39.2 พระสูตรหลักถัดไป คือสิวสูตร [พระสูตรที่ 102]
การสนทนาธรรมนี้ต่อเนื่องมาจาก
39.1 พระสูตรหลักถัดไป คือสิวสูตร [พระสูตรที่ 102]
//www.bloggang.com/mainblog.php?id=gravity-of-love&month=08-07-2014&group=4&gblog=54

ความคิดเห็นที่ 12
GravityOfLove, 7 กรกฎาคม 2557 เวลา 10:43 น.

             กรุณาอธิบายค่ะ
             ๑๐๔. เสรีสูตร
//84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=15&A=1837&Z=1903&bgc=honeydew&pagebreak=0

            เสรีเทพบุตรทูลเล่าเรื่องในอดีตของตนทำไมคะ
            ขอบพระคุณค่ะ

ความคิดเห็นที่ 13
ฐานาฐานะ, 7 กรกฎาคม 2557 เวลา 10:49 น.

GravityOfLove, 22 วินาทีที่แล้ว
              กรุณาอธิบายค่ะ
              ๑๐๔. เสรีสูตร
//84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=15&A=1837&Z=1903&bgc=honeydew&pagebreak=0

              เสรีเทพบุตรทูลเล่าเรื่องในอดีตของตนทำไมคะ
              อธิบายว่า สันนิษฐานว่า
              เสรีเทพบุตรทูลเล่าเรื่องของตน
              1. น่าจะเป็นอัธยาศัยอย่างนั้น
              2. เพื่อยืนยันพระพุทธดำรัสว่า
               จริงแท้ โดยมีกรณีของตนเป็นอุทาหรณ์.

ความคิดเห็นที่ 14
GravityOfLove, 7 กรกฎาคม 2557 เวลา 10:54 น.

เข้าใจแล้วค่ะ ขอบพระคุณค่ะ

ความคิดเห็นที่ 15
GravityOfLove, 7 กรกฎาคม 2557 เวลา 10:57 น.

             พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๕ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๗
             สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เทวปุตตสังยุต นานาติตถิยวรรคที่ ๓
.            ๑๐๔. เสรีสูตร ว่าด้วยเสรีเทพบุตร
//84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=15&A=1837&Z=1903&bgc=honeydew&pagebreak=0

             เสรีเทพบุตร กล่าวคาถาทูลถวายพระผู้มีพระภาคว่า
                          เทวดาและมนุษย์ทั้งสองพวก ต่างก็พอใจอาหารด้วยกันทั้งนั้น
                          (พอใจวิบากของการให้ทานในกาลก่อน เช่นได้อาหาร ด้วยการให้ทาน)
                          ผู้ที่ไม่พอใจอาหารชื่อว่ายักษ์โดยแท้ (คือผู้ตระหนี่)
             พระผู้มีพระภาคได้ตรัสตอบเสรีเทพบุตร ด้วยพระคาถาว่า
.                         ชนเหล่าใดมีใจผ่องใส ให้อาหารด้วยศรัทธา
.                         ย่อมมีวิบากเป็นสุขทั้งในโลกนี้และโลกหน้า
.                         ดังนั้นควรเปลื้องความเหนียวแน่น ครอบงำมลทิน (ความตระหนี่) ของใจ
.                          พึงให้ทาน เพราะบุญเท่านั้นย่อมเป็นที่พึ่งของเหล่าสัตว์ในโลกหน้า
             เสรีเทพบุตรทูลว่า ที่พระผู้มีพระภาคตรัสนั้น น่าอัศจรรย์ ไม่เคยมีมา และแจ่มแจ้ง
             เสรีเทพบุตรทูลเล่าเรื่องในอดีตชาติของตนว่า
             ตนเคยได้เป็นพระเจ้าแผ่นดิน มีนามว่าเสรี เป็นทายก (ผู้ให้ทาน) เป็นทานบดี
(เป็นนายของทาน คือผู้ที่ให้ทานด้วยของประณีตกว่าของที่ตนบริโภคเอง)
เป็นผู้กล่าวชมการให้ทาน
             ตนได้ให้ทานแก่สมณพราหมณ์ คนกำพร้า คนเดินทางไกล วณิพกและยาจก
ทั้งหลายที่ประตูทั้ง ๔
             ต่อมา พวกฝ่ายใน พวกกษัตริย์พระราชวงศ์ พวกพลกาย (ข้าราชการฝ่ายทหาร)
และพวกพราหมณ์คฤหบดี (ข้าราชการฝ่ายพลเรือน) พากันเข้าไปหาตนแล้วพูดปรารภขึ้นว่า
             พระองค์ทรงให้ทาน แต่พวกหม่อมฉันไม่ได้ให้ทานเลย เป็นการชอบที่พวก
หม่อมฉันจะได้อาศัยใต้ฝ่าละอองธุลีพระบาท ให้ทานและทำบุญบ้าง
             ตนจึงมอบประตูทั้ง ๔ ให้ชนกลุ่มนั้นไป ชนกลุ่มนั้นก็พากันให้ทานที่ประตูนั้นๆ
ทานของตนก็ลดไป เมื่อตนไม่ได้ให้ทานอย่างนี้แล้ว จึงให้นำรายได้กึ่งหนึ่งที่เกิดใน
ท้องถิ่นชนบทนอกๆ ออกไป ให้ทานต่อไป
             ตนจึงยังไม่ถึงที่สิ้นสุดแห่งบุญที่ได้บำเพ็ญไว้ แห่งกุศลที่ได้ก่อสร้างไว้
ตลอดกาลนานอย่างนี้ โดยที่จะมาคำนึงถึงว่า
             เท่านี้เป็นบุญพอแล้ว เท่านี้เป็นผลของบุญพอแล้ว หรือเท่านี้ที่เราพึงตั้งอยู่ใน
สามัคคีธรรม (คือพร้อมเพรียงร่วมทำบุญกับเขาพอแล้ว)
             เสรีเทพบุตรทูลอีกว่า ที่พระผู้มีพระภาคตรัสนั้น น่าอัศจรรย์ ไม่เคยมีมา และแจ่มแจ้ง

