37.2 พระสูตรหลักถัดไป คือปฐมกัสสปสูตร [พระสูตรที่ 82]
การสนทนาธรรมนี้ต่อเนื่องมาจาก
37.1 พระสูตรหลักถัดไป คือปฐมกัสสปสูตร [พระสูตรที่ 82]
//www.bloggang.com/mainblog.php?id=gravity-of-love&month=01-07-2014&group=4&gblog=43

ความคิดเห็นที่ 15
GravityOfLove, 22 มิถุนายน 2557 เวลา 18:26 น.

             พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๕ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๗
             สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เทวปุตตสังยุต วรรคที่ ๑
             ๘๔. มาฆสูตร ว่าด้วยมาฆเทพบุตร
//84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=15&A=1421&Z=1435&bgc=honeydew&pagebreak=0

             สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ในพระวิหารเชตวัน ...
             มาฆเทวบุตร (ท้าวสักกะ) เมื่อราตรีปฐมยามสิ้นไปแล้ว มีวรรณอันงาม
เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาค ถวายบังคมแล้วกราบทูลด้วยคาถาว่า
                          บุคคลฆ่าอะไร จึงจะอยู่เป็นสุข
                          ฆ่าอะไร จึงจะไม่เศร้าโศก
                          พระองค์ทรงพอพระทัยการฆ่าธรรมอะไร ซึ่งเป็นธรรมอันหนึ่ง
             พระผู้มีพระภาคตรัสตอบด้วยคาถาว่า
                          บุคคลฆ่าความโกรธแล้ว ย่อมอยู่เป็นสุข
                          ฆ่าความโกรธแล้วย่อมไม่เศร้าโศก
                          ดูกรท้าววัตรภู
(ท้าวสักกะ) อริยะทั้งหลาย สรรเสริญการฆ่าความโกรธ
                          ซึ่งมีรากเป็นพิษ มียอดหวาน

                          (มีรากเป็นพิษ คือมีวิบากเป็นทุกข์, มียอดหวาน คือพึงพอใจที่ได้ด่าตอบเป็นต้น)
                          เพราะว่า บุคคลฆ่าความโกรธนั้นแล้วย่อมไม่เศร้าโศก
//84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=15&i=198&bgc=honeydew

-------------

             พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๕ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๗
             สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เทวปุตตสังยุต วรรคที่ ๑
             ๘๕. มาคธสูตร ว่าด้วยมาคธเทพบุตร
//84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=15&A=1436&Z=1446&bgc=honeydew&pagebreak=0

             มาคธเทวบุตร ยืนอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่งแล้วได้กราบทูล
พระผู้มีพระภาคด้วยคาถาว่า
                          แสงสว่างในโลก มีกี่อย่าง
             พระผู้มีพระภาคตรัสตอบด้วยคาถาว่า
                          แสงสว่างในโลกมี ๔ อย่าง อย่างที่ ๕ ไม่มีในโลกนี้
                          (มีอยู่ ๔ อย่าง ไม่มีนอกเหนือไปจากนี้ คือ)
                          (๑) พระอาทิตย์ส่องสว่างในกลางวัน
                          (๒) พระจันทร์ส่องสว่างในกลางคืน
                          (๓) ส่วนไฟส่องสว่างในที่นั้นๆ ทั้งกลางวันและกลางคืน
                          (๔) พระสัมพุทธเจ้าประเสริฐสุดกว่าแสงสว่างทั้งหลาย
                          แสงสว่างของพระสัมพุทธเจ้า เป็นแสงสว่างอย่างเยี่ยม

             อรรถกถาปัชโชตสูตรที่ ๖
//84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=15&i=68

ความคิดเห็นที่ 16
ฐานาฐานะ, 22 มิถุนายน 2557 เวลา 19:02 น.

