Ortho knowledge for all @ Do no harm patient and myself @ สุขภาพดี ไม่มีขาย ถ้าอยากได้ ต้องสร้างเอง
<<
มีนาคม 2551
 1
2345678
9101112131415
16171819202122
23242526272829
3031 
26 มีนาคม 2551

องค์กรที่ให้บริการปรึกษาและทำงานด้านเอดส์



ผมเก็บไว้นานแล้ว ไม่แน่ใจว่าจะมีการเปลี่ยนแปลงอะไรบ้าง แล้วนะครับ .....

องค์กรที่ให้บริการปรึกษาและทำงานด้านเอดส์

• การส่งต่อเพื่อรับการช่วยเหลืออย่างต่อเนื่องแก่ผู้ติดเชื้อและครอบครัว

1. ศูนย์ปรึกษาสุขภาพแอคเซส
บริการ
1. บริการปรึกษาทางโทรศัพท์ 245-0004-5 ทุกวัน 16.00 - 21.00 น.
2. การปรึกษาที่ศูนย์ โดยมีการนัดหมายล่วงหน้า และจะให้ความช่วยเหลือหรือส่งต่อหน่วยงาน ต่าง ๆ
3. เยี่ยมบ้าน
4. บริการตรวจสุขภาพ และให้คำแนะนำการดูแลรักษาสุขภาพ
คลินิคแอคเซส : วันอาทิตย์ 13.00 - 19.00 น.

2. มูลนิธิดวงประทีป
บริการ
1. บริการปรึกษาทุกวัน 08.00 - 17.00 น.
2. เยี่ยมบ้าน
3. ประสานงานกับโรงพยาบาลกรณีส่งต่อคนไข้ (รพ. บำราศนราดูร, ราชวิถี)
4. กองทุนสงเคราะห์อาชีพ
ติดต่อ
คุณนิตยา พร้อมพอชื่นบุญ
34/4 มูลนิธิดวงประทีป ถ. อาจณรงค์ คลองเตย กรุงเทพฯ 10110
โทร. 249 - 3553, 249 - 4880, 249 - 8842, 671- 4045-8, Fax 5254

3. ศูนย์ตรวจและป้องกันโรคภูมิคุ้มกันบกพร่องเพื่อชุมชน (ACT CENTER)
บริการ
1. ตรวจเลือด HIV ฟรี (เวลา 13.00 - 17.00 น.)
2. บริการปรึกษาก่อนแต่งงานและหลังตรวจเลือด (เวลา 13.00 - 17.00 น.)
3. คลินิกรักษาโรคทั่วไป (เวลา 17.30 - 09.30 น.)
4. กองทุนสงเคราะห์
- ด้านอาชีพ ขึ้นอยู่กับความถนัดของแต่ละบุคคล อุปกรณ์ทุนหมุนเวียน ไม่เกิน 6,000 บาท
- ให้นมเด็กในช่วง 6 เดือนแรก
5. เยี่ยมบ้าน
6. ประสานงานกับโรงพยาบาลกรณีส่งต่อคนไข้ (รพ.จุฬา)
ติดต่อ
คุณสุพจน์ บุญเต็ม
แฟลต 14 ชั้นล่าง ถ. อาจณรงค์ คลองเตย กทม. 10110 โทร. 249 - 5250
หรือสาขาเชียงใหม่ ติดต่อ คุณปราโมทย์ หรือคุณหมอพล (053) 214 - 648

4. CHRITIAN OUTREACH (คริสเตียนเอาท์รีช)
บริการ
1. เยี่ยมบ้าน
2. นมผงสำหรับเด็ก (ตามพัฒนาการของเด็กจนถึงขวบครึ่ง)
3. ประสานงานกับกรมสวัสดิการแรงงาน และกรมประชาสงเคราะห์
ติดต่อ
คุณมยุรี บุญยสมภพ
808 ซ. วิจิตรชัย ถ. ประชาอุทิศ ห้วยขวาง กทม. 10310
โทร. 276 - 8660, 691 - 0348

