ดาวน์โหลดโปรแกรม ดูละครย้อนหลัง อ่านเรื่องราวของความรู้รอบตัว วิทยาศาสตร์ ท่องเที่ยว สุขภาพ อาหาร รถยนต์ต่างๆ ไม่ทิ้งเรื่องราวความบันเทิงและเรื่องส่วนตัวอีกด้วย
Group Blog
 
<<
พฤศจิกายน 2552
1234567
891011121314
15161718192021
22232425262728
2930 
 
15 พฤศจิกายน 2552
 
All Blogs
 
ตะลึง! พบวัตถุโบราณ 2.5 พันปีที่อุตรดิตถ์(ข่าวเก่ามาปีกว่าแล้ว)



นางรัตติยา ไขยวงศ์ นักโบราณคดี 4 สำนักศิลปากรที่ 6 จ.สุโขทัย กล่าวเมื่อวันที่ 6 พฤษภาคม ภายหลังตรวจสอบหลักฐานทางโบราณคดีที่ชาวบ้านขุดพบและเก็บรักษาที่ศูนย์ ปฏิบัติธรรม และที่พักสงฆ์ม่อนอารักษ์ หมู่ 7 ต.ฝายหลวง อ.ลับแล จ.อุตรดิตถ์ ว่า มีขวานสัมฤทธิ์ เศษไห เศษหม้อดินเผา จักรหิน มีด กำไลหิน หยก ลูกกลิ้งบดยา แท่งหินบดยา หินขัด เบี้ยหินพร้อมมีดหินขัดสำหรับแล่เนื้อสัตว์ เป็นต้นเบื้องต้นจะทำรายการบัญชีโบราณวัตถุพร้อมลงทะเบียนไว้ก่อน และให้ศูนย์ปฏิบัติธรรมเก็บรักษาไว้ชั่วคราว คาดว่าเป็นยุคก่อนประวัติศาสตร์ อายุ 2,000-2,500 ปี น่าจะเป็นของใช้ในชีวิตประจำวัน หรือใช้ในพิธีกรรม พื้นที่นี้เดิมอาจเป็นชุมชน เนื่องจากอยู่เนินเขาและมีคลองไหลผ่านด้านทิศเหนือ เหมาะสำหรับตั้งรกราก

พบวัตถุโบราณ 'หม้อ ไห มีดหิน จักรหิน กำไลหิน เบี้ยหิน ขวานหิน ขวาน-ปลายหอกเนื้อสัมฤทธิ์ สมัยก่อนประวัติศาสตร์ 2,000-2,500 ปี ขณะกำลังปรับพื้นที่สร้างพระประธาน หลังอนุสารีย์เจ้าฟ้าฮ่ามกุมาร จ.อุตรดิตถ์


