จริงหรือเปล่า ที่ รัฐธรรมนูญ 2550 หมกเม็ดการต่ออายุ ตุลาการ 2 ท่าน ไว้ ไม่ชี้แจงต่อสาธราณะชน???
ใครๆ ก็ปฏิเสธว่าไม่จริง เราไม่มีคำตอบสำหรับท่านเรามีแค่ข้อเท็จจริงที่นำมาเสนอให้ท่านพิจารณา ส่วนคำตอบว่าทหารแทรกแซงสถาบันตุลาการหรือไม่ อย่างไรนั้น ท่านต้องตอบเอาเอง

ทำไมประกาศ คปค. ฉบับที่ 3 จึงกำหนดให้ “ ศาลทั้งหลาย นอกจากศาลรัฐธรรมนูญคงมีอำนาจในการพิจารณาพิพากษาอรรถคดีตามบทกฎหมาย และตามประกาศคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข”

ในเมื่อคปค. ทำการรัฐประหารล้มล้างรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งของประชาชน ฉีกรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2540 ซึ่งมีที่มาจากสภาร่างรัฐธรรมนูญที่มาจากการเลือกตั้งของประชาชนแล้ว คปค. ได้ใช้อำนาจเป็นธรรมประกาศใช้รัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราว พ.ศ. 2549 แล้ว ทำไมยังต้อง “ สั่ง ” ให้ศาลพิจารณาพิพากษาอรรถคดีตามประกาศ คปค. อีกด้วย หรือว่าสถานะของ คปค. และคำสั่งของ คปค.อยู่ “ เหนือ ” ตัวบทกฎหมาย

ถ้า คปค.หรือ คมช. ต้องการดำเนินการบางสิ่งบางอย่างที่ขัดต่อตัวบทกฎหมาย ศาลจะต้องเชื่อฟังใคร เชื่อตัวบทกฎหมายหรือเชื่อ คมช. ในเมื่อมีประกาศ คปค. ฉบับที่ 3 ค้ำอยู่ ตัวบทกฎหมาย หรือ คำสั่งคปค.อันใดยิ่งใหญ่กว่า ศาลจะยึดถือข้อใดหรือวิธีการเขียนแบบนี้ พาลให้ใครบางคนเข้าใจว่า ตัวเองสั่งศาลได้ แล้ว ถ้าเป็นเช่นนั้นจริง ความเป็นธรรมในบ้านเมืองจะมีอยู่หรือ ชาวบ้านจะพึ่งใคร เหลือใครเป็นที่พึ่ง


ทำไม คปค.ต้องแต่งตั้ง “ จรัญ ภักดีธนากุล ” เป็นปลัดกระทรวงยุติธรรม ถ้า คปค.ไม่ได้ประชุมและมีมติแต่งตั้งนายจรัญ ภักดีธนากุล เป็นปลัดกระทรวงยุติธรรม นายจรัญจะยังคงได้รับตำแหน่งที่มีอำนาจล้นเหลือนั้นหรือไม่

ทำไม คปค. ไม่ก้าวล่วงเข้าไปแต่งตั้งปลัดกระทรวงหรือข้าราชการระดับสูงของกระทรวงอื่นๆ ทำไมต้องเป็นกระทรวงยุติธรรม หรือว่าเพื่ออำนวยความสะดวกกระบวนการสร้างความชอบธรรมในการทำรัฐประหาร และเพื่อช่วยสานฝันตามแผนบันได 4 ขั้น ของหัวหน้าคณะ คมช.


ทำไมอดีตประธานศาลฎีกาที่เพิ่งเกษียณอายุในเดือนกันยายน 2549 รับเข้าเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม

ในรัฐบาลที่แต่งตั้งโดยคณะรัฐประหาร ประมุขสูงสุดของฝ่ายตุลาการคือประธานศาลฎีกาซึ่งมีฐานะเท่าเทียมประมุขของฝ่ายบริหารคือนายกรัฐมนตรี และประมุขของฝ่ายนิติบัญญัติ คือ ประธานสภาผู้แทนราษฎรไม่ใช่หรือ แม้ว่าอำนาจของประธานศาลฎีกาจะไม่ “ ล้นฟ้าเหมือนอำนาจนายกรัฐมนตรี หรือ ผู้นำกองทัพ ” แต่ประธานศาลฎีกาก็เป็นเสาหลักของหนึ่งในอำนาจอธิปไตยเสมอมามิใช่หรือ

