Ortho knowledge for all @ Do no harm patient and myself @ สุขภาพดี ไม่มีขาย ถ้าอยากได้ ต้องสร้างเอง
<<
มิถุนายน 2551
1234567
891011121314
15161718192021
22232425262728
2930 
13 มิถุนายน 2551

สาเหตุ ของอาการ ปวดหลัง ที่พบบ่อย

 
สาเหตุของอาการปวดหลัง ที่พบบ่อย

แนวทางการวินิจฉัย

โดยส่วนใหญ่แล้วอาการปวดหลังมักไม่ได้เกิดจากสาเหตุที่ร้ายแรง ซึ่งแพทย์สามารถให้การวินิจฉัยจากประวัติ และการตรวจร่างกาย เท่านั้น แพทย์ก็สามารถให้การรักษาได้เลย

แต่ถ้าหลังจากให้การรักษาไปช่วงเวลาหนึ่งแล้ว มีอาการปวดเป็นมากขึ้น หรือ อาการไม่ดีขึ้น ก็อาจจำเป็นต้องถ่ายภาพรังสี (เอ๊กซเรย์) ซึ่งการถ่ายภาพรังสีแบบปกติจะเห็นเฉพาะกระดูกเท่านั้น ไม่เห็นเนื้อเยื่อเช่น กล้ามเนื้อ หรือ หมอนรองกระดูก บางกรณีจึงอาจต้องเอ๊กซเรย์คอมพิวเตอร์ ( ซีที ) เอ๊กซเรย์แม่เหล็กไฟฟ้า (เอ็มอาร์ไอ) หรือ ฉีดสีเข้าในไขสันหลัง จึงจะเห็นความผิดปกติ

สาเหตุ อาการปวดหลัง เกิดได้จากหลายสาเหตุ แต่สาเหตุที่พบบ่อยได้แก่

1. ความผิดปกติตั้งแต่กำเนิด

ความผิดปกติของกระดูกสันหลังตั้งแต่กำเนิด อาจทำให้เกิดอาการปวดหลังตั้งแต่วัยเด็ก หรืออาจจะมาแสดงอาการในขณะที่อายุมากแล้วก็ได้ ซึ่งเป็นเพราะความเสื่อมสภาพที่เกิดขึ้นในภายหลัง

โรคที่พบบ่อยในกลุ่มนี้ได้แก่โรคกระดูกสันหลังคด ซึ่งสามารถสังเกตได้ง่ายจากมี หลังเอียง หลังคด กระดูกสะบักสองข้างสูงไม่เท่ากัน หน้าอกสองข้างนูนไม่เท่ากัน

การรักษาโรคหลังคดมีรายละเอียดมาก ขึ้นอยู่กับความรุนแรงที่เป็น อายุของผู้ป่วย โดยมีจุดประสงค์ในการรักษาเพื่อพยายาม ทำให้กระดูกสันหลังตรงหรือไม่คดเพิ่มขึ้น ซึ่งมีวิธีรักษาหลายวิธี เช่น การออกกำลังกายกล้ามเนื้อ ใส่เฝือกหลัง ผ่าตัดกระดูกสันหลัง การเลือกวิธีรักษาจะแตกต่างกันในผู้ป่วยแต่ละคน









2. การใช้งานหลังที่ผิดวิธี


สาเหตุที่ทำให้ปวดหลังได้บ่อยที่สุด เกิดจากการทำงานที่ใช้หลังอย่างผิดวิธี เช่น การยกของหนักมาก ๆ ขึ้นจากพื้นในท่าก้มหลัง การดันของหนัก ๆ เช่น โต๊ะ ตู้เตียง การนั่งก้มหลังทำงานนาน ๆ การนั่งขับรถเป็นระยะเวลานาน ซึ่งอาจจะทำให้เกิดอาการปวดหลังขึ้นมาทันทีหรือในวันสองวันหลังจากนั้น ซึ่งแบ่งได้เป็นสองกลุ่ม คือ

2.1 อาการปวดหลังจากกล้ามเนื้ออักเสบ

กล้ามเนื้อหลังเป็นส่วนที่ช่วยให้กำลังและความแข็งแรงในการทำกิจกรรมต่าง ๆ เช่น ยืน เดิน และ ยกของ กล้ามเนื้ออักเสบเกิดขึ้นเมื่อกล้ามเนื้อทำงานหนักมากเกินไปหรือใช้งานผิดท่า ซึ่งมีปัจจัยที่ทำให้อาการเป็นมากขึ้น ได้แก่ การใช้งานไม่เหมาะสม อ้วน การสูบบุหรี่ เมื่อเกิดกล้ามเนื้อหลังอักเสบจะทำให้ ปวด หลังแข็งเกร็ง ขยับเขยื้อนหลังไม่ได้ อาจมีอาการตัวเอียง เดินลำบาก มีแนวทางรักษาดังนี้

- การนอนพัก ในท่าที่สบาย เช่น ท่านอนหงาย เข่างอเล็กน้อย โดยใช้หมอนใบเล็ก ๆ รองใต้เข่า หรือนอนตะแคงกอดหมอนข้าง หลีกเลี่ยงการนอนคว่ำเพราะทำให้หลังแอ่น และปวดมากขึ้น แต่ไม่ควรนอนพักนานเกินกว่า 2 – 4 วัน เพราะทำให้กล้ามเนื้อหลังอ่อนแอมากขึ้น และ หายช้ากว่าปกติ ยิ่งลับมาดำเนินชีวิตประจำวันได้เร็วเท่าไร อาการปวดหลังก็จะดีขึ้นเร็วเท่านั้น

- ให้ยารักษาตามอาการ ได้แก่ ยาลดความเจ็บปวด ลดการอักเสบ ยาคลายกล้ามเนื้อ

- การทำกายภาพบำบัด


2.2 หมอนรองกระดูกส่วนเอวกดทับเส้นประสาท

หมอนรองกระดูก เป็นตัวทำให้เกิดความยืดหยุ่นของกระดูกสันหลัง และให้ความมั่นคงแข็งแรงกับสันหลัง เมื่ออายุมากขึ้น ส่วนประกอบที่เป็นน้ำภายในหมอนรองกระดูกจะลดลง ทำให้ความแข็งแรงและความยืดหยุ่นลดลง

ถ้ามีแรงมากระทำต่อหมอนรองกระดูกในลักษณะเฉียง ๆ (ซึ่งมักจะเกิดในท่าก้มลงยกของหนัก) จะทำให้หมอนรองกระดูกแตก และเกิดอาการกล้ามเนื้ออักเสบ ทำให้ปวดหลัง ในผู้ป่วยบางราย หมอนรองกระดูกที่แตกออกมาจะไปกดทับเส้นประสาททำให้เกิดอาการปวดหลัง ร่วมกับมีอาการปวดร้าวไปที่ขา ขาชา หรือ ขาอ่อนแรง ร่วมด้วย

ผู้ป่วยส่วนใหญ่หายได้ โดยวิธีรักษาแบบไม่ต้องผ่าตัด ซึ่งมีวิธีการรักษาคือ

- นอนพัก แต่ไม่ควรนอนพักนานเกิน 2-3 วัน

- รับประทานยาแก้ปวด ลดการอักเสบ ยาคลายกล้ามเนื้อ วิตามินบีบำรุงเส้นประสาท

- ทำกายภาพบำบัด เช่น การดึงหลัง การอบหลังด้วยความร้อน หรือคลื่นเสียงอัลตร้า

- การออกกำลังกายเพื่อบริหารกล้ามเนื้อหลังและหน้าท้อง ให้แข็งแรง

การผ่าตัดถือว่าเป็นวิธีรักษาวิธีสุดท้าย ซึ่งจะผ่าตัดเมื่อมีข้อบ่งชี้ที่ชัดเจน เช่น ปวดมากจนรบกวนต่อการดำเนินชีวิตประจำวัน และรักษาด้วยวิธีไม่ผ่าตัดแล้วไม่ดีขึ้น หรือ ไม่สามารถกลั้นอุจจาระ ปัสสาวะ (อุจาระราด ปัสสาวะราด)



3. การติดเชื้อ

ภาวะการติดเชื้อที่กระดูกสันหลังส่วนเอว มีสาเหตุคือเชื้อแบททีเรียกระจายมาตามกระแสเลือดแล้วไปที่กระดูกสันหลัง ทำให้มีไข้ขึ้น และมีอาการปวดหลังอย่างรุนแรง การรักษาจำเป็นต้องให้การรักษาอย่างรวดเร็ว

เชื้อที่พบบ่อยอีกชนิดหนึ่งคือ เชื้อวัณโรค ซึ่งอาการจะค่อยเป็นค่อยไป อาการปวดหลังเพิ่มขึ้นทีละน้อย มีไข้ต่ำ ๆ ในตอนบ่าย น้ำหนักลดลง ถ้าไม่ได้รับการรักษาที่ถูกต้องก็จะทำให้หลังโก่ง และอาจจะเป็นอัมพาตได้ แต่ถ้าได้รับการวินิจฉัยและรักษาได้ทันก็จะหายเป็นปกติ



4. กระดูกสันหลังเสื่อม

เมื่ออายุมากขึ้น กระดูกสันหลังก็จะเสื่อมโทรมลงตามธรรมชาติ ซึ่งอาจแบ่งอาการของกระดูกสันหลังเสื่อม ได้เป็น ๒ ระยะ

ระยะข้อต่อหลวม เมื่อข้อเริ่มเสื่อมถึงจุดหนึ่งความแข็งแรงของข้อต่อกระดูกสันหลังจะลดลง ทำให้มีการเคลื่อนไหวของข้อต่อมากขึ้น (ข้อต่อหลวม) ทำให้เกิดอาการปวดหลัง ในช่วงเริ่มต้นมักจะมีอาการเวลาขยับตัวเปลี่ยนอิริยาบท เช่น นอนแล้วลุกขึ้นลำบาก แต่ถ้าข้อต่อหลวมมาก ก็จะมีอาการตลอดเวลา

ระยะข้อติดแข็ง (กระดูกงอก) ซึ่งเป็นระยะต่อมาที่ร่างกายมีกระบวนการซ่อมแซมตัวเองโดยการสร้างหินปูนมายึดเกาะข้อต่อให้แข็งแรงขึ้น อาการปวดที่เกิดขึ้นเนื่องจาก ข้อต่อหลวมก็จะหายไป แต่ถ้าหินปูนที่ร่างกายสร้างขึ้นมานั้นมีมากเกินไป จนกดทับเส้นประสาท ก็จะทำให้เกิดอาการปวดหลังอีก ซึ่งคราวนี้อาการปวดหลังมักจะเป็นเมื่อเริ่มออกเดินไปได้สักระยะหนึ่ง อาการปวดและชาที่ขาจะเป็นมากขึ้นเรื่อย ๆ จนเดินไม่ไหวต้องหยุดเดินและนั่งพักอาการจึงจะดีขึ้น ระยะทางที่เดินได้โดยไม่ปวดจะสั้นลงเรื่อย ๆ ตามความรุนแรงของโรค



ถ้ามีข้อสงสัยเกี่ยวกับอาการปวดหลัง แนวทางการรักษา และวิธีบริหารกล้ามเนื้อ ให้สอบถามกับแพทย์ หรือ ศัลยแพทย์กระดูกและข้อ อีกครั้ง….


..............................

...............................

ปวดหลัง

https://www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=13-06-2008&group=5&gblog=18

สาเหตุ ของอาการ ปวดหลังที่พบบ่อย

https://www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=13-06-2008&group=5&gblog=19

กระดูกสันหลังเสื่อม

https://www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=24-06-2008&group=5&gblog=20

กล้ามเนื้อหลัง อักเสบ

https://www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=24-06-2008&group=5&gblog=23

 

หมอนรองกระดูกส่วนเอวกดทับเส้นประสาท

https://www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=24-06-2008&group=5&gblog=22

หมอนรองกระดูกส่วนเอวกดทับเส้นประสาทthaispine

https://www.thaispine.com/intervertebral_disc.htm

ข้อแนะนำเพื่อป้องกันและบรรเทาอาการปวดหลัง

https://www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=13-06-2008&group=5&gblog=17

 

กระดูกทับเส้นหมอนรองกระดูกทับเส้น เป็นอย่างไร ???

https://www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=28-07-2008&group=5&gblog=36

กระดูกทับเส้นหมอนรองกระดูกทับเส้น เป็นอย่างไร ??? Thaispine

https://www.thaispine.com/sciatica.htm

กระดูกสันหลัง ฉีดยาบล๊อคเส้นประสาท

https://www.thaispine.com/SNRB.htm

กระดูกสันหลัง ฉีดยาสเตียรอยด์

https://taninnit-backpain.blogspot.com/2013/10/vs.html

กระดูกสันหลัง ผ่าตัด

https://www.thaispine.com/Decision_point.htm

กระดูกสันหลัง ผ่าตัดคำถามก่อนผ่า

https://www.bangkokhospital.com/th/centers-and-clinics/dlif/pre-spinal-surgery

กระดูกสันหลัง ผ่าตัดคำถามหลังผ่า

https://www.bangkokhospital.com/th/centers-and-clinics/dlif/pre-and-post-after-spinal-surgery

กระดูกสันหลังคด เวบไทยสปาย

https://www.thaispine.com/Dent-scoliosis.html

กระดูกสันหลังคด เวบหาหมอ

https://haamor.com/th/%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%94%E0%B8%B9%E0%B8%81%E0%B8%AA%E0%B8%B1%E0%B8%99%E0%B8%AB%E0%B8%A5%E0%B8%B1%E0%B8%87%E0%B8%84%E0%B8%94/

ปวดก้นกบ ( CoccyxPain , coccydynia , coccygodynia )

https://www.bloggang.com/mainblog.php?id=cmu2807&month=04-01-2010&group=5&gblog=45

กระดูกสันหลังอักเสบยึดติด ( AS)

https://www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=24-06-2008&group=5&gblog=24

ปวดหลัง .. ก็มีคะแนน ทำเองได้ง่ายมาก

https://www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=15-09-2013&group=5&gblog=48

เข็มขัดรัดหลัง :จำเป็นหรือไม่ในคนทำงาน? นักเขียนหมอชาวบ้าน: ผศ.ดร.วรรธนะ ชลายนเดชะ

https://www.doctor.or.th/article/detail/1289

 

กลุ่มอาการกล้ามเนื้อสะโพกหนีบเส้นประสาท ( พิริฟอร์มิสซินโดรม,Piriformis Syndrome)

https://www.pobpad.com/piriformis-syndrome-กลุ่มอาการกล้ามเนื้
https://supachokclinic.com/piriformis-syndrome/
https://drsant.com/2014/11/piriformis-syndrome.html
https://www.facebook.com/216848761792023/photos/a.1473381102805443/1572913409518878/




Create Date : 13 มิถุนายน 2551
Last Update : 20 มิถุนายน 2565 14:57:52 น. 11 comments
Counter : 58587 Pageviews.  

 
ผมนอนตกหมอนครับหมอ...ปวดตั้งแต่เช้าวันศุกร์

ปวดหลังมากๆ วันนี้ทั้งวันผมยกแขนซ้ายไม่ขึ้นเลย ยกก็ปวดมากๆ เข้าใจว่าเส้นประสาทถูกกดทับ ตอนพิมพ์นี่ก็ยังปวด หันซ้ายไม่ได้เลย มีวิธีบำบัดรักษาเบื้องต้นยังไงดีครับ


โดย: palermos (palermos ) วันที่: 14 มิถุนายน 2551 เวลา:1:49:14 น.  

 

ถ้าเป็นมากขนาดนี้ ... ไปพบแพทย์ดีกว่าครับ ..

ขอให้ดีขึ้น โดยเร็วนะครับ ..


โดย: หมอหมู วันที่: 26 มิถุนายน 2551 เวลา:17:54:22 น.  

