิดชอบต่อไป

การป้องกันไม่ให้เกิดปัญหาลักษณะนี้คือ เมื่อ ซื้อขายรถยนต์ผู้บริโภคควรจะไปดำเนินการเปลี่ยนแปลงชื่อผู้ครอบครองรถในทาง ทะเบียนให้เรียบร้อย ไม่ว่าจะขายรถให้กับผู้ประกอบการเต้นท์รถ หรือใครก็ตาม แม้ว่าวิธีนี้ท่านอาจจะต้องรับภาระค่าใช้จ่ายในการโอน เพราะเต้นท์รถคงผลักภาระในการโอนนี้มาให้กับผู้บริโภคแน่ๆ แต่ก็เป็นวิธีที่ปลอดภัยที่สุด ที่ไม่ต้องมาผจญกับปัญหาคดีอาญาแบบไม่รู้ตัว

(ติดตามอ่านได้จาก //old.consumerthai.org/cms/index.php?option=com_content&task=view&id=183&Itemid=59)

ขณะที่ เว็บไซต์ชื่อดังด้านการซื้อขายรถยนต์มือสอง usedcar.thaispeedercar.com ได้ให้ข้อมูลอย่างสมบูรณ์ เรื่องการเตรียมตัวในการซื้อขายรถ กรณีที่จะกระทำการ "โอนลอย" ไว้ว่า ...

"การโอนลอย" ตามความหมายของกรมการขนส่งทางบก ระบุว่า "คือ การที่เจ้าของรถได้ขายรถของตนแล้ว และทำการลงนามในเอกสารการโอนรถ และใบมอบอำนาจให้แก่ผู้ซื้อ โดยมิได้มีการดำเนินการทางทะเบียนที่สำนักงานขนส่งฯ"


สำหรับเอกสารต่างๆ ที่ต้องใช้ในการโอนรถนั้น ประกอบไปด้วย

1.สมุดคู่มือทะเบียนรถยนต์ โดยจะต้องตรวจสอบความถูกต้องดังต่อไปนี้
1.1 เลขทะเบียนรถ จะต้องตรงกับป้ายทะเบียนรถยนต์ (ของแท้ต้องมีคำว่า "ขส.") ป้ายทะเบียน และพ.ร.บ.
1.2 ปีที่จดทะเบียน
1.3 สี, หมายเลขเครื่อง, หมายเลขตัวถัง, ต้องตรงกับตัวถังรถยนต์และหมายเลขเครื่องยนต์ที่ติดอยู่กับตัวรถ
1.4 ชื่อเจ้าของรถต้องตรวจดูชื่อผู้ถือกรรมสิทธิ์, เลขที่บัตร, ที่อยู่ ให้ตรงกับบัตรประชาชนของเจ้าของรถ
1.5 รายการเสียภาษี หน้า 16-17 ตรวจดูว่ามีการเสียภาษีครบทุกปีหรือไม่ ไม่ขาดต่อทะเบียน หรือแจ้งจอด ยกเลิกการใช้งาน
1.6 รายการบันทึกของเจ้าหน้าที่ หน้า 18-19 ตรวจดูว่ามีรายการบันทึกในการเปลี่ยนแปลงข้อมูลรถอย่างไร เช่น การแจ้งย้าย แจ้งเปลี่ยนสี เปลี่ยนหมายเลขเครื่อง หรือขอใช้ทะเบียนบ้านในเขตไหน ต้องมีรายการบันทึกครบถ้วน
1.7 ลายมือชื่อผู้ถือกรรมสิทธิ์ ต้องเซ็นให้ถูกต้องชัดเจน ตรงกับลายเซ็นในหนังสือต่างๆ

2.หนังสือสัญญาซื้อ-ขายรถ
เป็น หนังสือสัญญานิติกรรม ระหว่างผู้ซื้อและผู้ขาย ที่ทำการซื้อขายแลกเปลี่ยนกันต้องกรอกทุกรายละเอียด เช่น วันที่, รายละเอียดผู้ขาย, รายละเอียดผู้ซื้อ, ราคาซื้อขาย, กำหนดการมัดจำและรับรถยนต์ ค่าใช้จ่ายในการโอนว่าผู้ใดเป็นผู้ออกค่าโอน, ลงชื่อผู้ซื้อผู้ขายและพยาน, ระบุวันเวลาที่ขาย และที่ได้รับรถไปแล้ว,