เมื่อวันที่ 6 พฤษภาคม นายคณิต เอี่ยมระหงษ์รองผู้ว่าราชการจังหวัดอุตรดิตถ์ นางสายรุ้ง ธาดาจันทร์ ผู้อำนวยการสำนักงานวัฒนธรรมจังหวัด นายธัญเทพ หมื่นยุทธ ผู้อำนวยการสำนักพุทธศาสนาจังหวัด และนายดนัย ชกล้าหาญ ประชาสัมพันธ์จังหวัด พร้อมด้วยเจ้าหน้าที่จากสำนักศิลปากรที่ 6 จ.สุโขทัย กรมศิลปากร จำนวน 3 คน เดินทางไปยังศูนย์ปฏิบัติธรรมและที่พักสงฆ์ม่อนอารักษ์ หมู่ 7 ต.ฝายหลวงอ.ลับแล จ.อุตรดิตถ์ ด้านหลังห่างจากอนุสารีย์เจ้าฟ้าฮ่ามกุมาร ประมาณ 500 เมตร เนื่องจากทราบข่าวว่า มีการขุดพบวัตถุโบราณหลากหลายชนิด และได้พบกับพระอาจารย์ขวัญชัย ขนฺติธมฺโม ผู้ดูแลศูนย์ปฏิบัติธรรมและที่พักสงฆ์ม่อนอารักษ์ พร้อมด้วยพระลูกวัด ชี้แจงว่า ทางวัดได้เตรียมปรับสถานที่บริเวณเนินเขาซึ่งอยู่ติดกับพื้นที่ศูนย์ปฏิบัติ และที่พักสงฆ์ บนเนื้อที่ประมาณ 1 ไร่ จาก 15 ไร่ เพื่อเป็นสถานที่สร้างพระประธานปูนปั้นองค์ใหญ่ ขนาดหน้าตักกว้างประมาณ 17 เมตร ทรงศิลปสุโขทัย จึงได้ให้ญาติโยมช่วยกันปรับพื้นที่เพื่อขุดเอาซากต้นไม้และเศษไม้ ออกระหว่างที่ขุดลึกประมาณกว่า 1 เมตร พบวัตถุโบราณไม่ทราบอายุ ประกอบด้วยขวานสัมฤทธิ์ เศษไหและเศษหม้อเนื้อดินเผา จักรหิน มีด กำไลหิน หยก ลูกกลิ้งบดยา แท่งหินบดยา หินขัด เบี้ยหินพร้อมมีดหินสำหรับใช้แล่เนื้อสัตว์ มีดสัมฤทธิ์ ซึ่งมีไว้ใช้ในครัวเรือนหรือประกอบพิธีกรรมโบราณของมนุษย์สมัยก่อน เมื่อพบแล้วก็ได้หยุดทำการขุดทันทีและได้นำสิ่งของเหล่านี้ขึ้นมาเก็บเอาไว้ ที่ตู้กระจกในศาลาปฏิบัติธรรม และแจ้งให้ทางสำนักงานวัฒนธรรมและสำนักพุทธได้รับทราบ เพื่อประสานงานยังศิลปากรให้เข้ามาทำการตรวจสอบวัตถุดังกล่าว ก่อนที่จะดำเนินการในขั้นตอนต่อไป

นางรัตติยา ไขยวงศ์ นักโบราณคดี 4 สำนักศิลปากรที่ 6 จ.สุโขทัย กรมศิลปากร กล่าวว่า เตรียมรายงานเรื่องที่เกิดขึ้นให้ทางผู้อำนวยการสำนักศิลปากรที่ 6 ได้รับทราบถึงการพบวัตถุดังกล่าวจากที่นี่ พร้อมทั้งรายงานเรื่องสภาพพื้นที่ที่ได้มีการพบเห็นว่าเป็นอย่างไรบ้าง และเจอวัตถุโบราณชนิดใดบ้างซึ่งก็ขึ้นอยู่ที่ว่าทางผู้อำนวยการจะให้ดำเนิน การอย่างไรกับวัตถุที่ทางศูนย์ปฏิบัติธรรมและที่พักสงฆ์ม่อนอารักษ์ได้ขุดพบ เจอมา เบื้องต้นจะทำรายการบัญชีบันทึกและวัดขนาดวัตถุโบราณที่ได้มีการขุดพบทั้ง หมดพร้อมลงทะเบียนหมายเลข ซึ่งตอนนี้ได้มอบให้ทางพระอาจารย์ขวัญชัยเป็นผู้เก็บรักษาวัตถุดังกล่าวทั้ง หมดเป็นการชั่วคราว จนกว่าที่นี่จะมีการจัดสร้างพระประธานเสร็จแล้วนำไปไว้ใต้ฐานพระ หรือจัดสร้างพิพิธภัณฑ์ย่อยหรือท้องถิ่นขึ้นมา เพื่อเก็บรักษาเอาไว้



"สำหรับวัตถุโบราณที่ขุดพบนั้น คาดว่าเป็นยุคก่อนประวัติศาสตร์ประมาณ 2,000-2,500 ปี มาแล้ว วัตถุโบราณที่พบเชื่อว่าน่าจะเป็นของใช้ในชีวิตประจำวันหรือใช้สำหรับใน พิธีกรรมทางความเชื่อของคนสมัยโบราณ พื้นที่นี้เดิมอาจจะเป็นชุมชนหรือจุดแวะพักของคนสมัยโบราณเพื่อการอยู่อาศัย เนื่องจากอยู่เนินเขาและมีคลองน้ำไหลผ่านด้านทิศเหนือ ซึ่งเหมาะสำหรับที่จะเป็นแหล่งตั้งรกรากอยู่อาศัยของคนโบราณเป็นการชั่วคราว ก่อนที่จะทิ้งร้างจากไป

