37.3 พระสูตรหลักถัดไป คือปฐมกัสสปสูตร [พระสูตรที่ 82]
การสนทนาธรรมนี้ต่อเนื่องมาจาก
37.2 พระสูตรหลักถัดไป คือปฐมกัสสปสูตร [พระสูตรที่ 82]
//www.bloggang.com/mainblog.php?id=gravity-of-love&month=01-07-2014&group=4&gblog=44

ความคิดเห็นที่ 24
GravityOfLove, 23 มิถุนายน 2557 เวลา 11:17 น.

             พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๕ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๗
             สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เทวปุตตสังยุต วรรคที่ ๑
             ๘๖. ทามลิสูตร ว่าด้วยทามลิเทวบุตร
//84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=15&A=1447&Z=1465&bgc=honeydew&pagebreak=0

             สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ในพระวิหารเชตวัน ...
             ทามลิเทวบุตร เมื่อราตรีปฐมยามสิ้นไปแล้ว มีวรรณงาม
เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาค ถวายบังคม แล้วกล่าวคาถาในสำนักพระผู้มีพระภาคว่า
                          พราหมณ์ (ในที่นี้หมายถึงพระอรหันตขีณาสพ) ผู้ไม่เกียจคร้าน
                          พึงทำความเพียรนี้ เขาไม่ปรารถนาภพด้วยเหตุนั้น
                          เพราะละกามได้ขาดแล้ว
             (เทพบุตรผู้มีความเพียรติดต่อองค์นี้ คิดว่า ความสิ้นสุดกิจของพระขีณาสพไม่มี
             พระขีณาสพทำความเพียรมาตั้งแต่ต้น ละกามได้ขาด เพื่อบรรลุพระอรหัต
             ไม่ต้องเข้าถึงภพอีก เมื่อบรรลุพระอรหัตแล้ว ก็อย่าหยุด จงทำความเพียรต่อไป)

             พระผู้มีพระภาคตรัสด้วยคาถา ใจความว่า
                          กิจไม่มีแก่พราหมณ์ (ในที่นี้หมายถึงพระอรหันต์) เพราะพราหมณ์ทำกิจเสร็จแล้ว
                          อุปมาเหมือนบุคคลที่ตราบใดยังไม่ได้ท่าจอดในแม่น้ำ ยังเป็นสัตว์ที่ต้องเกิดอยู่
                          ตราบนั้นต้องพยายามด้วยตัวเองทุกอย่าง เพื่อให้ได้ท่าที่เป็นที่จอด แล้วยืนอยู่บนบก
                          ไม่ต้องพยายามอีก เพราะเป็นผู้ถึงฝั่งแล้ว
                          พราหมณ์นั้นเป็นผู้สิ้นอาสวะแล้ว มีปัญญาเพ่งพินิจ
(ปัญญาชำแรกกิเลสได้หมดสิ้น)
                          ถึงที่สุดแห่งชาติและมรณะแล้ว (สิ้นสุดการเกิดการตายแล้ว)
             (พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพระดำริว่า เทพบุตรองค์นี้ไม่กล่าวการจบกิจของพระขีณาสพ
             กล่าวแต่คำสอนของเราว่าเป็นอนิยยานิก ไม่นำสัตว์ออกจากทุกข์ เราจักแสดงการจบกิจ
             ของพระขีณาสพนั้น)
//84000.org/tipitaka/dic/v_seek.php?text=ขีณาสพ

---------------

             พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๕ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๗
             สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เทวปุตตสังยุต วรรคที่ ๑
             ๘๗. กามทสูตร ว่าด้วยกามทเทวบุตร
//84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=15&A=1466&Z=1494&bgc=honeydew&pagebreak=0

             กามทเทวบุตร กราบทูลพระผู้มีพระภาคว่า
             ๑. ข้าแต่พระผู้มีพระภาค สมณธรรมทำได้โดยยากยิ่ง
             (เทพบุตรองค์นี้เคยเป็นพระโยคาวจร กระทำสมณธรรมข่มกิเลสด้วยความพากเพียร
ก็ยังไม่บรรลุอริยภูมิ ตายแล้วไปบังเกิดในเทวโลก มาเข้าเฝ้าพระตถาคตด้วยหวังจะทูลบอกว่า
สมณธรรมทำได้ยาก)
             พระผู้มีพระภาคตรัสพระคาถา ใจความว่า
                          ผู้ที่ตั้งมั่นในศีลของพระเสขะ มีตนตั้งมั่น ย่อมกระทำสมณธรรมอันทำได้โดยยาก
                          ความยินดี
(สันโดษ) ย่อมนำสุขมาให้แก่ผู้ไม่มีเรือน (ออกบวช)

