ดาวน์โหลดโปรแกรม ดูละครย้อนหลัง อ่านเรื่องราวของความรู้รอบตัว วิทยาศาสตร์ ท่องเที่ยว สุขภาพ อาหาร รถยนต์ต่างๆ ไม่ทิ้งเรื่องราวความบันเทิงและเรื่องส่วนตัวอีกด้วย
Group Blog
 
<<
พฤศจิกายน 2553
 123456
78910111213
14151617181920
21222324252627
282930 
 
14 พฤศจิกายน 2553
 
All Blogs
 
เทคนิคการขับรถเกียร์ออโต้

เป็นเรื่องของความปลอดภัยทั้งชีวิตและทรัพย์สิน ฉะนั้นควรต้องทราบและปฏิบัติให้ถูกต้องและด้วยความระมัดระวังขั้นสุด

เทคนิคการใช้เกียร์ออโต้เมติค

ปัจจุบันรถยนต์ที่เป็นเกียร์ออโตเมติกเป็นที่นิยมอย่างมาก เนื่องจากขับขี่สบายไม่ต้องเมื่อยเปลี่ยนเกียร์และเหยียบคลัตช์ (Clutch) ตลอดเวลายามรถติด แต่อาจมีบางท่านเข้าใจผิดเกี่ยวกับการใช้เกียร์ออโต ส่งผลให้ทอนอายุการใช้งานของรถโดยไม่รู้ตัว...

การเปลี่ยนเกียร์จาก D ไป N ในเวลาที่รถติดไฟแดงบ่อยๆ นั้นหลายคนคงเคยปฏิบัติกันอยู่เนื่องจากเวลารถติดขี้เกียจเหยียบเบรกก็เข้าเกียร์ N ไว้ เมื่อรถเคลื่อนก็เปลี่ยนเป็น D ถ้าช่วงรถติดแล้วขยับเคลื่อนทีละนิดทีละหน่อย ทำให้ต้องเปลี่ยน D-N-D-N-D-N อยู่อย่างนี้เท่ากับคุณกำลังทำร้ายระบบเกียร์ของคุณอยู่

ระบบเกียร์ออโตเมติกนั้นจะประกอบด้วยชุดเกียร์ที่ขบกันตลอดเวลา การส่งแรงจาก N ไป Dจะต้องมีการสึกหรอของเฟืองนั้นต้องมีการปล่อยและจับอยู่ตลอดเวลา อายุการใช้งานก็จะสั้นลง เพราะถ้าเบรกอยู่เฉยๆ ระบบเบรกก็ไม่ได้ร้อนขึ้นเพราะว่าจานดิสเบรกหรือดุมเบรกไม่ได้หมุน ผ้าเบรกก็ไม่สึกหรอเพราะว่าล้อไม่หมุน แรงที่ใช้ในการเหยียบก็ไม่มากขนาดจะทำให้ชุมแม่ปั๊มเบรกพังหรือทำให้อายุการใช้งานน้อยลง

หลายคนที่เปลี่ยนเกียร์ D-N-D-N-D-N
อ่าน ถึงบรรทัดนี้แล้วก็อยากจะเถียงว่าไม่เห็นมีการเปลี่ยนแปลงเลย รถยังคงสามารถขับได้ตามปกติ ระบบเกียร์ก็ยังปกติดอยู่ แต่พฤติกรรมอย่างนี้จะส่งผลแก่รถคุณในระยะยาว เปรียบเหมือนกับการสูบบุหรี่นั่นแหละ ระบบคลัตช์ของคุณจะลื่น ทำให้เวลาออกตัวคุณจะต้องเหยียบคันเร่งมากขึ้นทำให้รอบสูงขึ้น น้ำมันก็เปลืองขึ้น แต่รถกลับไม่ได้วิ่งอย่างนั้นเลยสูงขึ้น น้ำมันก็เปลืองขึ้น แต่รถกลับไม่ได้วิ่งอย่างนั้นเลย

