รู้จักวิถีไกลโคไลซิส (glycolysis) วันนี้ขอเขียน blog ที่เป็นการเป็นงานหน่อยดีกว่า ขุดเอาความรู้ที่ร่ำเรียนมานานมาเรียงร้อยเป็นบทความก่อนที่จะลืมไปเสียก่อน อิอิ :) ว่าด้วยเรื่องวิถีไกลโคไลซิสกันหน่อยค่ะ แค่คิดก็ชักจะปวดหัวปวดตับขึ้นมาตงิดๆแล้วสิ เพราะเจ้าวิถีนี้แม้ว่าเราจะคุ้นเคยและรู้จักมันเป็นอย่างดี แต่ถ้าจะให้นั่งนึกจริงๆว่าแต่ละขั้นตอนประกอบด้วยสารใดบ้าง มีเอนไซม์อะไรเป็นตัวเร่งก็คงต้องใช้เวลากันหน่อยละค่ะ T^T ![]() ทำความรู้จักวิถีไกลโคไลซิสแบบคร่าวๆ วิถีไกลโคไลซิสนั้น ก็คือวิถีการสลายน้ำตาลกลูโคสในร่างกายเราให้ได้เป็นพลังงานเพื่อนำไปใช้ในกิจกรรมต่างๆนั่นเอง ซึ่งเกิดขึ้นหลังจากที่ร่างกายย่อยและดูดซึมคาร์โบไฮเดรตทั้งหลายจนได้เป็นน้ำตาลกลูโคสลำเลียงผ่านกระแสเลือดไปยังเซลล์เรียบร้อยแล้ว เพราะฉะนั้นสรุปเลยนะคะว่าการสลายน้ำตาลกลูโคสเกิดขึ้นในเซลล์ค่ะ ว่าแต่.. เกิดขึ้นที่ไหนหว่า.. คำตอบก็คือเกิดที่ไซโทพลาซึมของเซลล์ค่ะ ซึ่งหลังจากผ่านกระบวนการต่างๆจนเสร็จสิ้นทุกขั้นตอนในไกลโคไลซิสแล้ว สิ่งที่ได้ก็คือพลังงาน ATP สำหรับนำไปใช้จ่าย และได้เป็นสารผลิตภัณฑ์เพื่อนำไปสลายและให้พลังงานในกระบวนการต่อไป ; ซึ่งเราจะยังไม่พูดถึงมันนะคะ เอาไว้ทีหลัง อิอิ ![]() มาเข้าสู่ขั้นตอนละเอียดๆกันดีกว่า เหอๆๆ พร้อมแล้วใช่ไหม! (สีแดง = เอนไซม์ที่ใช้เร่งปฏิกิริยานะคะ)
อธิบายเพิ่มเติมนะคะ glucose 1 โมเลกุลเมื่อถูกเปลี่ยนเป็น glyceraldehyde 3-phosphate และ dihydroxyacetone phosphate แล้ว dihydroxyacetone phosphate ก็จะต้องถูกเปลี่ยนกลับไปเป็น glyceraldehyde 3-phosphate อยู่ดี เท่ากับว่าเราได้ glyceraldehyde 3-phosphate 2 โมเลกุล และสุดท้ายก็จะถูกเปลี่ยนเป็น pyruvate ออกมา 2 โมเลกุลค่ะ คลิกเพื่อรับชมแผนผัง glycolysis อย่างละเอียด อ่านเพิ่มเติมได้ที่ wikipedia นะคะ :) บทความแนะนำสำหรับคุณ |
บทความทั้งหมด
|