29.2 พระสูตรหลักถัดไป คือโอฆตรณสูตร [พระสูตรที่ 1]
การสนทนาธรรมนี้ต่อเนื่องมาจาก
29.1 พระสูตรหลักถัดไป คือโอฆตรณสูตร [พระสูตรที่ 1]
//www.bloggang.com/mainblog.php?id=gravity-of-love&month=06-05-2014&group=4&gblog=3

ความคิดเห็นที่ 14
GravityOfLove, 6 พฤษภาคม เวลา 10:41 น.

             1. คำว่า อรรถกถา ... กล่าวคือ นัยของอรรถกถามีมากกว่าที่สรุปความไว้
             แก้ไขเป็น [นัยบางส่วนจากอรรถกถา] ได้ไหมคะ
- - - - -
             2. มีข้อสงสัยว่า ใช้คำผิดไปด้วยการคัดลอก หรือว่า ...
             คัดลอกมาทั้งอย่างนั้นค่ะ
//www.geocities.ws/tmchote/tpd-mcu/tpd15.htm
             แก้ไขเป็น
             ไม่เพียร หมายถึงไม่แสวงหาความทุกข์ด้วยการทรมานตนให้ลำบาก ซึ่งจัดอยู่ในอัตตกิลมถานุโยค
----------------------------
             ตอบคำถามในโอฆตรณสูตร
//84000.org/tipitaka/read/v.php?B=15&A=0&Z=29

             1. เมื่อศึกษาพระสูตรนี้ได้อะไรบ้าง?
             ๑. วิธีการที่พระผู้มีพระภาคทรงข้ามโอฆะคือ ไม่พัก ไม่เพียร
เพราะเมื่อพักจะจม เมื่อเพียรจะลอย (ตรัสตอบปัญหาของเทวดาให้เข้าใจยาก
เพื่อข่มมานะของเทวดาตนนี้)
             ๒. เทวดาฟังวิสัชนาปัญหานี้แล้วดำรงอยู่ในโสดาปัตติผล
             ๓. กระทำประทักษิณ หมายถึงการเดินเวียนขวา คือเดินประนมมือเวียนขวา
ตามเข็มนาฬิกา ๓ รอบ (วิ.อ.๑/๑๕/๑๗๖-๑๗๗)
             ๔. หาย (ตัว) ไป หมายถึงละกายที่ปรุงแต่งแล้วดำรงอยู่ในกายที่ยึดครอง
ตามปกติของตน
             ๕. สังยุตตนิกายมี ๕ วรรค คือสคาถวรรค นิทานวรรค ขันธวรรค
(บาลีเป็นขันธวารวรรค) สฬายตนวรรค มหาวรรค.
             เมื่อว่าโดยสูตรมี ๗,๗๖๒ สูตร นี้ชื่อว่า สังยุตตสังคหะ.
             เมื่อว่าโดยภาณวารมี ๑๐๐ ภาณวาร.
             ในวรรคแห่งสังยุตนั้นมีสคาถวรรคเป็นเบื้องต้น.
             ในสูตรทั้งหลายมีโอฆตรณสูตร เป็นเบื้องต้น. 
             ๖. คำว่า ภควา เป็นคำประเสริฐสุด คำว่า ภควา เป็นคำสูงสุด 
                         พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้นควรแก่การเคารพโดยฐาน 
                         ครู เพราะเหตุนั้น พระองค์จึงทรงพระนามว่า ภควา
             ๗. เทวดาทั้งหลาย เมื่อมาสู่ที่บำรุงของพระพุทธเจ้า หรือสาวกของพระพุทธเจ้า
ย่อมมาในเวลามัชฌิมยามเท่านั้น
             ๘. โอฆะ ๔ ในพระบาลีว่า โอฆมตริ นี้คือ กาโมฆะ ภโวฆะ ทิฏโฐฆะและอวิชโชฆะ 
             ความยินดีพอใจในกามคุณ ๕ ชื่อว่ากาโมฆะ.
             ความยินดีพอใจในรูปารูปภพและความใคร่ในฌาน ชื่อว่าภโวฆะ.
             ทิฐิ ๖๒ ชื่อว่าทิฏโฐฆะ.
             ความไม่รู้ในสัจจะ ๔ ชื่อว่าอวิชโชฆะ. 
             ๙. เทศนาของพระผู้มีพระภาคเจ้ามี ๒ อย่าง คือ แสดงโดยนิคคหมุขะ (เพื่อข่มมานะ)
และอนุคคหมุขะ (เพื่ออนุเคราะห์ต่อผู้ที่ใคร่ต่อการศึกษา)
             สมดังที่ตรัสไว้ว่า 
             ดูก่อนอานนท์ เราจักกล่าวข่มบุคคลผู้ควรข่ม เราจักยกย่องบุคคลผู้ควรยกย่อง
ภิกษุใดมีธรรมเป็นสาระ ภิกษุนั้นจักดำรงอยู่
             ในพระสูตรนี้ ทรงแสดงนิคคหมุขเทศนา เพราะเทวดาตนนี้มีมานะว่าตนเป็นบัณฑิต
             ๑๐. เทวดาตนนี้กล่าวว่า "นานหนอ" อรรถกถาอธิบายว่า เพราะตั้งแต่เทวดาตนนี้
เห็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้าพระนามว่ากัสสปะ ก็ไม่เคยเห็นพระพุทธเจ้าพระองค์อื่นในระหว่างกาล
อันยาวนานนี้อีกเลย จนกระทั่งได้เห็นพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นี้ในวันนี้
- - - - -
             2. ... ยกประโยคต่างๆ ที่อรรถกถานำมาอธิบายคำศัพท์ต่างๆ ว่า
ประโยคนั้นน่าจะอยู่ในพระสูตรใดที่ได้ศึกษามาแล้ว อย่างน้อย 2 ประโยค.