 
ขอบคุณค่ะ ไว้จะเข้ามาเก็บข้อมูลอีก

แอบเสียดายคุณหมอหมูอยู่ตั้งกำแพงเพชร ถ้าหากอยู่กรุงเทพก็อยากจะไปรักษาด้วยจัง

ตอนนี้ยังไม่ได้เข้า รพ.เพื่อรักษาอาการนี้เป็นทางการค่ะ เข้าแต่คลินิกกายภาพ แต่ส่วนตัวแมวคิดว่า ตัวแมวอยากจะผ่าตัด เพราะเป็นคนไม่ค่อยมีความอดทนทำอะไรซ้ำๆได้นาน ก็เลยไม่รู้ว่าจะเบื่อการทำกายภาพขึ้นมาเมื่อไร แต่หากการผ่าตัดสามารถช่วยได้และใช้เวลาสั้นกว่า ก็อยากจะลองดู


โดย: แมว (ขี้เหงา...เอาแต่ใจ ) วันที่: 4 มีนาคม 2552 เวลา:22:10:26 น.  

 

//www.rssthai.com/reader.php?t=health&r=15142

Life Style : สุขภาพ
วันที่ 22 กันยายน 2552 04:00
โดย : บุษกร ภู่แส


กระดูกสันหลังคดแก้ได้ ... นพ.ทายาท บูรณกาล

ปกติแล้วกระดูกสันหลังของคนเราจะตั้งเป็นแนวตรง ส่วนคนที่เป็นกระดูกสันหลังคดอาจเบี้ยวไปทางข้างใดข้างหนึ่ง มีทั้งเป็นรูปตัว C หรือตัว S ซึ่งกว่ารู้ตัวอาจใช้เวลานาน เพราะไม่มีอาการปวดนำสัญญาณมาก่อน

“โรคนี้มันแฝงอยู่ในลักษณะของปุ่มนูน หากไม่สังเกตจะไม่เห็นความผิดปกติ เพราะมองไม่เห็น บางครั้งมีแต่รอยนูนที่แผ่นหลังอย่างเดียว ถือเป็นสัญญาณได้ว่า เด็กเริ่มกระดูกสันหลังคดตามมา“ นพ. ทายาท บูรณกาล ผู้อำนวยการศูนย์ร่วมการรักษากระดูกสันหลัง โรงพยาบาลกรุงเทพ อธิบายสัญญาณอันตราย

กรณีกระดูกคดไม่เกิน 60 องศาแทบไม่มีอาการปวดแตกต่างจากคนทั่วไป ยกเว้น กระดูกคดเกินคดเกิน 60 องศา เริ่มมีปวดหลัง ถ้าเกิน 100 องศาขึ้นไปมีปัญหาเรื่องการหายใจ แต่ถ้าเกิน 130-140 องศาถึงขั้นเป็นอัมพาต เดินไม่ได้แล้ว แขน-ขาอ่อนแรง และโอกาสติดเชื้อในปอดสูง เพราะขนาดปอดเล็กลงตามการบีบของซี่โครงทำให้เสียชีวิตได้ง่ายกว่าคนปกติ

ผลจากการวิจัยพบว่าเด็กไทยมีกระดูกสันหลังคดเพิ่มขึ้นในอัตรา 1 ต่อหมื่นคน ส่วนในต่างประเทศ มีอัตราคนที่เป็นกระดูกสันหลังคดมากกว่าประเทศไทย 3 เท่า

“กระดูกคดอาจเริ่มเป็นตั้งแต่เด็กแรกเกิด ที่พบบ่อยคือ คอคด มันไม่ได้เกิดมาปุ๊บเห็นปั๊บ แต่จะเห็นได้ตอนเด็กอายุ 1 ขวบปีแรก 4 ปี 6 ปี 8 ปี และ 12ปี”

กระดูกสันหลังคด ที่พบบ่อย แบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม กลุ่มแรกกระดูกสันหลังคดตั้งแต่ แรกเกิด ซึ่งสัมพันธ์กับโรคกระดูกไม่ปกติ เช่น กระดูกสันหลังแหว่งอาจแหว่งด้านซ้าย ด้านขวายืดออกมา หรือมีกระดูกสันหลังเกิน ซึ่งเป็นกลุ่มเสี่ยงสูงที่เป็นอัมพาต ถ้าปล่อยทิ้งไว้อาการรุนแรง กลายเป็นคนทุพพลภาพ สามารถพบได้ทุกเพศทุกวัย ทุกชนชั้นไม่ว่าจะดีมีจน

วิธีการรักษาคือ ผ่าตัดแต่งกระดูก แล้วเอาเหล็กดาม ติดกับร่างกายตลอดชีวิต

แพทย์ผู้เชี่ยวชาญ ระบุว่า ระยะเวลาผ่าตัดที่เหมาะ ขึ้นอยู่กับ 3 ปัจจัยหลัก ได้แก่

1. ความแข็งแรงของร่างกายของเด็ก

2. ขึ้นอยู่กับมุมการคดด้วยว่าคดมาก คดน้อย ถ้ากระดูกคดเร็วเกิน 60 องศา ขึ้นไปตั้งแต่อายุ 4 ขวบควรผ่าตัด แต่ถ้า 4 ขวบยังไม่ถึง 60 องศาแค่ 30 องศา สามารถรอให้เด็กอายุ 8-9 ขวบค่อยผ่าตัด

3. ขึ้นอยู่กับความพร้อมของแพทย์ ที่บางครั้งต้องการรอเทคโนโลยีที่เข้ามาช่วยในการผ่าตัด

"สมัยก่อนการผ่าตัดแบบนี้โอกาสเป็นอัมพาตสูง 50 : 50 แต่เดี๋ยวนี้หวังผลได้ 99 % ยิ่งถ้าพามารักษาในช่วงที่เวลาเหมาะสม จะไม่มีลักษณะอาการทุพพลภาพหลงเหลืออยู่”

ยังมีอีกกลุ่มหนึ่งที่มีกระดูกดีทุกอย่าง แต่อยู่ดีๆ กระดูกสันหลังคด ไม่ทราบสาเหตุ แพทย์เชื่อว่า เกิดจากโครโมโซมบางอย่างเป็นตัวบังคับให้เกิดการม้วนของกระดูกสันหลังบิดเป็นเกลียว เหมือนเชือกปีนเกลียว มักพบได้กับเด็กอายุ 8 ขวบก่อนเข้าสู่วัยรุ่น และพบเกี่ยวโยงกับพันธุกรรมด้วย เรียกว่า ถ้าแม่เป็น มีโอกาสสูงที่ลูกจะเป็น

“ ส่วนใหญ่เด็กมักไม่รู้ตัวว่ากระดูกคด จนกระทั่งวันหนึ่งส่องกระจกแล้วเห็นมีโหนกเกิดขึ้น (Hump) เกิดขึ้นที่ตรงสะบัก แสดงว่ากระดูกสันหลังบิด พอผู้ปกครองพามาหาหมอเอ็กซ์เรย์ก็พบว่าลักษณะคด ที่พบบ่อยๆ คือการคดของกระดูกสันหลังแถวหน้าอก”

นพ. ทายาท บอกว่า โรคนี้มักพบในผู้หญิง สังเกตได้จาก อันดับแรกคือ ประจำเดือน ถ้าเด็กมีอาการหลังคดตั้งแต่เริ่มมีประจำเดือน บอกได้เลยว่า ต่อไปอนาคตจะคด หรือบางคนคดตั้งแต่ยังไม่มีประจำเดือน ต้องระวังเพราะพอมีประจำเดือนแล้วกระดูกสันหลังจะคดอย่างรวดเร็ว

อันดับสองให้สังเกต มุมของการคด ถ้าเด็กที่มาหาแพทย์ครั้งแรกแล้ว คด 40 องศา เด็กกลุ่มนี้โอกาสคดเร็วมากเทียบกับเด็กที่มีมุมคด 15 องศา ส่วนเครื่องมือในการวัดคือ การถ่ายภาพ X -ray ใช้คอมพิวเตอร์ลากเส้นวัดมุม กรณีเด็กที่เคยมาตรวจมีมุมคดเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว 1 ปีเกิน5 องศา ควรเข้ารับการผ่าตัด เพราะโอกาสพิการสูง หรือถ้าเด็กอายุ 8 -10 ขวบมุมการคด 30 องศา สามารถใส่เสื้อเกราะ (Brace) แทนการผ่าตัด

"การใส่เสื้อเกราะมันทรมาน เพราะคนใส่ถูกบังคับในการบิดตัวอยู่ในท่าบิดเบี้ยวอยู่ตลอดเวลาทั้งวันทั้งคืน ถึงจะได้ผล แต่ไม่ค่อยได้รับความนิยม เพราะโอกาสเกิดผลสำเร็จต่ำ และต้องดัดปรับแทบทุก 2-3 เดือนคล้ายกับการจัดฟัน อัตราความสำเร็จของการใส่เสื้อเกราะขึ้นอยู่กับ พ่อแม่ แพทย์ ที่ต้องจ้ำจี้จ้ำไชไม่ให้เด็กถอด ปัจจุบันการใช้ยังมีอยู่ โอกาสที่ประสบความสำเร็จ 50-70% "

การใส่เสื้อเกราะเพื่อไม่ให้ภาวะกระดูกคดแย่ลง แต่ต้องอาศัยระยะเวลานาน 5-6 ปี ราคาเสื้อเกราะมีให้เลือกกันตั้งแต่ 3 หมื่น-1แสนบาท ไม่นับรวมค่าใช้จ่ายในการปรับขนาดในแต่ละเดือน ในแง่ของความปลอดภัย เด็กจะไม่เป็นอัมพาต แต่อาจเสียสุขภาพจิต ส่วนการผ่าตัดโรคกระดูกคดประเภทที่สอง โอกาสสำเร็จประมาณ 99% โอกาสมีปัญหาระบบประสาท 2% ติดเชื้อ 1% โอกาสเสียชีวิตต่ำกว่า1%

" 98 % คนไข้ประสบความสำเร็จกับการผ่าตัด พักแค่ 3-4 วันหลังผ่าตัด หลังจากนั้นสามารถใช้ชีวิตได้ตามปกติ สมัยก่อนเหล็กที่ใช้จะเป็นแบบขอเกี่ยว จนกระทั่ง 10 ปีที่ผ่านมาหันมา ไททาเนียม ที่สามารถแก้ไขมุมได้ 3 มิติ ค่าใช้จ่ายการผ่าตัด ขึ้นอยู่กับราคาของเครื่องมือ ถ้านำเข้าจากต่างประเทศทั้งหมด ไม่ต่ำกว่า 2-3 แสนบาท แต่ในประเทศไทยสามารถทำได้แล้วราคาถูกกว่าครึ่งหนึ่ง ข้อดีของการผ่าตัดคือ เด็กไม่เสียสุขภาพจิต "

อย่างไรก็ตาม หลังผ่าตัดต้องใส่เสื้อประคองไว้ 6 เดือนหลังการผ่าตัด โดยปกติ แพทย์ไม่แนะนำให้เล่นกีฬาหนักอย่าง รักบี้ ฟุตบอล เพราะจะเป็นตัวเร่งให้กระดูกหลังที่เหลืออยู่พังเร็วขึ้น แต่ถ้ากีฬาทั่วไป อาทิ ว่ายน้ำ ตีปิงปอง แบดมินตัน สามารถเล่นได้ตามปกติ




โดย: หมอหมู วันที่: 30 กันยายน 2552 เวลา:19:15:13 น.  

 



https://www.bloggang.com/mainblog.php?id=min-wu-mice&month=03-10-2007&group=7&gblog=4

::บทที่ 2 วัณโรคกระดูกสันหลัง::


วัณโรคกระดูกสันหลัง ( Tuberculosis of the spine ) วัณโรคกระดูกและข้อพบมากในประเทศที่กำลังพัฒนาที่มีการบริการด้านสาธารณสุข (Public health service ) ยังไม่ดี พบมีการติดเชื้อในกระดูกและข้อ ( Bone and joint) 1-10 % ในผู้ติดเชื้อ Tuberculosis มีจำนวนมากกว่าครึ่งหนึ่งเกิดที่กระดูกสันหลังและทำให้มีอาการทางระบบประสาท ( Neurologic dificit ) 10 – 47 %
การติดเชื้อพบในคนทุกอายุ มักพบบ่อยในผู้ใหญ่ซึ่งมักเกิดกับกระดูก ซึ่งมีไขกระดูกมาก ๆ เช่น กระดูกสันหลัง ในเด็กหรือหนุ่มสาว ซึ่งอยู่ในวัยเจริญเติบโต จะเกิดการติดเชื้อวัณโรค ที่กระดูกบริเวณ metaphysis

การติดเชื้อวัณโรคกระดูกและข้อก่อให้เกิดปัญหาพบได้บ่อย ๆ ได้แก่ วัณโรคกระดูกสันหลังพบมากกว่าครึ่งหนึ่งของโรคกระดูกและข้อ วัณโรคกระดูกสันหลังที่พบบ่อยที่สุด คือ กระดูกสันหลังส่วน thoracolumbar ( T8 – L3 ) และน้อยที่สุดบริเวณ C1-2 ส่วนใหญ่จะเกิดวัณโรคในกระดูกสันหลังได้ 2-3 ระดับ แต่จำนวนที่เป็นอาจมากถึง 10 ระดับก็ได้


การดำเนินการของโรค

วัณโรคกระดูกสันหลังเป็นโรคที่ติดต่อเนื่องจากวัณโรคอวัยวะอื่นๆ เสมอ เช่น จากวัณโรค-ปอด และระบบทางเดินปัสสาวะ เชื้อวัณโรคไปยังกระดูกสันหลังทางกระแสเลือด (heamatogenous) ซึ่งจะโดยทางหลอดเลือดดำหรือหลอดเลือดแดง หรือหลอดน้ำเหลืองยังเป็นที่ถกเถียงกัน Hodgson และพวก (1964) เชื่อว่าน่าจะแพร่กระจายไปทางหลอดเลือดดำที่อยู่โดยรอบกระดูกสันหลังที่ เรียกว่า paravertebral venous plexus of Batson โดยเชื้อจากอวัยวะในช่องท้องและทางเดินปัสสาวะจะไหลย้อนไปทางหลอดเลือดดำใน ขณะที่มีการเพิ่มแรงดันใน inferior vena cava อย่างฉับพลัน จากการสะอึก ไอ จาม การเบ่งท้อง ทั้งนี้เนื่องจากพบว่าวัณโรคกระดูกสันหลังมักพบบริเวณ thoracolumbar ซึ่งบริเวณนี้มี paravertebral venous plexus และจากความล้มเหลวในการที่จะทำให้เกิดการติดเชื้อวัณโรคของกระดูกสันหลังโดย การฉีดเชื้อเข้าไปทางหลอดเลือดแดง แต่พบว่าถ้าฉีดเชื้อเข้าไปในอวัยวะในช่องท้องทางเดินปัสสาวะแล้วทำให้เกิด วัณโรคของกระดูกสันหลังบริเวณนั้นได้



พยาธิสภาพ

เมื่อเชื้อวัณโรคมีโอกาสได้เข้าไปถึงส่วนของกระดูกสันหลังซึ่งส่วนใหญ่จะ เป็นเนื้อกระดูกพรุน ( cancellous bone ) ของ vertebral body และมีปัจจัยที่ช่วยให้เชื้อวัณโรคอยู่ได้ ก็จะทำให้เกิดกระบวนการอักเสบของเนื้อกระดูกเช่นเดียวกับที่เกิดกับกระดูก ส่วนอื่น ๆ ( Ruge and Witlse 1977 ; Martini 1988 ; Leatherman and Dickson 1988 ) จะเกิดหนองและเนื้อ caseous ภายในเนื้อกระดูกเรียกว่า vertebral granuloma เนื้อกระดูกบางส่วนจะตาย ส่วนที่เหลือจะบางลง ในระยะนี้ส่วนของ intervertebral disc จะยังคงปกติเนื่องจากโดยปกติแล้วเชื้อวัณโรคไม่สามารถเข้าไปยัง intervertebral disc ได้ทางกระแสเลือด เพราะหลอดเลือดเข้าไปสู่ intervertebral disc นั้นได้หมดไปแล้วในระยะผู้ใหญ่