5. ศูนย์บรรเทาใจ
บริการ
1. บริการปรึกษาทางโทรศัพท์ ทุกวัน ตลอด 24 ชั่วโมง
2. บ้านพักชั่วคราว (ระยะเวลาขึ้นอยู่กับประเด็นของปัญหา)
3. กองทุนส่วนตัว
ติดต่อ
คุณวิบูลชัย วันอังคาร - เสาร์ 09.00 - 17.00 น.
124/96 หมู่ 4 ซ. เรวดี 24 ต.ตลาดขวัญ อ. เมือง จ.นนทบุรี 11000
โทร. 580 - 7032 Fax 580 - 7549

6. บ้านพักใจ
บริการ
1. บ้านพักชั่วคราว
- คนที่มาโรงพยาบาลหรือพบแพทย์ กำหนดให้ 7 วัน
- คนที่อยู่ระยะยาว มี 3 เดือน, 5 เดือน, 1 ปี โดยต้องให้เปอร์เซ็นต์ของเงินเดือน เป็นค่าเช่า
2. บริการปรึกษาทางโทรศัพท์ และพบที่ศูนย์ จันทร์ - ศุกร์ (08.00 - 16.00 น. )
ติดต่อ
- คุณคมคาย ตู้ ปณ. กลาง 2878 บางรัก กรุงเทพฯ 10500
โทร. 243 - 2381, 234 - 8258
- บ้านพักใจ จ. อุดรธารี ติดต่อ คุณรัตกุล ตู้ ปณ. 2 อ. เมือง จ. อุดรธารี
โทร. 234 - 2381, 234 - 8258
- บ้านพักใจ จ. หนองคาย ติดต่อ คุณสายสุนี ตู้ ปณ. 31 อ. เมือง จ. หนองคาย
โทร. (042) 412 - 349

7. บ้านพักฉุกเฉิน
บริการ
1. ที่พักสำหรับหญิงที่ประสบปัญหาครอบครัวและที่อื่น ๆ
2. ฝึกอาชีพ
3. บริการนอกสถานที่ (จะมีโต๊ะบริการที่หมอชิต และหัวลำโพง)
ติดต่อ
- นักสังคมสงเคราะห์
501/1 หมู่ 3 ถ.เดชุตุงคะ แขวงทุ่งสีกัน เขตดอนเมือง กรุงเทพฯ 10210
โทร. 566-1564
- สมาคมส่งเสริมสถานภาพสตรี โทร. 566 - 2288

8. โครงการธรรมรักษ์นิเวศ (บ้านพักผู้ป่วยระยะสุดท้าย)
บริการ
1. บ้านพักผู้ป่วย
2. สถานพยาบาล
3. กิจกรรมอื่น ๆ สำหรับผู้ที่ติดเชื้อ เช่น สวดมนต์ เดินจงกรม โยคะ ออกกำลังกายต่าง ๆ
เงื่อนไขของผู้เข้ารับบริการ
1. ต้องมีใบรับรองจากทางโรงพยาบาลว่าป่วยจริง
2. สำเนาทะเบียนบ้านและสำเนาบัตรประชาชน
3. ที่อยู่ที่แน่นอน และสามารถติดต่อได้
โครงการธรรมรักษ์นิเวศจะพิจารณาผู้ป่วยเข้ารับการรักษาในจำนวนที่จำกัด เนื่องจากมีเพียง 15 - 16 เตียง
โดยพิจารณาจากการเรียงคิวไว้ในการขอเข้ารับบริการรักษา หรือในกรณีที่ป่วยหนักมากจะดูว่า ขณะนั้นมีเตียงว่างอยู่หรือไม่ และมีการประสานงานกับ โรงพยาบาลพบุรี และ โรงพยาบาลอนันทมหิดล หลังจากดูแลรักษา ถ้ามีผู้ป่วยมีอาการดีขึ้นจะให้กลับบ้านได้ หรือในกรณีของผู้ป่วยที่ไม่มีญาติ และมีความ ประสงค์ จะอยู่ต่อก็จะให้เป็นอาสาสมัคร พร้อมกับประเมินพฤติกรรมเป็นรายเดือนไปว่า มีความเหมาะสมมากน้อยเพียงใดในการให้อยู่ต่อ
ติดต่อ
โครงการธรรมรักษ์นิเวศ วัดพระบาทน้ำพุ ตู้ ปณ. 83 อ. เมือง จ. ลพบุรี
โทร. (01) 942 - 5479 (ฝ่ายเลขา)
(01) 353 - 3154 (ฝ่ายโรงพยาบาล)
(01) 495 - 3838 (ฝ่ายธุรการ) Fax (036) 413 - 805