การใช้เกียร์ออโตเมติค

ปัจจุบันรถยนต์เกียร์ออโตเมติคได้รับความนิยมมากขึ้น โดยเฉพาะการขับขี่ในเมืองที่มีการจราจรติดขัดเนื่องจากขับขี่ได้ง่ายสะดวกสบายเพราะใช้เพียงคันเร่งและเบรกเท่านั้น คันเกียร์ของเกียร์ออโตเมติคจะมีตำแหน่งสำหรับใช้งานต่าง ๆ กันดังนี้

ตำแหน่ง P ใช้สำหรับจอดอยู่กับที่หรือบนพื้นที่ลาดเอียง โดยรถจะถูกล็อกให้หยุดอยู่กับที่ด้วยตัวล็อกภายในเกียร์

ตำแหน่ง R ใช้สำหรับการถอยหลัง

ตำแหน่ง N ใช้สำหรับการหยุดรออยู่กับที่บนพื้นราบ ซึ่งในตำแหน่งนี้รถสามารถเข็นให้เคลื่อนที่ได้

ตำแหน่ง D ใช้สำหรับการขับขี่แบบอัตโนมัติโดยเกียร์จะเปลี่ยนไปเองโดยอัตโนมัติตามคันเร่งและความเร็วของรถใช้ ขับขี่ได้ตั้งแต่การเริ่มออกตัวและเพิ่มความเร็วได้ไปเรื่อย ๆ จนถึงความเร็วสูงสุด การขับขี่โดยทั่วไปสามารถใช้เกียร์นี้เพียงเกียร์เดียวเท่านั้นก็ได้

หมายเหตุ สำหรับรถที่มีสวิตซ์โอเวอร์ไดร์ว ซึ่งเป็นอุปกรณ์พิเศษในเกียร์ออโต 4 สปีดบางรุ่น

เมื่อสวิตซ์โอเวอร์ไดร์วอยู่ที่ตำแหน่ง ON เกียร์ออโตจะสามารถทำงานได้ตั้งแต่เกียร์ 1 ถึงเกียร์ 4 โดยอัตโนมัติ

สวิตซ์โอเวอร์ไดร์วอยู่ที่ตำแหน่ง OFF เกียร์ออโตจะทำงานโดยอัตโนมัติได้ตั้งแต่เกียร์ 1 ถึงแค่เกียร์ 3 เท่านั้น

ฉะนั้น การปรับสวิตซ์โอเวอร์ไดร์วจากตำแหน่ง ON ไปเป็น OFF จึงเป็นการลดเกียร์จากเกียร์ 4 มาเป็นเกียร์ 3 เพื่อให้เหมาะกับการเร่งแซงขณะความเร็วสูง และเมื่อปรับสวิตซ์โอเวอร์ไดร์วจากตำแหน่ง OFF ไปเป็น ON จะทำให้เกียร์ 3 กลับไปเป็นเกียร์ 4 อย่างเดิม ทำให้การลดเกียร์เพื่อเร่งแซง หรือเข้าโค้งเป็นไปอย่างคล่องตัวมากขึ้น

ตำแหน่ง 2 ใช้สำหรับการขับขี่ขึ้นทางลาดชันที่ไม่สูงมากนัก และสามารถใช้ความเร็วได้พอสมควร

ตำแหน่ง L ใช้สำหรับการขับขี่ขึ้นทางลาดชันที่สูงมาก และต้องใช้ความเร็วต่ำ

หมายเหตุ
การสตาร์ทเครื่องยนต์ถูกออกแบบให้สามารถกระทำได้เฉพาะ ตำแหน่ง P กับ N เท่านั้น เพื่อความปลอดภัย

ขอขอบคุณข้อมูลจากกระทรวงคมนาคม

สาระควรรู้เพื่อความปลอดภัยในการขับขี่

ที่ความเร็ว 20 กม./ชม. ระยะเบรกที่ต้องใช้อย่างน้อยที่สุด คือ 7 เมตร
ที่ความเร็ว 40 กม./ชม. ระยะเบรกที่ต้องใช้อย่างน้อยที่สุด คือ 18 เมตร
ที่ความเร็ว 60 กม./ชม. ระยะเบรกที่ต้องใช้อย่างน้อยที่สุด คือ 34 เมตร
ที่ความเร็ว 80 กม./ชม. ระยะเบรกที่ต้องใช้อย่างน้อยที่สุด คือ 54 เมตร
ที่ความเร็ว 100 กม./ชม. ระยะเบรกที่ต้องใช้อย่างน้อยที่สุด คือ 80 เมตร