             อันนสูตรที่ ๓
//84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=15&A=934&Z=942
//www.bloggang.com/mainblog.php?id=gravity-of-love&month=09-06-2014&group=4&gblog=25

----------------

             พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๕ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๗
             สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เทวปุตตสังยุต นานาติตถิยวรรคที่ ๓
.            ๑๐๕. ฆฏิการสูตรที่ ๔ ว่าด้วยฆฏิการเทพบุตร
//84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=15&A=1904&Z=1946&pagebreak=0

            ฆฏิการเทพบุตร กล่าวคาถาในสำนักพระผู้มีพระภาคว่า
                          ภิกษุ ๗ รูป ผู้เข้าถึงพรหมโลกชื่อว่าอวิหา (ชั้นของพระอนาคามี)
                          เป็นผู้หลุดพ้นแล้ว (เป็นพระอรหันต์แล้ว)
             พระผู้มีพระภาคตรัสถามว่า
                          ภิกษุเหล่านั้นคือผู้ใดบ้าง ผู้ละกายของมนุษย์ (ละสังโยชน์เบื้องต่ำ ๕)
                          แล้วก้าวล่วงเครื่องประกอบอันเป็นทิพย์ (ทิพยโยคะ)
                          (ละสังโยชน์เบื้องสูง ๕ เป็นพระอรหันต์)
             ฆฏิการเทพบุตรกราบทูลว่า
                          คือ ท่านอุปกะ ๑ ท่านผลคัณฑะ ๑ ท่านปุกกุสาติ ๑
                          ท่านภัททิยะ ๑ ท่านขัณฑเทวะ ๑ ท่านพาหุรัคคิ ๑ ท่านลิงคิยะ ๑
             พระผู้มีพระภาคตรัสถามว่า
                          ภิกษุเหล่านั้นรู้ทั่วถึงธรรมของใคร (ตรัสรู้) จึงได้บรรลุเป็นพระอรหันต์
             ฆฏิการเทพบุตรกราบทูลว่า
                          ผู้นั้นคือพระผู้มีพระภาค และธรรมนั้นในพระศาสนาของพระองค์เท่านั้น
             พระผู้มีพระภาคตรัสถามว่า
                          ท่านกล่าววาจาลึก รู้ได้ยาก ท่านรู้ทั่วถึงธรรมของใคร จึงกล่าววาจาเช่นนี้ได้
             ฆฏิการเทพบุตรกราบทูลว่า
                          เมื่อก่อนข้าพระองค์เป็นช่างหม้อ ทำหม้ออยู่ในเวภฬิงคชนบท
                          เป็นผู้เลี้ยงมารดาบิดา ได้เป็นอุบาสกของพระกัสสปพุทธเจ้า
                          เว้นจากเมถุนธรรม ประพฤติพรหมจรรย์ ไม่มีอามิส (เป็นพระอนาคามี)
                          ได้เคยเป็นคนร่วมบ้านกับพระองค์ ทั้งเคยได้เป็นสหายของพระองค์ในปางก่อน
                          (มาในฆฏิการสูตร) ข้าพระองค์รู้จักภิกษุ ๗ รูปเหล่านี้ ผู้หลุดพ้นแล้ว
             พระผู้มีพระภาคตรัสรับรองเรื่องในกาลก่อนที่ฆฏิการพรหมกล่าว ว่าเป็นความจริง
             พระสังคีติกาจารย์กล่าวว่า
                          สหายเก่าทั้งสอง ผู้มีตนอันอบรมแล้ว (ศึกษาจบแล้ว เป็นพระอเสขบุคคลแล้ว)
                          ทรงไว้ซึ่งสรีระมีในที่สุด (ดำรงอยู่ในสรีระสุดท้ายแล้ว ไม่เกิดอีก)
                          ได้มาพบกันด้วยอาการอย่างนี้
//84000.org/tipitaka/dic/d_seek.php?text=อวิหา&detail=on
//84000.org/tipitaka/dic/d_seek.php?text=สังโยชน์_10