ว่าด้วย เอวํ ศัพท์
             เอหิ ตฺวํ มาณวก ฯเปฯ เอวญฺจ วเทหิ สาธุ กิร ภวํ อานนฺโท เยน สุภสฺส
มาณวสฺส โตเทยฺยปุตฺตสฺส นิเวสนํ เตนุปสงฺกมตุ อนุกมฺปํ อุปาทาย 
             แปลว่า มานี่แน่ะ พ่อมาณพน้อย เจ้าจงเข้าไปหาพระสมณะชื่อว่าอานนท์
แล้วเรียนถามถึงความมีอาพาธน้อย ความลำบากน้อย ความคล่องแคล่ว ความมีกำลัง
ความอยู่สำราญ ด้วยคำของเราว่า ท่านสุภมาณพโตเทยยบุตรเรียนถามท่านพระอานนท์
ถึงความมีอาพาธน้อย ความลำบากน้อย ความคล่องแคล่ว ความอยู่สำราญ
และจงกล่าวอย่างนี้ว่า ขอประทานโอกาส ขอท่านพระอานนท์จงอนุเคราะห์เข้าไปยัง
นิเวศน์ของสุภมาณพโตเทยยบุตรเถิด. 
//84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=15.0&i=1&p=1&bgc=honeydew#เอวํ_ศัพท์

             อยู่ใน สุภสูตร
             [๓๑๕] ก็สมัยนั้น สุภมาณพโตเทยยบุตร พักอยู่ในพระนครสาวัตถี ด้วยกรณียกิจ
บางอย่าง ครั้งนั้น สุภมาณพโตเทยยบุตร เรียกมาณพน้อยคนหนึ่งมาว่า มานี่แน่ พ่อมาณพ
พ่อจงเข้าไปหาพระอานนท์ถึงที่อยู่แล้ว เรียนถามพระสมณอานนท์ผู้มีอาพาธน้อย มีโรคเบาบาง
กระปรี้กระเปร่า มีกำลัง อยู่สำราญ ตามคำของเราว่า สุภมาณพโตเทยยบุตร เรียนถามถึงท่าน
และจงกล่าวอย่างนี้ว่า ข้าพเจ้าขอโอกาส ขอท่านพระอานนท์ จงอนุเคราะห์เข้าไปยังนิเวศน์
ของสุภมาณพโตเทยยบุตรเถิด
//84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=9&A=6777&Z=7316&pagebreak=0#315

