38.5 พระสูตรหลักถัดไป คือจันทิมสสูตร [พระสูตรที่ 92]
การสนทนาธรรมนี้ต่อเนื่องมาจาก
38.4 พระสูตรหลักถัดไป คือจันทิมสสูตร [พระสูตรที่ 92]
//www.bloggang.com/mainblog.php?id=gravity-of-love&month=08-07-2014&group=4&gblog=52

ความคิดเห็นที่ 44
GravityOfLove, 2 กรกฎาคม 2557 เวลา 22:54 น.

ขอบพระคุณค่ะ อ่านลิงค์แนะนำจบแล้วค่ะ

ความคิดเห็นที่ 45
ฐานาฐานะ, 2 กรกฎาคม 2557 เวลา 22:55 น.

             เป็นอันว่า พระสูตรชื่อว่า สุพรหมสูตรและกกุธสูตร จบบริบูรณ์.
//84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=15&A=1683&Z=1730

              พระสูตรหลักถัดไป คือ อุตตรสูตร [พระสูตรที่ 100].
              พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๕  พระสุตตันตปิฎก เล่ม ๗
              สังยุตตนิกาย สคาถวรรค
              อุตตรสูตรที่ ๙
//84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=15&A=1731&Z=1740
              ศึกษาอรรถกถานี้ ได้ที่ :-
//84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=15&i=273

ความคิดเห็นที่ 46
GravityOfLove, 2 กรกฎาคม 2557 เวลา 22:55 น.

            กรุณาอธิบายค่ะ
            ๑๐๐. อุตตรสูตร
//84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=15&A=1731&Z=1740&bgc=honeydew&pagebreak=0

             ๑. ราชคฤหนิทาน ฯ คืออะไรคะ และมีเครื่องหมายไปยาลเล็กด้วย
..........
             ๑๐๑. อนาถปิณฑิกสูตร
//84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=15&A=1741&Z=1788&bgc=honeydew&pagebreak=0

             ๑. ถูกละๆ ข้อที่จะพึงถึงด้วยการนึกคิดมีประมาณเพียงใดนั้น เธอถึงแล้ว
             ขอบพระคุณค่ะ

ความคิดเห็นที่ 47
ฐานาฐานะ, 2 กรกฎาคม 2557 เวลา 23:13 น.

GravityOfLove, 2 นาทีที่แล้ว
              กรุณาอธิบายค่ะ
              ๑๐๐. อุตตรสูตร
//84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=15&A=1731&Z=1740&bgc=honeydew&pagebreak=0

              ๑. ราชคฤหนิทาน ฯ คืออะไรคะ และมีเครื่องหมายไปยาลเล็กด้วย
              อธิบายว่า สันนิษฐานว่า
              น่าจะหมายความว่า เหตุเกิดที่กรุงราชคฤห์
              นัยคงคล้ายว่า
              ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้-
              สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระวิหารเวฬุวัน อันเป็นที่
ให้เหยื่อแก่กระแต เขตพระนครราชคฤห์ ครั้งนั้น เทวบุตรชื่อนี้ เมื่อ
ราตรีปฐมยามสิ้นไปแล้ว มีวรรณอันงามยิ่งนัก ยังพระวิหารเวฬุวันทั้งสิ้นให้สว่าง
เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ครั้นแล้ว ก็ถวายบังคมพระผู้มีพระภาคแล้ว
ได้ยืนอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ฯ
              คำว่า สาวัตถีนิทาน ก็มีเช่นกัน
//84000.org/tipitaka/pitaka_item/tipitaka_seek.php?text=สาวัตถีนิทาน

..........
              ๑๐๑. อนาถปิณฑิกสูตร
//84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=15&A=1741&Z=1788&bgc=honeydew&pagebreak=0