ระยะต่อมาเมื่อหนอง caseous มีปริมาณมากขึ้นก็จะหาทางแตกออกไปภายนอกกระดูกประกอบกับในระหว่างที่เกิดการ อักเสบเป็นหนองในเนื้อกระดูกนั้น อาจพบว่ามีเนื้อ granulation เกิดขึ้นรอบ ๆ หลอดเลือดดำในช่องกระดูกสันหลัง ( spinal canal ) ซึ่งเรียกว่า pachymeningitis externe ซึ่งอาจทำให้เกิด tuberculous myelitis และเป็นสาเหตุของอัมพาตได้ประการหนึ่ง

หนองที่แตกออกไปนอกกระดูกอาจแทรกไปใต้เยื่อหุ้มกระดูกและ longitudinal ligaments ซึ่งโดยมากจะไหลลงตามแรงโน้มถ่วง ไปยังส่วนกระดูกของอันที่อยู่ถัดไป ทำให้เกิดการอักเสบของกระดูกสันหลังอันอื่น ๆ ได้มากขึ้น นอกจากนี้หนองอาจจะแตกไหลไปทางด้านหลังทำให้เกิด Epidural abcess แล้วกดไขสันหลังหรือรากประสาทได้

เมื่อการอักเสบของกระดูกมากขึ้นจนทำให้ end plate ของ vertebral body ถูกทำลาย การอักเสบติดเชื้อนั้นจะลามเข้าไปถึงหมอนกระดูกสันหลังโดยตรง ทำให้เกิด discitis หมอนรองกระดูกจะถูกทำลายเสียหายยุบลง Hodgson และพวก เชื่อว่าหมอนกระดูกสันหลังซึ่งไม่มีหลอดเลือดเข้าไปนั้น จะเป็นสิ่งสำคัญที่ทำให้ต้านทานการอักเสบติดเชื้อได้และตัวมันเองจะถูกทำลาย ด้วยการขาดการหล่อเลี้ยงจากกระดูก เนื่องจากกระดูกอักเสบติดเชื้อทำให้หมอนรองกระดูกเหี่ยวแห้ง ตายลง เรียกว่า seguestrated disc ซึ่งจะหลุดลอกออกได้ง่าย และสามารถเคลื่อนเข้าไปกดไขสันหลังทางด้านหลังได้

ภายใน vertebral body เองที่มีการอักเสบเป็นหนองจนเนื้อกระดูกบางลง จะไม่สามารถรับแรงกดได้เป็นปกติก็จะเกิดการยุบหัก ( concertina collapse ) ส่วนมากทางด้านหน้ามักจะยุบมากกว่าทางด้านหลัง ทำให้ผู้ป่วยหลังโก่ง เศษกระดูกที่เกิดจากการยุบลงนี้อาจเคลื่อนไปทางด้านหลัง แล้วไปกดไขสันหลังได้เช่นกัน

หนองรวมทั้งสาร caseous และเศษกระดูกที่ตาย ถ้ามีปริมาณมาก อาจแตกทะลุ anterior longitudinal ligaments ออกไปยังที่ต่าง ๆ ทางด้านหน้าได้ตามส่วนของหนองที่เกิด

ในส่วน suboccipital หนองจะแตกออกมากองทางด้านหน้าในช่องว่างหลังคอหอย (retropharyngeal space) เกิดเป็น retropharyngeal abscess หรือแตกออกไปทางด้านหลังเข้าไปใน spinal canal กด medulla oblongata หรือไขสันหลังได้ ส่วนของคอบริเวณที่ต่ำลงไป ( C3 – T3 ) หนองจะทำให้เกิดฝี เป็นก้อนดันหลอดอาหาร ( orophagus ) กดหลอดลมคอ (trachea) หรือแตกออกเป็น sinus บริเวณ posterior triangle ของคอ

ส่วนของกระดูกสันหลังช่วงอก หนองที่แตกออกมาทางด้านหน้า จะกลายเป็นฝีรอบด้านหน้าของกระดูกสันหลังแล้วแตกเข้าไปยังช่องอกหรือค่อย ๆ ไหลลงไปตามแรงโน้มถ่วงผ่านกระบังลม ( diaphragm ) ไปรวมตัวเป็น posterior lumbar abscess ตรง lumbar trigone หรือ หนองอาจแตกไปทางด้านหลังเข้าไปใน spinal canal และกดไขสันหลังได้
ในส่วนของ lumbar และ sacrum หนองอาจแทรกเข้าไปในกล้ามเนื้อ psoas แล้วทำให้เกิด psoas abscess และเซาะแทรกไหลลงไปยัง femoral trigone เป็น cold abscess บริเวณขาหนีบ และบริเวณ perineum ซึ่งอาจแตกออกเป็น sinus ได้

ถ้าโรคที่เป็นได้รับการบำบัดรักษา หรือความต้านทานของร่างกายดีขึ้น จะมีการกำจัดหนองและเนื้อ granulation ออกไปพร้อมกับการเสริมสร้างเนื้อกระดูกใหม่ขึ้นมาแทนที่ จะเกิดการเชื่อต่อของกระดูกสันหลังเอง



ภาพที่ 8 แสดงกรเปลี่ยนแปลง vertebral body เมื่อมีการติดเชื้อ TB ซึ่งในที่สุดจะเห็นเป็นลักษณะ anterior wedging compression
ที่มา : สมชัย ปรีชาสุข และคณะ.ออร์โธปิดิกส์.2535.259




ภาพที่ 9 แสดง cold abcess ที่เกิดขึ้นในวัณโรคกระดูกสันหลัง
ที่มา : สมชัย ปรีชาสุข และคณะ. ออร์โธปิดิกส์.2535.259

อาการและการแสดง
ผู้ป่วยจะมีอาการผิดปกติของร่างกายทั่ว ๆ ไป ถ้าเป็นเด็กน้ำหนักตัวจะหยุดเพิ่มแล้วเริ่มน้ำหนักลดลง ผอม ซูบซีด เบื่ออาหาร และเซื่องซึม เหนื่อยง่าย เด็กจะไม่สนใจเล่นกับเพื่อนอาจจะมีไข้ต่ำ ๆ โดยเฉพาะเวลาบ่าย ระยะนี้อาจกินเวลานานเป็นสัปดาห์ ๆ ถึงหลาย ๆ เดือน

เมื่อเข้าระยะที่มีการอักเสบของกระดูกสันหลัง อาการปวดหลังจะเป็นอาการที่สำคัญอาการปวดจะมากขึ้นเมื่อมีการทำงาน แม้แต่เวลาไอ จาม และอาการปวดจะน้อยลงเมื่อได้พัก ถ้าเป็นเด็กอาจร้องไห้กวนเวลากลางคืน สีหน้าแสดงอาการวิตกกังวลเศร้าหมอง
อาการปวดหลังในบางรายอาจร้าวไปรอบตัวในระดับนั้นๆ (girdle pain) ปวดบริเวณเอวหรือก้น หรือมีอาการปวดแบบ sciatica ได้ เมื่อเคาะหรือกดบนกระดูกสันหลังท่อนนี้ อาจเกิดอาการปวด กล้ามสันหลังจะแข็งแกร่ง (rigidity) ร่วมกับการหดเกร็งของกล้ามสันหลัง (paravertebralmuscle spasm) ทำให้การเคลื่อนไหวของลำตัวน้อยลง

ผู้ป่วยจะมีท่าเดินที่ผิดปกติไป เช่น ก้าวสั้นลง งอเข่าและสะโพกไว้ อาจจะพบ cold abscess ซึ่งเป็นฝีที่มีลักษณะเย็น คือไม่ปวด กระเพื่อมได้ (fluctuation) กดไม่เจ็บ ในบริเวณต่างๆ โดยเฉพาะแถวด้านหลังเอว สะโพกด้านหน้าและขาหนีบ

เมื่อมีการกดไขสันหลังและเส้นประสาทผู้ป่วยจะเริ่มมีอาการอ่อนแรงของแขนขา การยืนเดินจะไม่ได้ตามปกติ (paraparesis) อาจมีการอ่อนแรงมากจนลุกเดินไม่ได้ (paraplegia) แนวของ vertebral column จะผิดปกติไป เช่น หลังค่อม (kyphosis) ซึ่งพบบ่อยบริเวณ thoracic หรืออาจจะมีการทรุดลงทางด้านข้างของกระดูก (scoliosis) เป็นต้น

ลักษณะพิการ ผู้ป่วยจะมาหาเราด้วยลักษณะพิการ แล้วแต่ว่าเป็นที่ส่วนไหน ถ้าเป็นที่คอจะมีคอเอียง ที่อกจะมีหลังโก่ง ส่วนที่เอวจะพบว่ามีหลังแอ่นน้อยลง สำหรับส่วนอกนอกจากจะมีหลังโก่งชัดเจนแล้ว จะมีหน้าอกยื่นแหลมออก ช่องระหว่างซี่โครงจะแคบ กระเพาะอาหารถูกบีบทำให้รับประทานอาหารอิ่มเร็ว ตัวเตี้ยแคระเป็นหลังค่อม เรียกว่า hunchback


การวินิจฉัย

ลักษณะอาการทางคลินิกของวัณโรคกระดูกสันหลัง ประวัติแบบค่อยเป็นค่อยไป ผู้ป่วยมักจะมีอาการเหล่านี้ คือ
- ปวดหลัง เป็นอาการที่นำผู้ป่วยมาพบแพทย์บ่อยที่สุด ซึ่งแพทย์ต้องวินิจฉัยแยกโรคให้ได้จากอาการปวดหลังอื่น การซักประวัติ ตำแหน่งที่ปวด ลักษณะการปวดที่ทำให้ผู้ป่วยต้องตื่นหรือนอนไม่หลับ จึงเป็นสิ่งที่มีความสำคัญ
- กล้ามเนื้อตึงตัว ก้มหลังลำบาก
- ไข้เรื้อรัง มักเป็นตอนบ่าย
- น้ำหนักตัวลด เบื่ออาหาร
- คลำได้ก้อน ( cold abscess )
- แขนขาอ่อนแรง เนื่องจากระบบประสาทส่วนกลางถูกกด

1. การซักประวัติ
ประวัติ ทั่วไป เช่น อายุ เพศ เชื้อชาติ สัญชาติ พื้นฐานเศรษฐกิจและสังคม ตลอดจนประวัติทางครอบครัวของคนไข้ ประวัติการใช้ยาในอดีต ชนิดของการทำงาน การวิเคราะห์อาการปวด อาการปวด มักจะรุนแรงตอนกลางคืน ลักษณะการปวดมีได้หลายแบบ ได้แก่อาการปวดหลัง ข้อสะโพก ท้องและอาการของ meningeal syndrome

2. การตรวจร่างกาย
ขึ้นอยู่กับว่าระดับ ของกระดูกสันหลังที่เป็นโรคและการลุกลามของพยาธิสภาพมากน้อยแค่ไหน ในระยะต้นอาจพบว่ามีการเกร็งตัวของกล้ามเนื้อ ก้มหรือเงยหลังลำบาก คลำได้ก้อน ในระยะหลังอาจมีความผิดปกติในโครงสร้างของกระดูกสันหลังร่วมด้วย เช่น torticolis, scoliosis, kyphosis ในกรณีที่มีการกดระบบประสาทไขสันหลัง อาการที่ตรวจพบแรกที่สุดคือ clonus

3. การตรวจทางรังสี
ลักษณะ ภาพถ่ายรังสี ลักษณะแรกสุดคือจะมีช่องหมอนรองกระดูกสันหลังแคบลง ต่อมากระดูกสันหลังจะมีการทำลายโดยเฉพาะที่ anterior superior หรือ inferior angle Thoracic จะมี anterior wedging compression ในภาพถ่ายด้านตรงจะเห็น Paravertebral abscess เป็นเงา ส่วนกระดูกที่อยู่ใกล้เคียงจะมี atrophy

4. การตรวจด้วย MRI ( Magnetic resonance imaging )
MRI คือ เครื่องมือตรวจอวัยวะต่าง ๆ ของร่างกายโดยใช้คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า และคลื่นวิทยุรวมกับคอมพิวเตอร์ ภาพที่ได้จะมีรายละเอียดชัดเจนเหมือนถ่ายภาพจริง

หลักการของ MRI ก็คือ เมื่อนิวเคลียสของสารวางอยู่ในสนามแม่เหล็กที่มีความเข้มสูงและสม่ำเสมอจะ ถูกกระตุ้นด้วยคลื่นวิทยุที่มีความถี่พอเหมาะ นิวเคลียสที่ถูกกระตุ้นจะคายพลังงานออกมาในรูปของคลื่นวิทยุซึ่งสามารถตรวจ จับได้และใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ช่วยในการสร้างภาพอวัยวะต่าง ๆ

ข้อดีของ MRI
1. มีความไวสูง สามารถค้นพบความผิดปกติได้ในระยะแรก
2. ให้ความแตกต่างระหว่างเนื้อเยื่อสูง จึงสามารถแยกระหว่างเนื้อเยื่อปกติและผิดปกติ
3. บอกลักษณะของเนื้อเยื่อบางอย่างได้ดี เช่น ถุงน้ำ ไขมัน
4. สามารถดูการไหลเวียนของโลหิตได้
5. แสดงภาพได้หลายแนวทั้ง aeial, coronal และ sagital plane โดยไม่ต้องเปลี่ยนท่าผู้ป่วย
6. ไม่มี bone และ air artifact จึงมีประโยชน์ในการตรวจ brain, spinal cord และ musculoskeletal
7. ไม่มีรังสีเอ็กซ์ จึงเหมาะสำหรับตรวจในเด็กและหญิงมีครรภ์
8. ไม่จำเป็นต้องใช้สารทับรังสีพวกไอโอดีนจึงเหมาะสำหรับพวกที่แพ้สารไอโอดีน
9. สามารถใช้เทคนิคตรวจได้หลายระบบ เช่น Vascular system ( MRA,MRV ), Billiarry system (MRCP), Urinary System (MRU) โดยที่ไม่ต้องใช้สารทึบรังสีฯ หรือถ้าเราจะใช้สารที่มีผลข้างเคียง น้อยมาก ที่เรียกว่า Gadalinium Diethelene Trimene Pentaacitic acid (Gd.DTPA) หรือที่นิยมเรียกว่า GAD (แก็ด) ซึ่งผู้ป่วยไม่ต้อง NPO (ยกเว้นกรณีที่ตรวจ MRCP หรือตรวจ Abdomen (บางครั้ง)) เพราะมีผู้ป่วยเกิดอาการแพ้คอนทราสต์น้อยมาก (ตั้งแต่ใช้มายังไม่มี)
10. ให้รายละเอียดของเนื้อเยื่ออ่อนดีกว่าเอกซเรย์มาก แต่ในกระดูกที่มี Yellow Marrow น้อยจะให้รายละเอียดได้น้อยกว่า
11. ใช้ตรวจแทนการตรวจ Myelography ซึ่งค่อนข้างอันตรายมาก
12. ราคาในการตรวจค่อนข้างต่ำ หากเปรียบเทียบกับที่อื่น คือ อัตราค่าตรวจอยู่ที่ 4,000-6,000 บาท (หากฉีด Contrast จ่ายเพิ่ม จากราคานี้อีก 1,800 บาท)

ข้อเสียของ MRI
1. ใช้เวลาในการตรวจนานจึงไม่เหมาะกับผู้ป่วยที่ไม่ให้ความร่วมมือ
2. ไม่สามารถบอกรายละเอียดของกระดูก และตรวจหาแคลเซี่ยมไม่ได้
3. มีข้อจำกัดสำหรับผู้ป่วยที่กลัวความลึก (claustrophobia)
4. ไม่เหมาะสำหรับผู้ป่วยที่อาการหนักต้องใช้ monitoring และ mechanical suport ระหว่างการตรวจ
5. มีข้อห้ามสำหรับผู้ป่วยที่ใส่ Cardial qacemaker เพราะ MRI มีผลของการเต้นของหัวใจ
6. ผู้ป่วยที่ผ่าตัดใส่ ferromagnetic anenrysm clip เมื่อ MRI จะมีการเลื่อนหลุดของ clip ทำให้เลือดไหลออกได้
7. ผู้ป่วยที่มี iron containing foreign body เช่น เศษเหล็กเข้าตา ทำให้ตาบอดได้มีการเลื่อนของเศษเหล็ก
5. การตรวจทางห้องปฏิบัติการ
จะพบลักษณะของโรคที่เป็นเรื้อรัง เช่น ทำบีซีจี จะพบ hypochromic anemia จำนวนเม็ดเลือดขาวอาจอยู่ในเกณฑ์ปกติ หรือเพิ่มขึ้นเล็กน้อย (slight leukocytosis) ค่า ESR มักจะสูง การตรวจ tubercular skin test ส่วนใหญ่จะได้ผลบวก ควรทำการศึกษาพิเศษเพื่อตรวจดูว่า ไม่มีอวัยวะอื่นเป็นร่วมด้วย เช่น เอกซเรย์ปอด , IVP เป็นต้น การตรวจสารจากข้อ พบเม็ดเลือดขาวเพิ่มขึ้นเฉลี่ยประมาณ 20,000 ( range 3,000-100,000 ) ระดับน้ำตาลในสารน้ำต่ำลง, poor mucin อาจพบตัวเชื้อ tubercle bacilli ถ้าเพาะเชื้อได้จะยืนยันการวินิจฉัย