             [๓๑๕]   เตน  โข  ปน  สมเยน  สุโภ  มาณโว  โตเทยฺยปุตฺโต
สาวตฺถิยํ   ปฏิวสติ   เกนจิเทว   กรณีเยน   ฯ  อถโข  สุโภ  มาณโว
โตเทยฺยปุตฺโต   อญฺตรํ   มาณวกํ   อามนฺเตสิ   เอหิ   ตฺวํ   มาณวก
เยน   สมโณ   อานนฺโท   เตนุปสงฺกม   อุปสงฺกมิตฺวา   มม   วจเนน
สมณํ   อานนฺทํ   อปฺปาพาธํ   อปฺปาตงฺกํ   ลหุฏฺานํ   พลํ   ผาสุวิหารํ
ปุจฺฉ   สุโภ   มาณโว   โตเทยฺยปุตฺโต   ภวนฺตํ   อานนฺทํ   อปฺปาพาธํ
อปฺปาตงฺกํ    ลหุฏฺานํ   พลํ   ผาสุวิหารํ   ปุจฺฉตีติ   เอวญฺจ   วเทหิ
สาธุ   กิร   ภวํ   อานนฺโท   เยน  สุภสฺส  มาณวสฺส  โตเทยฺยปุตฺตสฺส
นิเวสนํ เตนุปสงฺกมตุ อนุกมฺปํ อุปาทายาติ
 ฯ
//budsir.mahidol.ac.th/cgi-bin/Budsir.cgi/SearchItem?mode=1&valume=9&item=315&Roman=0
- - - - -
ว่าด้วย วัณณศัพท์
             วัณณศัพท์ในอรรถว่า เหตุ (การณ) เช่นในประโยคมีอาทิอย่างนี้ว่าในสังยุตตนิกายวนสังยุตว่า
             อถ เกน นุ วณฺเณน คนฺธตฺเถโนติ วุจฺตติ แปลว่า เมื่อเป็นเช่นนี้ เหตุไรเล่า ท่านจึงกล่าวว่า ขโมยกลิ่น. 
//84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=15.0&i=1&p=2&bgc=honeydew#วัณณศัพท์

             อยู่ใน ปสิงฆปุปผกชาดก ว่าด้วยคนดีไม่ควรทำชั่วแม้นิดหน่อย
             [๙๔๕]     เราไม่ได้นำเอาไป ไม่ได้บริโภค เรายืนดมดอกบัวอยู่ในที่ไกล เมื่อเป็น
                       เช่นนั้น เหตุไฉน ท่านจึงกล่าวว่า เราเป็นผู้ขโมยกลิ่นดอกบัวเล่า?
//84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=27&A=4194&Z=4211&pagebreak=0#945

             [๙๔๕] น หรามิ น ภญฺชามิ        อารา สิงฺฆามิ วาริชํ
อถ เกน นุ วณฺเณน         คนฺธเถโนติ วุจฺจติ ฯ
//budsir.mahidol.ac.th/cgi-bin/Budsir.cgi/SearchItem?mode=1&valume=27&item=945&Roman=0
- - - - - 
             3. ประโยคที่อรรถกถานำมาอธิบายบทว่า อญฺญตรา เทวตา
             น่าจะมาจากพระสูตรอะไร? (อยู่ในพระสูตรหลักที่ศึกษาแล้ว).