9. สวนสันติธรรม
บริการ
1. บ้านพักผู้ป่วยระยะสุดท้าย (ทั้งชายและหญิง)
2. ประสานงานกับโรงพยาบาลบำราศนราดูร, โรงพยาบาลจุฬาฯ
ติดต่อ
คุณกมล สีชมพู
48 หมู่ 9 ต.ลำลูกกา จ. ปทุมธานี 12150
โทร. 563 - 1202

10. COMUNITA IN CONTRO (คอมมูนนิต้า อิน คอนโทรล)
บริการ
เป็นที่ดักและให้การช่วยเหลือผู้ติดเชื้อที่ติดยาเสพติด (เฉพาะเพศชายเท่านั้น)
ติดต่อจันทร์ - เสาร์ เวลาเช้า 08.00 - 12.00 น. เวลาบ่าย 15.30 - 18.30 น.
ติดต่อ โดยตรงที่ศูนย์ ใกล้ส่วนสันติธรรม โทร. 563 - 1006 - 09

11. ศูนย์พัฒนาสุขภาพและอนามัย
บริการ
1. บริการปรึกษา วันจันทร์ - ศุกร์ เวลา 08.00 - 18.00 น.
2. ฝึกอาชีพ
3. เยี่ยมบ้าน
4. ประสานงานกับโรงพยาบาลเพื่อส่งต่อคนไข้
ติดต่อ
คุณประภัทรภร แซ่เจี่ยม
100/11 ถ. ดำรงลัทธพิพัฒน์ เคหะคลองเตย 4 กรุงเทพฯ 10110
โทร. 671 - 5313

12. บ้านพระคุณ
บริการ
1. ให้ความช่วยเหลือด้านอาหาร เครื่องนุ่งห่ม ที่พัก แก่หญิงที่ตั้งครรภ์นอกสมรส สามีทอดทิ้ง, ผู้ไม่ต้องการเปิดเผยการตั้งครรภ์ จำนวนจำกัด (ไม่เกิน 7 คน)
2. ประสานงานกับโรงพยาบาลนพรัตน์เพื่อส่งต่อคนไข้
ติดต่อ
คุณสุดใจ นาคเพียร, คุณจิราภรณ์ เผือกหลวง, คุณขวัญทอง ชัยสิทธิ์ ทุกวันตลอด 24 ชั่วโมง
34/294 หมู่บ้านโอสถิต 5 ลาดพร้าว 53 โชคชัย 4 บางกะปิ กทม. 10310
โทร. 538 - 8875