หลายคนมักเข้าใจว่า เกียร์ออโตเมติกสามารถตอบสนองการขับขี่ได้ไม่เต็มที่ โดยเฉพาะในความเร็วและอัตราเร่งขณะแซง หากมีความเข้าใจเกี่ยวกับเทคนิคต่างๆ ในการใช้เกียร์ออโตเมติก เชื่อว่าจะขับรถเกียร์ออโตเมติกได้อย่างสบาย และเพลิดเพลินด้วยความปลอดภัยไม่แพ้รถเกียร์ธรรมดาเลย

ผู้ขับขี่ส่วนมากใช้เกียร์อยู่เพียง 4 ตำแหน่ง นั่นคือ "D4" เมื่อต้องการขับรถไปข้างหน้า

"R" เมื่อต้องการถอยหลัง "N" หรือ "P" เมื่อต้องการจอดหรือสตาร์ตรถ
อันที่จริงแล้วควรใช้เกียร์ตำแหน่งอื่น เพื่อเหมาะสมกับแต่ละสถานการณ์เช่นกัน

เทคนิคการขับรถเกียร์ออโตเมติกเมื่อลงทางลาดชันและการคิกดาวน์ (Kick Down) เมื่อต้องการเร่งแซง สำหรับการขับรถลงทางลาดชัน ขอแนะนำให้เลื่อนเกียร์ไปที่ตำแหน่ง "D3" กรณีที่ทางลงนั้นมีระยะเวลายาวแต่ไม่ชันมากนัก แต่กรณีที่ทางลงนั้นชันมากๆ ให้เลื่อนเกียร์ไปที่ตำแหน่ง "2" เพื่อใช้เครื่องยนต์ช่วยเบรก (Engine Brake) ในขณะเดียวกันควรเหยียบเบรกไปด้วยหรืออาจใช้เบรกมือเพื่อช่วยในการหยุดรถที่ ดียิ่งขึ้น ทั้งนี้อย่าใช้เกียร์ "N" หรือ "D4" ในการขับรถลงทางชัน เพราะจะไม่มีกำลังเครื่องยนต์ช่วยเบรกและช่วยชะลอความเร็ว นับเป็นการขับที่ผิดวิธีและเป็นอันตรายอย่างมาก

กรณีที่ต้องการเร่งแซงรถคันอื่น หรือต้องการแรงเพิ่มขับเคลื่อนรถอย่างกะทันหัน สามารถเพิ่มความเร็วของรถด้วยการคิกดาวน์ (Kick Down) โดยเหยียบคันเร่งลงไปเกินกว่า 80% ในครั้งเดียวเกียร์จะเปลี่ยนลงอย่างรวดเร็ว สังเกตได้จากรอบเครื่องยนต์จะสูงขึ้น ในขณะที่รถจะมีความเร็วเพิ่มขึ้น

การคิก ดาวน์ (Kick Down) มี 2 ลักษณะคือ

1. คิก ดาวน์ (Kick Down) ลงมา 1 ตำแหน่ง เช่น รถที่ขับ ความเร็วประมาณ 120 กม./ชม. (อัตราทดเกียร์ 4) แล้วเหยียบคันเร่งสุดเกียร์จะเปลี่ยนจากเกียร์ 4 ลงเกียร์ 3 สังเกตจากรอบเครื่องยนต์จะสูงขึ้นเพียงเล็กน้อย

2. คิก ดาวน์ (Kick Down) ลงมา 2 ตำแหน่ง เช่น ขับรถที่ ความเร็วประมาณ 70 กม./ชม. (อัตราทดเกียร์ 4) แล้ว เหยียบคันเร่งสุดเกียร์จะเปลี่ยนจากเกียร์ 4 ลงเกียร์ 2 ทันที เพื่อให้อัตราทดเกียร์เหมาะสมกับความเร็วขณะขับขี่ ทำให้เครื่องยนต์มีอัตราเร่งมากขึ้น สังเกตจากรอบเครื่องยนต์ที่สูงขึ้นมากกว่าการคิกดาวน์ (Kick Down) 1 ตำแหน่ง

หนทางให้คุณวางใจ...เกียร์ออโตเมติก

เกียร์อัตโนมัติ "เกียร์ออโต้" ดูจะเป็นอุปกรณ์สำคัญที่สุดอีกชิ้นหนึ่ง ซึ่งพวกเรามักจะมองหา...

