วิจารณาญาณ สำคัญไฉน???
ความสำเร็จ เป็นสิ่งที่ทุกผู้คนล้วนต้องการ
ความล้มเหลว เป็นสิ่งที่ทุกผู้คนล้วนแต่ควรหลีกเลี่ยงมัน

เคยไหมกับ การตัดสินใจ และกระทำผิดพลาดไปจนก่อให้เกิดความเสียหายใหญ่หลวงจนรับไม่ได้???

ความสำคัญของ วิจารณญาณ ก็คือ มันเกี่ยวข้องกับความล้มเหลว และความสำเร็จ นี่ไงครับ

เพราะถ้าเมื่อไหร่ก็ตามที่ใช้ วิจารณญาณ ผิดพลาด เมื่อนั้น ก็จะก่อให้เกิดความเสียหาย เดือดร้อนมากมาย

ดังนั้น จึงควรปิดประตูของความล้มเหลว ความผิดพลาด ลงไปให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ จริงไหมครับ

ความผิดพลาดนี่แหละครับ คือ สิ่งที่เราควรต้องระวัง
มันมีขั้นตอนมาจากไหน

ข้อมูลดิบ คือ ข่าวสาร + ความจริง + ความตกแต่ง + (ความคิดเห็น + คติของผู้ให้ความเห็น) + (ความอ้างอิง + คติของผู้นำข้อมูลมาใช้อ้างอิง)


= =
นำไปสู่การไตร่ตรอง
= =
V V


การตัดสินใจ
= =
V V


|----------------------ผลลัพธ์----------------------|
ตามความจริง.......................ตามความเห็นที่ไม่จริง
ได้รับความสำเร็จ...................ได้รับความผิดพลาด


ปัญหาก็คือ เราจะแยกแยะ ข้อมูลที่ควรค่าแก่การเชื่อถือ ออกมาจากข้อมูลทั้งหลายที่เราได้รับมาได้อย่างไร???

และ การแยกแยะข้อมูลที่ควรค่าแก่การเชื่อถือ ออกมาจาก ข้อมูลทั้งหลายที่เราได้รับมาได้อย่างถูกต้องนี้แหละ เรียกว่า วิจารณญาณ

เรามาดูข้อมูลนี้กัน

ผู้เชี่ยวชาญทางด้านอสังหาริมทรัพย์ของบริษัท ประเมินราคาทรัพย์สินอันดับหนึ่งของประเทศ ระบุว่า บ้านของคุณ มีราคาอยู่ที่ 5 ล้านบาท และคาดว่า น่าจะมีราคา 10 ล้านในอีก 5 ปีข้างหน้า

คุณคิดว่า นี่คือ ข้อเท็จจริง หรือ ความคิดเห็น หรือวิเคราะห์ได้ว่าอย่างไรครับ???

ปัญญา ประดุจดังอาวุธ


เชิญตอบได้เลยครับ แล้วผมจะมาเฉลยครับ

คลิกลากแถบว่างข้างล่างดูเฉลย ครับ...

คำตอบคือ ข้อมูลนั้น คือ ความคิดเห็นครับ ยังไม่ใช่ข้อเท็จจริง???