              ๑. ถูกละๆ ข้อที่จะพึงถึงด้วยการนึกคิดมีประมาณเพียงใดนั้น เธอถึงแล้ว
              อธิบายว่า สันนิษฐานว่า
              เป็นคำยกย่องโดยนัยว่า
              การนึกคิดหรือการสันนิษฐาน การคาดการณ์ มีค่าความถูกต้องสูงสุดเพียงใด
ท่านพระอานนท์ก็สันนิษฐานได้ถูกต้องเพียงนั้น.
              คำชาวบ้านน่าจะเป็นว่า สันนิษฐานได้ถูกต้องดีมาก.
              แต่ว่า บุคคลผู้รู้วิสัยของการสันนิษฐานว่า อาจจะถูกก็ได้ หรือผิดก็ได้
จึงไม่ควรมั่นใจว่า จะถูกต้องแน่นอน และควรใช้คำให้เหมาะสมด้วย
คือ ควรใช้คำโดยนัยว่า เราสันนิษฐานว่า น่าจะเป็นอย่างนี้ๆ
ไม่ควรใช้คำที่ปักใจมั่นไปว่า เรารู้ว่า จะเป็นอย่างนี้ๆ
              อย่างคำที่ท่านพระอานนท์ใช้ ก็เป็นนัยของการสันนิษฐาน
กล่าวคือ
              ก็เทวบุตรนั้นเห็นจะเป็นอนาถบิณฑิกเทวบุตรแน่
อนาถบิณฑิกคฤหบดีได้เลื่อมใสยิ่งนักในท่านพระสารีบุตร ฯ
              นัยก็คือ
              สันนิษฐานว่า ก็เทวบุตรนั้นคงจะเป็นอนาถบิณฑิกเทวบุตรแน่
เพราะเหตุว่า อนาถบิณฑิกคฤหบดีได้เลื่อมใสยิ่งนักในท่านพระสารีบุตร ฯ

ความคิดเห็นที่ 48
GravityOfLove, 2 กรกฎาคม 2557 เวลา 23:18 น.

เข้าใจแล้วค่ะ ขอบพระคุณค่ะ

ความคิดเห็นที่ 49
GravityOfLove, 2 กรกฎาคม 2557 เวลา 23:19 น.

             พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๕ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๗
             สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เทวปุตตสังยุต อนาถปิณฑิกวรรคที่ ๒
.            ๑๐๐. อุตตรสูตร ว่าด้วยอุตตรเทวบุตร
//84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=15&A=1731&Z=1740&bgc=honeydew&pagebreak=0

             ราชคฤหนิทาน ฯ (เหตุเกิดที่กรุงราชคฤห์ ฯ)
             อุตตรเทวบุตร กล่าวคาถาในสำนักพระผู้มีพระภาคว่า
                          ชีวิตมีอายุน้อย ถูกชราต้อนเข้าไปอย่างไม่สามารถต้านทานได้
                          บุคคลเห็นภัยในมรณะนี้แล้ว พึงทำบุญอันจะนำความสุขมาให้
                          (เทวบุตรสรรเสริญการทำบุญเพื่อความสุขในเทวโลกเป็นต้น (ปริยายโลกามิส)
                          ซึ่งจัดเป็นวัฏฏะ  คือยังไม่พ้นการเกิดแก่ตาย เป็นไปในวัฏฏะ)
             พระผู้มีพระภาคตรัสพระคาถาว่า
.                         ชีวิตมีอายุน้อย ถูกชราต้อนเข้าไปอย่างไม่สามารถต้านทานได้
.                         บุคคลเห็นภัยในมรณะนี้แล้ว พึงละโลกามิสเสีย มุ่งต่อสันติ

                          (สันติ ในที่นี้หมายถึงนิพพาน ตรัสพระคาถาอันเป็นวิวัฏฏะ
                          เป็นไปเพื่อการหลุดพ้นจากการเกิดแก่ตาย)
//84000.org/tipitaka/dic/v_seek.php?text=อามิส
//84000.org/tipitaka/dic/v_seek.php?text=โลกามิส

             อรรถกถาอุปเนยยสูตรที่ ๓
//84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=15&i=7
//www.bloggang.com/mainblog.php?id=gravity-of-love&month=11-05-2014&group=4&gblog=5

------------------

             พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๕ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๗
             สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เทวปุตตสังยุต อนาถปิณฑิกวรรคที่ ๒
.            ๑๐๑. อนาถปิณฑิกสูตร ว่าด้วยอนาถบิณฑิกเทวบุตร
//84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=15&A=1741&Z=1788&bgc=honeydew&pagebreak=0