หรือเอามือไปคว้าไว้หลังพอๆ กับพวงมาลัยรถก็ว่าได้และแน่นอน เราจะมองหามันก่อนที่จะบิดสวิตช์กุญแจเสียอีก...

ยุคนี้เราจะชินกับ Automatic Transmission ซะยิ่งกว่า "เกียร์ธรรมดา" Manual Transmission ไปเสียแล้ว ยิ่งจำพวกเกียร์ออโตเมติกแบบใหม่ๆ Lock-UP Torque Converter ที่มี CPU 8 BIT- 16 BIT เข้าไปช่วย Calculation การเปลี่ยนเกียร์ด้วยแล้วละก็ยิ่งสะดวกไปกันใหญ่

ล่าสุด CVT หรือ Constantly Variable Transmission ยุคปี 2000 เป็นต้นมา ด้วยแล้วละก็ ยิ่งนุ่มนวลแม่นยำ และแสนจะง่ายดายในการทำงาน แถมยังไม่ยุ่งยากอย่างเกียร์ออโต้สมัยเก่าซะด้วย

หนทางที่จะนำเราไปสู่อายุขัยยืนนานของการใช้เกียร์ออโตเมติกง่ายๆ ให้มีไว้สัก 10 ข้อ

1. ควรเปลี่ยนถ่าย ATF ให้ได้อย่างน้อยปีละ 2 ครั้ง แม้ตามกำหนดที่โรงงานได้กำหนดไว้ในสมุดคู่มือถึง 40,000-45,000 km หรือราว 2-2 1/2 ปี ก็อย่าได้วางใจตามนั้น ด้วยว่าการจราจรของกรุงเทพฯ ติดๆ ขัดๆ ความร้อนสะสมสูงเกือบตลอดการใช้งานเดี๋ยว ON Gear หรือ OFF Gear อยู่โดยตลอดทั้งวันนานๆ ทีถึงได้มีโอกาสยืดเส้นยืดสายออกทางไกลหรือขึ้นทางด่วนวันหยุดกับเขาหน่อย นึง ความร้อนสะสมจากอุณหภูมิเฉลี่ยที่สูง และการใช้งานวิ่งๆ หยุดๆ ทำให้แรงดันน้ำมัน ATF สูง-ต่ำไม่คงที่ อุณหภูมิมักสูงตลอดเวลาจากแรงดันที่สูงๆ ต่ำๆ ดังนั้นการให้โอกาส AT (เกียร์ออโตเมติก) ได้ดื่มด่ำกับ ATF ใหม่ๆ สดๆ จึงเป็นเรื่องง่ายๆ ที่เราปฏิบัติได้ไม่ยาก อย่าถือว่าสิ้นเปลืองเลย

2. ไม่ควรโยกตำแหน่งเกียร์บ่อยควรให้โอกาสมันได้ทำ "หน้าที่อัตโนมัติ" ด้วยตัวของมันเองมากๆ หน่อย เพราะมันถูกออกแบบให้ทำงานตามลำดับขั้นตอนโดยใช้ความเร็วเป็นตัวกำหนดจังหวะ การเปลี่ยนเกียร์อยู่แล้วเป็นปกติวิสัย มีเจ้าของรถบางท่านที่เชื่อคำโฆษณาว่าเกียร์ออโต้สมัยใหม่สามารถโยกเปลี่ยน ได้ตามใจชอบ ก็เลยเอานิสัยเดิมที่เคยใช้รถเกียร์ธรรมดามาใช้กับ AT คือเชนจ์ขึ้น-ลง ปรากฏว่าอายุเกียร์ไม่ข้ามปีที่ 2 หรือไม่เกิน 40,000 กม. ด้วยซ้ำ พัง! สาเหตุก็มาจากการเปลี่ยนตำแหน่งเกียร์ทั้งวันจนเป็นนิสัย ชิ้นส่วนภายในเครียดตลอดเวลาความร้อนสูงจากแรงดัน ATF ที่สูงเกินไป ทำให้สึกหรอสูง จนแรงดัน ATF ไม่คงที่ ทุกอย่างพังหมดและพังอย่างเร็วซะด้วย บางท่านที่ไม่มากประสบการณ์ก็อาจเผลอกด Overdrive (เกียร์สำหรับลดรอบเครื่องยนต์) ไว้ทั้งวันโดยมิได้สังเกตอาการก็มี