ทำไมถึงเป็นเช่นนั้น????
ข้อมูลที่ได้รับมานั้น เป็นข้อมูลจากผู้เชี่ยวชาญก็จริงอยู่ เป็นแต่เพียงราคาที่เขาประเมินตามความคิดเห็นของเขา ซึ่งก็สุดแท้แต่ว่าเขาจะบรรยายเหตุผล ร้อยแปด พันประการมาสนับสนุน ความคิดเห็นของเขา แต่เมื่อใดที่คุณยังไม่ได้ขายบ้านของคุณไป ยังไม่ได้เปลี่ยนบ้านของคุณเป็นตัวเงินที่เข้ามาไว้ในบัญชีของคุณ นั่นก็ยังไม่ใช่ความจริงครับ ซึ่งถ้าคุณขายบ้านของคุณได้ ณ เวลานั้น มีคนต้องการซื้อที่ราคา 5 ล้านจริงๆ นั่นแหละครับ จึงเป็นข้อเท็จจริง เพราะ เวลาที่คุณขายจริงๆ อาจจะไม่ได้เงิน 5 ล้านจริงๆ ก็เป็นได้ ถ้าไม่มีคนซื้อที่ราคา 5 ล้าน จริงไหมครับ แล้วถ้า คุณดีใจกับราคาประเมินในอนาคต ว่าจะได้ 10 ล้าน ซึ่งถ้าในอนาคต เกิดพิษเศรษฐกิจ ไม่เป็นอย่างที่คาดหวังไว้ สภาวะแวดล้อมเปลี่ยนแปลงไป ราคาบ้านอาจจะตกต่ำก็เป็นได้ ซึ่งในสภาวะเงินฝืด ธนาคารไม่ปล่อยกู้ ราคาที่เคยประเมินไว้ อาจจะขายได้ไม่ถึงอย่างที่มีคนเคยประเมินไว้ก็ได้ ดูอย่างพิษเศรษฐกิจ ปี 40 เป็นตัวอย่าง ราคาบ้านตกต่ำลงจากปี 39 อย่างมากมาย ทั้งที่ก่อนหน้านั้น ราคาบ้านมีแต่พุ่งสูงขึ้น จริงไหมครับท่าน



Create Date : 13 กุมภาพันธ์ 2550
Last Update : 13 กุมภาพันธ์ 2550 1:18:20 น.
Counter : 624 Pageviews.

4 comments
มาสค์ไรเดอร์ สตรองเกอร์ Zorawyt
(4 ม.ค. 2568 00:43:55 น.)
เก็บตกการเดินออกกำลัง... tanjira
(9 ม.ค. 2568 14:11:34 น.)
3 M E A L S_ A D A Y ป้ายเหลืองสไตล์ nonnoiGiwGiw
(8 ม.ค. 2568 15:18:41 น.)
#สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก ประทานพระคติธรรม เนื่องในวันเด็กแห่งชาติ newyorknurse
(12 ม.ค. 2568 00:10:07 น.)
  
โดย: วิถีไท วันที่: 13 กุมภาพันธ์ 2550 เวลา:1:06:10 น.
  
บทเรียนนี้ สามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้กับทุกสถานะการณ์ โดยเฉพาะข้อมูลข่าวสารที่มาจากหนังสือพิมพ์เวลานี้ ส่วนใหญ่เป็นแต่เพียง ความคิดเห็นของผู้คน ดังนั้น ยิ่งต้องระมัดระวังให้มาก เพราะข้อคิดเห็น มักจะมาพร้อมๆ กับ ทัศนะคติ ในทางใด ทางหนึ่งเสมอครับ ซึ่งบางครั้ง ทัศนะคติดี กลับเป็นการทำร้าย และบางครั้ง ทัศนะคติที่ร้าย กลับเป็นการช่วยเหลือ แต่ทัศนะคติที่ถูกต้องเท่านั้น ที่จะเป็นประโยฃน์ ดังนั้น จึงควรใช้วิจารณญาณให้มากๆ ครับ
โดย: thipch วันที่: 13 กุมภาพันธ์ 2550 เวลา:1:26:45 น.
  
เห็นด้วยค่ะ ทำงานในแวดวงที่คุณเอ่ยถึงล่ะค่ะ

ก็รู้สึกว่ามันเต็มไปด้วยเนื้อหาการแสดงความคิดเห็น

แต่ด้านหนึ่งสื่อก็พยายามให้ข้อมูลทั้ง2ฝ่าย ดังนั้นจึงอยู่ที่วิจารณญาณค่ะ
โดย: tistoo วันที่: 13 กุมภาพันธ์ 2550 เวลา:2:01:35 น.
  
มองได้สองด้าน ด้านหนึ่งจริงตามสมมติ ด้านหนึ่งจริงตามที่แท้จริง เซ็งเป็ดก๊าบบๆๆ บินได้เหมือนนก ทำตัวเหมือนไก่ ไข่ก็น่ากิน
โดย: อาจารย์มารบูรพา วันที่: 23 สิงหาคม 2550 เวลา:11:44:04 น.
ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
 *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

Vision-focus.BlogGang.com

thipch
Location :
  

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]

บทความทั้งหมด