ทำความรู้จักกระเพาะอาหาร
ถ้าพูดถึง"กระเพาะอาหาร"แล้ว เชื่อว่าหลายๆคนคงนึกถึงภาพอาหารที่เรารับประทานเข้าไปใช่ไหมคะ นั่นเป็นเพราะกระเพาะอาหารนั้นเป็นอวัยวะสำคัญอย่างหนึ่งในระบบย่อยอาหาร (digestive system) หน้าที่หลักๆของมันก็คือช่วยบดย่อยอาหารที่เรารับประทานก่อนส่งไปย่อยและดูดซึมต่อที่ลำไส้เล็กและลำไส้ใหญ่ ไม่ว่าก่อนหน้านั้นอาหารที่เราทานจะหน้าตาน่ากินแค่ไหน แต่สุดท้ายเมื่อผ่านกระเพาะอาหารแล้ว มันก็จะถูกบดรวมกันกลายเป็นก้อนเละๆที่เรียกว่า chyme ดังนั้นเราลองมาทำความรู้จักกับกระเพาะอาหารกันดีกว่าค่ะ



กระเพาะอาหารเป็นอวัยวะที่ตั้งอยู่บริเวณซ้ายบนชองช่องท้อง โดยอยู่ระหว่างหลอดอาหารและลำไส้เล็ก สามารถหลั่งน้ำย่อยโปรตีนที่มีชื่อว่า protease และน้ำย่อยที่มีความเป็นกรดสูงชื่อ hydrochloric acid ออกมาย่อยอาหารที่เรารับประทานเข้าไปได้ โดยอาหารที่ถูกบดเคี้ยวจากปากและฟันซึ่งอยู่ในรูปของ bolus จะเคลื่อนตัวโดยอาศัยกระบวนการ peristalsis ของหลอดอาหารผ่านหูรูด esophagial sphincter ลงสู่กระเพาะอาหาร

การทำงานของกระเพาะอาหารเพื่อบดย่อยอาหารนั้นจะมีทั้งเชิงกลคืออาศัยการบีบรัดตัวของกล้ามเนื้อกระเพาะอาหาร และเชิงเคมีหรือการย่อยโดยน้ำย่อย จนในที่สุดก้อน bolus ก็จะถูกเปลี่ยนเป็น chyme แล้วส่งผ่านหูรูดที่ชื่อ pyloric sphincter ก่อนเคลื่อนตัวเพื่อไปย่อยและดูดซึมต่อที่ duodunum หรือลำไส้เล็กส่วนต้น



สำหรับน้ำย่อยในกระเพาะอาหารนั้นจะสามารถย่อยได้เฉพาะอาหารประเภทโปรตีน โดยกรดไฮโดรคลอริกจะมีหน้าที่เปลี่ยนน้ำย่อยโปรตีนที่ชื่อ pepsinogen และ prorennin ซึ่งยังไม่มีฤทธิ์ในการย่อยให้กลายเป็น pepsin และ rennin ตามลำดับ pepsin จะมีหน้าที่ย่อยโปรตีนให้กลายเป็น polypeptide ส่วน rennin นั้นมีหน้าที่ย่อยโปรตีนในนม 

ปกติแล้วในผู้ใหญ่ขณะท้องว่าง กระเพาะอาหารจะมีความจุอยู่ที่ประมาณ 45 ถึง 75 มิลลิลิตร แต่เมื่อรับประทานอาหารเข้าไปกระเพาะอาหารสามารถขยายตัวออกจนมีความจุได้มากถึง 3 ลิตรเลยทีเดียว โดยกระเพาะอาหารในทางกายวิภาคสามารถแบ่งออกเป็น 4 ส่วนด้วยกันได้แก่ 
  • cardia เป็นส่วนที่อยู่ติดกับหลอดอาหาร
  • fundus ส่วนโค้งบนของกระเพาะอาหาร
  • body หรือ corpus เป็นส่วนกลางของกระเพาะอาหาร มีพื้นที่ใหญ่ที่สุด
  • pylorus ส่วนล่างของกระเพาะอาหาร อยู่ติดกับลำไส้เล็กส่วนต้น



การทำงานของกระเพาะอาหารนั้นถูกควบคุมโดยระบบประสาทอัติโนวัตและฮอร์โมน ซึ่งฮอร์โมนที่สำคัญๆก็มีหลายตัวด้วยกันยกตัวอย่างเช่น gastrin หลั่งมาจากเซลล์ในกระเพาะอาหารที่มีชื่อว่า G-cell มีหน้าที่หลักคือเพิ่มการหลังกรดไฮโดคลอริกจาก parietal cell และ pepsinogen จาก chief cell และยังช่วยเพิ่มการเคลื่อนไหวของกระเพาะอาหารอีกด้วย gastrin สามารถถูกยับยั้งการหลั่งได้โดยฮอร์โมน somatostatin และที่ pH น้อยกว่า 4

สำหรับการดูดซึมนั้นแม้จะเป็นหน้าที่หลักของลำไส้เล็ก แต่กระเพาะอาหารก็สามารถดูดซึมสารอาหารบางอย่างได้ เช่นดูดซึมน้ำเมื่อร่างกายขาดน้ำ ยาบางชนิดอย่างแอสไพริน กรดอะมิโน คาเฟอีน และสามารถดูดซึมแอลกอฮอล์ได้เล็กน้อย

อ้างอิงข้อมูลจาก wikipedia


บทความแนะนำสำหรับคุณ




Create Date : 28 พฤษภาคม 2556
Last Update : 5 มิถุนายน 2556 23:23:34 น.
Counter : 2756 Pageviews.

1 comments
  
ขอบคุณบทความดีๆนะค่ะ ขออนุญาติฝากแชร์ลิงค์บทความดีๆด้วยค่ะ
บทความสาระน่ารู้เกี่ยวกับการลดน้ำหนัก หาอ่านได้จากที่นี่จ้า
//www.youslimxsshop.com/article
https://www.blogger.com/blogger.g?blogID=1999474640033013117#allposts
https://wordpress.com/posts/youslimxsshop.wordpress.com
โดย: myarticle (สมาชิกหมายเลข 4165347 ) วันที่: 8 มกราคม 2561 เวลา:10:38:57 น.
ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
 *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

Iqzaquezzs.BlogGang.com

Gushbell
Location :
จันทบุรี  Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ผู้ติดตามบล็อก : 16 คน [?]

บทความทั้งหมด