              อนาถบิณฑิกเทวบุตร กล่าวคาถาในสำนักพระผู้มีพระภาคว่า
                          ก็พระเชตวันนี้นั้น อันหมู่แห่งท่านผู้แสวงคุณ (พระสงฆ์) พำนักอยู่
                          พระธรรมราชา (พระผู้มีพระภาค) ก็ประทับอยู่แล้ว เป็นที่ให้เกิดปีติแก่ข้าพระองค์
                          สัตว์ทั้งหลาย ย่อมบริสุทธิ์ด้วยส่วน ๕ นี้ คือ
                          ๑. กรรม (การงาน หมายถึงมรรคเจตนา)
                          ๒. วิชชา (ความรู้ หมายถึงมรรคปัญญา
             อีกนัยหนึ่งหมายถึงสัมมาทิฏฐิ (ความเห็นชอบ) และสัมมาสังกัปปะ (ความดำริชอบ))
                          ๓. ธรรม (หมายถึงธรรมที่เป็นฝักฝ่ายแห่งสมาธิ
             อีกนัยหนึ่งหมายถึงสัมมาวายามะ (ความพยายามชอบ) สัมมาสติ (ความระลึกชอบ)
             และสัมมาสมาธิ (ความตั้งใจมั่นชอบ))
                          ๔. ศีล (หมายถึงสัมมาวาจา (เจรจาชอบ) สัมมากัมมันตะ (กระทำชอบ)
             และสัมมาอาชีวะ (เลี้ยงชีพชอบ))
                          ๕. ชีวิตอันอุดม (ชีวิตอันสูงสุด/ชีวิตอย่างสูง  หมายถึงชีวิตของผู้ที่ตั้งอยู่ในศีล)
                          หาใช่บริสุทธิ์ด้วยโคตรหรือทรัพย์ไม่
                          เพราะเหตุนั้น บุรุษผู้เป็นบัณฑิต เมื่อเล็งเห็นประโยชน์ของตน
                          พึงเลือกเฟ้นธรรมโดยแยบคายอย่างนี้ จึงจะบริสุทธิ์ในธรรมนั้น
                          พระสารีบุตรรูปเดียวเท่านั้น เป็นผู้ประเสริฐด้วยปัญญา ศีล และธรรมเครื่องสงบระงับ
                          ภิกษุใดเป็นผู้ถึงซึ่งฝั่ง (พระนิพพาน) ภิกษุนั้นก็มีท่านพระสารีบุตรนั้นเป็นอย่างเยี่ยม
             อนาถบิณฑิกเทวบุตร ครั้นกล่าวแล้ว ก็ถวายบังคมพระผู้มีพระภาค
ทำประทักษิณแล้วอันตรธานไป
             พอรุ่งเช้า พระผู้มีพระภาคตรัสกับภิกษุทั้งหลายถึงเรื่องที่เทวบุตรองค์หนึ่ง
มาเข้าเฝ้าพระองค์ แล้วกล่าวคาถาดังกล่าว
             เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้แล้ว ท่านพระอานนท์กราบทูลว่า
             เทวบุตรนั้นเห็นจะเป็นอนาถบิณฑิกเทวบุตรแน่ เพราะอนาถบิณฑิกคฤหบดี
เลื่อมใสยิ่งนักในท่านพระสารีบุตร
             พระผู้มีพระภาคตรัสว่า
             ถูกละๆ ข้อที่จะพึงถึงด้วยการนึกคิดมีประมาณเพียงใดนั้น เธอถึงแล้ว
(รู้โดยการอนุมาน/สันนิษฐานได้ถูกต้องดีมาก)
             ก็เทวบุตรนั้นคือ อนาถบิณฑิกเทวบุตร
//84000.org/tipitaka/dic/d_seek.php?text=มรรคมีองค์_8

             อนาถปิณฑิโกวาทสูตร
//84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=14&A=9311&Z=9524
//www.bloggang.com/mainblog.php?id=gravity-of-love&month=26-03-2014&group=3&gblog=44
             เชตวนสูตร
//84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=15&A=977&Z=989
//www.bloggang.com/mainblog.php?id=gravity-of-love&month=09-06-2014&group=4&gblog=27

ความคิดเห็นที่ 50
ฐานาฐานะ, 5 กรกฎาคม 2557 เวลา 07:27 น.