Laburatory

1. CBC มักจะพบ Hemoglobin และ Hematocrit ต่ำส่วน WBC count มักจะปกติ
2. ESR สูง (ใช้ในการติดตามผลการรักษาด้วย)
3. Urine examination ใช้ตรวจวัณโรคทางเดินปัสสาวะ
4. Tubercullin test จะช่วยได้เฉพาะในกรณีให้ผลบวกมาก ๆ เพราะผู้ป่วยในบ้านเราส่วนใหญ่มักได้ผลบวก ถ้าให้ผลลบจะช่วยแยกวัณโรค จากโรคอื่นได้



ปัญหาในการให้การวินิจฉัยวัณโรคกระดูกสันหลัง

เนื่องจากการติดเชื้อที่กระดูกสันหลังส่วนใหญ่ในบ้านเรามักจะเกิดการติด เชื้อวัณโรค เพราะฉะนั้นแพทย์ส่วนใหญ่เมื่อพบผู้ป่วยมีลักษณะอาการทางคลินิก และลักษณะภาพถ่ายรังสีเข้าได้กับการติดเชื้อกระดูกสันหลัง จึงมักมีแนวโน้มที่จะให้การวินิจฉัยว่าเป็นวัณโรคของกระดูกสันหลังในกรณีที่ ยังไม่มีอาการแทรกซ้อน เช่น การผิดรูปของกระดูกสันหลัง หรือกดระบบประสาท สามารถใช้วิธีการลองรักษาดูก่อน (therautic diagnosis) โดยการรักษาทางยา และติดตามผล

การรักษาภายใน 3 เดือนแรก โดยพิจารณาว่า
1. อาการปวดหลังลดลงหรือไม่
2. ผู้ป่วยมีน้ำหนักตัวเพิ่มขึ้นและเบื่ออาหารลดลงหรือไม่
3. ลักษณะภาพถ่ายรังสีมีการเปลี่ยนแปลงหรือไม่
4. ESR ดีขึ้นหรือไม่

ผู้ป่วยที่มีลักษณะดังกล่าวดีขึ้น จะได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นวัณโรคกระดูกสันหลัง และได้รับการรักษาทางยาต่อไป ส่วนผู้ป่วยที่มีอาการเลวลงหรือไม่ดีขึ้นผู้ป่วยที่มีอาการผิดรูปของกระดูก สันหลังเกิดขึ้นตั้งแต่แรก ผู้ป่วยที่มีอาการแทรกซ้อนทางระบบประสาทเกิดขึ้นแล้ว ผู้ป่วยเหล่านี้ควรจะได้รับการรักษาโดยวิธีผ่าตัด ซึ่งแพทย์สามารถตัดชิ้นเนื้อมาตรวจและส่งเพาะเชื้อ แต่เนื่องจากโอกาสที่จะพบเชื้อวัณโรคเพียงแค่ร้อยละ 30 เท่านั้น การวินิจฉัยจึงมักอาศัยเพียงรายงานทางพยาธิว่าเนื้อเยื่อที่ได้เป็นลักษณะ อักเสบแบบ granulomatous ซึ่งเข้าได้กับวัณโรค (การรอผลเพาะเชื้อนอกจากจะมีโอกาสพบเชื้อได้น้อยดังกล่าวแล้ว ยังคงใช้เวลานานซึ่งไม่เหมาะสมเมื่อนำมาใช้ในการปฏิบัติจริง)

การรักษาพยาบาล

การรักษาวัณโรคกระดูกสันหลังสามารถแบ่งออกได้เป็น 2 กลุ่ม คือ

1. วัณโรคกระดูกสันหลังที่ไม่มีการกดทับของไขสันหลังและเส้นประสาท ซึ่งสามารถรักษาได้คือ
- การรักษาแบบอนุรักษ์ โดยการให้พักและพยุงกระดูกสันหลังโดยเครื่องพยุงหลัง ร่วมกับการให้ยาต้านเชื้อวัณโรค และปรับปรุงสภาพร่างกายทั่วไปให้ดีขึ้น การรักษากลุ่มนี้มีข้อดีคือ สิ้นเปลืองค่าใช้จ่ายน้อยเนื่องจากไม่ต้องทำการผ่าตัด ร้อยละ 85 ของผู้ป่วยสามารถหายได้ภายใน 12 เดือน แต่มีข้อเสียคือการรักษาวิธีนี้ไม่สามารถแก้ไขปัญหาเรื่องความวิกลรูป ของกระดูกสันหลัง เช่น หลังโก่ง ซึ่งผู้ป่วยต้องยอมรับความวิกลรูปนั้น และแม้หายดีแล้ว ความวิกลรูปนั้นมีมากขึ้น วิธีการรักษานี้จะเป็นที่นิยมในประเทศที่กำลังพัฒนา เช่น อินเดีย อัฟริกา เป็นต้น

- การรักษาโดยการผ่าตัด ( anterior decompression and spinal fusion ) การรักษาวิธีนี้เป็นที่นิยมกันในประเทศที่พัฒนาแล้ว หรือมีฐานะทางเศรษฐกิจดีเช่นประเทศในแถบยุโรป โดย ใช้การผ่าตัดร่วมกับการให้ยาต้านวัณโรคจนครบตามจำนวน การรักษาวิธีนี้มีข้อดี คือ สามารถให้การวินิจฉัยที่ถูกต้องและหาความไวของเชื้อวัณโรคต่อยา ( sensitivity ) ได้จากเนื้อเยื่อที่ได้จากการผ่าตัดซึ่งทำให้การให้ยามีประสิทธิภาพมากขึ้น ทำให้ระยะเวลาของการรักษาสั้นลง โดยเฉลี่ยจะใช้เวลาประมาณ 8 เดือนนอกจากนี้แล้วยังสามารถแก้ไขและป้องกันความวิกลรูป เช่น หลังโก่งได้โดยตรง แต่การรักษาวิธีนี้ข้อเสียคือสิ้นเปลืองค่าใช้จ่ายมาก แต่เป็นการผ่าตัดที่ต้องอาศัยแพทย์ผู้ชำนาญในการผ่าตัด รวมถึงบุคลากรที่ได้รับการฝึกฝนมาอย่างดีและเครื่องมือที่พร้อมการรักษาโดย ใช้ดุลยพินิจ เลือกการรักษาแบบอนุรักษ์ หรือการผ่าตัดแล้วแต่ความเหมาะสมของผู้ป่วยในแต่ละราย อาจเป็นวิธีการที่เหมาะสมที่สุดในประเทศไทยโดยพิจารณาผู้ป่วยในในระยะแรก ถ้ากระดูกยังไม่ถูกทำลายมากนัก และยังไม่มีความวิกลรูป จะพิจารณารักษาโดยวิธีอนุรักษ์ แล้วติดตามผลการรักษาทุก 1 ถึง 3 เดือน ถ้าการดำเนินโรคไม่ดีขึ้นหรือเลวลงหรือกระดูกสันหลังถูกทำลายมากขึ้น จะพิจารณาทำการผ่าตัด

2. วัณโรคของกระดูกสันหลังที่มีการกดทับของไขสันหลังและประสาท ซึ่งเกิดจากสาเหตุภายนอก เช่น abscess, granulation tissue, เศษกระดูกและหมอนรองกระดูกสันหลังไปกดระบบประสาทในระยะที่โรคหายแล้วอาจเกิด จากสันกระดูกหรือเนื้อเยื่อพังผืดไปกดรัดไขสันหลังและเส้นประสาทได้ นอกจากนี้อาการทางระบบประสาทยังอาจเกิดได้จากการอุดตันของหลอดเลือดไข สันหลัง จากกระบวนการติดเชื้อได้แต่ต้องใช้เวลานานและยังมีองค์ประกอบอื่น ๆ ที่เป็นสาเหตุร่วมด้วยเพราะฉะนั้นวิธีที่ดีที่สุดในกลุ่มผู้ป่วยกลุ่มนี้คือ การทำผ่าตัด anterior decompression and spinal fusion ซึ่งจะแก้ปัญหาผู้ป่วยได้เร็วกว่า

การพยากรณ์โรคของผู้ป่วยขึ้นกับระดับของการกดระบบประสาท ถ้าเป็นเพียงบางส่วนผลจะดีกว่า แต่ถ้าระบบประสาทถูกกดมามากกว่า 6 เดือน พยากรณ์โรคมักจะได้ผลไม่ดี

การผ่าตัดมีดังต่อไปนี้.

1. Costo-transversectomy ใช้กับผู้ป่วยที่แพทย์มีจุดประสงค์เฉพาะการดูดเอาหนองออกจากฝีสปาย โดยตัดเอา transversprocess และกระดูกซี่โครงส่วนที่ติดกันออกจะเข้าถึงโพรงฝีสปายได้สะดวก

2. Antero-lateral decompression ผ่าตัดเข้าทางด้านหลัง ตัดเอาซี่โครงออกประมาณ 2-3 นิ้ว จากส่วนหัวและคอของกระดูกซี่โครง โดยตัดออก 2-3 อัน ถ้าเป็นโรคที่กระดูกสันหลังส่วนเอว การผ่าอาจผ่าด้านข้างแบบผ่าตัดไต หรือผ่าทางด้านหลังแล้วอ้อมมาทางด้านข้างและด้านหน้าก็ทำได้ การผ่าแบบนี้สามารถเอาเนื้อเยื่อที่ตายและกดไขสันหลังออกได้หมดและใส่กราฟท์ กระดูกได้ การผ่าส่วนที่เป็นโรคโดยตรงนี้ยังมีข้อดีกว่าที่สามารถเอาเนื้อเยื่อที่ตาย แล้วออกได้ เปิดโอกาสให้ยาต้านวัณโรคเข้าถึงเชื้อโรคได้ดีขึ้น ยาสามารถซึมเข้าภายในผนังของฝีสปายได้ ยาต้านวัณโรคสามารถซึมผ่านเข้าส่วนที่เป็นโรคในความเข้มข้นที่สามารถหยุดการ เจริญเติบโตของเชื้อได้ก็ตามแต่การที่ทำให้บริเวณที่เป็นโรคมีการไหลเวียน ของโลหิตดีก็จะช่วยให้ยาเข้าถึงได้สะดวกขึ้น และมีความเข้มข้นเพิ่มขึ้น ย่นระยะเวลาการหาย

3. Anterior approach มีหลายท่านนิยมทำผ่าตัดเข้าทำ decompression ทางด้านหน้าโดยผ่านเข้าช่องเยื่อหุ้มปอดในส่วนที่เป็นระดับข้อต่อสันหลัง ส่วนอกหรือผ่าผ่านช่องท้องในรายที่เป็นส่วนเอว แต่การบริบาลหลังผ่าตัดมีความยุ่งยากกว่า แต่ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความถนัดของแพทย์ผู้ทำ

การพยาบาลผู้ป่วย

1. การพยาบาลทั่ว ๆ ไป ได้แก่

1.1 ให้ผู้ป่วยได้รับการพักผ่อนทั้งทางด้านร่างกายและจิตใจ โดยการจัดให้อยู่สิ่งแวดล้อมที่เหมาะสม อากาศถ่ายเทสะดวก ภายในห้องควรมีแสงแดดส่องถึง การพักผ่อนมาก ๆ ในระยะแรกอาจทำให้ผู้ป่วยรู้สึกเบื่อหน่าย จึงควรให้ผู้ป่วยหางานอดิเรกเบา ๆ ทำร่วมไปด้วย

1.2 แนะนำให้รับประทานอาหารที่มีประโยชน์แก่ผู้ป่วย จัดอาหารให้น่ารับประทานและอาจให้ญาติอยู่ใกล้ชิด เพื่อให้ผู้ป่วย รับประทานอาหารได้มากขึ้น และควรให้ผู้ป่วยได้รับประทานอาหารประเภทมีกาก เช่น ผัก ผลไม้ เพื่อป้องกันท้องผูก ควรได้รับน้ำประมาณวันละ 2-3 ลิตร เพื่อป้องกันภาวะขาดน้ำ ช่วยขับสารที่เหลือจากเมตาบอลิซึมของยา ช่วยลดพิษจากยา หรือพิษจากเชื้อโรค ช่วยป้องกันการเกิดนิ่วในไต

1.3 ติดตามผลการตรวจทางรังสี และผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการ เพื่อทราบการแพร่กระจายของเชื้อโรค และควรป้องกันการแพร่กระจายของเชื้อโรค โดยมีการทำลายเชื้อผ้าปิดแผลของผู้ป่วยที่มีหนองหรือน้ำจากข้อซึมก่อนนำไป ทิ้ง ซึ่งถ้าพบว่าผู้ป่วยเป็นวัณโรคปอดร่วมด้วย ควรแยกผู้ป่วยและอธิบายการปฏิบัติตนเพื่อป้องกันการแพร่กระจายจากเชื้อไปสู่ ผู้อื่น



2. การให้ยาต้านวัณโรค ควรอธิบายวิธีรับประทานยาปละเหตุผลในการให้ยาเป็นเวลานานอย่างต่อเนื่อง และสังเกตอาการข้างเคียงจากยาต่าง ๆ ถ้ามีเกิดขึ้นควรรายงานแพทย์เพื่อลดยาหรือหยุดยา อาการข้างเคียงที่อาจเกิดจากยาดังกล่าวมีดังต่อไปนี้

2.1 Streptomycin อาการแพ้ยาหรือพิษจากยาคือ มีผื่นขึ้น อาจทำลายเส้นประสาทสมอง (carnial nerve) คู่ที่ 8 ทำให้มีอาการปวดศีรษะ วิงเวียน หน้ามืด เป็นลม หูอื้อ มีเสียงในหู ถ้าเป็นมากอาจเกิดหูหนวก

2.2 Para – amino – salicylic acid ( PAS ) ผลข้างเคียงทำให้ระคายเคืองระบบทางเดินอาหาร มีอาการท้องเสียและอาเจียน

2.3 Iso – nicotinic acid hydrazide (INH) ยานี้ถ้าให้ระยะเวลานาน ๆ จะทำให้ขาดวิตามิน B6 พิษของยาอาจทำให้ปลายประสาทอักเสบ ( peripheral neuritis ) การตอบสนองของเอ็นกล้ามเนื้อไวกว่าปกติ ( hyperreflexia )

2.4 Rifampicin มีพิษต่อตับได้มาก ดังนั้นผู้ป่วยที่ได้รับยานี้ควรได้รับการทดสอบการทำงานของตับเป็นระยะ ๆ ระหว่างได้รับยา

2.5 Ethambutal ผลข้างเคียงยานี้ทำให้เกิดการฝ่อลีบ ของเส้นประสาทตา (Optic atrophy)




โดย: หมอหมู วันที่: 28 กุมภาพันธ์ 2555 เวลา:13:41:38 น.  