• กรณีที่เด็กเกิดจากแม่ติดเชื้อและถูกทอดทิ้ง
บ้านธารน้ำใจ
- เป็นสถานที่เลี้ยงดูทารกที่คลอดจากมารดาที่ติดเชื้อเอดส์ และถูกทอดทิ้งไว้ตามโรงพยาบาลต่าง ๆ
- ดูแลให้ความอบอุ่นแก่ทารกที่คลอดจากแม่ที่ติดเชื้อเอดส์แล้วทอดทิ้ง
- จัดหาครอบครัวให้แก่เด็กที่ไม่ติดเชื้อจากแม่ หลังจากอายุ 18 เดือนแล้ว และผลการตรวจเลือดยืนยันว่าไม่ติดเชื้อจากมารดา
- เพื่อแบ่งเบาภาระการเลี้ยงดูทารก เนื่องจากโรงพยาบาลต่าง ๆ มีทารกที่ถูกทิ้งไว้เป็นจำนวนมาก และไม่สามารถดูแลให้ความอบอุ่นได้เพียงพอ
บ้านธารน้ำใจดำเนินการโดยสมาคมพัฒนาประชากรและชุมชน (PDA) ซึ่งจะสนับสนุนด้านสื่อเกี่ยวกับเอดส์ กามโรค และไวรัสตับอักเสบบีในราคา 200 บาท โดยทราบผลทันที มีบริการปรึกษาทั้งก่อนตรวจ และหลังตรวจเลือดและส่งต่อผู้ใช้บริการ ให้กับคลินิกนิรนามสภากาชาดไทย (PDA) มีคุณมัชัย วีรไวทยะ เป็นประธาน ได้รับความร่วมมือจากกรมประชาสงเคราะห์ และสภากาชาดไทย
ติดต่อ
เลขที่ 8 สุขุมวิท 12 กทม. 229 - 4611 - 2
หมายเหตุ
กรณีจะต้องส่งต่อผู้รับบริการเพื่อเข้ารับบริการของบ้านธารน้ำใจ กรุณาติดต่อ บ้านราชวิถี กรมประชาสงเคราะห์
กรณีตั้งครรภ์และติดเชื้อ HIV สามารถส่งต่อไปยังแผนกสูตินรีเวช ของโรงพยาบาลรัฐบาล และเอกชน ตามความสะดวก และความพร้อมของผู้บริการ
กรณีตั้งครรภ์ ติดเชื้อ HIV และมีความต้องการทำแท้ง นัดหมายให้ผู้รับบริการมาพบเจ้าหน้าที่เพื่อรับบริการปรึกษาโดยตรงที่ศูนย์ก่อน กรณีแม่ที่ติดเชื้อและมีบุตรระหว่างแรกเกิด - 5 ขวบ ต้องการพาบุตรไปตรวจ HIV หรือตรวจรักษาสามารถพาไปยังสถานพยาบาลต่าง ๆ ได้ดังต่อไปนี้
1. โรงพยาบาลศิริราช ชั้น 3 ซึ่งกรณีนี้แม่ที่ติดเชื้อสามารถที่จะรับการตรวจสุขภาพหรือรักษาพยาบาลได้ในขณะเดียวกัน ที่คลินิก 447 ชั้น 4 ตึกผู้ป่วยนอก ซึ่งจะสะดวกมากถ้าแม่ที่ติดเชื้อ จะทำการติดต่อและทำบัตรที่
2. โรงพยาบาลเด็ก ชั้น 2 ตึกผู้ป่วยนอกเฉพาะวันอังคาร - พุธ เวลา 13.00 - 16.00 น.
3. โรงพยาบาลจุฬาฯ ชั้น 9 ตึกผู้ป่วยนอก วันจันทร์ - ศุกร์ เวลา 08.00 - 12.00 น.
(เด็กจะสามารถตรวจเลือดเพื่อดูว่าติดเชื้อจากแม่ได้ หลังจากเด็กอายุ 1 ปี ครึ่งไปแล้ว)

• กรณีให้คำปรึกษาด้านอื่น ๆ
มีศูนย์ที่ให้บริการปรึกษาทางโทรศัพท์ ในกรณีที่มีปัญหาทางด้านจิตเวช คิดฆ่าตัวตาย เศร้า เหงา ปัญหาคู่สมรส ปัญหาวัยรุ่น ดังนี้

1. สมาริตันส์
บริการ
จันทร์ - พฤหัสบดี เวลา 14.00 - 22.00 น.
ศุกร์ - เสาร์ เวลา 14.00 - 07.00 น.
ติดต่อ
สมาริตันส์ มีองค์กรแม่อยู่ที่ประเทศอังกฤษ ตั้งมาได้ 42 ปี และมีสาขาอื่น ๆ อยู่ทั่วโลก สำหรับในประเทศไทยตั้งมาได้ 17 ปี นายแพทย์อุดมศิลป์ ศรีแสงนาม เป็นนายกสมาคมร่วมมือก่อตั้งองค์กรกับชาวต่างชาติ สมาริตันส์ในประเทศไทย มีสาขาอยู่ที่เชียงใหม่แห่งหนึ่ง ลักษณะการให้บริการปรึกษาจะเน้นปัญหา การฆ่าตัวตาย ให้บริการ วันอังคาร พุธ เสาร์ เวลา 18.00 - 22.00 น.