GravityOfLove, วันพุธ เวลา 23:19 น.
...
11:18 PM 7/2/2014

              สรุปความได้ดีครับ.

ความคิดเห็นที่ 51
ฐานาฐานะ, 5 กรกฎาคม 2557 เวลา 07:28 น.

             คำถามในพระสูตรทั้งสอง
             ๑๐๐. อุตตรสูตร
//84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=15&A=1731&Z=1740
             ๑๐๑. อนาถปิณฑิกสูตร
//84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=15&A=1741&Z=1788

              เมื่อศึกษาแล้วได้อะไรบ้าง.

ความคิดเห็นที่ 52
GravityOfLove, 5 กรกฎาคม 2557 เวลา 08:41 น.

             ตอบคำถามในพระสูตรทั้งสอง
             เมื่อศึกษาแล้วได้อะไรบ้าง.
             ๑๐๐. อุตตรสูตร
//84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=15&A=1731&Z=1740

             พระผู้มีพระภาคตรัสว่า
                          ชีวิตมีอายุน้อย ถูกชราต้อนเข้าไปอย่างไม่สามารถต้านทานได้
                          บุคคลเห็นภัยในมรณะนี้แล้ว พึงละโลกามิสเสีย มุ่งต่อสันติ
..............
             ๑๐๑. อนาถปิณฑิกสูตร
//84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=15&A=1741&Z=1788

             ๑. อนาถบิณฑิกเทวบุตร กล่าวคาถาในสำนักพระผู้มีพระภาค
คาถานั้น ชมพระเชตวัน พระภิกษุสงฆ์ พระตถาคตเจ้า อริยมรรค และท่านพระสารีบุตร
             ๒. อนาถบิณฑิกเทวบุตรกราบทูลพระผู้มีพระภาค ความตอนหนึ่งว่า
                          สัตว์ทั้งหลาย ย่อมบริสุทธิ์ด้วยส่วน ๕ นี้ คือ กรรม วิชชา ธรรม ศีล
                          และชีวิตอันอุดม หาใช่บริสุทธิ์ด้วยโคตรหรือทรัพย์ไม่

ความคิดเห็นที่ 53
ฐานาฐานะ, 5 กรกฎาคม 2557 เวลา 08:43 น.

GravityOfLove, 15 วินาทีที่แล้ว
...
8:41 AM 7/5/2014

             ตอบคำถามได้ดีครับ.

ความคิดเห็นที่ 54
ฐานาฐานะ, 5 กรกฎาคม 2557 เวลา 08:46 น.

             เป็นอันว่า พระสูตรชื่อว่า อุตตรสูตรและอนาถปิณฑิกสูตร จบบริบูรณ์.
//84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=15&A=1731&Z=1788

             พระสูตรหลักถัดไป คือ สิวสูตร [พระสูตรที่ 102].
             พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๕  พระสุตตันตปิฎก เล่ม ๗
             สังยุตตนิกาย สคาถวรรค
             สิวสูตรที่ ๑
//84000.org/tipitaka/read/v.php?B=15&A=1789&Z=1820
              ศึกษาอรรถกถานี้ ได้ที่ :-
//84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=15&i=278

ย้ายไปที่

สารบัญ ๑
//www.bloggang.com/mainblog.php?id=gravity-of-love&month=12-03-2013&group=1&gblog=1



Create Date : 08 กรกฎาคม 2557
Last Update : 8 กรกฎาคม 2557 12:47:23 น.
Counter : 530 Pageviews.

0 comments
การหา เติมความมี ปัญญา Dh
(16 เม.ย. 2567 18:08:16 น.)
เติมให้ความมี เติมให้ความไม่มี ปัญญา Dh
(14 เม.ย. 2567 20:54:29 น.)
สุขสันต์วันปีใหม่ไทย ๒๕๖๗ haiku
(13 เม.ย. 2567 10:13:33 น.)
: หยดน้ำในมหาสมุทร 31 : กะว่าก๋า
(9 เม.ย. 2567 05:58:44 น.)

Gravity-of-love.BlogGang.com

แก้วมณีโชติรส
Location :
  

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ผู้ติดตามบล็อก : 6 คน [?]

บทความทั้งหมด