 

3. การพยาบาลเฉพาะที่

ในรายที่รักษาโดยการผ่าตัด

การพยาบาลก่อนผ่าตัด

1. การเตรียมด้านจิตใจ ผู้ป่วยส่วนมากมักจะมีความวิตกกังวลเมื่อทราบว่าต้องการได้รับการรักษาด้วย การผ่าตัดและใส่อวัยวะเทียมเข้าไปแทน พยาบาลช่วยลดความวิตกกังวลได้โดยให้คำอธิบายแก่ผู้ป่วยให้เข้าใจถึงพยาธิ สภาพที่ผู้ป่วยเป็นอย่างคร่าว ๆ รวมทั้งวิธีการรักษาพยาบาลที่ผู้ป่วยจะได้รับ ถ้าเป็นไปได้ควรหารูปภาพต่าง ๆ มาให้ดูเพื่อความเข้าใจยิ่งขึ้น รวมทั้งให้คำแนะนำการปฏิบัติตัวหลังการผ่าตัด และขอความร่วมมือในการรักษาพยาบาลจากผู้ป่วยให้ความร่วมมือมากที่สุด เพราะหลังผ่าตัดการพยาบาลส่วนใหญ่จะเน้นการฟื้นฟูสภาพร่างกาย จึงควรแนะนำโปรแกรมการออกกำลังกายที่ผู้ป่วยต้องปฏิบัติและทำการฝึกหัดก่อน ผ่าตัดจะช่วยสร้างเสริมความมั่นใจแก่ผู้ป่วยได้มาก

2. การเตรียมด้านร่างกายก่อนได้รับการผ่าตัด ผู้ป่วยจะได้รับการตรวจร่างกายอย่างละเอียด รวมทั้งการตรวจต่าง ๆ ทางห้องทดลอง ผู้ป่วยส่วนมากจะได้รับยาบรรเทาอาการปวดมาเป็นเวลานาน ๆ เช่น แอสไพริน จึงควรศึกษาในเรื่องการแข็งตัวของเลือด โอกาสที่เลือดตกง่าย เป็นการป้องกันและหลีกเลี่ยงภาวะแทรกซ้อนที่สำคัญทางระบบไหลเวียนโลหิต ในการวางแผนการพยาบาลก่อนผ่าตัดนั้น ควรเน้นเรื่องการประเมินสภาพผิวหนัง โดยเฉพาะผู้ป่วยที่เป็นโรคข้อเข่าอักเสบรูมาตอยด์เนื่องจากมักจะได้ยาพวก steroid รักษาอยู่เป็นเวลานาน จึงควรจะเอาใจใส่ดูแลให้มาก ถ้ามีการฉีกขาดของผิวหนังเพียงเล็กน้อย เช่น การใช้ retractor ขณะทำผ่าตัดสามารถนำไปสู่ภาวะผิวหนังเน่าตายตามแนวที่เย็บไว้ได้ การเตรียมบริเวณที่ทำผ่าตัดจึงต้องให้สะอาดมากเช่นเดียวกับการผ่าตัดอื่น ๆ โดยสอนให้ผู้ป่วยฟอกบริเวณเข่าด้วยน้ำยาฆ่าเชื้อขณะทำความสะอาดร่างกายนาน ประมาณ 10 นาทีทุกวันขณะอยู่โรงพยาบาลในช่วงก่อนผ่าตัด และพยาบาลช่วยโกนขนผิวหนังบริเวณที่จะทำการผ่าตัดและดูแลให้สะอาดอีกครั้งใน วันที่จะไปทำผ่าตัด ควรระวังอย่าให้มีการบาดของผิวหนังเกิดขึ้น เพราะจะทำให้เสี่ยงต่อการติดเชื้อหลังผ่าตัดได้

การพยาบาลหลังผ่าตัด

เนื่องจากผู้ป่วยที่มีปัญหาในการติดเชื้อทางกระดูก ดังนั้นการพยาบาลหลังผ่าตัด จึงต้องการความเอาใจใส่เป็นพิเศษ เพราะอาจมีภาวะแทรกซ้อนในระบบอื่น ๆ เช่น หัวใจ ทางเดินหายใจร่วมด้วย นอกจากการให้การพยาบาลทางด้านระบบกระดูก การพยาบาลที่สำคัญมีดังนี้

1. บันทึก vital signs เพื่อสังเกตอาการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นหลังการผ่าตัด อาจมีอาการหนาวสั่น ซีด ชีพจรเร็ว และความดันโลหิตต่ำได้ จึงอาจเป็นผลมาจากยาที่ได้รับจากการให้ยาสลบหรือเสียเลือดจากการทำผ่าตัด การบันทึกควรทำอย่างละเอียดในช่วงแรกหลังผ่าตัดใหม่ ๆ ควรบันทึกทุก 30 นาที จนกระทั่งคงที่ และต่อไปทุก 1 ชั่วโมง และ 4 ชั่วโมง ตามลำดับ ในระยะ 2-3 วันแรกผู้ป่วยอาจมีอุณหภูมิของร่างกายสูงขึ้นได้ แต่ถ้ายังคงสูบอยู่ โดยไม่ลดลงต้องรีบปรึกษาแพทย์โดยเร็ว

2. สังเกตอาการตกเลือดที่ซึมจากแผล หลังการผ่าตัดผู้ป่วยจะได้รับการใส่ท่อระบายต่อลงขวดสุญญากาศ (Redivac drain) นานประมาณ 48 ชั่วโมง เพื่อป้องกันการตกค้างของเลือดในแผล ให้สังเกตจำนวนเลือดที่เพิ่มขึ้นอย่างผิดปกติ รวมทั้งบันทึกสีและจำนวนที่ออกมาในขวดระบายอย่างถูกต้อง เพื่อป้องกันการคั่งของเลือดที่แผล พยาบาลต้องหมั่นดูแลท่อระบายให้ทำงานได้สะดวก โดยขวดรองรับสิ่งระบายต้องเป็นสุญญากาศอยู่เสมอ

3. ดูแลให้ผู้ป่วยได้รับสารน้ำและยาครบถ้วน หลังผ่าตัดผู้ป่วยมักจะรับประทานอาหารไม่ค่อยได้ จะได้รับการทดแทนทางหลอดเลือดดำในช่วงกลับจากห้องผ่าตัดใหม่ ๆ และผู้ป่วยจะได้รับยาปฏิชีวนะทางหลอดเลือดดำนี้ ประมาณ 2-3 วัน จึงเปลี่ยนมาเป็นยารับประทานภายหลัง ถ้าผู้ป่วยไม่มีอาการคลื่นไส้อาเจียนให้รับประทานอาหารอ่อนย่อยง่ายและ เปลี่ยนมาเป็นอาหารธรรมดาตามความเหมาะสมของผู้ป่วยแต่ละราย

4. การดูแลผิวหนัง เนื่องจากผู้ป่วยมักจะอยู่ในท่านอนหงาย ดังนั้นการดูแลรักษาความสะอาดของผิวหนังบริเวณหลังจึงมีความจำเป็นที่จะต้อง ตรวจดูบ่อยๆ ทุก 3-4 ชั่วโมง ในขณะที่ผู้ป่วยตื่นและบริเวณข้อศอกต้องตรวจดูเพราะอาจมีรอยถลอกได้ และถ้าผู้ป่วยนอนทับแขนนานๆ อาจจะเกิดอันตรายต่อ ulnar nerve ได้ ซึ่งพยาบาลต้องถามผู้ป่วยว่ามีอาการชาหรือเจ็บบริเวณนิ้วนางและนิ้วก้อยหรือ ไม่

5. ดูแลเรื่องการหายใจ กระตุ้นให้ผู้ป่วยหายใจลึกๆ และไอเอาเสมหะออกในช่วงที่นอนอยู่บนเตียง ในผู้ป่วยสูงอายุการให้เป่าถุงลมหรือลูกโป่งจะช่วยกระตุ้นให้ปอดขยายตัวได้ ดีขึ้น

6. อาการปวด หลังผ่าตัดใหม่ๆ 24-48 ชั่วโมงจะมีอาการปวดมากและปวดนาน อาจจะมาจากแรงกดบริเวณแผลผ่าตัด ต้องให้ยาบรรเทาอาการปวดโดยการฉีดเข้ากล้าม และตรวจดูอาการผิดปกติทางประสาทและหลอดเลือดทุก 4 ชั่วโมง อาจจะวางกระเป๋าน้ำแข็งให้ได้ ถ้าอาการไม่ดีขึ้นแสดงว่ามีอาการบวมเกิดขึ้น ส่วนอาการปวดที่เกิดจากการออกกำลัง ความรุนแรงจะลดลงอยู่ในระดับปานกลาง หลังผ่าตัด 48 ชั่วโมงไปแล้ว อาการปวดจะมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับบริเวณที่ทำการผ่าตัด สภาพของผู้ป่วย การให้ยาแก้ปวดจะให้เป็นครั้งคราวตามความจำเป็น

7. การขับถ่าย ในช่วง 24-48 ชั่วโมงแรก อาจพบว่ามีจำนวนปัสสาวะมาก เนื่องจากผู้ป่วยได้รับน้ำทางหลอดเลือดดำมาก ในช่วงทำผ่าตัดและหลังผ่าตัด แต่ถ้ามีการถ่ายปัสสาวะไม่ออกหรือไม่มีอาการปวดถ่ายปัสสาวะหลังผ่าตัดนาน ประมาณ 8 ชั่วโมง ควรสังเกตอาการอย่างใกล้ชิด อาจต้องสวนปัสสาวะให้ผู้ป่วย

8. ผู้ป่วยหลังผ่าตัดทางออร์โธปิดิกส์ พยาบาลต้องทราบความจำกัดของ activity ของผู้ป่วยหลังผ่าตัด เช่น รู้ว่าเมื่อไหร่จึงพลิกตัวผู้ป่วย ภายหลังผ่าตัดกระดูกสันหลังได้ เมื่อไหร่ให้ผู้ป่วยนอนตะแคงได้และจะไขหัวเตียงได้เมื่อไหร่ ควรพลิกตัวผู้ป่วยแบบ log rolling method ควรใช้หมอนวางตลอดแนวความยาวหลัง และรองใต้เข่าบน ให้ผู้ป่วยงอเข่าบนและเหยียดออกเพื่อออกกำลังกล้ามเนื้อ hamstring ให้ผู้ป่วยทำ Rang of motion ของแขน

9. การดูแลแผลผ่าตัด ถ้าเป็น Elective case จะไม่เปิดแผลผ่าตัดดูหรือเปิดทำแผล ( นอกจากแผลมีการติดเชื้อ หรือ Dressing เปื้อนมาก ๆ ) การตัดไหมควร 10-14 วัน ถ้าตัดไหมเร็วอาจเกิดแผลแยกได้ การติดเชื้อของแผลทำให้เกิด Osteomyelitis ได้ การให้ยาปฏิชีวนะจึงเป็นสิ่งจำเป็น พยาบาลต้องดูแลให้ครบตามจำนวน และเวลา ป้องกันแผลติดเชื้อ โดยเตรียมบริเวณผ่าตัดให้สะอาด การทำแผลที่ถูกวิธี หอผู้ป่วยมีความสะอาด เครื่องใช้ในการทำแผลต้องปราศจากเชื้อ

10. การจัดท่านอนผู้ป่วย และ activity ต่าง ๆ ควรได้รับความเห็นจากแพทย์ก่อน ถ้าคำสั่งคลุมเครือไม่ชัดเจน ต้องถามให้ชัดเจน พยายามให้ผู้ป่วยช่วยเหลือตัวเองในการทำกิจวัตรประจำวันมากที่สุด นอกจากนั้นผู้ป่วยออกกำลังข้อและกล้ามเนื้อต่าง ๆ อยู่เสมอ



ภาวะแทรกซ้อน

- Abscess เป็นฝีชนิดฝีสปาย ( cold abscess ) ซึ่งมีชื่อเรียกแล้วแต่ว่าเกิดที่ระดับไหนกระดูกสันหลังส่วนอกตอนล่างและ ส่วนเอว จะเกิดเป็น psoas abscess คลำพบได้ที่ illiac fossa ถ้าหากเป็นข้างขวาจะทำให้สับสนได้กับฝีไส้ติ่ง ซึ่งมีข้อแตกต่างคือ psoas abscess กดไม่เจ็บ อาจมีตึง ๆ และคลำได้ก้อนติดต่อกับ illiac crest ส่วนฝีไส้ติ่งกดเจ็บและคลำแยกจาก illiac crest ชัดเจน กระดูกสันหลังส่วนเอวอาจเกิดมีฝีสปายทางด้านหลังที่ lumbar triangle ได้
- อาการอัมพาต อาจเป็นชนิด flaccid หรือ spastic ก็ได้ แต่ส่วนมากเป็นชนิด spastic ซึ่งเกิดเนื่องจากไขสันหลังถูกกดหรือเบียดจาก
1. ฝีสปายแตกเข้าไปกด
2. granulation tissue
3. necrotic disc
4. sequestrum
5. internal gibbus
อาการอัมพาตโดยมากเกิดจาก abscess หรือ granulation tissue กดหรือเบียดไขสัน-หลังโดยกดหรือเบียดทางด้านหน้าของไขสันหลัง จึงเริ่มมีอาการขาไม่ค่อยมีแรง อาการจะค่อยๆ มากขึ้นเมื่อ paramidal tract ถูกกดเป็น spastic paraplegia มีการถ่ายปัสสาวะและอุจจาระไม่ออก หรือกลั้นไม่อยู่ ในรายที่ abscess โตๆ แตกไปกดไขสันหลังทันทีทันใด

Create Date : 03 ตุลาคม 2550
Last Update : 3 ตุลาคม 2550 14:04:05 น.



โดย: หมอหมู วันที่: 28 กุมภาพันธ์ 2555 เวลา:13:41:46 น.  

 



ตัวอย่าง ผู้ป่วย กระดูกสันหลัง ติดเชื้อ วัณโรคกระดูกสันหลัง
(Tuberculus Spondylitis) case1
โดย นพ.ทายาท บูรณกาล

//www.thaispine.com/Exam_Tb_spine1.html

//www.thaispine.com/webboard/index.php?showtopic=1573


วัณโรคกระดูกสันหลัง (Tuberculosis of Spine)
โดย น.พ.ธเนศ วรรธนอภิสิทธิ์

//www.thaispineclinic.com/articles/tuberculosis-of-spine

//www.scribd.com/doc/27232970/%E0%B8%A7%E0%B8%B1%E0%B8%93%E0%B9%82%E0%B8%A3%E0%B8%84%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%94%E0%B8%B9%E0%B8%81%E0%B8%AA%E0%B8%B1%E0%B8%99%E0%B8%AB%E0%B8%A5%E0%B8%B1%E0%B8%87-TB-Spine



แถม ..


ปวดเมื่อยร่างกายเรื้อรัง เตือนระวัง วัณโรคกระดูก

ที่มา ://www.healthcorners.com/new_read_article.php?category=generalhealth&id=4246

วันที่โพสต์ : 2010-11-07

เอ่ยถึงโรคภัยไข้เจ็บในยุคปัจจุบันอาจเรียกได้ว่า มีอยู่ด้วยกันหลายโรคหลายอาการทั้งที่เพิ่งเกิดขึ้นใหม่ และโรคเก่าเกิดการกลายพันธุ์ รวมถึงโรคอันตรายที่มีเปอร์เซ็นต์การพบไม่มากนัก เฉกเช่นเดียวกับ วัณโรคกระดูก ซึ่งอาจเป็นโรคที่ใครหลายคนยังไม่รู้จัก?