GravityOfLove, 29 นาทีที่แล้ว
...
6:25 PM 6/22/2014

             สรุปความได้ดีครับ
             บางคราว ท้าวสักกะก็เสด็จมาเข้าเฝ้า
ทูลถามปัญหา โดยอาการส่วนพระองค์เหมือนกัน.
             อีกประการหนึ่ง ความในอรรถกถาว่า
             บทว่า เทวปุตฺโต ความว่า บุรุษผู้เกิดที่ตักเทวดา ชื่อว่าเทพบุตร.
สตรีผู้เกิดที่ตักเทวดา ชื่อว่าเทพธิดา. เทวดาที่ไม่ปรากฎนาม ท่านเรียกว่า
เทวดาองค์หนึ่ง. เทพที่ปรากฏนาม ท่านเรียกว่าเทพบุตรมีชื่ออย่างนี้.
เพราะฉะนั้น เทวดาองค์ใดองค์หนึ่ง ท่านกล่าวไว้ในหนหลังแล้ว
ในสูตรนี้จึงกล่าวว่า เทพบุตร.
//84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=15&i=221

             ความในอรรถกถานี้ ควรเป็นแนวทางกว้างๆ เท่านั้น
             เพราะท้าวสักกะคงอุบัติในวิมานของตน คงไม่อุบัติ
ที่ตักของเทวดาองค์อื่น.

ความคิดเห็นที่ 17
ฐานาฐานะ, 22 มิถุนายน 2557 เวลา 19:04 น.

              คำถามในพระสูตรทั้งสอง
              ๘๔. มาฆสูตร ว่าด้วยมาฆเทพบุตร
//84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=15&A=1421&Z=1435
              ๘๕. มาคธสูตร ว่าด้วยมาคธเทพบุตร
//84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=15&A=1436&Z=1446

              เมื่อศึกษาแล้วได้อะไรบ้าง.

ความคิดเห็นที่ 18
GravityOfLove, 22 มิถุนายน 2557 เวลา 19:24 น.

              ตอบคำถามในพระสูตรทั้งสอง
              เมื่อศึกษาแล้วได้อะไรบ้าง.
              ๘๔. มาฆสูตร ว่าด้วยมาฆเทพบุตร
//84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=15&A=1421&Z=1435

            ๑. พระผู้มีพระภาคตรัสว่า
                          บุคคลฆ่าความโกรธแล้ว ย่อมอยู่เป็นสุข
                          ฆ่าความโกรธแล้ว ย่อมไม่เศร้าโศก
                          ดูกรท้าววัตรภู อริยะทั้งหลาย สรรเสริญการฆ่าความโกรธ
                          ซึ่งมีรากเป็นพิษ มียอดหวาน
                          เพราะว่าบุคคลฆ่าความโกรธนั้นแล้วย่อมไม่เศร้าโศก
             ๒. คำว่า มาฆะ นี้เป็นนามของท้าวสักกะ.
             ท้าวสักกะนั้นแล ชื่อว่าวัตรภู เพราะอรรถว่าครอบงำผู้อื่นด้วยวัตรแล้วถึงความเป็นใหญ่.
             อีกอย่างหนึ่ง ชื่อว่าวัตรภู เพราะอรรถว่า ทรงครอบงำอสูรที่ชื่อว่าวัตรภู
             เรื่องท้าวสักกะ
//84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=25&i=12&p=7

             ๓. เคยศึกษาปัญหานี้ใน
             ๗๑. ฆัตวาสูตร ว่าด้วยการฆ่า
//84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=15&A=1252&Z=1262&bgc=honeydew&pagebreak=0
................
              ๘๕. มาคธสูตร ว่าด้วยมาคธเทพบุตร
//84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=15&A=1436&Z=1446

             ๑. พระผู้มีพระภาคตรัสว่า
                          แสงสว่างในโลกมี ๔ อย่าง อย่างที่ ๕ ไม่มีในโลกนี้
                          พระอาทิตย์ส่องสว่างในกลางวัน พระจันทร์ส่องสว่างในกลางคืน
                          ส่วนไฟส่องสว่างในที่นั้นๆ ทั้งกลางวันและกลางคืน
                          พระสัมพุทธเจ้าประเสริฐสุดกว่าแสงสว่างทั้งหลาย
                          แสงสว่างนี้เป็นยอดเยี่ยม
             ๒. เคยศึกษาปัญหานี้ใน
             ปัชโชตสูตร
//84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=15&A=431&Z=440

ความคิดเห็นที่ 19
ฐานาฐานะ, 22 มิถุนายน 2557 เวลา 20:48 น.