3. ยุคหนึ่งเชื่อกันว่าถ้าติดไฟแดงก็ควร "พักเกียร์" คือเต็มใจปลดเกียร์เป็น N ทุกครั้งที่ติดไฟแดง โดยหวังว่าจะช่วยเป็นการพักเกียร์! แต่ความจริงกลับไม่ต้องทำเช่นนั้น การใช้งาน AT ให้ยืนนาน ควรเข้าใจว่าทุกครั้งที่เรา "OFF Gear" น้ำมัน ATF จะหยุดแรงดันของมันทันที จำ "หลุมฉิ่ง" Orifice Valve ที่มีลูกปืนเม็ดเล็กๆ ทนๆ กลิ้งอุดและเปิดวาล์ว ATF ได้ไหม ยามใดที่ ON Gear ลูกปืนในหลุมฉิ่งเหล่านี้จะเปิดให้ ATF ผ่านด้วยแรงดันน้ำมัน ATF ที่อัดอยู่เต็ม VB ( Valve body สมองเกียร์) เพื่อ hold ตำแหน่งเกียร์ D อยู่ แต่หากเราเข้าตำแหน่ง N เจ้า ATF ก็หยุดเดิน และไม่ "Standby" ลูกปืนเปิด-ปิด Orifice Valve ก็ปิดตัวลงนอนแอ้งแม้งใน "หลุมฉิ่ง" พอเราเข้าเกียร์ D เพื่อออกตัวในจังหวะไฟเขียว ...เท่านั้น ATF มันก็แย่งกันสูบฉีดด้วยแรงดันให้ไหลวกวนใน VB สมองเกียร์ จงคิดเอาเถิดว่า วันหนึ่งๆ หรือครั้งหนึ่งที่ได้ทำเช่นนี้แรงดัน ATF มันจะขึ้นๆ ลงๆ ตลอดเวลา ไม่ Constant สักที ของเหลว (ATF) เมื่อเคลื่อนตัวไหลไป-มาด้วยแรงดันบ่อยๆ ความร้อนก็ไม่คลายแต่กลับเพิ่มขึ้นๆ สี่แยกแล้วสี่แยกเล่า

หยุดแล้วหยุดเล่า Orifice Valve ต้องทำงานตลอดเวลา เดี๋ยวไหลเดี๋ยวหยุดกะปริบกะปรอย มันจะทนไหวหรือ ต่อไปนี้ให้ทำอย่างนี้ หากหยุดในชั่วแค่ 2-3 นาที ก็ควร "Hold D" เอาไว้ โดยเหยียบแป้นเบรกแทน แต่หากหยุดนานเกินกว่านี้ค่อยเข้า OFF Gear เป็น N อย่างน้อยก็ช่วยยืดอายุเกียร์ได้อีกโขเลย ด้วยวิธีง่ายๆ นี้ จำไว้ต่อไปนี้หยุดแป๊บเดียวไม่ต้องปลดเกียร์

4. อย่าปลดให้เป็น N (ว่าง) เพื่อให้รถไหล เพื่อช่วยประหยัดน้ำมันก่อนหยุดไฟแดง วิธีช่วยประหยัดน้ำมันเช่นนี้ไม่ดีแน่ แม้จะดีบ้างกับความประหยัดเชื้อเพลิงลิตรละ 10-15 บาท แต่เกียร์ออโต้มันไม่ชอบ ควรปล่อยให้มัน ON Gear ไปจนถึงไฟแดงดีกว่า แล้วแตะเบรกหยุดมันจะทนกว่ามากเลย อีกอย่าง ความประหยัดเชื้อเพลิงด้วยวิธีไหลในตำแหน่ง N ก็ช่วยประหยัดแค่ 2-3% เท่านั้นเอง พูดถึงค่าซ่อมเกียร์ราว 2-3 หมื่น จะคุ้มหรือ

