5 วิธีรักษาโรคออฟฟิศซินโดรม


5 วิธีรักษาโรคออฟฟิศซินโดรม


เชื่อว่าสิ่งหนึ่งที่ใครหลายคนต้องเผชิญหน้าในวัยทำงาน สำหรับผู้ที่นั่งทำงานอยู่ในออฟฟิศ หรือต้องนั่งหน้าคอมเป็นเวลานาน ๆ ที่ทำเอาปวดกล้ามเนื้อบริเวณคอ บ่า ไหล่ หลังและอาจจะลามมาจนถึงบริเวณศีรษะ บางคนมีอาการปวดแบบเฉียบพลันและบางคนก็ปวดแบบเรื้อรัง แน่นอนว่าอาการปวดเหล่านี้เกิดขึ้นจากการที่กล้ามเนื้อมัดเดิมมีการเกร็งตัวเป็นเวลาต่อเนื่อง หรือภาวะอาการออฟฟิศซินโดรมนั่นเอง หากเราปล่อยปละละเลยอาจจะกลายเป็นผลร้ายต่อสุขภาพได้ ในบทความนี้เราจะมาพูดถึง 5 วิธีการรักษาโรคออฟฟิศซินโดรมที่ได้ผลที่สุด มาดูกันว่าวิธีไหนที่น่าสนใจบ้าง?

5 วิธีการรักษาโรคออฟฟิศซินโดรมที่ได้ผลที่สุด
  1. รักษาด้วยการนวดออฟฟิศซินโดรม
    วิธีนวด office syndrome นี้เหมาะสำหรับการบรรเทาอาการปวดที่ไม่รุนแรงมาก โดยจะใช้วิธีการลูบ บีบ คลึง กดจุด เคาะ ทุบ หรือดึงตามสาเหตุและบริเวณที่ปวด ช่วยให้กล้ามเนื้อที่เกร็งตัวลดความตึงลง บรรเทาอาการปวด กระตุ้นการไหลเวียนของเลือด
  2. รักษาด้วยการฝังเข็ม
    การฝังเข็มช่วยรักษาโรคได้มากถึง 58 โรค (รับรองโดยองค์การอนามัยโลก) ซึ่งรวมไปถึงโรคออฟฟิศซินโดรม อาการปวดคอ บ่า ไหล่ หลังและไมเกรน โดยจะใช้หลักการตามศาสตร์การแพทย์แผนจีน หรือการแพทย์แผนตะวันตกเพื่อกระตุ้นให้เลือดไหลเวียนได้ดีขึ้น การฝังเข็มจะช่วยให้กล้ามเนื้อคลายตัว ไม่เป็นผังผืด
  3. รักษาด้วยการทำช็อคเวฟ
    ช็อคเวฟ คือ การใช้พลังงานจากคลื่นกระแทก หรือ Shock Wave เป็นการใช้พลังงานสูงที่สามารถยิงลงไปได้ลึกถึงระดับกล้ามเนื้อชั้นลึก มากกว่าการกดด้วยมือ หรือเครื่องมือที่ใช้คลื่นอื่น ๆ โดยหลักการทำงานของช็อคเวฟ จะกระตุ้นเป็นจังหวะอย่างแม่นยำ ซึ่งจะทำให้กล้ามเนื้อ กระดูกและเส้นเอ็นเกิดอาการบาดเจ็บ จากนั้นร่างกายจะทำการสร้างเนื้อเยื่อและเรียงตัวใหม่ ทำให้อาการบาดเจ็บหายได้เร็วขึ้นและช่วยลดอาการเจ็บปวดจากออฟฟิศซินโดรมได้อย่างมีประสิทธิภาพ อีกทั้งยังไม่ต้องไปรักษาบ่อย ๆ เนื่องจากเป็นกระบวนการซ่อมแซมตามธรรมชาติ
  4. รักษาด้วยการบำบัด ฟื้นฟูร่างกาย
    การรักษาโดยใช้เครื่องมือทางกายภาพ บำบัดร่างกายให้เหมาะสมตามบริเวณที่ปวด เช่น เครื่องดึงคอ การทำท่ากายบริหาร การฝึกหายใจและผ่อนคลายกล้ามเนื้อ เป็นต้น
  5. รักษาด้วยการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม
    เช่น การปรับเปลี่ยนท่านั่งทำงาน การปรับเปลี่ยนอุปกรณ์เครื่องใช้ในที่ทำงานให้เหมาะสม การทำกายบริหาร ยืดเหยียด หรือทำการเปลี่ยนอิริยาบถขณะทำงาน การออกกำลังกายเป็นประจำสม่ำเสมอ เป็นต้น สิ่งเหล่านี้มีส่วนช่วยทำให้อาการเจ็บปวดจากออฟฟิศซินโดรมลดลงได้

สรุปเรื่องการรักษาอาการออฟฟิศซินโดรม

การรักษาโรคออฟฟิศซินโดรมที่ได้ผลดีที่สุด จะต้องได้รับความร่วมมือจากตัวผู้เข้ารับการศึกษาเป็นหลัก เพราะโรคนี้สามารถกลับมาเป็นซ้ำได้ ดังนั้นจะอาจจะต้องมีการรักษาร่วมกันหลายทาง เพื่อให้ผลผลัพธ์ดีขึ้น ส่วนจะได้รับการรักษาด้วยวิธีไหนบ้างนั้น ควรทำการปรึกษาแพทย์ที่มีประสบการณ์ในการรักษา เพื่อวางแผนการรักษาให้เหมาะสมกับสาเหตุ อาการและระดับความเจ็บปวดของคุณ
 



Create Date : 08 สิงหาคม 2566
Last Update : 11 ตุลาคม 2566 22:39:06 น.
Counter : 286 Pageviews.

0 comments
ชื่อ :
Comment :
 *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

Thitipongd.BlogGang.com

สมาชิกหมายเลข 6697938
Location :
  

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]

บทความทั้งหมด