Ortho knowledge for all @ Do no harm patient and myself @ สุขภาพดี ไม่มีขาย ถ้าอยากได้ ต้องสร้างเอง
<<
มกราคม 2553
 12
3456789
10111213141516
17181920212223
24252627282930
31 
13 มกราคม 2553

ข้อสะโพกอักเสบ ชั่วคราว ในเด็ก ( Transient synovitis , toxic synovitis or irritable hip )

 




ข้อสะโพกอักเสบ ชั่วคราว ในเด็ก ( Transient synovitis , toxic synovitis or irritable hip )


พบบ่อยในเด็ก ชาย มากกว่า หญิง

พบบ่อยในช่วงอายุ 3 - 10 ปี




สาเหตุ

ส่วนใหญ่ ไม่ทราบสาเหตุ แต่ อาจพบได้หลังจากเป็นหวัด อุบัติเหตุ




อาการ

เจ็บที่สะโพกหรือ ขาหนีบ มักจะเป็นข้างเดียว และ มักจะเป็นแบบเฉียบพลัน ( 1 – 2 วัน )

เด็กมักจะกินได้ เล่นได้ แต่ เดินกะเผลก หรือ ไม่ยอมเดิน

อาจมีอาการปวดตอนกลางคืน จนต้องตื่นกลางดึก

ไม่มีไข้ หรือ ไข้ต่ำ ๆ




การวินิจฉัย

จาก ประวัติ อาการ และ การตรวจร่างกาย ( ผลเลือด เอกซเรย์ จะปกติ )

การตรวจเลือด หรือ เอกซเรย์ จะทำเมื่อสงสัยว่า เป็นโรคอื่น หรือ รักษาแล้วไม่ดีขึ้น




แนวทางรักษา

นอนพัก หลีกเลี่ยงการลงน้ำหนัก อาจใช้ไม้ค้ำยันช่วยพยุงเดิน

รับประทานยาต้านการอักเสบที่ไม่ใช่สเตียรอยด์ หรือ ยาพาราเซตามอน

ในผู้ที่มีอาการปวดมาก อาจต้องนอนพักใน โรงพยาบาล เพื่อใส่อุปกรณ์ดึงถ่วงน้ำหนักที่ขา

ถ้าไม่ได้นอนรักษาในโรงพยาบาล แพทย์จะนัดตรวจซ้ำทุก 1 – 2 วัน เพื่อประเมินอาการ

ถ้ารักษาแล้ว 7 – 10 วัน ไม่ดีขึ้น ควรกลับไปพบแพทย์ เพื่อตรวจซ้ำ

ส่วนใหญ่อาการจะค่อย ๆ ดีขึ้นและหายไปใน 1-2 อาทิตย์

มีโอกาส 0 – 17 % ที่จะกลับมาเป็นซ้ำ ภายใน 6 เดือนหลังจากครั้งแรก




หมายเหตุ

ถ้าเด็กมีอาการปวดมาก ไข้สูง นอนซม ไม่ยอมกิน ไม่ยอมเล่น อาจต้องนึกถึงโรคอื่น เช่น การติดเชื้อแบททีเรียในข้อสะโพก ( septic hip )



อ้างอิง ...

https://familydoctor.org/online/famdocen/home/children/parents/special/bone/181.html

https://www.ejbjs.org/cgi/content/abstract/81/12/1662

https://emedicine.medscape.com/article/1007186-overview

https://www.eorthopod.com/public/patient_education/11087/transient_synovitis_of_the_hip_in_children.html

https://knol.google.com/k/transient-synovitis-a-complete-review#

https://www.arthritis.co.za/hip.html

https://www.patient.co.uk/doctor/Painful-Hips-In-Children.htm

https://www.jucm.com/2007-dec/clinical.shtml



บทความที่เกี่ยวข้อง ..

หัวกระดูกสะโพกตาย จากการขาดเลือด ในเด็ก ( Legg-Calve'-Perthes disease )

https://www.bloggang.com/mainblog.php?id=cmu2807&month=20-07-2009&group=5&gblog=44


ปวดขาในเด็ก จากการเจริญเติบโต ( Growing Pain or benign limb pain of childhood )

https://www.bloggang.com/mainblog.php?id=cmu2807&month=09-12-2008&group=5&gblog=41

...............................................................

ข้อสะโพกอักเสบ ชั่วคราว ในเด็ก ( Transient synovitis , toxic synovitis or irritable hip )

https://www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=31-03-2021&group=32&gblog=26




.......................................................