5. การ Take Off แบบในหนัง คือออกรถให้ล้อเอี๊ยดโชว์นั่นอย่าทำเป็นอันขาด สิ่งที่จะพังเร็วคือ FP (Friction Plate) ที่เรียงเป็นตับอยู่ในเรือนเกียร์ มันจะสึกจากความร้อนที่เสียดสีฉับพลัน น้ำมัน ATF ก็ร้อนสูง (ฮีต) บ่อยๆ เข้า เจ้า FP ซึ่งหนาแค่ 2-3 มิลลิเมตร ก็ไหม้ได้ นึกถึงภาพเบิ้ลคันเร่ง บรื้นๆๆ... ในขณะที่ AT อยู่ในตำแหน่ง N วัดรอบขึ้นไปตั้ง 3,000-5,000 rpm แล้วโยกมาที่ N ทันที "จ๊ากโชว์" ได้แน่ แต่ตับไตไส้พุงของ AT มันจะพังคาที่ ในการทำเช่นนี้ไม่ถึง 10 ที ลำพังเจ้าของแบบเราๆ คงไม่ทำเช่นนี้แต่กล่าวเผื่อไว้สำหรับวัยรุ่นรถซิ่ง แอบเอารถคุณพ่อคุณแม่ หรือเด็กอู่บางคนแอบเอารถลูกค้าไปซิ่งเล่น ปรากฏว่าพัง พังชั่วไม่ข้ามคืนนี้แหละ ฉะนั้น อย่า Take Off เพื่อ Show Off เป็นอันขาด

6. ขณะลากจูง หรือใช้ระบบ "Fly in Four" หรือ "Shift on the Fly" ควรศึกษาคู่มือให้ดีก่อนอื่นให้ทราบจากผู้ขาย หรือคำโฆษณา หรือคู่มือประจำรถก่อนว่าเขากำหนดความเร็วในการเล่นฟังก์ชันไว้เท่าใด ในเกียร์ AT ยุคก่อน ในกรณีต้องลากจูงรถ เขาจะกำหนดความเร็วมักไม่เกิน 40 กม./ชม. ซึ่งเร็วแค่นี้จะไม่เป็นการทำลายเกียร์ ในรถรุ่นใหม่ เกียร์ CPU อาจลากได้เร็วขึ้นถึง 60-80 กม./ชม. แต่หากไม่แน่ใจ ควรลากไปเรื่อยๆ ที่ความเร็ว 40-50 กม./ชม. แค่นี้ดีมาก ไม่ว่าเกียร์ออโต้ของเราจะเป็นยุคไหนๆ ปลอดภัย ถนอมมันเอาไว้ก่อนจะดีกว่า

ส่วนรถ OFF Road 4x4 ประดามีที่โฆษณากันว่าเปลี่ยนเป็นขับ 4 ล้อได้ ในขณะที่วิ่งเร็วๆ เราเจ้าของรถก็ควรเข้าใจให้ถ่องแท้ว่า ในคู่มือกำหนดไว้เช่นไร ที่ความเร็วไม่เกินเท่าไร ก็สมควรปฏิบัติตามนั้นฟังก์ชันเปลี่ยนระบบขับเคลื่อนจาก 2 ล้อ มาเป็น 4 ล้อ ขณะรถวิ่งถูกเรียกว่า "Fly in Four" หรือ "Shift on the Fly" จะกำหนดไว้เฉพาะการขับเคลื่อนจาก 2H มาเป็น 4H หรือจากขับเคลื่อนปกติ 2 High เป็น 4 High เท่านั้น ความเร็วที่โฆษณาไว้ก็แถวๆ 60-80 กม./ชม. ไม่ถึง 100 กม./ชม. เพราะอัตราทดเกียร์ของแต่ละยี่ห้อที่โฆษณารวมถึง เส้นรอบวงจากขนาดของวงล้อก็อาจมีการเปลี่ยนแปลงและถูกหลงลืม ดังนั้นควร "เมคชัวร์" ในการ Shift on the Fly หรือเปลี่ยนเกียร์จาก 2H มาเป็น 4H ด้วยการใช้ความเร็วต่ำๆ เข้าไว้จะชัวร์กว่า อย่าเปลี่ยนที่ความเร็วระดับ 100 เลย เขาโฆษณาว่าทำได้จริงอยู่ แต่จะทำได้แค่ไหน หรืออายุเกียร์ AT จะทนในอายุการใช้งานเท่าใด เราผู้เป็นเจ้าของรถเท่านั้นที่รับผิดชอบ