2. ศูนย์ฮอทไลน์
บริการ
จันทร์ - ศุกร์ เวลา 12.00 - 19.00 น.
เฉพาะวันเสาร์ เวลา 10.00 - 19.00 น.
ติดต่อ
67/55 ถ.สุขาภิบาล 1 บึ่งกุ่ม กรุงเพทฯ 10240
โทร. 375 - 4955, 377 - 0073
ฮอทไลน์ มีคุณอรอนงค์ อินทรวิจิตร เป็นผู้อำนวยการ มีสาขาต่างจังหวัดที่เชียงใหม่ หาดใหญ่ ของแก่น
“บ้านพักของวันพรุ่งนี้” โดยรับผู้หญิง เด็ก แม่และเด็กที่มีปัญหาถูกล่อลวง ข่มขืน การอพยพใช้แรงงาน ปัญหาผู้ติดเชื้อเข้าอยู่ มีการประสานงานกับกรมประชาสงเคราะห์ จังหวัดในการให้งานทำกับผู้ที่เข้าไปใช้บริการ เช่น เย็บผ้า งานฝีมือ และมีการจัดหาตลาดให้

3. ศูนย์โฮปไลน์
บริการ
จันทร์ - ศุกร์ เวลา 12.00 - 20.00 น.
เฉพาะวันเสาร์ เวลา 10.00 - 19.00 น.
ติดต่อ
67/55 ถ.สุขาภิบาล 1 บึ่งกุ่ม กรุงเทพฯ 10240
โทร. 375 - 4955, 377 - 0073
โฮปไลน์ มีอาจารย์ อนุกูล เป็นที่ปรึกษา เกิดขึ้นโดยการรวบรวมนักศึกษาที่จบทางด้านจิตวิทยา มาเป็นเจ้าหน้าที่ อาสาสมัคร โดยมีการอบรมกับจิตแพทย์ คือ นายแพทย์ประยุกต์ เสรีเสถียร จากโรงพยาบาลสมเด็จเจ้าพระยา

4. สายด่วนวัยรุ่น
บริการ
จันทร์ - ศุกร์ เวลา 09.00 - 21.00 น.
ติดต่อ
โทร. 275 - 6993 - 9
สายด่วนวัยรุ่น เป็นองค์การเยาวชนไทย เพื่อพระคริส มีอาจารย์นิติเชต สุดุดีวงษ์ เป็นผู้อำนวยการ มีเจ้าหน้าที่ให้บริการปรึกษา นอกจากนี้มีการส่งต่อกับหน่วยงานอื่น ๆ เช่น กามโรค ACT CENTER คลินิกนิรนาม
5. ศูนย์ปรึกษาสุขภาพจิต (โรงพยาบาลสมเด็จเจ้าพระยา)
บริการ
จันทร์ - ศุกร์ เวลา 18.30 - 13.00 -06.00 น.
ติดต่อ
โทร. 437 - 7061

• กองทุนสงเคราะห์สำหรับผู้ติดเชื้อและครอบครัว

1. ทุนประกอบอาชีพ (ทุนประกอบอาชีพของรัฐบาล) กรมสวัสดีการและคุ้มครองแรงงาน
บริการ
ช่วยเหลือครอบครัวผู้ใช้งาน โดยมีเงื่อนไขดังนี้ คือ
1. ตรวจเลือดที่โรงพยาบาลพบว่ามีเชื้อ
2. เขียนแบบฟอร์มขอทุนด้วยตนเอง
3. ให้ทางโรงพยาบาลยืนยันเกี่ยวกับผลเลือด
ติดต่อ
กรมประชาสงเคราะห์
โทร. 2230-01689, 221 - 6871
กรณีต่างจังหวัด สำนักคุ้มครองแรงงานและสวัสดีภาพจังหวัด
โทร. 281 - 0969, 281 - 3199 ต่อ 6301 - 8 ในวันเวลาราชการ
2. บริการฝึกอาชีพและแหล่งงาน
2.1 สถาบันพัฒนาฝีมือแรงงาน ถนนมิตรไมตรี ดินแดง กทม. 10400 โทร. 245 - 1704
โดยผู้ขอใช้บริการต้องมีอายุระหว่าง 15 - 25 ปี จบการศึกษาระดับประถมศึกษากรณีต้องการอาชีพสามารถติดต่อได้โดยตรงที่สถาบันพัฒนาฝีมือแรงงานกลาง ในวัน เวลาราชการ
2.2 กองการจัดหางาน (กระทรวงแรงงาน) ถนนมิตรไมตรี ดินแดน กทม. 10400 โทร. 246 - 2992 หรือที่หน่วยงานใหญ่ โทร. 245 - 1823 ในวันเวลาราชการ นอกจากนี้ยังมีบริการอยู่ตามเขตต่าง ๆ โดยทั่วไป


