ดาวน์โหลดโปรแกรม ดูละครย้อนหลัง อ่านเรื่องราวของความรู้รอบตัว วิทยาศาสตร์ ท่องเที่ยว สุขภาพ อาหาร รถยนต์ต่างๆ ไม่ทิ้งเรื่องราวความบันเทิงและเรื่องส่วนตัวอีกด้วย
Group Blog
 
<<
เมษายน 2554
 12
3456789
10111213141516
17181920212223
24252627282930
 
3 เมษายน 2554
 
All Blogs
 
ไม่อยาก "เบรกแตก"..ต้องอ่าน!

ไม่อยาก "เบรกแตก"..ต้องอ่าน!

ทุกคนต่างรู้ดีว่าระบบเบรกที่ดี ย่อมหมายถึงความปลอดภัยของทุกชีวิตบนท้องถนน แต่ในทางกลับกัน เวลาเข้าศูนย์หรือตรวจเช็ครถตามระยะ เรามักตรวจสอบเครื่องยนต์ เกียร์ และล้อ โดยมองข้ามระบบเบรกไป โดยเฉพาะอย่างยิ่งเรามักไม่ใส่ใจในการเลือกน้ำมันเบรกที่ใช้ ซึ่งถือเป็นปัจจัยสำคัญอย่างยิ่งในการขับขี่อย่างปลอดภัย

เพราะน้ำมันเบรก ทำหน้าที่เป็นตัวกลางในการถ่ายทอดกำลัง เมื่อเราเหยียบเบรก แรงดันที่เหยียบจะถูกถ่ายทอดผ่านน้ำมันเบรกเข้าไปในระบบห้ามล้อทั้ง 4 ล้อ ทำให้ความเร็วของรถช้าลง หรือหยุดตามแรงกดที่ต้องการ ซึ่งน้ำมันเบรกที่ดี นอกจากจะเป็นตัวกลางถ่ายทอดกำลังแล้ว ยังต้องมีคุณสมบัติที่ดีอื่นๆ อีกด้วย

1. เป็นตัวหล่อลื่นส่วนต่างๆ ในระบบเบรก ช่วยป้องกันการสึกหรอ
2. ไม่เป็นอันตรายต่อชิ้นส่วนที่เป็นโลหะในระบบหรือลูกยางต่างๆ
3. คงสภาพได้นาน แม้ว่าจะมีผลกระทบจากสิ่งแวดตามล้อมธรรมชาติ เช่นความชื้น
4. มีจุดเดือดสูงและไม่ระเหยง่าย ทนต่อแรงดันจากแรงเหยียบอย่างต่อเนื่องได้เป็นอย่างดี

จากคุณสมบัติของน้ำมันเบรกดังกล่าว จุดเดือดของน้ำมันเบรกถือเป็นสิ่งสำคัญที่สุดเนื่องจากเวลาเหยียบเบรกที่ความเร็วสูงหรือบรรทุกหนัก อุณหภูมิที่ผ้าเบรกและจานเบรกจะสูงมาก ความร้อนดังกล่าวจะถ่ายเทมายังน้ำมันเบรกด้วย ถ้าน้ำมันเบรกมีจุดเดือดต่ำก็จะระเหยและกลายเป็นไอ ไม่สามารถทำหน้าที่เป็นตัวกลางถ่ายทอดกำลังในระบบเบรกได้ จึงทำให้เบรคไม่อยู่ หรือที่เรียกว่าเบรกแตกนั่นเอง

ดังนั้น ผู้ขับขี่จึงควรตรวจเช็คระดับของน้ำมันเบรกอยู่เป็นประจำว่าอยู่ในระดับที่เหมาะสมหรือไม่ ซึ่งหากน้ำมันเบรกมากเกินขีดสูงสุด อาจสันนิษฐานได้ว่ามีน้ำเข้าไปปนเปื้อน แต่ถ้าน้อยเกินขีดต่ำสุด อาจสันนิษฐานได้ว่ามีการรั่วซึมในระบบเบรก หรืออาจเกิดจากผ้าเบรกสึก ซึ่งทั้ง 2 กรณี จะส่งผลให้ประสิทธิภาพในการเบรกลดลง ทำให้เกิดอาการเบรกไม่อยู่ได้

นอกจากตรวจระดับน้ำมันเบรกเป็นประจำแล้ว ยังควรเปลี่ยนถ่ายน้ำมันเบรกทุกๆ 1-2 ปี แม้ว่าจะไม่มีการรั่วหรือลดระดับลงก็ตาม เพื่อให้มั่นใจได้ว่าหากเกิดเหตุกะทันหัน เบรกจะยังตอบสนองได้เป็นอย่างดี

อีกข้อควรระวังก็คือ ไม่ควรนำน้ำมันเบรกต่างยี่ห้อ หรือต่างมาตรฐานกันมาใช้งานผสมกัน เพราะอาจทำให้เกิดปฏิกริยาทางเคมี ซึ่งเป็นสาเหตุให้คุณสมบัติของน้ำมันเบรกเปลี่ยนแปลงไป ดังนั้น หากต้องการเปลี่ยนยี่ห้อ หรือใช้น้ำมันเบรกที่มาตรฐานสูงขึ้น แนะนำให้ทำการล้างระบบเบรกก่อนทำการเปลี่ยนถ่าย

ปตท.




Create Date : 03 เมษายน 2554
Last Update : 3 เมษายน 2554 12:53:02 น. 0 comments
Counter : 601 Pageviews.

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

scimovie
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 108 คน [?]




แหล่งรวบรวมความรู้ โปรแกรม เพลง หนัง เกมส์ วิทยาศาสตร์ ดูละคร เรื่องย่อ ภาพยนตร์ การเงิน และอื่นๆ อีกมากมาย สุดท้ายขอกำลังใจให้มีแรงอัพเดทตลอดๆ ครับ ขอบคุณทุกท่านที่เข้ามาเยี่ยมเยียนกันครับ
Friends' blogs
[Add scimovie's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.