นพ.อาทิตย์ หงส์วานิช ศัลยแพทย์กระดูกและข้อ โรงพยาบาลบี เอ็น เอช ให้ความรู้เกี่ยวกับโรคนี้ว่า วัณโรคกระดูก เกิดจากเชื้อแบคทีเรียที่มีชื่อว่า ไมโคแบคทีเรียม ทูเบอร์คูโลซิส สามารถเกิดขึ้นได้กับทุกส่วนของร่างกาย แต่ส่วนใหญ่จะพบ ผู้ป่วยวัณโรคปอดเสียมากกว่าประมาณ 85 เปอร์เซ็นต์ อีก 10-15 เปอร์เซ็นต์ ถึงจะเป็นวัณโรคกระดูก ซึ่งการติดเชื้อพบได้ทุกอายุ เพศหญิงและชายมีโอกาสเป็นโรคนี้ได้เท่า ๆ กัน

“วัณโรคกระดูกสามารถตรวจพบได้ทางกระแสเลือดและในระบบน้ำเหลือง ซึ่งเชื้อโรคจะเข้าไปเกาะตามกระดูก และข้อต่อต่าง ๆ จึงทำให้เกิดการติดเชื้อบริเวณนั้น โดย ร่างกายจะได้รับเชื้อโรคจาก 2 ทางด้วยกัน คือ จากการหายใจ เข้าไป เมื่อเข้าไปอยู่ที่ปอดแล้วไม่ติดอยู่ที่ปอดแต่วิ่งไปในกระแสเลือดแล้ววิ่งมาเกาะที่กระดูก อีกทางหนึ่ง คือ การทานอาหารที่มีเชื้อวัณโรคปนเปื้อน แทนที่เชื้อโรคจะไปติดอยู่ในส่วนของกระเพาะสำไส้กลับไม่ติด แต่เข้าไปในกระแสเลือดแล้วเข้าไปติดที่กระดูกแทน”

เมื่อเชื้อโรคเข้าไปเกาะอยู่ตามกระดูก ตามเส้นเอ็นต่าง ๆ แล้วจะปล่อยเอ็นไซม์บางอย่างออกมา ซึ่งเอ็นไซม์เหล่านี้จะเข้าไปทำลายเนื้อเยื่อ ทำลายกระดูก เส้นเอ็น ข้อต่าง ๆ รวมทั้งยังก่อตัวเป็นหนองด้วย จึงทำให้คนไข้มีอาการปวด โดยอาการปวดนั้น เกิดจาก 3 สาเหตุด้วยกัน

สาเหตุแรก เกิดจาก หนอง ซึ่งสามารถเกิดขึ้นได้ทุกจุดไม่ว่าจะเป็นจุดใดก็ตามที่เชื้อโรคเข้าไปเกาะ ต่อมา เกิดจากการที่เชื้อโรคเข้าไปทำลายกระดูกและข้อ จึงจะทำให้มีอาการปวด สุดท้าย เมื่อเชื้อโรคเข้าไปทำลายข้อจนเกิดความเสียหายทำให้อวัยวะส่วนนั้นใช้งานได้ไม่เป็นปกติ จะมีการขัดกันแทนที่จะเป็นข้อต่อปกติ มีเนื้อเยื่อกระดูกอ่อนที่ปกติ เมื่อถูกทำลายไปแล้วเวลาขยับก็จะเจ็บ เกิดอาการปวดขึ้นมา

อาการแสดงเมื่อได้รับเชื้อไปแล้ว ในช่วง 1-2 อาทิตย์แรกจะไม่ค่อยปวด แต่เมื่อผ่านไปประมาณ 1 เดือน ถึงจะเริ่มมีอาการปวดแบบชัดเจนขึ้น โดยจะค่อย ๆ ปวดมากขึ้นเรื่อย ๆ

“เวลาที่มีปัญหาปวดแล้วไปพบหมอ ถ้าบอกอาการว่าปวดมาอาทิตย์หนึ่ง หมออาจ จะยังไม่สงสัยโรคที่อันตราย แต่พอรักษาแล้วผ่านไป 2 อาทิตย์ อาการไม่ดีขึ้น ตรงนี้เมื่อกลับมาหาหมออีกครั้ง หมอจะเริ่มสงสัยแล้วว่าอาจจะเป็นอาการของโรคอื่นซ่อนเร้นอยู่ ไม่ใช่อาการปวดของกล้ามเนื้อธรรมดา

โรคอื่นที่ซ่อนเร้นนี้ อาจจะเกิดจากเอ็นกล้ามเนื้อฉีกขาดมากกว่าที่หมอคิด หรือเกิดจากหมอนรองกระดูกสันหลังเสื่อม กระดูกสันหลังเคลื่อน หรืออาจจะเป็นการติดเชื้อก็ได้ ซึ่งอาจจะไม่ใช่วัณโรคแต่เป็นการติดเชื้อแบคทีเรียตัวอื่น”

เมื่อหมอสงสัย สิ่งที่หมอจะทำ คือ การหาสาเหตุ อาจ จะตรวจเอกซเรย์ธรรมดาไว้ก่อน ถ้าดูฟิล์มเอกซเรย์แล้วปกติ ไม่สามารถอธิบายอาการปวดได้ หมอจะตรวจเพิ่ม เช่น ส่งไปสแกนด้วยแม่เหล็กไฟฟ้า หรือตรวจเลือด จะช่วยให้ทราบสาเหตุได้ง่ายขึ้น เพราะผลเลือดจะบอกทันทีว่า คนไข้มีการติดเชื้อในร่างกายหรือไม่ จะได้ตรวจหาต่อไปว่าเป็นเชื้อชนิดใดเพื่อจะได้ทำการรักษาได้อย่างถูกต้อง

วัณโรคกระดูกส่วนใหญ่จะเป็นที่กระดูกสันหลังส่วนเอวประมาณ 30-50 เปอร์เซ็นต์ ที่เหลือ 2 ใน 3 จะกระจายไปในส่วนต่าง ๆ ของกระดูก ซึ่งจะเป็นจุดใดก็ได้ โดย คนไข้ที่เป็นวัณโรคปอดจะไม่มีวัณโรคกระดูกซ่อนอยู่ ทำให้หมอมุ่งรักษาที่ปอดอย่างเดียว แต่สำหรับคนไข้ที่เป็นวัณโรคกระดูก ไม่ว่าจะเป็นส่วนใดก็ตาม หมอจะต้องส่งไปตรวจปอดด้วย เพราะมีโอกาสเป็นวัณโรคปอดร่วมด้วยประมาณ 50 เปอร์เซ็นต์ เพื่อจะได้ทำการรักษาทั้ง 2 จุด ไปพร้อม ๆ กัน

ที่สำคัญที่ไม่ควรมองข้าม คือ เมื่อมีคนในบ้านเป็นวัณโรคไม่ว่าจะเป็นที่ปอดหรือกระดูก นอกจากรักษาคนไข้แล้ว ผู้ที่อยู่ใกล้ชิดกับผู้ป่วยหรือสมาชิกในครอบครัวของผู้ป่วย ควรพบแพทย์เป็นระยะเพื่อตรวจสุขภาพ ป้องกันการติดเชื้อจากผู้ป่วยด้วย

“เนื่องจากวัณโรคกระดูกเป็นโรคติดเชื้อที่สามารถถ่ายทอดไปยังผู้อื่นได้ ฉะนั้น คนที่มีโอกาสติดเชื้อนี้ได้ คือ คนที่มีร่างกายอ่อนแอ ไม่ว่าจะเป็นเด็กอายุน้อยกว่า 5 ปีลงไป กลุ่มผู้สูงอายุ 60-65 ปีขึ้นไป เพราะร่างกายมีภูมิคุ้มกันต่ำสามารถติดเชื้อได้ง่ายขึ้น บุคคลทั่วไปก็มีโอกาสที่จะติดเชื้อได้เช่นเดียวกัน จากสิ่งแวดล้อม การหายใจ การอยู่ในที่ชุมชนที่มีคนแออัดมาก ๆ หรือว่าสกปรก รวมทั้ง การทานอาหารที่ไม่สะอาด”

วัณโรคกระดูกสามารถรักษาให้หายขาดได้ โดยผู้ป่วยต้องทานยาติดต่อกันอย่างน้อย 6-12 เดือน ใน บางรายอาจจะต้องทำการ ผ่าตัดร่วมด้วย เช่น มีหนองจำนวนมาก หรือเชื้อโรคกินกระดูกไปมาก การผ่าตัดก็จะเข้าไปเอาหนองออก รวมทั้งขูดเอาเนื้อที่ตายแล้วออกด้วยขึ้นอยู่กับว่าเป็นที่ตำแหน่งใด ถ้าเป็นข้อต่ออาจจะเชื่อมข้อให้ ถ้าเป็นในส่วนของกระดูกสันหลัง อาจจะต้องใส่เหล็กเข้าไปเพื่อไปดามกระดูกควบคู่ไปด้วย

นพ.อาทิตย์ กล่าวว่า คนทั่วไปไม่มีทางรู้ว่าตนเองเป็นวัณโรคกระดูกอย่างแน่นอน แต่สิ่งที่ทุกคนรู้ได้ก็คือ ความผิดปกติ เมื่อเกิดอาการปวดขึ้นตามส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย จะต้องสังเกตอาการปวดของตัวเองว่า เป็นอาการปวดแบบใด ถ้าเป็นการปวดไม่มีอย่างอื่นแทรกซ้อน คือ ไม่มีไข้ ไม่เพลีย มีแต่อาการปวดอย่างเดียว ถ้ากินยาแก้ปวด ได้พักผ่อน ขยับตัวน้อยลง เมื่อผ่านไป 2-3 วัน อาการจะต้องดีขึ้น หรืออย่างมากสุด เมื่อมาหาหมอ ได้รับการรักษา เช่น กินยาลดการอักเสบ ลดอาการปวด ผ่านไป 1-2 อาทิตย์ จะต้องหายปวดกลับมาเป็นปกติ แต่ถ้ายังปวดเรื้อรังอยู่ ควรพบแพทย์เพื่อหาสาเหตุต่อไปอย่าปล่อยทิ้งไว้นาน มิฉะนั้นอาจสายเกินแก้.



โดย: หมอหมู วันที่: 28 กุมภาพันธ์ 2555 เวลา:13:45:53 น.  

 
อ่านเพิ่มเติม ได้ที่ ..

ปวดหลัง
https://www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=13-06-2008&group=5&gblog=18

ข้อแนะนำเพื่อป้องกันและบรรเทาอาการ ปวดหลัง
https://www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=13-06-2008&group=5&gblog=17

สาเหตุ ของอาการ ปวดหลัง ที่พบบ่อย
https://www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=13-06-2008&group=5&gblog=19

กล้ามเนื้อหลัง อักเสบ
https://www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=24-06-2008&group=5&gblog=23


กระดูกสันหลังอักเสบยึดติด ( AS )
https://www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=24-06-2008&group=5&gblog=24


ปวดก้นกบ ( Coccyx Pain , coccydynia , coccygodynia )
https://www.bloggang.com/mainblog.php?id=cmu2807&month=04-01-2010&group=5&gblog=45


หมอนรองกระดูกกดทับเส้นประสาท
https://www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=24-06-2008&group=5&gblog=22


กระดูกสันหลังเสื่อมกดทับเส้นประสาท
https://www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=24-06-2008&group=5&gblog=20


กระดูกทับเส้น หมอนรองกระดูกทับเส้น เป็นอย่างไร ???
https://www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=28-07-2008&group=5&gblog=36


เวบไทยสปาย ดอท คอม (Thaispine.com) ของ นพ.ทายาท บูรณกาล

กระดูกสันหลังเสื่อม ผ่าตัด
//www.thaispine.com/Decision_point.htm


หมอนรองกระดูกส่วนเอวกดทับเส้นประสาท thaispine
//www.thaispine.com/intervertebral_disc.htm


กระดูกทับเส้น หมอนรองกระดูกทับเส้น เป็นอย่างไร ??? Thaispine
//www.thaispine.com/sciatica.htm



เวบของ ผศ.นพ.ธนินนิตย์ ลีรพันธ์
//www.taninnit.com/

ปวดหลัง : ทางเลือก รักษาได้ไม่ผ่าตัด
//taninnit-backpain.blogspot.com/2013/10/blog-post.html

การรักษาด้วยสเตียรอยด์ : คุณประโยชน์ VS ผลข้างเคียง
//taninnit-backpain.blogspot.com/2013/10/vs.html

อาการปวดหลัง และโรคกระดูกพรุน
//taninnit-backpain.blogspot.com/2013_11_01_archive.html



การฉีดยาสเตียรอยด์เข้าโพรงประสาท
การผ่าตัดหมอนรองกระดูกผ่านกล้องเอ็นโดสโคป
การผ่าตัดหมอนรองกระดูกด้วยกล้องจุลทรรศน์
- See more at: //www.bumrungrad.com/th/institute-spine-surgery-thailand/herniated-disc#sthash.O0hq21dQ.051zXd3I.dpuf
สถาบันกระดูกสันหลังบำรุงราษฎร์ โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์

การฉีดยาสเตียรอยด์เข้าโพรงประสาท
//www.bumrungrad.com/th/institute-spine-surgery-thailand/spinal-injection#sthash.Xx6BHtgh.dpbs

การฉีดยาเข้าที่โพรงกระดูกสันหลัง
//www.bumrungrad.com/th/institute-spine-surgery-thailand/spinal-injection#sthash.pbS2xSMm.dpbs

การผ่าตัดโรคกระดูกสันหลังผ่านกล้องเอ็นโดสโคป
//www.bumrungrad.com/th/institute-spine-surgery-thailand/endoscopic-lumbar-discectomy#sthash.5O5EZmhQ.dpbs

การผ่าตัดหมอนรองกระดูกผ่านกล้องเอ็นโดสโคป
//www.bumrungrad.com/th/institute-spine-surgery-thailand/endoscopic-discectomy-for-disc-herniation#sthash.NpOfItxn.dpbs

การผ่าตัดหมอนรองกระดูกสันหลังด้วยกล้องขยาย (Microdiscectomy) //www.bumrungrad.com/th/institute-spine-surgery-thailand/microdiscectomy#sthash.Dg2AI6vJ.dpbs

การผ่าตัดโรคโพรงประสาทตีบแคบผ่านกล้องเอ็นโดสโคป (Endoscopic decompression)
//www.bumrungrad.com/th/institute-spine-surgery-thailand/endoscopic-decompression-for-spinal-canal-stenosis#sthash.qmuSTqrD.dpbs


การผ่าตัดหมอนรองกระดูกสันหลังด้วยกล้องขยาย (Microdiscectomy)
//www.bumrungrad.com/th/institute-spine-surgery-thailand/microdiscectomy#sthash.XfFPeNia.dpbs

การผ่าตัดโรคกระดูกสันหลังผ่านกล้องเอ็นโดสโคป
//www.bumrungrad.com/th/institute-spine-surgery-thailand/endoscopic-lumbar-discectomy#sthash.Y4owxYzN.dpbs


โดย: หมอหมู วันที่: 24 มกราคม 2557 เวลา:15:27:01 น.  

 
เข็มขัดรัดหลัง : จำเป็นหรือไม่ในคนทำงาน?
โพสโดย Fon เมื่อ 1 พฤษภาคม 2548 00:00
ข้อมูลสื่อ
ชื่อไฟล์: 313-009
นิตยสารหมอชาวบ้าน เล่มที่: 313
เดือน/ปี: พฤษภาคม 2548
คอลัมน์: คนกับงาน
นักเขียนหมอชาวบ้าน: ผศ.ดร.วรรธนะ ชลายนเดชะ

//www.doctor.or.th/article/detail/1289



เข็มขัดรัดหลัง : จำเป็นหรือไม่ในคนทำงาน?