             เนื้อความอรรถกถา
             บทว่า อญฺญตรา เทวตา ได้แก่ เทพยดาองค์หนึ่งซึ่งมีชื่อและโคตรมิได้ปรากฏ. 
             ก็ในคำว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระผู้มีพระภาคเจ้าย่อมทรงทราบยิ่งซึ่งการบูชาของ
ข้าพระองค์ พระองค์ได้ตรัสถึงวิมุตติอันเป็นธรรมสิ้นไปแห่งตัณหาแก่ยักษ์ผู้มีศักดาใหญ่
ตนหนึ่ง ด้วยธรรมอันสังเขป ดังนี้
             แม้ท้าวสักกเทวราช ผู้ปรากฏแล้วท่านก็กล่าวว่า อญฺญตโร หมายถึงองค์หนึ่ง.

             นำมาจาก วัมมิกสูตร ว่าด้วยปริศนาจอมปลวก
             [๒๘๙] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้-
             สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน อารามของท่านอนาถบิณฑิก
เศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี. ก็โดยสมัยนั้นแล ท่านพระกุมารกัสสปะพักอยู่ที่ป่าอันธวัน. ครั้ง
นั้น เทวดาองค์หนึ่ง มีวรรณงามยิ่ง ...
//84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=12&A=4846&Z=4937&pagebreak=0

             [๒๘๙]   เอวมฺเม   สุตํ   เอกํ  สมยํ  ภควา  สาวตฺถิยํ  วิหรติ
เชตวเน   อนาถปิณฺฑิกสฺส   อาราเม   ฯ   เตน   โข   ปน  สมเยน
อายสฺมา   กุมารกสฺสโป   อนฺธวเน   วิหรติ   ฯ   อถ  โข  อญฺตรา
เทวตา
   อภิกฺกนฺตาย   รตฺติยา   อภิกฺกนฺตวณฺณา   เกวลกปฺปํ   อนฺธวนํ
//budsir.mahidol.ac.th/cgi-bin/Budsir.cgi/SearchItem?mode=1&valume=12&item=289&Roman=0

             อรรถกถา วัมมิกสูตร
             บทว่า อญฺญตรา เทวตา ความว่า เทวดาองค์หนึ่งไม่ปรากฏนามและโคตร.
แม้ท้าวสักกเทวราชที่รู้กันชัดแจ้ง ท่านก็ยังเรียกว่า อญฺญตโร ในบาลีนี้ว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ
พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงทราบหรือไม่ว่า พระองค์ได้ตรัสตัณหาสังขยวิมุตติโดยสังเขปแก่ยักษ์
ผู้มีศักดิ์ใหญ่องค์หนึ่ง. ก็แม้คำว่า เทวตา นี้เป็นคำเรียกทั่วไปแม้สำหรับเทวดาทั้งหลาย.
แต่ในที่นี้ ท่านประสงค์เอาเทพในคำว่า เทวตา นั้น. 
//84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=12&i=289

ความคิดเห็นที่ 15
ฐานาฐานะ, 6 พฤษภาคม เวลา 18:05 น.

GravityOfLove, 6 ชั่วโมงที่แล้ว
             1. คำว่า อรรถกถา ... กล่าวคือ นัยของอรรถกถามีมากกว่าที่สรุปความไว้
             แก้ไขเป็น [นัยบางส่วนจากอรรถกถา] ได้ไหมคะ
ตอบว่า ได้ครับ เป็นการบอกกล่าวให้รู้ว่า นัยบางส่วน (เท่านั้น)
และผู้สรุปความถือเอาส่วนสำคัญมาแสดง.
- - - - -

             2. มีข้อสงสัยว่า ใช้คำผิดไปด้วยการคัดลอก หรือว่า ...
             คัดลอกมาทั้งอย่างนั้นค่ะ
//www.geocities.ws/tmchote/tpd-mcu/tpd15.htm
             แก้ไขเป็น
             ไม่เพียร หมายถึงไม่แสวงหาความทุกข์ด้วยการทรมานตนให้ลำบาก ซึ่งจัดอยู่ในอัตตกิลมถานุโยค

             รับทราบครับว่า คัดลอกมาทั้งอย่างนั้น.