             ๒. กามทเทวบุตรกราบทูลว่า
             ข้าแต่พระผู้มีพระภาค ข้อที่หาได้ยากนี้ คือความสันโดษ (ยินดี)
             พระผู้มีพระภาคตรัสพระคาถาว่า
                          ผู้ใดยินดีแล้วในความสงบแห่งจิต ยินดีแล้วในความอบรมจิต
                          ทั้งกลางวันและกลางคืน

                          (การฝึกฝนจิตในความสงบ เช่น ระงับการตรึกถึงสิ่งอันเป็นปฏิปักษ์
             ต่อความสันโดษ การอบรมจิตในกรรมฐานอื่นๆ)
                          ผู้นั้น ย่อมได้แม้ซึ่งสิ่งที่ได้โดยยาก (คือความสันโดษ)

             ๓. กามทเทวบุตรกราบทูลว่า
             ข้าแต่พระผู้มีพระภาค ธรรมชาติที่ตั้งมั่นได้ยากนี้ คือจิต
             พระผู้มีพระภาคตรัสพระคาถาว่า
                          ผู้ใดยินดีแล้วในความสงบอินทรีย์ ผู้นั้นย่อมตั้งมั่น ซึ่งจิตที่ตั้งมั่นได้ยาก
                          พระอริยะทั้งหลายเหล่านั้นตัดข่ายแห่งมัจจุไปได้


             ๔. กามทเทวบุตรกราบทูลว่า
             ข้าแต่พระผู้มีพระภาค ทางที่ไปได้ยาก คือ ทางที่ไม่เสมอ
             (ปฏิปทาของสมณะหรือของสมณธรรมนั้นเป็นของยาก ยากเหมือนเดินบนทางที่ไม่เสมอ)
             พระผู้มีพระภาคตรัสพระคาถาว่า
                          พระอริยะทั้งหลาย ย่อมไปได้ แม้ในทางที่ไม่เสมอ ที่ไปได้ยาก
                          ผู้มิใช่อริยะ ย่อมเป็นผู้บ่ายศีรษะลงเบื้องต่ำ ตกไปในทางอันไม่เสมอ

                          (ทางที่ไม่เหมาะสม)
                          ทางนั้นสม่ำเสมอสำหรับพระอริยะทั้งหลาย
                          เพราะพระอริยะทั้งหลาย เป็นผู้สม่ำเสมอ ในทางอันไม่เสมอ

                          (เป็นผู้ประพฤติถูกต้อง ท่ามกลางบุคคลผู้ประพฤติไม่ถูกต้อง)
//84000.org/tipitaka/dic/v_seek.php?text=โยคาวจร
//84000.org/tipitaka/dic/v_seek.php?text=เสขะ
//84000.org/tipitaka/dic/d_seek.php?text=สันโดษ
//84000.org/tipitaka/dic/v_seek.php?text=อินทรีย์

[แก้ไขตาม #25]

ความคิดเห็นที่ 25
ฐานาฐานะ, 23 มิถุนายน 2557 เวลา 23:07 น.

GravityOfLove, 11 ชั่วโมงที่แล้ว
...
11:17 AM 6/23/2014

             สรุปความได้ดีครับ.
             (ปฏิปทาของสมณหรือของสมณธรรมนั้นเป็นของยาก ยากเหมือนเดินบนทางที่ไม่เสมอ)
แก้ไขเป็น
             (ปฏิปทาของสมณะหรือของสมณธรรมนั้นเป็นของยาก ยากเหมือนเดินบนทางที่ไม่เสมอ)

ความคิดเห็นที่ 26
ฐานาฐานะ, 23 มิถุนายน 2557 เวลา 23:10 น.

              ทามลิสูตร เป็นพระสูตรที่ 86 เนื่องจากฆัตวาวรรคมี 11 พระสูตร.
              คำถามในพระสูตรทั้งสอง
              ๘๖. ทามลิสูตร
//84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=15&A=1447&Z=1465
              ๘๗. กามทสูตร
//84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=15&A=1466&Z=1494

              เมื่อศึกษาแล้วได้อะไรบ้าง.