• กรณีปัญหาทางกฎหมาย การละเมิดสิทธิ์

1. ศูนย์คุ้มครองสิทธิ์ด้านเอดส์
บริการ สำหรับผู้ติดเชื้อเอดส์ และครอบครัวที่ถูกละเมิดสิทธิสำหรับประชาชนทั่วไปที่ได้รับความเดือดร้อนจากผู้ติดเชื้อ ผู้ป่วยเอดส์
ติดต่อ คุณศิริพรรณ ปฏิมานุเกษม โทร. 245 - 8700, 246 - 8701

2. เพื่อนหญิง
บริการ ให้ความช่วยเหลือด้านกฎหมาย สำหรับหญิงที่ถูกข่มขืน ถูกทารุณกรรมและปัญหาครอบครัว
ติดต่อ โทร. 270 - 0928 จันทร์ - ศุกร์ เวลา 09.00 - 17.00 น.

3. มูลนิธิผู้หญิง
บริการ ให้ความช่วยเหลือด้านกฎหมาย สำหรับหญิงที่ถูกข่มขืน ถูกทารุณกรรมและปัญหาโสเภณี
ติดต่อ 433 - 5149 จันทร์ - ศุกร์ เวลา 09.00 - 17.00 น.

4. ศูนย์พิทักษ์สิทธิเด็ก
บริการ
1. ให้การช่วยเหลือเด็กที่มีอายุตั้งแต่แรกเกิด - 18 ปี สำหรับเด็กที่ถูกทารุณกรรม ถูกล่วงเกินทางเพศ การใช้
แรงงานเด็ก โสเภณีเด็ก และกรณีอื่น ๆ
2. บ้านพักมีการตรวจสุขภาพและร่างกายทั่วไป ประสานงานกับโรงพยาบาลศิริราช
3. อาชีพ
4. ฟื้นฟูสภาพจิตใจ
ติดต่อ
ฝ่ายช่วยเหลือ 184/16 ถนนจรัลสนิทวงศ์ 122 แขวงท่าพระ เขตบางกอกใหญ่ กรุงเทพฯ 10110
โทรสาร 4122 - 9833

*************************


1663 สายด่วนปรึกษาเอดส์และท้องไม่พร้อม
https://www.facebook.com/1663telephonecsg/


เปิดศูนย์ “1663 สายด่วนปรึกษาเอดส์” หวังคนเข้าถึงบริการด้านเอชไอวี/เอดส์ มากขึ้น

28 Jul 2012

กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข ร่วมกับศูนย์วิจัยโรคเอดส์ สภากาชาดไทย และมูลนิธิเข้าถึงเอดส์ เปิดศูนย์ “1663 สายด่วนปรึกษาเอดส์” วันที่ 31 พฤษภาคม 2555 ณ ที่ทำการศูนย์ “1663 สายด่วนปรึกษาเอดส์” มูลนิธิเข้าถึงเอดส์ โดยมีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข นายวิทยา บุรณศิริ ให้เกียรติเป็นประธานเปิดงาน

นายวิทยา บุรณศิริ กล่าวว่า การมีศูนย์ “1663 สายด่วนปรึกษาเอดส์” นี้ นับว่าเป็นสิทธิประโยชน์ด้านสุขภาพของประชาชนที่รัฐบาลเห็นความสำคัญและจัดบริการให้เพื่อคลี่คลายสถานการณ์ปัญหาเรื่องเอชไอวี/เอดส์ เพราะเมื่อประชาชนเข้าถึงบริการปรึกษาและได้รับการรักษาโดยเร็วก็จะช่วยให้เกิดการป้องกันซึ่งจะช่วยลดจำนวนผู้ติดเชื้อรายใหม่ ในขณะเดียวกันผู้ที่ติดเชื้อแล้วก็จะเข้าถึงบริการรักษาได้อย่างทันท่วงที ไม่เจ็บป่วย ไม่เสียชีวิต