ความคิดเห็นที่ 16
ฐานาฐานะ, 6 พฤษภาคม เวลา 18:42 น.

             ตอบคำถามในโอฆตรณสูตร
//84000.org/tipitaka/read/v.php?B=15&A=0&Z=29

             1. เมื่อศึกษาพระสูตรนี้ได้อะไรบ้าง?
             ...
             ตอบคำถามได้ดีครับ.
- - - - -
             2. ... ยกประโยคต่างๆ ที่อรรถกถานำมาอธิบายคำศัพท์ต่างๆ ว่า
ประโยคนั้นน่าจะอยู่ในพระสูตรใดที่ได้ศึกษามาแล้ว อย่างน้อย 2 ประโยค.
             ...
             ว่าด้วย เอวํ ศัพท์ ...
             อยู่ใน สุภสูตร
//84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=9&A=6777&Z=7316&pagebreak=0#315
             ...
             ว่าด้วย วัณณศัพท์ ...
             อยู่ใน ปสิงฆปุปผกชาดก ว่าด้วยคนดีไม่ควรทำชั่วแม้นิดหน่อย
//84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=27&A=4194&Z=4211&pagebreak=0#945

             ตอบคำถามได้ดีครับ ปสิงฆปุปผกชาดกน่าจะศึกษาแล้ว
เพราะเป็นพระสูตรที่แนะนำ.
- - - - - 
             3. ประโยคที่อรรถกถานำมาอธิบายบทว่า อญฺญตรา เทวตา
             น่าจะมาจากพระสูตรอะไร? (อยู่ในพระสูตรหลักที่ศึกษาแล้ว).
             เนื้อความอรรถกถา
             บทว่า อญฺญตรา เทวตา ได้แก่ เทพยดาองค์หนึ่งซึ่งมีชื่อและโคตรมิได้ปรากฏ. 
             ก็ในคำว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระผู้มีพระภาคเจ้าย่อมทรงทราบยิ่งซึ่งการบูชาของ
ข้าพระองค์ พระองค์ได้ตรัสถึงวิมุตติอันเป็นธรรมสิ้นไปแห่งตัณหาแก่ยักษ์ผู้มีศักดาใหญ่
ตนหนึ่ง ด้วยธรรมอันสังเขป ดังนี้
             แม้ท้าวสักกเทวราช ผู้ปรากฏแล้วท่านก็กล่าวว่า อญฺญตโร หมายถึงองค์หนึ่ง.
//84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=15.0&i=1&p=2

             นำมาจาก วัมมิกสูตร ว่าด้วยปริศนาจอมปลวก
//84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=12&A=4846&Z=4937&pagebreak=0
             ...

             ตอบคำถามผิดครับ ที่ยกมาตอบนั้นก็เป็นการอธิบายบทว่า อญฺญตรา เทวตา
เหมือนกัน อรรถกถาทั้งสองพระสูตร ยกประโยคเดียวกันในพระสูตรหนึ่งขึ้นมาเป็นตัวอย่าง
เพื่อการอธิบายศัพท์ พระสูตรที่ยกมานั้น น่าจะเป็นจูฬตัณหาสังขยสูตร.

             จูฬตัณหาสังขยสูตร ว่าด้วยข้อปฏิบัติธรรมเป็นที่สิ้นตัณหา
[บางส่วน]
             [๔๓๙] ครั้งนั้น ท่านพระมหาโมคคัลลาน์ เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาค ถึงที่ประทับ
ถวายอภิวาทแล้ว นั่งอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วได้ทูลว่า
             ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระผู้มีพระภาคย่อมทรงทราบว่าพระองค์ เป็นผู้ตรัสความ
น้อมไปในธรรมเป็นที่สิ้นแห่งตัณหาโดยย่อแก่เทพผู้มีศักดิ์มากผู้ใดผู้หนึ่งบ้างหรือหนอ?
//84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=12&A=7915&Z=8040