             ฆฏิการสูตร พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๓
//84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=13&A=6596&Z=6824&pagebreak=0&bgc=honeydew
//www.bloggang.com/mainblog.php?id=gravity-of-love&month=13-12-2013&group=2&gblog=36
             ฆฏิกรสูตรที่ ๑๐ พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๕
//84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=15&A=1024&Z=1074&bgc=honeydew&pagebreak=0
//www.bloggang.com/mainblog.php?id=gravity-of-love&month=09-06-2014&group=4&gblog=27

ความคิดเห็นที่ 16
ฐานาฐานะ, 10 กรกฎาคม 2557 เวลา 20:44 น.

GravityOfLove, วันจันทร์ เวลา 10:57 น.
...
ฆฏิกรสูตรที่ ๑๐ พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๕
//84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=15&A=1024&Z=1074&bgc=honeydew&pagebreak=0
//www.bloggang.com/mainblog.php?id=gravity-of-love&month=09-06-2014&group=4&gblog=27

              สรุปความได้ดีครับ

ความคิดเห็นที่ 17
ฐานาฐานะ, 10 กรกฎาคม 2557 เวลา 20:49 น.

              คำถามในพระสูตรทั้งสอง
              ๑๐๔. เสรีสูตรที่ ๓
//84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=15&A=1837&Z=1903
              ๑๐๕. ฆฏิการสูตรที่ ๔
//84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=15&A=1904&Z=1946

              1. เมื่อศึกษาแล้วได้อะไรบ้าง.
              2. มีความเห็นอย่างไรต่อเนื้อความในประโยคว่า
              หม่อมฉันจึงยังไม่ถึงที่สุดแห่งบุญที่ได้บำเพ็ญไว้ แห่งกุศลที่ได้
ก่อสร้างไว้ตลอดกาลนานอย่างนี้ โดยที่จะมาคำนึงถึงว่า เท่านี้เป็นบุญพอแล้ว
เท่านี้เป็นผลของบุญพอแล้ว หรือเท่านี้ที่เราพึงตั้งอยู่ในสามัคคีธรรม
(คือพร้อมเพรียงร่วมทำบุญกับเขาพอแล้ว) ฯ

ความคิดเห็นที่ 18
GravityOfLove, 10 กรกฎาคม 2557 เวลา 22:53 น.

              ตอบคำถามในพระสูตรทั้งสอง
              1. เมื่อศึกษาแล้วได้อะไรบ้าง.
              ๑๐๔. เสรีสูตรที่ ๓
//84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=15&A=1837&Z=1903