หากทำอะไรในความเร็วที่เกินเลยไป บางทีรถอาจพลิกคว่ำในความเร็วขณะที่เปลี่ยน 2H เป็น 4H หรือไม่ก็เกียร์ AT อาจพังเร็วขึ้นที่แน่ๆ หากจะใช้ Shift on the Fly (เปลี่ยนจาก 2H เป็น 4H) ขณะรถวิ่ง ควรให้ตำแหน่งเกียร์อยู่ที่ D (อย่าไปที่ D อื่นๆ) และความเร็วแถวๆ 40-50 กม./ชม. ก็จะดี อย่าเชื่อโฆษณาอย่างเดียว ควรใช้หลักความจริงของเกียร์ AT เข้าไว้

7. ไม่ควรใส่อะไรผสมลงไปใน ATF ..หัวเชื้อน้ำมันเกียร์ AT เพราะเกียร์ AT ต่างกับเกียร์ธรรมดา 5 สปีด (Manaul 5 Speed) ที่เราเคยใช้ เจ้าอย่างหลังนี่มีหัวเชื้อดีๆ (Additive Fluid) ก็จะช่วยให้ชุดเกียร์หมุนลื่น หมุนเงียบขึ้น แน่นอน เกียร์ธรรมดาถ้าหมุนคล่อง ลื่นดี เกียร์เข้าง่าย เชนจ์เกียร์ได้ฉับไว ขับได้สนุก แต่เกียร์ AT มันไม่สนครับ เพราะ FP Friction Plate ทำหน้าที่ตามชื่อของมันอยู่แล้ว ความลื่นเหลือล้นในน้ำมัน ATF จึงห้ามเด็ดขาด ควรยืนยันใช้เบอร์เดียว มาตรฐานเดียวกับที่สมุดคู่มือประจำรถกำหนดไว้เท่านั้น อย่างยิ่ง หรือหย่อนจากที่กำหนดในคู่มือโดยเด็ดขาด
คำถามที่ว่าน้ำมัน ATF แบบสังเคราะห์สมัยใหม่ที่เหนือมาตรฐานกำหนด ใช้ได้หรือไม่นั้น ควรสอบถามศูนย์บริการหรือผู้ชำนาญดูก่อน หรือไม่งั้นใช้ตาม spec เดิม เพียงแต่ขยันเปลี่ยนหน่อยเท่านั้นเอง

8. ก่อนเข้า D ควรเหยียบแป้นเบรกไว้ก่อนหรือไม่ จะเหยียบก็ได้ หรือไม่ต้องก็ได้ ในกรณีที่เหยียบแป้นเบรกไว้ก็เพื่อไม่ให้รถกระตุกในขณะที่เข้า D เท่านั้นเอง หากเป็นรถเก่า เกียร์รุ่นเก่าๆ เวลา On gear จะกระตุกจนตกใจ ก็ควรเหยียบแป้นเบรกให้เป็นนิสัยก่อนเข้า D เพราะเกียร์ AT รุ่นเก่าจะกระตุกมากจนน่ารำคาญ รวมไปถึงเกียร์ AT ที่มีอายุการใช้งานมานมนานหลายปีอาจมีอาการสึกหรอให้เห็นชัดด้วยอาการกระตุก อย่างแรงน่ารำคาญ การเหยียบแป้นเบรกเพื่อช่วย On gear ด้วยความนุ่มนวลไว้ก่อนเข้า D ก็เป็นสิ่งที่น่าทำ ส่วนจำเป็นมากน้อยอย่างไรก็แล้วแต่กรณี แต่ถ้าเหยียบแป้นเบรกจนเป็นนิสัยก็ไม่ลำบากแต่อย่างใด