GravityOfLove, 1 ชั่วโมงที่แล้ว
              ตอบคำถามในพระสูตรทั้งสอง
              เมื่อศึกษาแล้วได้อะไรบ้าง.
...
7:24 PM 6/22/2014

              ตอบคำถามได้ดีครับ
              คำว่า ท้าวสักกะนั้นแล ชื่อว่าวัตรภู เพราะอรรถว่า
ครอบงำผู้อื่นด้วยวัตรแล้วถึงความเป็นใหญ่.
              น่าจะมาจากวัตรบท ๗
//84000.org/tipitaka/dic/v_seek.php?text=วัตรบท_๗

ความคิดเห็นที่ 20
ฐานาฐานะ, 22 มิถุนายน 2557 เวลา 21:00 น.

             เป็นอันว่า พระสูตรชื่อว่า มาฆสูตรและมาคธสูตรสูตร จบบริบูรณ์.
//84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=15&A=1421&Z=1446

              พระสูตรหลักถัดไป คือ ทามลิสูตร [พระสูตรที่ 86].
              พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๕  พระสุตตันตปิฎก เล่ม ๗
              สังยุตตนิกาย สคาถวรรค
              ทามลิสูตรที่ ๕
//84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=15&A=1447&Z=1465
              ศึกษาอรรถกถานี้ ได้ที่ :-
//84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=15&i=229

ความคิดเห็นที่ 21
GravityOfLove, 22 มิถุนายน 2557 เวลา 21:02 น.

             กรุณาอธิบายค่ะ
             ๘๖. ทามลิสูตร
//84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=15&A=1447&Z=1465&bgc=honeydew&pagebreak=0

             ๑.         พราหมณ์ผู้ไม่เกียจคร้าน พึงทำความเพียรนี้ เขาไม่ปรารถนา
                          ภพด้วยเหตุนั้น เพราะละกามได้ขาดแล้ว
             แปลว่าอะไรคะ ดูเหมือนไม่สัมพันธ์กับเรื่องที่พระผู้มีพระภาคตรัสเลย
             ๒. มีปัญญาเพ่งพินิจ
..........
             ๘๗. กามทสูตร
//84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=15&A=1466&Z=1494&bgc=honeydew&pagebreak=0

             ๑. ความสงบแห่งจิต ความอบรมจิต
             ๒. ทางที่ไม่เสมอ
             ขอบพระคุณค่ะ

ความคิดเห็นที่ 22
ฐานาฐานะ, 22 มิถุนายน 2557 เวลา 22:35 น.

GravityOfLove, 35 นาทีที่แล้ว
             กรุณาอธิบายค่ะ
             ๘๖. ทามลิสูตร
//84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=15&A=1447&Z=1465&bgc=honeydew&pagebreak=0