ความคิดเห็นที่ 27
GravityOfLove, 23 มิถุนายน 2557 เวลา 23:27 น.

              ตอบคำถามในพระสูตรทั้งสอง
              เมื่อศึกษาแล้วได้อะไรบ้าง.
              ๘๖. ทามลิสูตร
//84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=15&A=1447&Z=1465

             ๑. พระผู้มีพระภาคตรัสว่า
               ทามลิ กิจไม่มีแก่พราหมณ์ เพราะว่า พราหมณ์ทำกิจเสร็จแล้ว
               บุคคลยังไม่ได้ท่าจอดในแม่น้ำทั้งหลาย เพียงใด เขาเป็นสัตว์เกิด
               ต้องพยายาม ด้วยตัวทุกอย่าง เพียงนั้น
               ก็ผู้นั้นได้ท่าเป็นที่จอดแล้ว ยืนอยู่บนบก ไม่ต้องพยายาม
               เพราะว่า เขาเป็นผู้ถึงฝั่งแล้ว
               ดูกรทามลิเทวบุตร นี้เป็นข้ออุปมาแห่งพราหมณ์ ผู้มีอาสวะสิ้นแล้ว
               มีปัญญาเพ่งพินิจ พราหมณ์นั้น ถึงที่สุดแห่งชาติและมรณะแล้ว
               ไม่ต้องพยายาม เพราะเป็นผู้ถึงฝั่งแล้ว
             ๒. เบื้องต้นภิกษุอยู่ป่า ถือเอากัมมัฏฐานทำความเพียร เพื่อความสิ้นไปแห่งอาสวะ
สำเร็จเป็นพระขีณาสพ (สิ้นกิเลสหมด) แล้ว ต่อมา ถ้าเธอประสงค์จะทำความเพียรก็ทำ
ถ้าไม่ประสงค์ เธอจะอยู่ตามสบาย ก็ได้
.............
              ๘๗. กามทสูตร
//84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=15&A=1466&Z=1494

             ๑. พระผู้มีพระภาคตรัสสอนกามทเทวบุตรผู้ที่เห็นว่า
สมณธรรมทำได้ยาก ความสันโดษทำได้ยาก จิตตั้งมั่นได้ยาก และทางที่ไม่เสมอ ไปได้ยาก
             ๒. เทพบุตรองค์นี้เคยเป็นพระโยคาวจร ข่มกิเลสทั้งหลายด้วยความพากเพียร
เพราะเป็นผู้มีกิเลสหนา กระทำสมณธรรม ก็ยังไม่บรรลุอริยภูมิ เพราะมีอุปนิสัยในปางก่อนน้อย
             กระทำกาละ (ตาย) แล้วไปบังเกิดในเทวโลก ไปยังสำนักพระตถาคต
มาด้วยหวังจะทูลบอกว่า สมณธรรมทำได้ยาก จึงทูลอย่างนี้
             ๓. พระอริยะเหล่าใดยินดีแล้วในความสงบแห่งอินทรีย์ ทั้งกลางวันและกลางคืน
พระอริยะเหล่านั้นย่อมตั้งมั่นจิตที่ตั้งมั่นได้ยาก.
             พระอริยะเหล่าใดมีจิตตั้งมั่นแล้ว พระอริยะเหล่านั้นทำความสันโดษใน
ปัจจัย ๔ ให้บริบูรณ์ ย่อมไม่ลำบาก
             พระอริยะเหล่าใดสันโดษแล้ว พระอริยเหล่านั้นทำศีลให้บริบูรณ์ ย่อมไม่ลำบาก
             พระอริยเหล่าใดตั้งมั่นในศีล พระอริยะเหล่านั้น คือพระเสขะ ๗ ตัดข่ายคือกิเลส
ที่เรียกว่าข่ายมัจจุไป.

ความคิดเห็นที่ 28
ฐานาฐานะ, 23 มิถุนายน 2557 เวลา 23:44 น.