9. หมั่นสังเกตอาการกระตุกของ AT ยามใดที่เรารู้สึกว่าเกียร์ AT ที่เราใช้อยู่ทุกวันมันเกิดกระตุกยิ่งกว่าเดิม อย่าวางใจ ควรพบช่างเพื่อปรับตั้ง "Vacuum Control : VC" ทันที อย่าแกล้งเมิน บางทีอาการกระตุกของ AT จะหายได้ง่ายๆ ด้วยการปรับตั้ง VC เท่านั้นเอง แป๊บเดียวก็เสร็จ แต่ถ้าหาก VC ถูกใช้มานานหลายปีดีดักแล้วละก็ สมควรสั่งอะไหล่มาเปลี่ยนใหม่ไม่ควรซ่อม เพราะชื่อมันก็บอกว่าเป็น Vacuum ซึ่งความหมายก็คือ มันทำงานด้วยสุญญากาศเท่านั้น เสียแล้ว เสื่อมแล้ว รั่วแล้วซ่อมไม่ได้ ต้องเปลี่ยนยกชุดของแท้ แต่หากเปลี่ยน VC ใหม่ยกชุดแล้ว ยังมีอาการ คราวนี้ก็ควรล้างสมองเกียร์ VB ด้วยน้ำยา Flush & Fill สักที หากไม่ปล่อยให้อาการนี้เกิดขึ้นนานจนลำบากยุ่งยากละก็ แค่ล้างด้วยน้ำมัน Flush & Fill เดี๋ยวเดียว ชุด VB สมองเกียร์ ก็สะอาดเอี่ยมอีกครั้ง ไม่กระตุกอีกต่อไปชั่วระยะเวลาอีกนานปี

10. หลังจากสตาร์ทรถเกียร์ AT แล้ว อย่าผละออกจากรถไปที่อื่น บางครั้งเจ้าของรถอาจเผลอเข้าตำแหน่ง D เอาไว้โดยไม่รู้ตัว ลำพังเมื่อเปิด แอร์ เอาไว้ เจ้าอุปกรณ์ Idle UP Speed หรือเรียกกันว่า "Vacuum Air" อาจตัดเอาดื้อๆ เพราะอุณหภูมิความเย็นหนาวของแอร์แต่ละเวลา เย็นเร็วเย็นช้าไม่เท่ากัน ที่ตำแหน่งเกียร์ D บางครั้งเมื่อมีโหลดแอร์ รถเราถูกโหลดด้วยการเปิดแอร์ รถก็อาจจะหยุดนิ่งได้ แต่พอ Vacuum Air ตัด เครื่องยนต์ก็ปลดโหลดแอร์ไปอีกหน่อย รอบเครื่องยนต์เร่งขึ้นเอง ราว 500-700 rpm ก็อาจจะส่งผลโดยตรงให้เกียร์ ON D ทันที รถอาจวิ่งออกไปได้ดื้อๆ หรือบางทีโรงจอดรถเป็นเนินลาดขึ้น พอ Vacuum Air ตัด รอบก็เร่ง 500-700 rpm อาจจะทำให้รถวิ่งเองได้ด้วยเกียร์ D ที่เผลอเข้าเอาไว้





ที่มา
//www.bmweasternclub.com/forum/index.php?topic=4953.0


Create Date : 14 พฤศจิกายน 2553
Last Update : 14 พฤศจิกายน 2553 16:50:11 น. 0 comments
Counter : 6666 Pageviews.

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

scimovie
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 108 คน [?]




แหล่งรวบรวมความรู้ โปรแกรม เพลง หนัง เกมส์ วิทยาศาสตร์ ดูละคร เรื่องย่อ ภาพยนตร์ การเงิน และอื่นๆ อีกมากมาย สุดท้ายขอกำลังใจให้มีแรงอัพเดทตลอดๆ ครับ ขอบคุณทุกท่านที่เข้ามาเยี่ยมเยียนกันครับ
Friends' blogs
[Add scimovie's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.