ข้อสะโพกติดเชื้อในเด็ก (Septic Arthritis of the Hip in Children)     
https://www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=01-06-2021&group=32&gblog=27



 


Create Date : 13 มกราคม 2553
Last Update : 1 มิถุนายน 2564 16:21:49 น. 3 comments
Counter : 13413 Pageviews.  

 


โดย: ผมชอบกินข้าวมันไก่ วันที่: 13 มกราคม 2553 เวลา:14:51:52 น.  

 
ขอบคุณครับ คุณหมอ


โดย: สามทับหนึ่ง วันที่: 13 มกราคม 2553 เวลา:15:08:14 น.  

 
รบกวนช่วยตอบแบบสอบออนไลน์เพื่อการศึกษาหน่อยค่ะ
ตาม link
//spreadsheets.google.com/viewform?formkey=dFBZSVJOeks5QUJxeHVGNy1ISlplMnc6MA
ขอบคุณค่ะ


โดย: kaewnumsai วันที่: 14 มกราคม 2553 เวลา:16:19:33 น.  

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

หมอหมู
Location :
กำแพงเพชร Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 762 คน [?]




ผมเป็น ศัลยแพทย์ออร์โธปิดิกส์ หรือ อาจเรียกว่า หมอกระดูกและข้อ หมอกระดูก หมอข้อ หมอออร์โธ หมอผ่าตัดกระดูก ฯลฯ สะดวกจะเรียกแบบไหน ก็ได้ครับ

ศัลยแพทย์ออร์โธปิดิกส์ เป็นแพทย์เฉพาะทางสาขาหนึ่ง ซึ่งเมื่อเรียนจบแพทย์ทั่วไป 6 ปี ( เรียกว่า แพทย์ทั่วไป ) แล้ว ก็ต้องเรียนต่อเฉพาะทาง ออร์โธปิดิกส์ อีก 4 ปี เมื่อสอบผ่านแล้วจึงจะถือว่าเป็น แพทย์ออร์โธปิดิกส์ โดยสมบูรณ์ ( รวมเวลาเรียนก็ ๑๐ ปี นานเหมือนกันนะครับ )

หน้าที่ของหมอกระดูกและข้อ จะเกี่ยวข้องกับความเจ็บป่วย ของ กล้ามเนื้อ เส้นเอ็น กระดูก ข้อ และ เส้นประสาท โรคที่พบได้บ่อย ๆ เช่น กระดูกหัก ข้อเคล็ด กล้ามเนื้อฉีกขาด กระดูกสันหลังเสื่อม ข้อเข่าเสื่อม กระดูกพรุน เป็นต้น

สำหรับกระดูกก็จะเกี่ยวข้องกับกระดูกต้นคอ กระดูกสันหลัง กระดูกเชิงกราน กระดูกข้อไหล่ จนถึงปลายนิ้วมือ กระดูกข้อสะโพกจนถึงปลายนิ้วเท้า ( ถ้าเป็นกระดูกศีรษะ กระดูกหน้า และ กระดูกทรวงอก จะเป็นหน้าที่ของศัลยแพทย์ทั่วไป )

นอกจากรักษาด้วยการให้คำแนะนำ และ ยา แล้วยังรักษาด้วย วิธีผ่าตัด รวมไปถึง การทำกายภาพบำบัด บริหารกล้ามเนื้อ อีกด้วย นะครับ

ตอนนี้ผม ลาออกจากราชการ มาเปิด คลินิกส่วนตัว อยู่ที่ จังหวัดกำแพงเพชร .. ใช้เวลาว่าง มาเป็นหมอทางเนต ตอบปัญหาสุขภาพ และ เขียนบทความลงเวบ บ้าง ถ้ามีอะไรที่อยากจะแนะนำ หรือ อยากจะปรึกษา สอบถาม ก็ยินดี ครับ

นพ. พนมกร ดิษฐสุวรรณ์ ( หมอหมู )

ปล.

ถ้าอยากจะถามปัญหาสุขภาพ แนะนำตั้งกระทู้ถามที่ .. เวบไทยคลินิก ... ห้องสวนลุม พันทิบ ... เวบราชวิทยาลัยออร์โธปิดิกส์ หรือ ทางอีเมล์ ... phanomgon@yahoo.com

ไม่แนะนำ ให้ถามที่หน้าบล๊อก เพราะอาจไม่เห็น นะครับ ..




New Comments
[Add หมอหมู's blog to your web]