หนังสือตัวนี้ถือว่ามีความสำคัญอย่างสูง ต้องถือไว้ทั้งผู้ซื้อและผู้ขาย ใช้แสดงประกอบการโอน มีผลทางกฎหมาย กรณีที่ผู้ซื้อนำรถไปเกิดอุบัติเหตุ หรือใช้รถในการกระทำความผิดกฎหมาย หรือผู้ขายอาจนำไปแจ้งรถหายหรือนำเอกสารไปทำอย่างอื่น ต้องมีการตรวจเช็ครายละเอียดให้ดีทั้งผู้ซื้อ และผู้ขาย


3.แบบคำขอโอนและรับโอน
เป็น หนังสือของทางกรมขนส่งทางบก ต้องใช้เมื่อต้องยื่นประกอบเอกสารการโอนรถยนต์ ต้องระบุวันที่ ชื่อรายละเอียดผู้โอน ผู้รับโอน เลขทะเบียน รายละเอียดเกี่ยวกับรถที่โอน ราคาซื้อขาย และต้องลงรายมือชื่อทั้งผู้โอนและผู้รับโอน ที่ระบุไว้ครบทุกช่อง


4.สำเนาทะเบียนบ้านและบัตรประชาชนของผู้ขาย
จะ ต้องไม่หมดอายุ บัตรประชาชนต้องตรงกับทะเบียนบ้าน มีการเซ็นรับรองสำเนาถูกต้อง หรือกำหนดไว้ว่าใช้ในการโอนรถ, แจ้งย้าย, เปลี่ยนสี, เปลี่ยนเครื่อง, และหากมีการแจ้งย้าย, เปลี่ยนสี, หมายเลขเครื่อง, หรืออื่นๆ ต้องเพิ่มจำนวนสำเนาไว้อีกอย่างละชุด


5.หนังสือมอบอำนาจ
เป็น หนังสือที่มอบหมายการกระทำใดๆ ที่เกี่ยวกับทะเบียนรถ ซึ่งเจ้าของรถไม่สามารถดำเนินการเองได้ ต้องมีรายละเอียดดังนี้ วันที่, ชื่อผู้มอบและรับมอบ, ระบุรายการที่ผู้มอบอำนาจทำการแทน และลงลายมือชื่อให้ถูกต้องทั้งชื่อผู้มอบ, ชื่อผู้รับมอบ, พยาน และปิดอาการแสตมป์


6.หนังสืออื่นๆ เกี่ยวกับผู้ขาย
เช่น หนังสือเปลี่ยนชื่อและนามสกุล หนังสือหย่า, ใบมอบมรดก หรืออื่นๆ ที่ต้องใช้เกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงเอกสารสำคัญทางราชการ ในกรณีที่เป็นรถบริษัทไฟแนนซ์, ประกันภัย, หรือมอบมรดก ต้องเตรียมเอกสาร เช่น หนังสือรับรองบริษัท, ใบเสร็จรับเงิน, ใบเสียภาษี, และอื่นๆ ที่ใช้ต้องตรวจดูรายชื่อ ให้ถูกต้องและครบถ้วน


7.หนังสือยินยอม
ใน กรณีที่ขอใช้ในกรุงเทพฯ หรือในจังหวัดเดิมในทะเบียนรถ ต้องเตรียมหนังสือยินยอมให้ทางเจ้าของรถเดิมเซ็นยินยอมขอใช้รถในทะเบียนบ้าน เดิมหรือหาเจ้าบ้านที่มีชื่อ ที่อยู่ในเขตที่ต้องการขอใช้ทะเบียนรถและเซ็นลายมือชื่อ พร้อมแนบสำเนาทะเบียนบ้าน บัตรประชาชนอีกชุดหนึ่ง