ดังนั้น ศูนย์ “1663 สายด่วนปรึกษาเอดส์” จึงถือเป็นช่องทางสำคัญที่จะช่วยให้ประชาชนเข้าถึงบริการตรวจรักษาเรื่องเอชไอวี/เอดส์ได้เร็วขึ้น อย่างไรก็ตาม ในการคลี่คลายปัญหาเอดส์ให้ลุล่วงและสอดคล้องกับความต้องการของประชาชน หน่วยบริการต่างๆ ทั้งในระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติและกระทรวงสาธารณสุขจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องประสานความร่วมมือ รับช่วงต่อจากศูนย์ “1663 สายด่วนปรึกษาเอดส์” ในการให้บริการประชาชน และพัฒนาระบบการรับและส่งต่อผู้รับบริการที่ได้รับการปรึกษาจากศูนย์ 1663 แล้วให้มีความสะดวกรวดเร็วในการเข้าถึงการตรวจรักษา รวมถึงพัฒนาบุคลากรในหน่วยงานให้มีความรู้ ความเข้าใจ ให้บริการด้วยความเป็นมิตรและรักษาความเป็นส่วนตัวของผู้รับบริการเพื่อให้ประชาชนเข้าถึงบริการด้วยความสะดวกรวดเร็วและสบายใจ

นายแพทย์พรเทพ ศิริวนารังสรรค์ อธิบดีกรมควบคุมโรค กล่าวว่า ศูนย์ “1663 สายด่วนปรึกษาเอดส์” เกิดขึ้นจากแนวคิดและความร่วมมือขององค์กร หน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชน รวมถึงคนทำงานด้านเอดส์ ที่ต้องการให้ประชาชนข้าถึงบริการปรึกษาเรื่องเอชไอวี/เอดส์เพื่อลดปัญหาดังกล่าวในระดับประเทศ ทั้งนี้ สถานการณ์เรื่องเอดส์ในประเทศไทยพบว่า ไทยมีผู้ติดเชื้อที่ยังมีชีวิตอยู่ราว 500,000 ราย แต่มีเพียง 2 แสนรายเท่านั้นที่เข้าถึงบริการด้านสาธารณสุข ในขณะที่อีก 3 แสนรายที่ยังไม่เข้าสู่ระบบการรักษานั้นมีทั้งกลุ่มคนที่ไม่ทราบว่าตัวเองมีความเสี่ยงต่อการติดเชื้อเอชไอวี กลุ่มคนที่อาจจะประเมินได้ว่าตัวเองมีความเสี่ยงแต่ไม่กล้าไปรับบริการปรึกษาและตรวจเลือดที่หน่วยบริการ และกลุ่มคนที่อาจจะทราบผลเลือดของตัวเองแล้วแต่ไม่มีข้อมูลเรื่องการดูแลรักษา ดังนั้น การมีศูนย์ “1663 สายด่วนปรึกษาเอดส์” จึงจะช่วยให้ประชาชนทั้งสามกลุ่มมีทางออกในการจัดการปัญหาและวางแผนดูแลสุขภาพของตัวเองได้ไม่ว่าจะติดเชื้อเอชไอวีหรือไม่ก็ตาม

ศาสตราจารย์กิตติคุณ นายแพทย์ประพันธ์ ภานุภาค ประธานกรรมการศูนย์ “1663 สายด่วนปรึกษาเอดส์” ให้ข้อมูลเพิ่มเติมว่า ศูนย์ “1663” เปิดให้บริการทุกวันตั้งแต่ 10.00 -20.00 น.เป็นบริการไม่ถามชื่อ และเมื่อผู้รับบริการได้รับการปรึกษาและมีความประสงค์จะตรวจเลือดเพื่อหาการติดเชื้อเอชไอวีก็สามารถนำรหัสที่ได้จากศูนย์ 1663 ไปรับบริการยังหน่วยบริการได้โดยที่หน่วยบริการจะประเมินความพร้อมเบื้องต้นต่อจากที่ศูนย์ 1663 อีกครั้ง ซึ่งในอนาคตทางศูนย์จะประสาน ช่วยลดความซ้ำซ้อนในการให้บริการปรึกษาเพื่อเพิ่มความสะดวกให้แก่ผู้รับบริการและเจ้าหน้าที่ในหน่วยบริการซึ่งทำให้ประชาชนเข้าถึงบริการเรื่องการตรวจรักษาเอชไอวี/เอดส์มากขึ้น


https://www.thaiplus.net/?q=node/30

..............................................