             ๑. พระผู้มีพระภาคตรัสว่า
               ชนเหล่าใดมีใจผ่องใส ให้ข้าวและน้ำด้วยศรัทธา
               ข้าวและน้ำนั้นแล ย่อมพะนอเขาทั้งในโลกนี้และโลกหน้า
               เพราะเหตุนั้น สมควรเปลื้องความเหนียวแน่นเสีย
               ครอบงำมลทินของใจเสีย พึงให้ทาน บุญเท่านั้นย่อมเป็นที่พึ่ง
               ของเหล่าสัตว์ในโลกหน้า
             ๒. เสรีเทพบุตรเคยเป็นพระเจ้าแผ่นดิน ได้ให้ทานที่ประตูทั้ง ๔
ต่อมามีคนมาปรารภทูลขอว่าพวกตนอยากทำทานบ้าง กษัตริย์เสรีจึงทรงยกประตูเมืองทั้ง ๔
แก่ชนพวกนั้นไปทำการให้ทาน กษัตริย์เสรีจึงทรงให้ทานจากรายได้ในชนบทแทน
ได้ทำทานต่อไปตลอด ๘๐,๐๐๐ ปี
             ๓. ทายโก (ทายก) แปลว่า ผู้ให้ทานเป็นปกติ
             ผู้ใดบริโภคของอร่อยด้วยตนเอง และให้ของไม่อร่อยแก่คนอื่น
ผู้นั้นชื่อว่าเป็นทาสแห่งไทยธรรม กล่าวคือทาสให้ทาน (ทาสทาน)
             ผู้ใดบริโภคของใดด้วยตนเองให้ของนั้นนั่นแหละ
ผู้นั้นชื่อว่าเป็นสหายให้ทาน (สหายทาน)
             ผู้ใดดำรงชีวิตด้วยของนั้นใดด้วยตนเอง และให้ของอร่อยแก่ผู้อื่น
ผู้นั้นชื่อว่าเป็นเจ้า เป็นใหญ่ เป็นนายให้ทาน (ทานปติ/ทานบดี)
             ๔. ผู้ถือบวชชื่อว่าสมณะ
             ผู้มีปกติทูลว่าผู้เจริญ ชื่อว่าพราหมณ์ แต่สมณพราหมณ์ที่ว่านี้
ไม่ได้ในสมณพราหมณ์ผู้สงบบาปและผู้ลอยบาป
             คนเข็ญใจ คนยากจนมีคนตาบอด คนง่อยเป็นต้น ชื่อว่ากปณะ.
             คนกำพร้า คนเดินทาง ชื่อว่าอัทธิกะ.
             คนเหล่าใดเที่ยวสรรเสริญทานโดยนัยว่า ให้ทานที่น่าปรารถนา
น่าใคร่ น่าพอใจ ให้ตามกาลให้ทานที่ไม่มีโทษ ทำจิตให้ผ่องใส
ท่านผู้เจริญก็จะไปพรหมโลกดังนี้เป็นต้น ชนเหล่านั้น ชื่อว่าวณิพก.
             ชนเหล่าใดกล่าวว่า โปรดให้สักฟายมือเถิด โปรดให้สักขันจอกเกิด
ดังนี้เป็นต้น เที่ยวขอไป ชนเหล่านั้นชื่อว่ายาจก.
...................
              ๑๐๕. ฆฏิการสูตรที่ ๔
//84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=15&A=1904&Z=1946

             ๑. ฆฏิการพรหมกราบทูลพระผู้มีพระภาคถึงภิกษุ ๗ รูป ผู้เข้าถึง อวิหาพรหมโลก
(พระอนาคามี) ได้บรรลุเป็นพระอรหันต์แล้ว
             ๒. ในอดีตกาล (เรื่องในฆฎิการสูตร) พระโพธิสัตว์คือโชติปาลมาณพ
เป็นเพื่อนกับฆฏิการะช่างหม้อๆ ได้เป็นพระอนาคามีในสมัยพระกัสสปพุทธเจ้า
             ในพระสูตรนี้ ช่างหม้อผู้นั้น (ฆฏิการพรหม) เป็นพระอรหันต์แล้ว
------------
             2. มีความเห็นอย่างไรต่อเนื้อความในประโยคว่า ...
             มีความเห็นว่า เมื่อยังไม่ถึงที่สุดแห่งทุกข์ ก็จงเพียรพยายามต่อไป
ไม่คิดว่า เท่านี้เป็นอันพอแล้ว
             ทำให้นึกถึงคำว่า อุปัญญาตธรรม ๒
             [65] อุปัญญาตธรรม 2 (ธรรมที่พระพุทธเจ้าได้ทรงปฏิบัติเห็นคุณประจักษ์กับพระองค์เอง คือ พระองค์ได้ทรงอาศัยธรรม 2 อย่างนี้ดำเนินอริยมรรคจนบรรลุจุดหมายสูงสุด คือ สัมมาสัมโพธิญาณ — two virtues realized or ascertained by the Buddha himself)
             1. อสนฺตุฏฺฐิตา กุสเลสุ ธมฺเมสุ (ความไม่สันโดษในกุศลธรรม, ความไม่รู้อิ่มไม่รู้พอในการสร้างความดีและสิ่งที่ดี — discontent in moral states; discontent with good achievements)
             2. อปฺปฏิวาณิตา ปธานสฺมึ (ความไม่ระย่อในการพากเพียร, การเพียรพยายามก้าวหน้าเรื่อยไปไม่ยอมถอยหลัง — perseverance in exertion; unfaltering effort)
//84000.org/tipitaka/dic/d_seek.php?text=อุปัญญาตธรรม_2