ผู้เขียนได้ไปบรรยายหลายแห่งทั้งภาคเอกชนและรัฐวิสาหกิจ หัวหน้าคนงาน รวมทั้งเจ้าหน้าที่ที่ดูแลความปลอดภัยของโรงงาน หลายท่านได้เข้ามาคุยกับผู้เขียนว่า คนทำงานยกขนอยากจะใช้เข็มขัดรัดหลัง (Back belt) ในขณะทำงาน โอกาสผู้เขียนจึงขอเสนอความรู้เกี่ยวกับความจำเป็นในการใช้เข็มขัดรัดหลังในงานยกขน

เข็มขัดรัดหลัง (Back belt) ที่ใช้ในคนทำงานดัดแปลงมาจากเฝือกพยุงเอว (Lumbo sacral Support) ที่ใช้ในทางการแพทย์ มีจุดประสงค์ในการใส่เพื่อประคองหลังในกรณีที่ปวดหลังมาก กระดูกสันหลังเคลื่อนหรือหลังผ่าตัดส่วนหลัง

การใส่มีผลให้บริเวณแผ่นหลังกระชับกระตุ้น การทำงานของเส้นประสาทที่รับความรู้สึกอื่นๆ นอกจากเส้นประสาทรับความเจ็บปวด ทำให้ผู้ใส่มีอาการปวดลดลง และที่สำคัญช่วยทำงานแทนกล้ามเนื้อหลังที่อ่อนแรงลงไปหลังผ่าตัดหรือมีอาการเจ็บมาก และทำให้มีการซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอเร็วขึ้น เพราะการเคลื่อนไหวที่น้อยลง
เมื่อใส่เฝือกพยุงเอวจะรู้สึกแน่นกระชับที่หลังและสบายเหมือนกับกล้ามเนื้อหลังไม่ได้ทำงาน

ข้อเสียของการใส่เฝือกพยุงเอวระยะยาว คือ การที่มีกล้ามเนื้อรอบลำตัวทำงานลดลง และผู้ใส่ติดการใช้ไม่สามารถถอดออกได้ เพราะกลัวเจ็บมากขึ้น ในทางการแพทย์จะให้ผู้ป่วยเลิกใส่เฝือก พยุงเอวเร็วที่สุด เพราะมีผลเสียดังกล่าว

เข็มขัดรัดหลังมีมากกว่า ๗๐ ชนิดในท้องตลาด ส่วนใหญ่จะรัดบริเวณหน้าท้องและหลังส่วนล่าง มีความกว้างน้อยกว่าเฝือกพยุงเอว มีทั้งแบบแขวนกับไหล่เพื่อไม่ให้เลื่อนลง บางชนิดมีการเป่าลมเข้า ภายในตัวเข็มขัดเพื่อให้รัดได้กระชับยิ่งขึ้น เข็มขัดรัดหลังเป็นที่นิยมมากในช่วง ๑๐ ปีที่ผ่านมา คนงานในบางประเทศใส่เหมือนเป็นเครื่องป้องกันเช่นเดียวกับหมวกหรือรองเท้านิรภัยที่ใช้ขณะทำงาน

มีการศึกษาในหลายประเทศ พบว่า คนงานที่ใส่เข็มขัดรัดหลังไม่ได้มีปัญหาปวดหรือบาดเจ็บของหลังน้อยกว่าคนงานที่ไม่ได้ใส่ ซ้ำยังทำให้การบาดเจ็บรุนแรงกว่ากลุ่มที่ไม่ได้ใส่เข็มขัดรัดหลังเสียอีก

ผู้ที่ใช้เข็มขัดรัดหลังเป็นประจำอ้างว่าการใส่เข็มขัดรัดหลังจะช่วยให้มีแรงดันในช่องท้องเพิ่มขึ้น มีผลทำให้กระดูกสันหลังมีความมั่นคงมากขึ้น และทำให้กล้ามเนื้อลำตัวทำงานลดลง แต่การคำนวณทางชีวกลศาสตร์พบว่าแรงดันในช่องท้องกลับมีผลทำให้แรงกดที่กระดูกสันหลังมากขึ้นและอาจนำไปสู่อาการปวดหลังได้

การศึกษาโดยการวัดคลื่นกล้ามเนื้อไฟฟ้า พบว่า การทำงานของกล้ามเนื้อหลัง ขณะยกของแบบใส่และไม่ใส่เข็มขัดรัดหลังไม่แตกต่างกัน ดังนั้นโอกาสที่จะเกิดการบาดเจ็บของกล้ามเนื้อหลังจะพอๆ กัน

การเคลื่อนไหวของลำตัวของผู้ที่ใส่เข็มขัดรัดหลังจะลดลงในทิศทางด้านข้างและการหมุนตัว แต่การบาดเจ็บของหลังขณะทำงานมักอยู่ในท่าก้มร่วมกับการหมุนตัว เข็มขัดรัดหลังไม่ได้ป้องกันให้ผู้ใส่ก้มตัวเลย

การใส่เข็มขัดรัดหลังมีผลต่อระบบหัวใจและหลอดเลือด
มีการทดลองใส่เข็มขัดรัดหลังในขณะยกของ นั่ง และทำงานเบา พบว่า การใส่เข็มขัดรัดหลังทำให้ความดันเลือดเพิ่มขึ้น การที่ความดันช่องท้องที่เพิ่มขึ้นทำให้ปริมาณเลือดไหลกลับเข้าหัวใจเร็วขึ้น ทำให้ความดันเลือดเพิ่มขึ้น ดังนั้นความดันเลือดที่สูงอยู่แล้วในคนทำงานหนักจะยิ่งสูงขึ้น

ผลระยะยาวของการใส่เข็มขัดรัดหลังเป็นเวลานานๆ ยังไม่มีการพิสูจน์แน่ชัด แต่การที่มีความดันในช่องท้องสูงอยู่นานๆ อาจมีผลทำให้เกิดไส้เลื่อน ริดสีดวงทวาร และมีหลอดเลือดขอดที่ขาและถุงอัณฑะได้ แต่ผลระยะยาวนี้ต้องมีการศึกษาต่อไปในอนาคต

คนทำงานจะรู้สึกมั่นใจมากขึ้นเมื่อใส่เข็มขัดรัดหลังทำงาน แต่ความมั่นใจนี้มีผลเสีย เพราะคนทำงานจะรู้สึกว่าตัวเองมีความปลอดภัยแล้ว จะยกวัตถุโดยไม่ระมัดระวังเท่ากับช่วงที่ไม่ได้ใส่เข็มขัดรัดหลัง

มีการศึกษาพบว่า น้ำหนักสูงสุดที่ยกได้ขณะใส่เข็มขัดรัดหลังจะเพิ่มประมาณร้อยละ ๑๙ ซึ่งเป็นน้ำหนักที่เกินความสามารถของผู้ยก สอดคล้องกับสถิติที่พบว่าผู้ที่ใส่เข็มขัดรัดหลัง ถ้ามีอาการบาดเจ็บจากการทำงานจะบาดเจ็บรุนแรงกว่าผู้ที่ไม่ได้ใส่

ข้อแนะนำสำหรับการใส่เข็มขัดรัดหลัง
เข็มขัดรัดหลังมีประโยชน์ในคนทำงานที่ได้รับบาดเจ็บและกำลังฟื้นฟูสภาพกลับเข้าทำงานเดิม การใส่จะมีประโยชน์มากในช่วงแรกของการได้รับการบาดเจ็บ หรือใส่เพื่อลดอาการเจ็บที่เกิดซ้ำ ควรจะใช้ในช่วงเวลาสั้นๆ ผู้ใส่ต้องได้รับคำแนะนำเกี่ยวกับการยกวัตถุที่ถูกต้องการจัดสภาพการทำงานที่เหมาะสม น้ำหนักวัตถุที่ควรจะยกได้ในขณะนั้น และชีวกลศาสตร์เบื้องต้นของการยกวัตถุ ในคนงานทั่วไปที่ไม่มีประวัติบาดเจ็บไม่จำเป็นต้องใส่เข็มขัดรัดหลัง นอกจากจะสิ้นเปลืองแล้วยังทำให้คนทำงานประมาทไม่ระวังเวลาทำงาน

การที่ผู้ประกอบการคิดว่าการให้คนทำงานใส่เข็มขัดรัดหลังแล้วจะป้องกันอาการปวดหลังที่จะเกิดขึ้นได้ในอนาคตนั้น เป็นความคิดที่ผิด เพราะการป้องกันอาการปวดหลังจากการทำงานนั้นต้องอาศัยการปรับปรุงสภาพงานเป็นสำคัญ ตราบใดที่คนทำงานจะต้องยกวัตถุหนักเกินกำลังของตัวเอง ต้องยกวัตถุหนักจากพื้น และต้องบิดตัวขณะยกไม่ว่าจะใส่หรือไม่ใส่เข็มขัดรัดหลังมีโอกาสปวดหลังได้เช่นเดียวกัน

กล้ามเนื้อลำตัวกับการป้องกันอาการปวดหลัง
ร่างกายจะมีกล้ามเนื้อที่เป็นเข็มขัดรัดหลังโดยธรรมชาติอยู่แล้ว กล้ามเนื้อกลุ่มนี้จะอยู่ลึกและเกาะกับกระดูกสันหลัง แรงหดตัวของกล้ามเนื้อกลุ่มนี้เพียงร้อยละ ๒๐ ของแรงหดตัวสูงสุดจะช่วยทำให้กระดูกสันหลังมีความมั่นคงมากขึ้น ดังนั้นความแข็งแรงของกล้ามเนื้อกลุ่มนี้ไม่ใช่ปัจจัยหลัก แต่การทำงานในช่วงที่ควรจะทำ เช่น หดตัวขณะที่กระดูกสันหลังมีความเสี่ยงต่อการบาดเจ็บในขณะยกวัตถุ พบว่า ในคนที่มีอาการปวดหลังอยู่นานๆ กล้ามเนื้อกลุ่มนี้จะทำงานน้อยมากหรือไม่ทำงานเลยขณะทำกิจกรรมในชีวิตประจำวัน ต้องมีการฝึกออกกำลังที่เรียกว่าการออกกำลังเพื่อความมั่นคงของลำตัว (trunk stabilization exercise) จึงจะทำให้กล้ามเนื้อกลุ่มนี้ทำงานได้ตามปกติ การฝึกออกกำลังแบบนี้ในคนทำงานจะสามารถป้องกันการบาดเจ็บของหลังได้ดี และที่สำคัญไม่ต้องสิ้นเปลือง ซื้อเข็มขัดรัดหลังมาใช้เพราะธรรมชาติให้มาอยู่แล้ว

การออกกำลังกายเพื่อความมั่นคงของลำตัวเป็นการใช้การควบคุมทางกาย (motor control) มีจุดประสงค์เพื่อฝึกให้กล้ามเนื้อทำงานในขณะอยู่นิ่งก่อน แล้วจึงฝึกในขณะที่มีการเคลื่อนไหวของแขนขา จนในที่สุดกล้ามเนื้อนี้จะทำงานในขณะทำงาน เช่น การยกวัตถุ ดึง ดัน แบก หาม

อย่าลืมว่าถ้าไม่ปวดหลังก็ไม่ต้องใช้เข็มขัดรัดหลัง จัดสภาพงานให้เหมาะสม อย่าออกแรงเคลื่อนย้ายวัตถุหนักเกินกำลัง เท่านี้ท่านจะปลอดภัยจากการบาดเจ็บของหลัง โดยที่ไม่ต้องพึ่งพาเข็มขัดรัดหลังเลย



โดย: หมอหมู วันที่: 9 พฤษภาคม 2558 เวลา:13:35:23 น.  

 
นำมาแบ่งปัน ..

ประสบการณ์ผ่าตัดกระดูกสันหลังคด@เลิดสิน2022
กระทู้คำถาม
โรคกระดูกสันหลังคด

เราสังเกตเห็นตอนอายุ14 ได้ผ่าตอนอายุ17เพราะโควิดค่ะ

เราคดเป็น S Shape 44องศา ที่x-rayครั้งเเรก เเละครั้งล่าสุดก่อนผ่าตัด 45องศา

เราผ่าที่เลิดสินกรมการแพทย์ค่ะ

ไปนัดตามที่หมอสั่งตามปกติ เราx-rayทุกครั้งก่อนไปพบหมอ ก็จะเป็นท่ายืนยกเเขนปกติทั่วไป เรียกได้ว่าห้องx-rayเป็นห้องนั่งเล่นไปเลย เพราะเข้าบ่อยมาก เเละก่อนผ่าตัดต้องทำCt scan MRI เข้าอุโมงค์กว้างๆ ห้ามขยับตัวเป็นชั่วโมง เรามองว่าเป็นการพักผ่อนเพราหลับปุ๋ย เจาะเลือด x-rayครั้งสุดท้ายก่อนทำการผ่าตัด เเต่ครั้งนี้เจ็บ จนต้องเเชร์ คือดึงสุด เป็นปลาดาว รังสีเเพทย์4คนจบใหม่ๆเลย ยืนรอบตัว บนหัว1เอว2ข้าง ขา1 บนหัวจะจับจากคางเราเเล้วดึง เท้าจับข้อเท้าสองข้างดึง เอวเค้าใส่ถุงมือเหมือนนวมใหญ่ๆเเล้วกดเอวสองข้างเข้าหากัน ขั้นตอนทั้งหมดทำพร้อมกัน เเรงผู้ชายวัยรุ่นเเรงเยอะๆอ่ะค่ะ เจ็บมาก เเต่พี่ๆไนซ์มากสะกิดเเขนเราตลอดว่า อีกนิดนึงนะ อดทนนะ ไม่เป็นไรนะ ไม่ต้องกลัวนะ พอเราxเสร็จ ก็เดินมาถามว่าเจ็บตรงไหนมั้ย เป็นยังไงบ้าง ฮือเจ็บมาก เเต่พี่ๆจะอบอุ่นไปไหนคะ555555

เราต้องเเอดมิท1วันก่อนผ่าตัดค่ะ ตรวจฉี่ เเละพยาบาลก็เจาะเลือดที่เเขนไปหนึ่งเเมท งดน้ำงดอาหารหลังเที่ยงคืน เเล้วคืออาหารอร่อยมาก จัดจานเหมือนนั่งอยู่ในห้าง อวยป้ะ เเล้วก็ภายวันนั้นไม่สิทุกวันที่เเอดมิทพี่พยาบาลจะเข็นเครื่องวัดความดัน ออกซิเจนนิ้ว เเล้วก็วัดไข้ตลอด ตีสองยังเข้ามาวัดซึ่งเราตกใจมาก5555 หมอเด้นท์มาถ่ายรูปก่อนผ่าให้ ซึ่งหมอกันเองมาก ถามเราว่ากลัวมั้ย เราก็ตอบมั่นๆว่า ไม่นะคะ หนูรอผ่ามา3ปี หมดกังวลเเล้วค่ะ หมอก็บิ้วว่าเเต่ผ่ามันเจ็บนะ ชั้นก็เเบบยังไงนิหมอ เริ่มกลัวละ555555

เเต่เอาจริงพอถึงช่วงเวลาต้องงดนำ้งดอาหาร เรากังวลมาก มันกำลังจะถึงเเล้วน่ะสิ โคตรกลัวนอนก็ไม่หลับนั่งเหม่อตลอด กูจะตายมั้ยเพราะเมนส์เราหมดวันผ่าตัดพอดี

ตอนเช้าพี่พยาบาลเข็นมาวัดความดันต่างๆปกติ เเล้วก็เจาะให้น้ำเกลือเราเเต่เช้า เราก็รอเวลาจะไปผ่า เพราะก่อนหน้านี้หมอก็เข้ามาตลอดเเล้วก็เเจ้งเวลาผ่าตัดเราเป็น11โมงเคสที่สองของวันนี้ ทำอะไรไม่ถูกเลยเวลาเดินไวมาก

เวลา10:58 มีcallจากพี่พยาบาลตรงหัวเตียงว่า "คนเก่งทีมผ่าตัดจะไปรับเเล้วนะคะ" ทำไมอบอุ่นกันจัง เรายังไม่ได้ทำใจอะไรเลย ถึงทำเเล้วก็ทำไม่ค่อยได้เท่าไหร่ ตอนนี้ตกใจทำไม ตรงเวลาจังวะ5555

พี่พยาบาลพูดจบเเปปเดียว ก็เข็นเตียงเข้ามาในห้องเราเเล้ว พี่พยาบาลก็พาขึ้นเเล้วก็เอาหมวดคลุมผมเขียวๆคลุมให้เราเเล้วก็ห่มผ่าสีเขียวให้บนตัวเรา จากนั้นก็เข็นเราไปห้องผ่าตัด กลายเป็นว่าไม่กลัวเท่าไหร่เพราะตื่นเต้นว่าห้องผ่าตัดจะเป็นยังไงมากกว่า555 ซึ่งมุมที่เราเห็นคือเพดาน วังเวงมาก เข็นขึ้นลิฟท์เข้าห้องนู้นนี้เเล้วมาหยุดที่ห้องนึงเย็นๆ เขาให้เรานอนรอ ครึ่งชั่วโมงได้อ่ะ ซึ่งมันเย็นเหมือนอยู่ในตู้เย็น จำได้ว่าตอนนั้นง่วง ตอนไหนจะเข็นหนูไปคะจะหลับเเล้ว555