             ๑. พราหมณ์ผู้ไม่เกียจคร้าน พึงทำความเพียรนี้ เขาไม่ปรารถนา
             ภพด้วยเหตุนั้น เพราะละกามได้ขาดแล้ว
             แปลว่าอะไรคะ ดูเหมือนไม่สัมพันธ์กับเรื่องที่พระผู้มีพระภาคตรัสเลย
.            อธิบายว่า
             ทามลิเทวบุตร สรรเสริญความเพียรอย่างต่อเนื่อง
ในพระสูตรนี้ กล่าวเกินเลยไป นัยว่า
             พราหมณ์ผู้ไม่เกียจคร้าน พึงทำความเพียรนี้
             ความว่า
             พระอรหันตขีณาสพ พึง (ต้อง) พึงทำความเพียรนี้
จึงไม่ต้องเข้าถึงภพอีก เพราะเหตุที่ทำความเพียรนี้ (ต่อเนื่อง)
เพราะละกามได้ขาดแล้ว.
             ความก็คือ ทามลิเทวบุตร สรรเสริญความเพียร
แม้กระทั่งพระอรหันตขีณาสพ ยังต้องเพียรต่อเนื่องไป
จึงเป็นอันเกินเลยไปว่า กิจที่สุดแม้ของพระอรหันต์ ก็ไม่มี
เป็นอันค้านในบทที่ว่า
             ... รู้ชัดว่าชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว
             กิจที่ควรทำ ทำเสร็จแล้ว
             กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี
//84000.org/tipitaka/pitaka_item/tipitaka_seek.php?text=กิจที่ควรทำ+ทำเสร็จแล้ว

             นัยของพระพุทธดำรัสตอบ :-
             พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า
             ทามลิ กิจไม่มีแก่พราหมณ์ เพราะว่า พราหมณ์ทำกิจเสร็จแล้ว
- - - - - - - - -
             ทามลิ กิจของพระอรหันต์ เพื่อความหลุดพ้นอีก ไม่ได้มี
เพราะทำกิจที่ควรทำ เสร็จแล้ว กิจอื่นเพื่อความหลุดพ้นอีก มิได้มี.
- - - - - - - - - - - - - - - - - -

             บุคคลยังไม่ได้ท่าจอดในแม่น้ำทั้งหลาย เพียงใด
             เขาเป็นสัตว์เกิด ต้องพยายาม ด้วยตัวทุกอย่าง เพียงนั้น
- - - - - - - - -
             นัยว่า ผู้ยังไม่บรรลุพระอรหัต เพียงใด
             ก็ต้องเป็นสัตว์ที่เกิดอีก ต้องพยายาม เพียรให้หลุดพ้นต่อไป เพียงนั้น
- - - - - - - - - - - - - - - - - -

             ก็ผู้นั้นได้ท่าเป็นที่จอดแล้ว ยืนอยู่บนบก ไม่ต้องพยายาม
             เพราะว่า เขาเป็นผู้ถึงฝั่งแล้ว ฯ
- - - - - - - - -
             ก็เพราะบรรลุพระอรหัตแล้ว ไม่ต้องพยายาม เพื่อหลุดพ้นอีก
เพราะหลุดพ้นแล้ว
- - - - - - - - - - - - - - - - - -

             ดูกรทามลิเทวบุตร นี้เป็นข้ออุปมาแห่งพราหมณ์
             ผู้มีอาสวะสิ้นแล้ว มีปัญญาเพ่งพินิจ ฯ
- - - - - - - - -
             ดูกรทามลิเทวบุตร นี้เป็นอุปมาของพระอรหันตขีณาสพ
ผู้มีปัญญาเพ่งพินิจ (ปัญญาชำแรกกิเลสได้หมดสิ้น)
- - - - - - - - - - - - - - - - - -

             พราหมณ์นั้น ถึงที่สุดแห่งชาติและมรณะแล้ว
             ไม่ต้องพยายาม เพราะเป็นผู้ถึงฝั่งแล้ว ฯ
- - - - - - - - -
             พระอรหันต์นั้น สิ้นสุดการเกิดการตายแล้ว
ไม่ต้องพยายามเพื่อหลุดพ้นอะไรๆ เพราะหลุดพ้นแล้ว.
- - - - - - - - - - - - - - - - - -

             ๒. มีปัญญาเพ่งพินิจ
             นัยว่า ปัญญาเพ่งพินิจ ควรเป็นปัญญาที่สำคัญที่สุด
จึงควรเป็นปัญญาทำลายกิเลสให้สิ้น หรืออาสวักขยญาณ.