             และทำให้นึกถึงกระทู้ //pantip.com/topic/31076204

ความคิดเห็นที่ 19
ฐานาฐานะ, 11 กรกฎาคม 2557 เวลา 09:57 น.

GravityOfLove, 11 ชั่วโมงที่แล้ว
...
10:53 PM 7/10/2014
10:54 PM 7/10/2014

             ตอบคำถามได้ดีครับ.

             ๓. ทายโก (ทายก) แปลว่า ผู้ให้ทานเป็นปกติ
             ผู้ใดบริโภคของอร่อยด้วยตนเอง และให้ของไม่อร่อยแก่คนอื่น
ผู้นั้นชื่อว่าเป็นทาสแห่งไทยธรรม กล่าวคือทาสให้ทาน (ทาสทาน)
             ผู้ใดบริโภคของใดด้วยตนเองให้ของนั้นนั่นแหละ
ผู้นั้นชื่อว่าเป็นสหายให้ทาน (สหายทาน)
             ผู้ใดดำรงชีวิตด้วยของนั้นใดด้วยตนเอง และให้ของอร่อยแก่ผู้อื่น
ผู้นั้นชื่อว่าเป็นเจ้า เป็นใหญ่ เป็นนายให้ทาน (ทานปติ/ทานบดี)
- - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - -

             ผมมักจะจำแบบสลับกัน เพื่อช่วยจำ คือ
             - ทาสให้ทาน (ทาสทาน)
             ผมจะจดจำเป็นทานที่ให้แก่ทาส ซึ่งมักจะเป็นของไม่ประณีต
เพราะเหตุว่า ทาสมักมีอานุภาพน้อย (ต่อนาย ของจึงไม่ประณีต)
             - สหายให้ทาน (สหายทาน)
             ผมจะจดจำเป็นทานที่ให้แก่สหาย เพราะสหายเสมอกัน
จึงให้ของที่เสมอกัน คือบริโภคอย่างไร ก็ให้ผู้เสมอกันอย่างนั้น
             - นายให้ทาน (ทานปติ/ทานบดี)
             ผมจะจดจำเป็นทานที่ให้แก่ผู้เป็นนาย หรือผู้มีอานุภาพมาก
เพราะเหตุที่ผู้รับมีอานุภาพมาก จึงให้ของที่ประณีต แม้กว่าที่ตนเองบริโภค.
---------------------------------------------------------------------------------------

              2. มีความเห็นอย่างไรต่อเนื้อความในประโยคว่า
              หม่อมฉันจึงยังไม่ถึงที่สุดแห่งบุญที่ได้บำเพ็ญไว้ แห่งกุศลที่ได้
ก่อสร้างไว้ตลอดกาลนานอย่างนี้ โดยที่จะมาคำนึงถึงว่า เท่านี้เป็นบุญพอแล้ว
เท่านี้เป็นผลของบุญพอแล้ว หรือเท่านี้ที่เราพึงตั้งอยู่ในสามัคคีธรรม
(คือพร้อมเพรียงร่วมทำบุญกับเขาพอแล้ว) ฯ

             2. มีความเห็นอย่างไรต่อเนื้อความในประโยคว่า ...
             มีความเห็นว่า เมื่อยังไม่ถึงที่สุดแห่งทุกข์ ก็จงเพียรพยายามต่อไป
ไม่คิดว่า เท่านี้เป็นอันพอแล้ว
             ทำให้นึกถึงคำว่า อุปัญญาตธรรม ๒