เเละเขาก็เข็นเตียงเราเข้าห้องไป ซึ่งมันลึกมากกว่าจะถึงห้องผ่าตัด เข้าไปก็เย็นไม่ต่างข้างนอกเลย ห้องมันเเคบกว่าที่คิด เป็ห้องกลมๆเหมือนอวกาศ เเต่เอาจริงๆก็ไม่เคยเห็นหรอก5555 มีหมอ4คนวิสัญญี เเละพยาบาลห้องผ่าตัดที่ยืนเตรียมของกันอยู่ หมอยืนดูฟิล์มกัน เเละวิเคราะห์อะไรกันซักอย่างมุบมิบๆอยู่4คน พี่วิสัญญีสวยๆก็มาขอถอดเสื้อ เเละก็คลายผ้าถุงให้ อากาศนี่เหมือนเป็นโยเกิร์ตตั้งอยู่ในตู้เย็นเลย เเล้วก็เริ่มครอบเครื่องช่วยหายใจ เเต่ยังไม่ให้ยาสลบ เเปะอะไรกันซักอย่างเย็นๆ ที่หน้าผาก หน้าอก ข้อเท้า จากนั้นก็ส่งสัญญาณให้ยาสลบกัน น่าจะตรงสายน้ำเกลือเรา ซึ่งทุกอย่างมันไม่ทันตั้งตัวจริงๆ มันไม่ใช่ค่อยๆง่วง เเต่มันตัดเเวบไปเลย

เราตื่นมาที่ห้องเดิม ตอน4โมงกับอาการเจ็บคอจากท่อที่ใส่ตลอด4ชั่วโมง ปากบวมมาก เเล้วก็พูดเสียงเหมือนคนเป็นหวัด5555 ปลายเตียงมีหมอมาถามอาการว่าเป็นยังไงบ้าง เราสลึมสลือมาก หมอบอกกระดิกเท้าให้ดูหน่อย เราก็กระดิกไม่ชาไม่อะไรนะเเต่ง่วงมาก มีสายฉี่ สายถ่ายเลือดที่หลัง เเละสายให้ยาที่มือขวา (สองข้างระบมกันไปเรย)

เราตื่นอีกทีตอนไหนไม่รู้เเต่ที่รู้ๆหลังผ่านอนอืดมากมันง่วงเเต่นอนได้เเค่ท่าเดียว หลังจากนั้นคือความเจ็บปวด
มันปวดมากๆ เเบบมากๆ ขยับตัวก็ไม่ได้นอนน้ำตาซึม พยาบาลก็เข้ามาเจาะเลือดปลายนิ้วเราไป สะดุ้งไปดิคะ เเล้วหมอก็สั่งให้เลือดไปสองถุงเพราะตรวจเเล้วผลเลือดยังต่ำอยู่พอควร หน้าคือซีดเล็บก็ขาว เหมือนข้าวมันไก่ พูดเเล้วก็หิว ข้าวมันไก่โรงบาลอร่อย มีหมอเด้นท์เข้ามาเยี่ยมตลอดเวลา ตกเย็นพี่พยาบาลก็เช็ดตัวให้ปกติ ดึกๆหน่อยก็เจาะเลือดไปตรวจอีก

วันต่อมาเราก็ยังปวดอยู่เเล้วก็ยังไม่กล้าตะเเคงมีทีมหมอมาเยี่ยมเยอะมากเป็นบอยเเบนด์เลยค่ะ ทั้งทีมอาจารย์หมอ หมอทีมที่เข้าผ่าตัด เเล้วก็พี่เรซซิเด้นชุดขาวๆยืนเรียงกันเต็มห้องเลย เราตกใจมากทำตัวยังไงดี อารมณ์เหมือนครูมาตรวจการบ้าน เเต่ก็ไม่มีอะไรมากค่ะเเค่ถามอาการทั่วไปเเล้วก็บอกขอควรปฏิบัติขณะที่เหล็กอยู่ที่หลัง อาการทั่วไปก็คือปวดค่ะ ปวดมาก ปวดเเต่เราหลับนะ หมอก็บอกว่าถ้าหลับได้เเสดงว่าไม่เป็นไรมากเเล้ว ก็มันง่วงอ่ะค่ะ 555555

วันที่เหลือเราเรานอนปวดหลับๆตื่นๆบนเตียงตลอดเลยค่ะ จนถึงวันที่หมอให้เรานั่งดู เรารอคอยมากๆ เพราะเรานอนดูทีวีไม่ถนัดเลย5555

เราหลับทั้งวันหมอหมอเด้นท์คนเดิมก็เข้ามาปกติถามว่านั่งเลยมั้ยเราเพิ่งลืมตาตื่นหมอเเบบ ไม่ได้บังคับนะ เเต่ไหวมั้ยถ้าจะนั่ง เอาจริงไม่ไหวหรอกเเต่อยากนั่ง เราเห็นคนอื่นเดินไปเดินมารันทดมากชั้นนอนอืดบนเตียง ทำอะไรไม่ได้เลย หมอก็ให้เราตะเเคงเเล้วก็ยกเราขึ้นเลยค่ะ วูบวาบมาก เหมือนตอนลุกเร็วๆเเล้วหน้ามืด มันว้าวมากๆ เหมือนเกิดใหม่ เเต่มันก็เจ็บมากๆ เเบบทรงตัวไม่ค่อยได้หนักหลังเหมือนจะล้มยังไม่หายง่วงเเหละ หมอบอกให้ใจเย็นๆนะ 555555555 เเบบหมอคะกลับไปนอนเถอะ เราก็หลับต่อ

หลังจากนั้นก็นั่งกินข้าวเเต่เป็นการนั่งที่ทรมานมาก นอนก็เจ็บนั่งก็เจ็บไม่รู้ทำอะไรได้บ้าง555 เเต่พี่หมอพี่พยาบาลน่ารักมาก คุยกันเองกับเรามากๆ เอ็นดูเรามากๆ ในขณะที่เราคิดว่าตัวเองเเก่ในวัย17 เเต่พี่ๆพยาบาลเอ็นดู เหมือนเด็กน้อยในตู้อบ

วันต่อมาพี่พยาบาลก็มาวัดชุดเกราะให้ เราใส่l s supportนะคะ ไม่ใช่ชุดเกราะปกติ ก็เลยไม่ต้องสั่งทำ หมอบอกว่ากระดูกเราเเข็งเเรงดีมาก ก็เลยไม่ต้องระวังอะไรมาก เราปลื้มปลิ่มในความเเข็งเเรงของตัวเอง555555 รอชุดมาพี่พยาบาลก็มาสาธิตวิธีการใส่ให้ซักพักก็มีพี่จนท.เข็นรถมารับเราไปx-rayหลังผ่าตัด ซึ่งเราต้องลุกขึ้นวีลเเชร์ครั้งเเรก! เจ็บๆเเค่ตอนลุกนั่งเเต่เดินคือเฉยๆตึงๆไม่อะไรเท่าไหร่ พี่พยาบาลชมว่าเราเป็นเคสที่ว้าวมากเพราะ ฟื้นตัวเร็ว ลุกทะมัดทะเเมงเเล้วก็หลังตรงไม่เก้กังเลย เราก็งงว่าทำไปได้ไงเรามันเจ๋งไง

พอเราได้ใส่ชุดพยุงตัวหมอก็ให้ลุกเดินให้ดูเลย มันเป็นเวียนๆเดินไม่ค่อยตรง มันนอนนานหมอเข้าใจก็ให้ฝึกเดินไปกันไป เรารู้สึกว่าเดินเจ็บน้อยกว่าทุกอริยาบท มีตึงๆบ้าง คิดสภาพเราวอร์ม ยืดตัวเอาปลายนิ้วเเตะปลายเท้า เเละตึงๆเจ็บบๆที่หลังกัน ประมาณนั้นเลยเเต่มันเป็นตลอดเวลาเลย ทรมารมากที่อยู่ท่าไหนก็เจ็บ จะผ่านมันไปเเต่ละคืนร้องไห้เลยอ่ะตอนพลิกตัวอาบน้ำนี่เเบบไม่ไหว

เรานอนรอเวลาถอดสายถ่ายเลือดที่หลังนานได้อยู่ เพราะต้องถอดสายให้หมดก่อนถึงจะฝึกเดินไปไหนมาไหนได้ ออกจากรพ.ได้

หมอเด้นเข้ามาเป็น5-6คนพร้อมกับรถเข็นทำเเผล จะมาออฟสายที่หลังให้ เราก็นอนคว่ำ หมอก็เเกะเเผ่นเเปะเเผลที่หลังออกเเล้วก็ล้างเเผล หมอมือเบามาก ไม่รู้สึกอะไรเลย สำลีกระทบหลังเเบบเบามากๆๆๆ เกือบเคลิ้มเเต่ดึงสายเท่านั้นเเหละ จึ๊บนึง สะดุ้งนิดหน่อยเจ็บเเบบเเสบนะ เเต่สำหรับเราคือไม่เท่าไหร่อ่ะ เพราะหมอมือเบาด้วยเเหละ เบ๊าเบา

เราก็ถอดสายหลัง สายปัสสาวะ เเล้วก็สายน้ำเกลือ หยุดให้เลือดเพราะเราเริ่ม เป็นคนขึ้นละ หมอให้ฝึกเดินให้คล่อง ให้ชินกับ LS เเล้วก็ออกจากรพ.ได้

เราฝึกเดินจนคล่องไม่เซเเล้วเเต่ก็ยังไม่ชิน ลุกเร็วไม่ได้ นั่งเร็วไม่ได้ตะเเคงช้าๆ

เเต่ไม่นานก็เริ่มกลับมาใกล้ๆจะปกติ เเค่ตึงๆหลังเหมือน สะพายเป้ตลอดเวลา มันไม่ได้หนักนะเเต่ตึงๆเเปลกๆ

เเต่สิ่งที่เราไม่เข้าใจคือเราปวดตูดมากเลย ปวดตูดเเบบปวดอ่ะ เหมือนออกกำลังกายเเล้วไม่ได้วอร์ม หลังเกือบหายปวดละเเต่ตูด ปวดจนเราเเบบทำไรกับตูดเราวะปวดเเฮง มันไม่ได้ปวดกระทบการใช้ชีวิตนะเเต่ใส่กางเกงหรือนั่งชักโครกก็ปวดอ่ะ

ตอนนี้เรายังคงต้องใส่เกราะอยู่เเล้วก็ไปตามนัดหมอ อัก1เดือนเพื่อดูเเผล หมอให้ใส่สามเดือนเเล้วก็ไม่ต้องใส่อีก เวลาใส่ก็จะกระชับดีค่ะ เเต่ช่วงนี้พายุเข้าหนาวมาก เลยไม่รู้ว่าจะร้อนเเค่ไหนตอนที่อากาศมันร้อน อ่ะนะ

*เราจ่ายค่าเครื่องผ่าเพิ่มนะคะ จริงๆไม่จำเป็นต้องจ่ายก็ได้ เเต่ก็จ่ายเพราะความมั่นใจ เเล้วเเผลก็สั้นกว่าที่คิดเเล้วเเผลก็ไม่ซึมด้วยค่ะ

สุดท้ายนี้ก็อยากให้ทุกคนที่เป็นโรคนี้อยู่ไม่ต้องกังวลนะคะ เพราะเราผ่านมาเเล้วค่ะ5555 เจ็บหน่อยเเต่หลังจากนี้ก็สบายเเล้วค่ะ ไปปรึกษาคุณหมอกันนะคะ เพราะปล่อยไว้นานคดกว่าเดิมจะลำบาก ศึกษารพ.ที่เหมาะสม เเต่ขอฝากเลิดสินไว้อ้อมอกอ้อมใจ ทุกคนนะคะ เพราะพี่ๆทีมหมอเรซซิเด้น สตาฟ อาจารย์หมอ พยาบาล รังสีเเพทย์ทุกคน น่ารักกับเรามากจริงๆ อบอุ่นเเบบมากๆ เลยค่ะมีเเต่กำลังใจเต็มไปหมด พี่พยาบาลชวนคุยไม่เหงาเลย กลายเป็นว่าวันกลับใจหายมากเลย เป็นความทรงจำที่ดีมากๆเลย ไม่รู้ที่อื่นเป็นยังไงเเต่ที่นี่สุดยอดจริงๆ

ขอบคุณที่อ่านมาถึงตอนนี้น้า ขอให้กระทู้นี้เป็นเเนวทางดีๆให้กับทุกคนนะคะ!
1
1
สมาชิกหมายเลข 6954249
2 เมษายน เวลา 18:19 น.

https://pantip.com/topic/41353478


โดย: หมอหมู วันที่: 7 เมษายน 2565 เวลา:14:23:32 น.  

 
กลุ่มอาการกล้ามเนื้อสะโพกหนีบเส้นประสาท ( พิริฟอร์มิสซินโดรม,Piriformis Syndrome)

https://www.pobpad.com/piriformis-syndrome-กลุ่มอาการกล้ามเนื้
https://supachokclinic.com/piriformis-syndrome/
https://drsant.com/2014/11/piriformis-syndrome.html
https://www.facebook.com/216848761792023/photos/a.1473381102805443/1572913409518878/


โดย: หมอหมู วันที่: 20 มิถุนายน 2565 เวลา:14:57:00 น.  

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

หมอหมู
Location :
กำแพงเพชร Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 762 คน [?]




ผมเป็น ศัลยแพทย์ออร์โธปิดิกส์ หรือ อาจเรียกว่า หมอกระดูกและข้อ หมอกระดูก หมอข้อ หมอออร์โธ หมอผ่าตัดกระดูก ฯลฯ สะดวกจะเรียกแบบไหน ก็ได้ครับ

ศัลยแพทย์ออร์โธปิดิกส์ เป็นแพทย์เฉพาะทางสาขาหนึ่ง ซึ่งเมื่อเรียนจบแพทย์ทั่วไป 6 ปี ( เรียกว่า แพทย์ทั่วไป ) แล้ว ก็ต้องเรียนต่อเฉพาะทาง ออร์โธปิดิกส์ อีก 4 ปี เมื่อสอบผ่านแล้วจึงจะถือว่าเป็น แพทย์ออร์โธปิดิกส์ โดยสมบูรณ์ ( รวมเวลาเรียนก็ ๑๐ ปี นานเหมือนกันนะครับ )

หน้าที่ของหมอกระดูกและข้อ จะเกี่ยวข้องกับความเจ็บป่วย ของ กล้ามเนื้อ เส้นเอ็น กระดูก ข้อ และ เส้นประสาท โรคที่พบได้บ่อย ๆ เช่น กระดูกหัก ข้อเคล็ด กล้ามเนื้อฉีกขาด กระดูกสันหลังเสื่อม ข้อเข่าเสื่อม กระดูกพรุน เป็นต้น

สำหรับกระดูกก็จะเกี่ยวข้องกับกระดูกต้นคอ กระดูกสันหลัง กระดูกเชิงกราน กระดูกข้อไหล่ จนถึงปลายนิ้วมือ กระดูกข้อสะโพกจนถึงปลายนิ้วเท้า ( ถ้าเป็นกระดูกศีรษะ กระดูกหน้า และ กระดูกทรวงอก จะเป็นหน้าที่ของศัลยแพทย์ทั่วไป )

นอกจากรักษาด้วยการให้คำแนะนำ และ ยา แล้วยังรักษาด้วย วิธีผ่าตัด รวมไปถึง การทำกายภาพบำบัด บริหารกล้ามเนื้อ อีกด้วย นะครับ

ตอนนี้ผม ลาออกจากราชการ มาเปิด คลินิกส่วนตัว อยู่ที่ จังหวัดกำแพงเพชร .. ใช้เวลาว่าง มาเป็นหมอทางเนต ตอบปัญหาสุขภาพ และ เขียนบทความลงเวบ บ้าง ถ้ามีอะไรที่อยากจะแนะนำ หรือ อยากจะปรึกษา สอบถาม ก็ยินดี ครับ

นพ. พนมกร ดิษฐสุวรรณ์ ( หมอหมู )

ปล.

ถ้าอยากจะถามปัญหาสุขภาพ แนะนำตั้งกระทู้ถามที่ .. เวบไทยคลินิก ... ห้องสวนลุม พันทิบ ... เวบราชวิทยาลัยออร์โธปิดิกส์ หรือ ทางอีเมล์ ... phanomgon@yahoo.com

ไม่แนะนำ ให้ถามที่หน้าบล๊อก เพราะอาจไม่เห็น นะครับ ..




New Comments
[Add หมอหมู's blog to your web]