8.ใบเสร็จต่างๆ เช่น ใบเสร็จซื้อเครื่องยนต์ในกรณีที่ยังไม่ได้เปลี่ยนหมายเลขเครื่อง ใบเสร็จค่าเปลี่ยนสีรถยนต์ที่ถูกต้องมีใบรับรองเสียภาษี หรือใบวิศวกรรองรับการดัดแปลงรถยนต์ใช้กับรถที่ยังไม่ได้แจ้งการดัดแปลง เช่น ระบบขับเคลื่อน ระบบเบรค การเปลี่ยนหลังคา หรือการซ่อมจากอู่ที่ต้องมีการตัดต่อ หรืออะไหล่ตัวถังรถ

(ติดตามอ่านได้จาก //usedcar.thaispeedcar.com/document/sara3.htm)

นอกจากนี้ เพื่อความสะดวกของผู้อ่านกรณีที่จะดำเนินธุรกรรมด้านการซื้อ-ขายรถยนต์ ยังมีเว็บไซต์ที่กรมการขนส่งทางบก ได้รวบรวมเอกสารไว้สำหรับดาวน์โหลดเพื่อใช้ในการยื่นต่อกรมฯ ได้แก่ //www.dlt.go.th/eform/index.php

หวัง เป็นอย่างยิ่งว่าข้อมูลเหล่านี้พอจะเป็นประโยชน์ได้บ้างสำหรับผู้ที่จะซื้อ -ขายรถยนต์ ป้องกันไม่ให้เกิดปัญหาต่างๆ ตามมาหลังจากดำเนินการต่างๆ แล้ว

ที่มา
//www.oknation.net/blog/thammanamai/2009/04/22/entry-8

ในส่วนของบล๊อก //www.bloggang.com/mainblog.php?id=nosky&month=11-05-2010&group=3&gblog=1 ได้พูดถึงการโอนลยอข้ามจังหวัดไว้ว่า

วันนี้ก็มีความรู้นิดๆหน่อยเรื่องการโอนทะเบียนรถข้ามจังหวัดนะครับ สำหรับกรณีนี้คือ การโอนเปลี่ยนชื่อเจ้าของนะครับ
ซึ่งเราทุกคนก็คงคิดเมื่อกันว่าปกติแล้วเดียวนี้การติดต่อหรือแก้ไขเอกสารทางราชการต่างสามารถทำที่ไหนก็ได้ ไมว่าจะเป็นการทำบัตรประชาชนใหม่หรือการแจ้งย้าย จดทะเบียนสมรส(สำหรับบางคน) ร่วมไปถึงการทำใบขับขี่ การต่ออายุใบขับขี่ ซึ่งสามารถทำที่ไหนก็ได้ในประเทศ ตัวผมเองก็คิดแบบเดียวกันครับ แต่วันนี้ผมก็ตั้งใจไป โอนทะเบียนรถจากชื่อเจ้าของรถซึ่งเป็นชื่อของพ่อ ให้มาเป็นชื่อผม ซึ่งในการนี้ไมเป็นการซื้อขายนะครับเหมื่อนการโอนกรรมสิทธ์จากพ่อสู่ลูก ซึ่งก็ไม่น่าจะมีปัญหาอะไร โดยหลักฐานที่ผมเตรียมมาก็คือ

1.ทะเบียนรถเจ้าของรถ(พ่อ)
2.สำเนาบัตรประชาชนเจ้าของรถ(พ่อ)
3.สำเนาทะเบียนบ้านเจ้าของรถ(พ่อ)
4.สำเนาของบุคคลที่จะรับโอน (ข้อ2-3)(ลูก)
5.ใบมอบอำนาจจากเจ้าของรถ(พ่อ)
6.ใบโอนรถ จากขนส่ง

โดยเอกสารทั้งหมดผมได้มีการเซนเอกสารทั้งหมดแล้ว ก็คิดว่าคงไมมีปัญหาอะไรคงโอนได้เหมื่อนการโอนลอยเวลาขายรถกันนะครับ
ผมลืมบอกไปอย่างหนึ่งคือรถจดทะเบียนที่เชียงราย แต่ตัวผมทำงานที่นครปฐมเลยจะมาโอนที่ขนส่งนครปฐมนะครับ