..........
             ๘๗. กามทสูตร
//84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=15&A=1466&Z=1494&bgc=honeydew&pagebreak=0

             ๑. ความสงบแห่งจิต ความอบรมจิต
             นัยว่า เทวบุตรกล่าวว่า ความสันโดษ หาได้ยาก
นัยคือ ความสันโดษทำได้ยาก.
             การฝึกฝนจิตในความสงบ เช่น ระงับการตรึกถึงสิ่ง
อันเป็นปฏิปักษ์ต่อความสันโดษ การอบรมจิตในกรรมฐานอื่นๆ
อันทำให้จิตสงบจากกิเลสที่กลุ้มรุม เช่นความอยากได้ยิ่งๆ
หรือความไม่พอใจในสิ่งที่ได้แล้วเป็นแล้ว (ความไม่สันโดษ)
ก็อาจสามารถได้สิ่งที่ยากได้ คือความสันโดษนั้น.

             ๒. ทางที่ไม่เสมอ
             นัยของเทวดาว่า ปฏิปทาของสมณะหรือของสมณธรรม
นั้นเป็นของยาก ทำได้ยาก ดำเนินไปได้ยาก ประหนึ่ง
ทางที่จะเดินไป ยากลำบาก.
- - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - -

             ดูกรกามทเทวบุตร อริยะทั้งหลาย ย่อมไปได้
แม้ในทางที่ไม่เสมอ ที่ไปได้ยาก
- - - - - - - - -
             ดูกรกามทเทวบุตร อริยะทั้งหลาย ย่อมดำเนินไปได้
ในปฏิปทา (ที่เทวดากล่าวว่า ยากลำบาก)
- - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - -

             ผู้มิใช่อริยะ ย่อมเป็นผู้บ่ายศีรษะลงเบื้องต่ำ ตกไปในทางอันไม่เสมอ
- - - - - - - - -
             ผู้มิใช่อริยะ ย่อมไปให้ทางอันตกต่ำ เพราะทำปัจจัยของญาณตกไป
ไม่อาจทำอริยมรรคให้เกิดขึ้นได้ ย่อมไปในทางที่ไม่เหมาะสม
- - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - -

             ทางนั้นสม่ำเสมอสำหรับอริยะทั้งหลาย เพราะอริยะทั้งหลาย
เป็นผู้สม่ำเสมอ ในทางอันไม่เสมอ ฯ
- - - - - - - - -
             ปฏิปทานั้น (การฝึกฝนในมรรค) พระอริยบุคคลปฏิบัติ
ต่อเนื่องไป ดุจเดินบนทางเรียบ (จึงสม่ำเสมอสำหรับพระอริยะ)
เป็นผู้ประพฤติถูกต้อง ท่ามกลางบุคคลผู้ประพฤติไม่ถูกต้อง.
- - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - -

ความคิดเห็นที่ 23
GravityOfLove, 23 มิถุนายน 2557 เวลา 10:44 น.

เข้าใจแล้วค่ะ ขอบพระคุณค่ะ

ย้ายไปที่

สารบัญ ๑
//www.bloggang.com/mainblog.php?id=gravity-of-love&month=12-03-2013&group=1&gblog=1



Create Date : 01 กรกฎาคม 2557
Last Update : 1 กรกฎาคม 2557 10:05:09 น.
Counter : 457 Pageviews.

0 comments
: รูปแบบของการตระหนักในการรับรู้ : กะว่าก๋า
(15 เม.ย. 2567 05:37:45 น.)
: หยดน้ำในมหาสมุทร 36 : กะว่าก๋า
(14 เม.ย. 2567 06:17:30 น.)
สมบัติรูป สมบัตินามที่ถูกรูป ปัญญา Dh
(10 เม.ย. 2567 18:24:46 น.)
คิดดี พูดดี ทำดี นาฬิกาสีชมพู
(6 เม.ย. 2567 17:52:38 น.)

Gravity-of-love.BlogGang.com

แก้วมณีโชติรส
Location :
  

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ผู้ติดตามบล็อก : 6 คน [?]

บทความทั้งหมด