การเปลี่ยนนามสกุลหลังแต่งงาน Q: ดิฉันแต่งงานกับสามีต่างชาติ แต่ยังไม่ได้เปลี่ยนนามสกุลหลังแต่งงาน จำเป็นไหมคะ มีข้อดีข้อเสียอย่างไรบ้าง A: ถ้าคุณจดทะเบียนสมรสในประเทศไทย เวลาที่ไปจดทะเบียน คุณสามารถแจ้งต่อเจ้าพนักงานว่า คุณมีความประสงค์ จะใช้นามสกุลเดิม ทั้งนี้คุณ ต้องเปลี่ยนคำนำหน้าชื่อเป็นนาง ในบัตรประชาชน และทะเบียนบ้าน แต่ถ้ายังไม่ต้องการเปลี่ยน ก็ยังสามารถ ใช้นางสาวไปก่อนได้ แต่ถ้าเกิดหย่ากันขึ้นมาเมื่อไหร่ คุณต้องไปเปลี่ยนคำนำหน้าชื่อ เป็นนางทันที การเปลี่ยนไปใช้นามสกุลสามี หรือไม่เปลี่ยน ไม่มีผลต่อการขอวีซ่าคู่สมรส เพราะกฏหมายไทยเองก็ยินยอม ให้ฝ่ายหญิงใช้นามสกุลเดิม หรือใช้นามสกุลสามีก็ได้ ถ้าคุณจดทะเบียนสมรส ในต่างประเทศ คุณไม่จำเป็นต้อง ไปเปลี่ยนเป็น นามสกุลสามี เพราะในหลายๆ ประเทศ เช่นอเมริกา กฏหมายยินยอม ให้ฝ่ายหญิง ใช้นามสกุลเดิม หรือใช้นามสกุลสามีก็ได้ ฉนั้น คุณสามารถเลือกได้ ยกเว้นในกรณีที่ ประเทศ ที่คุณไปอยู่นั้น มีกฏบังคับว่า คุณต้องเลือกถือสัญชาติใดสัญชาติหนึ่ง ไม่ยอมให้ถือสองสัญชาติ ทางที่ดีก็คือใช้นามสกุลเดิม ในเอกสารของไทย เช่น บัตรประชาชน และพาสปอร์ต ส่วนจะทำใบขับขี่ เปิดบัญชีธนาคาร ในต่างประเทศ เป็นนามสกุลสามี วิธีนี้จะทำให้คุณ สามารถทำนิติกรรมต่างๆ ในประเทศไทยได้ด้วยตนเอง ไม่ต้องให้สามี ไปเซ็นยินยอม หรือเซ็นรับรอง ว่าเป็นมรดก เป็นสินเดิม ไม่ใช่สินสมรส เช่น การซื้อและโอน กรรมสิทธิ์ บ้านและที่ดิน ฯลฯ กรณีที่คุณทำกรีนการ์ดเป็นนามสกุลสามี แต่ยังถือพาสปอร์ตไทย เป็นชื่อสกุลเดิม บางคนเกรงว่าจะเป็นปัญหาเวลาเดินทาง ตรงนี้ไม่ต้องห่วงค่ะ คุณซื้อตั๋วเครื่องบิน เป็นชื่อเดียวกับพาสปอร์ต แล้วก็พกสำเนาทะเบียนสมรส ติดกระเป๋าไปด้วย ถ้าโดนถาม ก็เอาสำเนาทะเบียนสมรส หรือกรีนการ์ดให้ดู เป็นการยืนยัน ว่าเป็นคนคนเดียวกัน เท่านี้ก็จบ เอาไว้เวลาคุณเป็น ซิติเซ่นแล้ว ค่อยทำพาสปอร์ตใหม่ เป็นนามสกุลสามี มีคนสงสัยว่า ทำไมถึงแนะนำให้ใช้นามสกุลเดิม ถ้าคุณจดทะเบียนสมรส ในต่างประเทศ สถานภาพทางกฏหมาย ในประเทศไทย ก็คือคุณยังเป็นโสด ตรงนี้ดีที่สุดแล้ว อย่าไปทำให้อะไรๆ มันยุ่งยากโดยไม่จำเป็นเลยค่ะ ในต่างประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในอเมริกา สถิติการหย่าร้าง สูงถึง 52% เพระฉนั้น โอกาสที่คุณจะอยู่กินกัน ไปจนแก่ ฉลองครบรอบแต่งงานปีที่ 25 มีไม่ถึงครึ่ง หลายๆ คนเอวังภายในปีเดียวหรือสองปี การที่เอกสารต่างๆ ยังเป็นชื่อสกุลเดิม มีข้อดีตรงที่คุณไม่ต้องตามไปเปลี่ยน เอกสารทุกอย่างที่มี การเปลี่ยนชื่อในเอกสารต่างๆ ต้องเสีียค่าใช้จ่ายทั้งนั้น และคุณยังสามารถ ทำนิติกรรมหลายๆ อย่าง ได้ด้วยตนเอง ในกรณีที่เลิกกัน