สำหรับวัตถุโบราณที่พบนั้นประกอบด้วย ชิ้นส่วนแท่งหยก 2 ชิ้น ขวานสัมฤทธิ์ 6 ชิ้น มีขนาดกว้าง 3.5-7 เซนติเมตร สูง 6.5-9.5เซนติเมตร ขวานหินขัด 2 ชิ้น เครื่องมือหิน 3 ชิ้น ชิ้นส่วนปลายหอกเนื้อสัมฤทธิ์ 1 ชิ้น จักรหิน 1 ชิ้น กำไลหิน 1 ชิ้น ชิ้นส่วนเศษหม้อและไหดิน ลายขุดจากไม้ปลายแหลมซึ่งใช้วิธีขุดลาก ลายคลื่นจากไม้ปลายแหลมที่ทำให้เป็นคลื่น ลายเครื่องจักรสาน ลายเชือกลาก จำนวนมาก เบี้ยหินใช้สำหรับแลกเปลี่ยนแทนเงินปัจจุบัน และวัตถุโบราณชนิดอื่นอีกหลายรายการ"

นางสายรุ้ง กล่าวว่า จุดที่มีการขุดพบวัตถุโบราณในเขตพื้นที่ศูนย์ปฏิบัติธรรมและที่พักสงฆ์ม่อน อารักษ์นั้น อยู่สูงจากระดับน้ำทะเลปานกลางที่ประมาณ 116 เมตรโบราณวัตถุที่พบนั้น ทางวัฒนธรรมก็ได้เพียงแต่รับทราบและบันทึกข้อมูลที่เกิดขึ้น ทั้งนี้อยากให้ทางวัดจัดทำพิพิธภัณฑ์ย่อยเพื่อเก็บรักษาสิ่งของเหล่านี้เอา ไว้ และเชื่อว่าอาจจะพบเจอวัตถุโบราณเพิ่มขึ้นอีกในบริเวณที่ขุดพบ เพื่อคนรุ่นต่อไปจะได้ศึกษาหาความรู้

พระอาจารย์ขวัชชัย กล่าวว่า มีแนวความคิดที่จะนำสิ่งของเหล่านี้กลับไปไว้ใต้ฐานพระประธานหรือไม่ก็จะนำ เก็บเอาไว้ในพิพิธภัณฑ์ ซึ่งทางวัดอาจจะต้องจัดหางบประมาณมาดำเนินการเอง หากไม่มีงบจากหน่วยงานราชการใดให้การสนับสนุน ภายหลังที่ได้มีการปรับพื้นที่เพื่อสร้างพระประธานและหากพบชิ้นส่วนวัตถุ โบราณเพิ่มขึ้นหรือโครงกระดูกมนุษย์ ซึ่งเชื่อว่าน่าจะมี ก็จะทำการแจ้งให้ทางกรมศิลปากรและทางจังหวัดได้รับทราบต่อไป

คัดลอกจาก
//www.watisan.com/showdetail.asp?boardid=380


LubLae

ม่อนอารักษ์อยู่เหนือขึ้นไปจากอนุสาวรีย์เจ้าฟ้าฮ่ามกุมาร


LubLae

เจ้าฟ้าฮ่ามกุมาร


LubLae

ภายในม่อนอารักษ์


LubLae



Create Date : 15 พฤศจิกายน 2552
Last Update : 15 พฤศจิกายน 2552 11:48:48 น. 1 comments
Counter : 1974 Pageviews.

 
ว๊าว....


โดย: ไหมพรมสีสวย วันที่: 15 พฤศจิกายน 2552 เวลา:12:10:45 น.  

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

scimovie
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 108 คน [?]




แหล่งรวบรวมความรู้ โปรแกรม เพลง หนัง เกมส์ วิทยาศาสตร์ ดูละคร เรื่องย่อ ภาพยนตร์ การเงิน และอื่นๆ อีกมากมาย สุดท้ายขอกำลังใจให้มีแรงอัพเดทตลอดๆ ครับ ขอบคุณทุกท่านที่เข้ามาเยี่ยมเยียนกันครับ
Friends' blogs
[Add scimovie's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.