ประมุขของฝ่ายตุลาการเคยเข้ามาช่วยวิกฤตบ้านเมืองโดยรับตำแหน่งนายกรัฐมนตรีอย่างท่านศาสตราจารย์สัญญา ธรรมศักดิ์

ขณะนี้เกิดอะไรขึ้นทำไมประมุขสูงสุดของตุลาการกลับกลายเป็นแขนขาของประมุขฝ่ายบริหาร

ในประวัติศาสตร์วงการตุลาการไทยไม่เคยมีประมุขตุลาการคนใดที่เมื่อเกษียณอายุแล้ว กระโจนเข้าสู่วงการเมืองโดยยอมลดตำแหน่งและสถานะของประมุขตุลาการลงเป็นเจ้าหน้าที่คนหนึ่งของฝ่ายบริหาร


ทำไมต้องมีการต่ออายุให้นายปัญญา ถนอมรอด ประธานศาลฎีกาและนายอักขราทร จุฬารัตน์ ประธานศาลปกครองสูงสุดต่อไปอีก 9 ปี ในตำแหน่งประธานและรองประธานตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ

ตำแหน่งผู้พิพากษาเป็นการปฏิบัติหน้าที่พิจารณาพิพากษาอรรถคดีในพระปรมาภิไธยพระมหากษัตริย์ การวางตน การดำรงชีพ ล้วนต้องยึดมั่นในคุณธรรม ความเป็นธรรม และกฎหมายยิ่งกว่าลาภสักการะใดๆ

ไม่เคยมีในนิติประเพณีของไทย ที่มีการต่ออายุตุลาการด้วยอำนาจเผด็จการ ในนิติประเพณีที่ดำรงกันสืบมา เมื่อผู้พิพากษาเกษียณอายุก็ยังคงดำรงศักดิ์ศรี และเกียรติภูมิของสถาบันตุลาการสืบไป แม้ในภายหลังจะมีการแก้กฎหมายเพียงให้ผู้พิพากษาที่ครบเกษียณอายุ หากยินดีจะปฏิบัติหน้าที่ต่อไปก็เป็นการช่วยราชการในฐานะพิพากษาอาวุโส เพื่อช่วยดูแลงานพิพากษาอรรถคดี โดยไม่มุ่งเน้นไปที่ยศศักดิ์หรือลาภสักการะ

แต่ทำไมมีการนำเรื่องการต่ออายุตุลาการ 2 ท่านนี้ ใส่ไว้ในรัฐธรรมนูญ แต่กลับไม่เปิดเผย ชี้แจงให้สาธารณชนทราบ

ทำไมจึงมีการหมกเม็ดเรื่องการต่ออายุไว้ในร่างรัฐธรรมนูญฯ ฉบับนี้ ทั้งๆ ที่ในเวลาที่เสนอนั้นประชาชนแสดงความคิดเห็นไม่เคยมีการนำเสนอประเด็นนี้มาก่อน

ในฐานะคนไทยที่มีความเชื่อมั่นและเคารพในเกียรติภูมิและความสง่างามของสถาบันตุลาการ เหตุการณ์เช่นนี้เกิดขึ้นได้อย่างไร

ข้อเท็จจริงเหล่านี้ ใครจะตอบคำถาม ใครจะให้แสงสว่าง ใครจะชี้ทางให้เราไปพ้นจากยุคมืดของ
อธรรมาธิปไตยในอุ้งมือเผด็จการ



Create Date : 07 สิงหาคม 2550
Last Update : 7 สิงหาคม 2550 23:10:57 น.
Counter : 451 Pageviews.

1 comments
  
การเมืองมักมีคนอยู่สองประเภท จิ้งจอก กับราชสีห์ ปัจจุบันมีคนอีกหนึ่งประเภทที่เกิดขึ้นมาคือหนู
โดย: อาจารย์มารบูรพา วันที่: 23 สิงหาคม 2550 เวลา:11:25:53 น.
ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
 *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

Vision-focus.BlogGang.com

thipch
Location :
  

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]

บทความทั้งหมด