เอดส์ ( AIDS)

https://www.bloggang.com/mainblog.php?id=cmu2807&month=26-03-2008&group=4&gblog=27

ข้อควรรู้ก่อนการตรวจโรคเอดส์

https://www.bloggang.com/mainblog.php?id=cmu2807&month=26-03-2008&group=4&gblog=26

แนวทางปฏิบัติเกี่ยวกับโรคเอดส์ ... ของแพทย์ ... แต่ ประชาชน ก็ควรรู้

https://www.bloggang.com/mainblog.php?id=cmu2807&month=09-09-2012&group=4&gblog=96

องค์กรที่ให้บริการปรึกษาและทำงานด้านเอดส์

https://www.bloggang.com/mainblog.php?id=cmu2807&month=26-03-2008&group=4&gblog=28





Create Date : 26 มีนาคม 2551
Last Update : 18 เมษายน 2561 22:42:56 น. 0 comments
Counter : 4450 Pageviews.  

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

หมอหมู
Location :
กำแพงเพชร Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 762 คน [?]




ผมเป็น ศัลยแพทย์ออร์โธปิดิกส์ หรือ อาจเรียกว่า หมอกระดูกและข้อ หมอกระดูก หมอข้อ หมอออร์โธ หมอผ่าตัดกระดูก ฯลฯ สะดวกจะเรียกแบบไหน ก็ได้ครับ

ศัลยแพทย์ออร์โธปิดิกส์ เป็นแพทย์เฉพาะทางสาขาหนึ่ง ซึ่งเมื่อเรียนจบแพทย์ทั่วไป 6 ปี ( เรียกว่า แพทย์ทั่วไป ) แล้ว ก็ต้องเรียนต่อเฉพาะทาง ออร์โธปิดิกส์ อีก 4 ปี เมื่อสอบผ่านแล้วจึงจะถือว่าเป็น แพทย์ออร์โธปิดิกส์ โดยสมบูรณ์ ( รวมเวลาเรียนก็ ๑๐ ปี นานเหมือนกันนะครับ )

หน้าที่ของหมอกระดูกและข้อ จะเกี่ยวข้องกับความเจ็บป่วย ของ กล้ามเนื้อ เส้นเอ็น กระดูก ข้อ และ เส้นประสาท โรคที่พบได้บ่อย ๆ เช่น กระดูกหัก ข้อเคล็ด กล้ามเนื้อฉีกขาด กระดูกสันหลังเสื่อม ข้อเข่าเสื่อม กระดูกพรุน เป็นต้น

สำหรับกระดูกก็จะเกี่ยวข้องกับกระดูกต้นคอ กระดูกสันหลัง กระดูกเชิงกราน กระดูกข้อไหล่ จนถึงปลายนิ้วมือ กระดูกข้อสะโพกจนถึงปลายนิ้วเท้า ( ถ้าเป็นกระดูกศีรษะ กระดูกหน้า และ กระดูกทรวงอก จะเป็นหน้าที่ของศัลยแพทย์ทั่วไป )

นอกจากรักษาด้วยการให้คำแนะนำ และ ยา แล้วยังรักษาด้วย วิธีผ่าตัด รวมไปถึง การทำกายภาพบำบัด บริหารกล้ามเนื้อ อีกด้วย นะครับ

ตอนนี้ผม ลาออกจากราชการ มาเปิด คลินิกส่วนตัว อยู่ที่ จังหวัดกำแพงเพชร .. ใช้เวลาว่าง มาเป็นหมอทางเนต ตอบปัญหาสุขภาพ และ เขียนบทความลงเวบ บ้าง ถ้ามีอะไรที่อยากจะแนะนำ หรือ อยากจะปรึกษา สอบถาม ก็ยินดี ครับ

นพ. พนมกร ดิษฐสุวรรณ์ ( หมอหมู )

ปล.

ถ้าอยากจะถามปัญหาสุขภาพ แนะนำตั้งกระทู้ถามที่ .. เวบไทยคลินิก ... ห้องสวนลุม พันทิบ ... เวบราชวิทยาลัยออร์โธปิดิกส์ หรือ ทางอีเมล์ ... phanomgon@yahoo.com

ไม่แนะนำ ให้ถามที่หน้าบล๊อก เพราะอาจไม่เห็น นะครับ ..




New Comments
[Add หมอหมู's blog to your web]