แต่แล้วพอไปถึงขนส่งเขาบอกว่าไมสามารถโอนเปลี่ยนชื่อเจ้าของรถได้ ถึงแม้จะมีใบมองอำนาจจากเจ้าของรถหรือแม้แต่เจ้าของรถมาเอง ซึ่งข้อกำหนดในการโอนแบบนี้คือ

1.การโอนรถเปลี่ยนชื่อเจ้าของจากอีกคนไปอีกคนหนึ่ง โดยใช้เลขทะเบียนเดิม จังหวัดเดิม ต้องทำในพื่นที่ที่ทำการจดทะเบียนของรถนั้นๆ

2.ถ้าจะทำการโอนเปลี่ยนเจ้าของ แล้วทำนอกขนส่งที่รถคันนั้นจดทะเบียนจะกระทำได้ก็ต่อเมื่อ ต้องมีการย้ายจากป้ายที่จดทะเบียนนั้นๆ มาเป็นพื้นที่ของขนส่งที่เรามาติดต่อถึงจะทำการโอนย้ายได้ ดังนั้นก็จะกล้ายเป็นว่าเราจะได้เลขทะเบียน จังหวัด ใหม่ไปเลย

เลยทำให้เขาใจได้ว่าในกรณีที่เราขายรถแล้วทำ การโอนลอย นั้นเราคิดว่าเจ้าของเต้นที่เราขายไปก็จะยังไมโอนรถไปเป็นชื่อใครจนกว่าจะขายรถได้ นั้นเอง เลยอยากเตือนเพื่อนที่ทำ การโอนลอย อะไรอยากให้ทำเอกสารว่าเราได้ทำการซื้อขายไว้นั้นวันๆนั้นไปเลย เพื่อป้องกันตัวเราเองนั้นครับ

และสุดท้ายในเว็บ //www.cbr150club.com/board/index.php?topic=9352.0 ได้พูดถึงการโอนลอยรถข้ามจังหวัดไว้ว่า

หากผมซื้อรถมือ2จากจังหวัดอื่นผมต้องทำเรื่องโอนที่ขนส่งของจังหวัดที่ผมอยุ่หรือจังหวัดที่รถอยุ่อ่ะคับ แล้วถ้าผมจะทำการโอนลอยมาทำเรื่องที่ขนส่งจังหวัดที่ผมอยุ่จะทำยังไง อ่าคับแล้วขอเปลี่ยนป้ายทะเบียนด้วยคับ.....วานผู้รู้ช่วยตอบทีนะคับบบขอบคุณคับ

ก็นำเอกสารทั้งหมดที่ได้จากเจ้าของรถเก่ามาทำเรื่องโอนที่จังหวัดที่คุณอยู่ได้เลยครับ ก็จะได้ป้ายใหม่ที่เป็นของจังหวัดคุณด้วย

ส่วนเอกสารที่จะต้องเอามาจากเจ้าของรถเก่า หรือ ร้านที่ไปซื้อมาคือ

1. เล่มรถตัวจริง
2. สัญญาซื้อขาย ตัวจริง
3. สำเนาบัตรประชาชนและสำเนาทะเบียนบ้านอย่างล่ะ1ชุด
4. หนังสือมอบอำนาจ1ชุด ทางร้านหรือเจ้าของต้องเซ็นชื่อมอบอำนาจมาให้เราเลย
5. หนังสือโอนแจ้งย้าย1ชุด ทางร้านหรือเจ้าของรถเก่าต้องเซ็นมาให้เราเลย
6. และสำเนาบัตรและทะเบียนบ้านของร้านหรือเจ้าของเก่าต้องเซ็นสำเนาถูกต้องมาให้เรียบร้อยครับ

ส่วนเอกสารที่คุณจะต้องเตรียมคือ
สำเนาทะเบียนบ้านและบัตรประชาชน พร้อมเซ็นสำเนาถูกต้อง แนบไปกับเอกสารที่บอกไปข้างต้นไปยื่นเรื่องที่ขนส่งที่คุณอยู่ เพื่อทำการขอโอนได้เลยครับ