GravityOfLove, 11 นาทีที่แล้ว
              ตอบคำถามในพระสูตรทั้งสอง
...
11:27 PM 6/23/2014

              ตอบคำถามได้ดีครับ
              คำถามเบาๆ ว่า
              คำว่า
              ๒. เบื้องต้นภิกษุอยู่ป่า ถือเอากัมมัฏฐานทำความเพียร เพื่อความสิ้นไปแห่งอาสวะ
สำเร็จเป็นพระขีณาสพ (สิ้นกิเลสหมด) แล้ว ต่อมา ถ้าเธอประสงค์จะทำความเพียรก็ทำ
ถ้าไม่ประสงค์ เธอจะอยู่ตามสบาย ก็ได้
              คำถามว่า
              ถ้าพระอรหันต์ประสงค์จะทำความเพียรก็ทำนั้น
ท่านมีวัตถุประสงค์อะไร จึงทำความเพียร?

ความคิดเห็นที่ 29
GravityOfLove, 24 มิถุนายน 2557 เวลา 10:57 น.

             เพื่ออนุเคราะห์สัตว์โลกให้พ้นทุกข์ค่ะ
             มหาปทานสูตร
             ภิกษุทั้งหลาย พวกเธอจงเที่ยวจาริกไป เพื่อประโยชน์แก่ชนเป็นอันมาก
เพื่อความสุขแก่ชนเป็นอันมาก เพื่ออนุเคราะห์สัตว์โลก เพื่อประโยชน์ เพื่อเกื้อกูล
เพื่อความสุข แก่เทพดาและมนุษย์ทั้งหลาย
//84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=10&A=0&Z=1454&pagebreak=0

ความคิดเห็นที่ 30
ฐานาฐานะ, 24 มิถุนายน 2557 เวลา 15:08 น.

GravityOfLove, 3 ชั่วโมงที่แล้ว
              เพื่ออนุเคราะห์สัตว์โลกให้พ้นทุกข์ค่ะ
...
10:57 AM 6/24/2014

              ตอบคำถามได้ดีครับ
              อีกวัตถุประสงค์หนึ่ง คือ เล็งเห็นการอยู่เป็นสุขในทิฏฐธรรม
              จึงเป็น 2 ประการ คือ
              1. เล็งเห็นการอยู่เป็นสุขในทิฏฐธรรม
              2. อนุเคราะห์ประชุมชนในภายหลังว่า
              ทำไฉน ประชุมชนในภายหลังพึงถึงทิฏฐานุคติว่า
              ได้ยินว่า พระพุทธเจ้าและพระสาวกผู้ตรัสรู้ตามพระพุทธเจ้า ที่ได้มีมาแล้ว ...
เป็นผู้ปรารภความเพียร และกล่าวสรรเสริญคุณแห่งการปรารภความเพียรมาแล้วสิ้นกาลนาน
ท่านเหล่านั้นจักปฏิบัติเพื่อความเป็นอย่างนั้น ข้อปฏิบัติของท่านเหล่านั้น
จักเป็นไปเพื่อประโยชน์ เพื่อความสุข สิ้นกาลนานดังนี้.

              ชิณณสูตร [บางส่วน]
              [๔๘๑] ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์เล็งเห็นอำนาจประโยชน์ ๒
ประการ จึงอยู่ป่าเป็นวัตร และกล่าวสรรเสริญคุณแห่งความเป็นผู้อยู่ป่าเป็นวัตร
สิ้นกาลนาน ฯลฯ เที่ยวบิณฑบาตเป็นวัตร ... ทรงผ้าบังสุกุลเป็นวัตร ... ทรงไตร
จีวรเป็นวัตร ... มีความปรารถนาน้อย ... เป็นผู้สันโดษ ... เป็นผู้สงัดจากหมู่ ...
เป็นผู้ไม่คลุกคลีด้วยหมู่ เป็นผู้ปรารภความเพียร และกล่าวสรรเสริญคุณแห่ง
ความปรารภความเพียร เล็งเห็นการอยู่เป็นสุขในทิฏฐธรรม และอนุเคราะห์
ประชุมชนในภายหลังว่า ทำไฉน ประชุมชนในภายหลังพึงถึงทิฏฐานุคติว่า ได้ยิน
ว่า พระพุทธเจ้าและพระสาวกผู้ตรัสรู้ตามพระพุทธเจ้า ที่ได้มีมาแล้ว ท่านเป็นผู้
อยู่ป่าเป็นวัตร และกล่าวสรรเสริญคุณแห่งความอยู่ป่าเป็นวัตรสิ้นกาลนาน ฯลฯ
เที่ยวบิณฑบาตเป็นวัตร ... ทรงผ้าบังสุกุลเป็นวัตร ... ทรงไตรจีวรเป็นวัตร ...
เป็นผู้มักน้อย ... เป็นผู้สันโดษ ... เป็นผู้สงัดจากหมู่ ... เป็นผู้ไม่คลุกคลีด้วยหมู่ ...
เป็นผู้ปรารภความเพียร และกล่าวสรรเสริญคุณแห่งการปรารภความเพียรมาแล้ว
สิ้นกาลนาน ท่านเหล่านั้นจักปฏิบัติเพื่อความเป็นอย่างนั้น ข้อปฏิบัติของท่าน
เหล่านั้น จักเป็นไปเพื่อประโยชน์ เพื่อความสุข สิ้นกาลนานดังนี้