โดยไม่ได้หย่า หรือสามีไม่ยอมหย่า แต่ต่างคนต่างอยู่คนละประทศ ถ้าคุณเป็นนาง และ ใช้นามสกุลสามี การทำนิติกรรมต่างๆ จะยุ่งยากกว่ามากค่ะ เรื่องจริงคือ มีน้องคนไทย ลงทุนโทรทางไกลมาปรึกษา เพราะจะไปโอนที่ดิน พอเจ้าหน้าที่กรมที่ดิน เห็นนามสกุลเท่านั้น บอกทำให้ไม่่ได้ทันที โดยไม่ฟังอะไรทั้งนั้น ดิฉันต้องส่งสำเนา พรบ สัญชาติให้น้องเค้า ถือไปให้เจ้าหน้าที่อ่าน ทุลักทุเล กว่าจะเสร็จ บางคนบอกว่า ไม่เห็นมีปัญหาอะไร ก็จริงค่ะ ถ้าคุณไปเจอเจ้าหน้าที่ที่รู้งาน รู้ระเบียบ ไม่อคติ และรู้จักใช้สมองทำงาน แต่หลายคนไม่โชคดีอย่างนั้น ที่หนักกว่านั้นก็คือ มีน้องคนนึง มาปรึกษาแทนเพื่อน เนื่องจากเพื่อนแต่งงาน และย้ายไปอยู่ต่างประเทศ หลายปีแล้ว ทุกคนใน ตำบลนั้นรู้หมด วันนึง ที่บ้านได้รับจดหมาย ลงนามโดยผู้ว่าราชการจังหวัด แจ้งว่าให้เจ้าตัว ไปทำเรื่องขอสละสัญชาติ ทางบ้าน ก็ตกใจว่า มันเรื่องอะไรกัน เนื่องจากเรื่องนี้เกิดขึ้น หลังจากที่ พรบ การถือสองสััญชาติประกาศใช้ ดังนั้นจึงประมาณได้ว่า คงมีคนหมั่นไส้ครอบครัวนี้ เลยไปกระซิบให้ผู้ใหญ่ ออกหนังสือ กอร์ปกับที่บ้าน ก็ไม่มีใครรู้กฏหมาย หรือมีการศึกษาสูงๆ เลย ดิฉันก็ได้แค่บอกให้อยู่เฉยๆ ไม่ต้องทำอะไร เพราะกฏหมายไทย ไม่ได้บังคับว่า คุณต้องสละสัญชาติ ก็ได้แต่บอกให้ stay low profile แค่นั้นค่ะ © 2007 Lawanwadee ตอนแรกก็ว่าจะเปลี่ยนนามสกุลตามสามีเหมือนกัน แต่ถ้าไปทำเรืองที่ไทยยุ่งยากจริงๆ
โดย: takom
![]() ![]() คือดิฉันเเต่งงานกับคนอเมริกัน เราจดทะเบียนสมรสกันที่เมืองไทย ดิฉันเปลี่ยนนามสกุลมาใช้นามสกุลเค้า ตอนนี้ดิฉันก็ยังอยู่ที่เมืองไทย (ถ้ารู้ก่อนว่าจะยุ่งขนาดนี้ดิฉันก็คงไม่เปลี่ยน) ดิฉันกำลังจะซื้อที่ดิน ประมาณ 1 ไร่ จะโอนกันสิ้นเดือนนี้ โอนในลักษณะเครือญาติกันนะค่ะ เพราะซื้อที่จากน้าสาว ไม่ทราบว่าจะมีปัญหาอะไรมั้ยค่ะ คือเคยได้ยินว่าจะต้องมีหนังสือกรรมสิทธิอะไรสักอย่างนี้เเหละค่ะ เพราะเงินที่ซื้อก็เงินของสามีนะค่ะ เเล้วสามีดิฉันก็บินมาด้วยค่ะ ช่วยเเนะนำด้วยค่ะว่าดิฉันจะต้องทำอย่างไรมั้ง โดย: เลิฟยูจัง
![]() คุณเลิฟยูจัง ดิฉันไม่ถนัดด้านกฎหมายที่ดินเท่าไรนัก นะคะ
แต่อยากจะขอแนะนำ ว่า ถ้าคุณอยู่เมืองไทย คุณสามารถ สอบถามความรู้ด้านกฎหมาย ในส่วนของกฎหมายที่ดิน และการถือครอง หรือสิทธิต่างๆ ของคุณได้ นะคะ ซึ่งการให้คำแนะนำด้านกฎหมายที่ถูกต้องนั้น ต้องขึ้นอยู่กับกรณี ๆ ไปของแต่ละบุคคลด้วย คุณสามารถโทรศัพท์สอบถาม ไปได้ที่สภาทนายความ ในประเทศไทย ได้ค่ะ ซึ่งจะมีฝ่ายกฎหมายให้คำปรึกษาฟรีอยู่ค่ะ หรือจะถามที่สภาทนายความจังหวัดก็ได้ แต่โดยส่วนตัว ดิฉันคิดว่าที่สภาทนายความกรุงเทพจะมีความชำนาญกว่านะคะ และได้ทราบมาว่า ที่สำนักงานอัยการสูงสุด ก็มีหน่อยงานช่วยเหลือด้านกฎหมายให้กับ หญิงไทยที่ไปอยู่ต่างประเทศ ลองเข้าไปที่เวปไซด์ ของกรมการกงสุลหรือสำนักงานอัยการสูงสุดดูนะคะ โดย: valika