อ้อ...เตรียมสภาพรถให้พร้อมด้วยน่ะครับ เช็คระบบไฟหน้า ไฟท้าย ไฟเลี้ยว แตร และท่ออย่าให้ดังด้วยล่ะครับ เพราะรถต้องตรวจสภาพในการโอนครับ แล้วก็ขูดหมายเลขคอ
และเครื่องติดไปในชุดโอนด้วยครับ

เตียมเงินไปด้วยครับ ค่าโอนประมาณ 500 ต่อภาษีอีก 100 บ. ถ้าภาษีขาดต่อก็+ไปอีกประมาณ20บ. และรถต้องมีพรบ.ด้วยน่ะครับ ในชุด พรบ.จะมีหางบัตรในกรรมธรรม์ให้ฉีกเพื่อแนบไปกับชุดโอน หรือ ต่อภาษีครับ พรบ.ของรถไม่เกิน 150cc. ก็อยู่ประมาณ 330-450 และแต่บริษัทครับ เบ็ตเสร็จรวมๆแล้ว ค่าใช้จ่ายในการโอนไม่เกิน 700บ.ในกรณีที่มีพรบ.อยู่แล้ว และพรบ.นั้น ต้องไม่ใกล้วันขาดต่อ อย่างน้อย3เดือนครับ
แต่ถ้าไม่มี พรบ. ค่าใช้จ่ายก็ไม่เกิน 1000 บ. ครับ


Create Date : 16 กันยายน 2553
Last Update : 16 กันยายน 2553 22:03:30 น. 7 comments
Counter : 22538 Pageviews.

 
ได้ประโยชน์มากครับขอบคุณมากครับขอให้เจริญนะครับ


โดย: มิน IP: 101.108.28.36 วันที่: 31 มีนาคม 2554 เวลา:19:10:23 น.  

 
ได้ประโยชน์มากครับ
อยากเรียนถามเพิ่มเติมครับ ว่า ในกรณีเช่นนี้ ในหนังสือมอบอำนาจ ควรเขียนว่ามอบอำนาจไปทำอะไรบ้างครับ ตรงที่
เป็นผู้มีอำนาจทำการแทนข้าพเจ้า
1. _____________________
2. ______________________
3. _____________________


โดย: วิบูลย์ IP: 118.172.192.95 วันที่: 26 เมษายน 2554 เวลา:20:47:05 น.  

 
รอผู้เชี่ยวชาญตอบต่อไป


โดย: scimovie วันที่: 27 เมษายน 2554 เวลา:15:10:16 น.  

 


โดย: คนเดินดิน (หน้าใหม่อยากกรอบ ) วันที่: 8 สิงหาคม 2554 เวลา:12:17:48 น.  

 


โดย: คนเดินดิน (หน้าใหม่อยากกรอบ ) วันที่: 12 สิงหาคม 2554 เวลา:13:13:43 น.  

 


โดย: SassymOn วันที่: 30 พฤศจิกายน 2554 เวลา:0:06:15 น.  

 
ถ้าผมได้รถมาหนึ่งโดยเจ้าของรถติดหนี้ผมแล้วไม่มีจ่ายจึงจ่ายเป็นรถแทนแต่รถคันนี้ติดไฟแนนช์อยู่ผมอยากรู้ว่าจะโอนให้เป็นชื่อของผมได้หรือเปล่าโดยผมจะผ่อนต่อเองและต้องใช้เอกสารอะไรบ้างครับ


โดย: toon28 IP: 203.170.236.194 วันที่: 11 เมษายน 2555 เวลา:13:59:04 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

scimovie
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 108 คน [?]




แหล่งรวบรวมความรู้ โปรแกรม เพลง หนัง เกมส์ วิทยาศาสตร์ ดูละคร เรื่องย่อ ภาพยนตร์ การเงิน และอื่นๆ อีกมากมาย สุดท้ายขอกำลังใจให้มีแรงอัพเดทตลอดๆ ครับ ขอบคุณทุกท่านที่เข้ามาเยี่ยมเยียนกันครับ
Friends' blogs
[Add scimovie's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.