ไม่คิดว่า เท่านี้เป็นอันพอแล้ว
            ? ควรแก้ไขเป็น
ไม่ควรคิดว่า เท่านี้เป็นอันพอแล้ว

             ตอบได้ดี เลือกหมวดธรรมอุปัญญาตธรรม ๒ ได้เหมาะสมครับ.
             ในความเห็นของผมนั้น เห็นว่า
             เทพบุตรนั้น เหมือนตัดพ้อต่อการกระทำของตัวเอง โดยนัยว่า
             1. เมื่อยังไม่ถึงที่สุดแห่งทุกข์ กลับไปเห็นว่า
              เท่านี้เป็นบุญพอแล้ว เท่านี้เป็นผลของบุญพอแล้ว
             2. เห็นแก่สามัคคีธรรม หรือความพร้อมเพรียง (เกรงใจ)
จึงแบ่งโอกาสการทำบุญอันเป็นที่พึ่งของตนให้ผู้อื่นเสียหมดสิ้น.
             ปกติแล้ว แม้จะเห็นแก่สามัคคีธรรมก็ตาม ก็ไม่ควรตัดโอกาส
ในการที่พึ่งของตนหมดสิ้นอย่างนั้น ควรแบ่งให้บางส่วน
หรือควรจัดการให้ทานในที่กลางใจเมืองก็ได้.
             เห็นเนื้อความในประโยคนี้แล้ว ทำให้นึกถึงเรื่องของบุคคล
ที่เมื่อทำบุญบางส่วนแล้ว ได้รับอานิสงส์ของบุญแล้ว บ้างก็มีทำบุญอัน
เป็นที่พึ่งของตนให้แข็งแกร่งแน่นหนา บ้างก็เห็นว่า ทำบุญสำเร็จแล้ว
จะมีอานิสงส์ยิ่งกว่านี้เป็นแน่.

             ๓. เรื่องนางลาชเทวธิดา [๙๗] บางส่วน
             นางคิดว่า "เราได้สมบัติเห็นปานนี้ เพราะกรรมนิดหน่อยอย่างนี้ บัดนี้
เราไม่ควรประมาท, เราจักทำวัตรปฏิบัติแก่พระผู้เป็นเจ้า ทำสมบัตินี้ให้ถาวร"
จึงถือไม้กวาด และกระเช้าสำหรับเทมูลฝอยสำเร็จด้วยทอง ไปกวาดบริเวณ
ของพระเถระ แล้วตั้งน้ำฉันน้ำใช้ไว้แต่เช้าตรู่.
//84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=25&i=19&p=3

             อรรถกถาปีตวิมาน
//84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=26&i=47

ความคิดเห็นที่ 20
ฐานาฐานะ, 11 กรกฎาคม 2557 เวลา 10:16 น.

             เป็นอันว่า พระสูตรชื่อว่า เสรีสูตรและฆฏิการสูตร จบบริบูรณ์.
//84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=15&A=1837&Z=1946

              พระสูตรหลักถัดไป คือ ชันตุสูตร [พระสูตรที่ 106].
              พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๕  พระสุตตันตปิฎก เล่ม ๗
              สังยุตตนิกาย สคาถวรรค
              ชันตุสูตรที่ ๕
//84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=15&A=1947&Z=1965
              ศึกษาอรรถกถานี้ ได้ที่ :-
//84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=15&i=293

ย้ายไปที

สารบัญ ๑
//www.bloggang.com/mainblog.php?id=gravity-of-love&month=12-03-2013&group=1&gblog=1



Create Date : 29 กรกฎาคม 2557
Last Update : 29 กรกฎาคม 2557 11:02:30 น.
Counter : 625 Pageviews.

0 comments
เติมให้ความมี เติมให้ความไม่มี ปัญญา Dh
(14 เม.ย. 2567 20:54:29 น.)
สุขสันต์วันปีใหม่ไทย ๒๕๖๗ haiku
(13 เม.ย. 2567 10:13:33 น.)
Day..10 โฮมสเตย์ริมน้ำ
(11 เม.ย. 2567 08:25:45 น.)
สมบัติรูป สมบัตินามที่ถูกรูป ปัญญา Dh
(10 เม.ย. 2567 18:24:46 น.)

Gravity-of-love.BlogGang.com

แก้วมณีโชติรส
Location :
  

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ผู้ติดตามบล็อก : 6 คน [?]

บทความทั้งหมด