//84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=16&A=5319&Z=5370#481
//topicstock.pantip.com/religious/topicstock/2012/05/Y12106258/Y12106258.html

ความคิดเห็นที่ 31
ฐานาฐานะ, 24 มิถุนายน 2557 เวลา 15:12 น.

             เป็นอันว่า พระสูตรชื่อว่า ทามลิสูตรและกามทสูตร จบบริบูรณ์.
//84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=15&A=1447&Z=1494

              พระสูตรหลักถัดไป คือ ปัญจาลจัณฑสูตรที่ ๗ [พระสูตรที่ 88].
              พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๕  พระสุตตันตปิฎก เล่ม ๗
              สังยุตตนิกาย สคาถวรรค
              ปัญจาลจัณฑสูตรที่ ๗
//84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=15&A=1495&Z=1504
              ศึกษาอรรถกถานี้ ได้ที่ :-
//84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=15&i=236

ความคิดเห็นที่ 32
GravityOfLove, 24 มิถุนายน 2557 เวลา 20:30 น.

             กรุณาอธิบายค่ะ
             ๘๘. ปัญจาลจัณฑสูตร
//84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=15&A=1495&Z=1504&bgc=honeydew&pagebreak=0

             ที่พระผู้มีพระภาคตรัส เป็นการหักล้าง หรือเสริมคำกล่าวของเทวบุตรองค์นี้คะ
..........
             ๘๙. ตายนสูตร
//84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=15&A=1505&Z=1552&bgc=honeydew&pagebreak=0

             ๑.          ท่านจงพยายามตัดกระแสตัณหา จงบรรเทากามเสียเถิด
                          พราหมณ์ ฯ << เทวบุตรหมายถึงพระผู้มีพระภาคหรือคะ มาถวายคำแนะนำพระผู้มีพระภาคหรือคะ
             ๒.         กรรมอันย่อหย่อนอย่างใดอย่างหนึ่ง วัตรอันใดที่เศร้าหมอง
                          และพรหมจรรย์ที่น่ารังเกียจ ทั้งสามอย่างนั้น ไม่มีผลมาก
             แปลว่าอะไรคะ เชิงอรรถฉบับมหาจุฬาฯ อ้างอิงไปที่ ดู ขุ.ธ. ๒๕/๓๑๑-๓๑๔/๗๐-๗๑
             ๓. มรรคพรหมจรรย์
             ขอบพระคุณค่ะ

ย้ายไปที่

สารบัญ ๑
//www.bloggang.com/mainblog.php?id=gravity-of-love&month=12-03-2013&group=1&gblog=1



Create Date : 01 กรกฎาคม 2557
Last Update : 1 กรกฎาคม 2557 10:19:32 น.
Counter : 448 Pageviews.

0 comments
ไม่ควรก่อแผลหรือก่อแผลเป็น ปัญญา Dh
(8 เม.ย. 2567 20:22:02 น.)
: หยดน้ำในมหาสมุทร 29 : กะว่าก๋า
(6 เม.ย. 2567 05:12:09 น.)
: หยดน้ำในมหาสมุทร 28 : กะว่าก๋า
(5 เม.ย. 2567 04:10:07 น.)
การได้มาซึ่งธรรมะ ปัญญา Dh
(2 เม.ย. 2567 17:00:57 น.)

Gravity-of-love.BlogGang.com

แก้วมณีโชติรส
Location :
  

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ผู้ติดตามบล็อก : 6 คน [?]

บทความทั้งหมด