![]() ซึ่งตอนนี้ในส่วนของการให้ความช่วยเหลือหรือให้คำปรึกษากับ หญิงไทยที่ไปอยู่ต่างประเทศ นั้น ดิฉันกำลังติดตามข้อมูลอยู่ค่ะ ว่ามีข้อเท็จจริงแค่ไหน หรือติดต่อสอบถามได้อย่างไร
โดยส่วนตัวมีข้อสังเกตอยู่ข้อนึงค่ะ คือถ้าเราแต่งงานและจดทะเบียนสมรสกับชาวต่างชาติแล้ว ถึงจะเปลี่ยนนามสกุลตามสามีหรือไม่ แต่สถานะตามกฎหมายและในความเป็นจริงก็คือสมรสแล้ว และการทำนิติกรรมใดๆที่จำเป็นต้องให้สามีลงลายมือชื่อร่วมด้วยนั้น ย่อมเป็นเงี่อนไขสำคัญ แต่ถ้าไม่ได้จดทะเบียนสมรส นั่นอีกกรณีนะคะ และเมื่อจดทะเบียนสมรสแล้ว แต่แจ้งกับหน่วยงานของทางราชการที่เกี่ยวข้องว่า ไม่ได้สมรส หรือ ทำเสมือนไม่ได้สมรส เป็นการแจ้งความเท็จต่อพนักงานเจ้าหน้าที่หรือเปล่า หรือเป็นการปกปิดข้อเท็จจริงที่ควรแจ้งหรือเปล่า ลองหาข้อมูลดูก่อนนะคะ เพราะการปกปิดข้อเท็จจริงมีผลต่อการทำนิติกรรมสัญญาได้ และในส่วนการข้อมูลที่เป็นเท็จต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ตามกฎหมาย เป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญาเหมือนกันนะคะ อย่างไรก็ตามควรหาความรู้และข้อมูลให้ชัดเจนในแต่ละเรื่องที่จะดำเนินการก่อนนะคะ ด้วยความปรารถนาดีและเป็นห่วงค่ะ เพราะดิฉันก็กำลังหาข้อมูลอยู่เหมือนกันค่ะ ![]() โดย: valika
![]() (เพิ่มเติมค่ะ)อ้อ เรื่องราวของแต่ละเคส แต่ละกรณี ย่อมมีข้อแตกต่างกันนะคะ ลองปรึกษาแต่ละกรณีกับผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านก็น่าจะดีนะคะ
โดย: valika
![]() รบกวนหน่อยนะค่ะ คือตอนนี้มีเพื่อนชวนซื้อคอนโด แล้วขายต่อค่ะ พอดีีคิดว่ากลับเมืองไทยไปอยากลองทำค่ะ แต่ปัญหามีอยู่ว่า 1.เราแต่งานกับแต่งชาติแล้ว จดทะเบียนในต่างประเทศ ส่วนในไทยยังคงใช้นางสาว และไม่ได้แจ้งการจดทะเบียนสมรสในประเทศไทยค่ะ
2.อย่างนี้เราจะสามารถ ซื้่อ คอนโด โอนเป็นชื้อเรา แล้วก็ขาย ไปได้ใหมค่ะ รวบกวนผู้รู้หน่อยนะค่ะ โดย: yin (naynew1
![]() ดีค่ะ คุณ Lawanwadee ขอเข้ามาหาความรู้ด้วยคนนะคะ
พอดีกำลังหาข้อมูลด้านนี้อยู่น่ะค่ะ แต่ได้ปรึกษาหลายที่ดู ได้ข้อมูลดังที่แสดงความคิดเห็นไป เป็นความเข้าใจอีกมุมมองนึงน่ะค่ะ ในกรณีจดทะเบียนในประเทศไทยน่ะค่ะ อย่างไรขอคำชี้แนะด้วยนะคะ โดย: valika
![]() ขอบคุณค่า นี่ก็ไม่ได้เปลี่ยนค่ะ อาศัยว่าตัว initial นามสกุล ตัวเดียวกัีน อิอิ
![]() โดย: thaispicy
![]() เข้ามาอ่าน ขอความรู้ด้วยนะคะ โชคดีที่ยังไม่เปลื่ยนนามสกุล
โดย: Eye blue Busch
![]() |
บทความทั้งหมด
|