             [๔๓๙]   อถ   โข   อายสฺมา   มหาโมคฺคลฺลาโน  เยน  ภควา
เตนุปสงฺกมิ   อุปสงฺกมิตฺวา   ภควนฺตํ  อภิวาเทตฺวา  เอกมนฺตํ  นิสีทิ  ฯ
เอกมนฺตํ    นิสินฺโน    โข    อายสฺมา    มหาโมคฺคลฺลาโน   ภควนฺตํ
เอตทโวจ   อภิชานาติ   โน   ภนฺเต   ภควา  อาหุนญฺเญว  อญฺญตรสฺส
มเหสกฺขสฺส ยกฺขสฺส สงฺขิตฺเตน ตณฺหาสงฺขยวิมุตฺตึ ภาสิตาติ ฯ
//budsir.mahidol.ac.th/cgi-bin/Budsir.cgi/SearchItem?mode=1&valume=12&item=439&Roman=0

ความคิดเห็นที่ 17
ฐานาฐานะ, 6 พฤษภาคม เวลา 18:51 น.

             คำถามชุดที่ 2 ในโอฆตรณสูตร
//84000.org/tipitaka/read/v.php?B=15&A=0&Z=29

             คำถามเบาๆ ว่า
             คำว่า ธรรมอันเป็นหมวดทุกะ ๗ หมวดที่อรรถกถากล่าวไว้ คืออะไร?

ความคิดเห็นที่ 18
GravityOfLove, 6 พฤษภาคม เวลา 19:56 น.

           ตอบคำถามชุดที่ 2 ในโอฆตรณสูตร
            คำว่า ธรรมอันเป็นหมวดทุกะ ๗ หมวดที่อรรถกถากล่าวไว้ คืออะไร?
            ทุกะ แปลว่า หมวด ๒
            ๑. ว่าด้วยอำนาจกิเลส เมื่อบุคคลพักอยู่ ชื่อว่าย่อมจม.
ว่าด้วยอำนาจอภิสังขาร เมื่อบุคคลเพียร ชื่อว่าย่อมลอย. 
            ๒. ว่าด้วยตัณหาและทิฐิ เมื่อบุคคลพักอยู่ ชื่อว่าย่อมจม.
ว่าด้วยอำนาจแห่งกิเลสที่เหลือและอภิสังขารทั้งหลาย เมื่อบุคคลเพียร ชื่อว่าย่อมลอย. 
            ๓. ว่าด้วยอำนาจแห่งตัณหา เมื่อบุคคลพักอยู่ ชื่อว่าย่อมจม.
ว่าด้วยอำนาจแห่งทิฐิ เมื่อบุคคลเพียร ชื่อว่าย่อมลอย. 
            ๔. ว่าด้วยสัสสตทิฐิ เมื่อบุคคลพักอยู่ ชื่อว่าย่อมจม.
ว่าด้วยอุจเฉททิฏฐิ เมื่อบุคคลเพียร ชื่อว่าย่อมลอย เพราะว่าภวทิฐิ ยึดมั่นในมานะอันเฉื่อยชา
แต่วิภวทิฐิยึดมั่นในการแล่นเลยไป. 
            ๕. ว่าด้วยอำนาจการติด (ลินะ) เมื่อพักอยู่ ชื่อว่าย่อมจม.
ว่าด้วยอำนาจอุทธัจจะ เมื่อเพียร ชื่อว่าย่อมลอย. 
            ๖. ว่าด้วยกามสุขัลลิกานุโยค เมื่อบุคคลพักอยู่ ชื่อว่าย่อมจม.
ว่าด้วยอัตตกิลมถานุโยค เมื่อเพียรชื่อว่าย่อมลอย. 
            ๗. ว่าด้วยอำนาจแห่งอกุสลาภิสังขารทั้งหมด เมื่อบุคคลพักอยู่ ชื่อว่าย่อมจม.
ว่าด้วยอำนาจแห่งกุสลาภิสังขารอันเป็นโลกีย์ทั้งหมด เมื่อบุคคลเพียร ชื่อว่าย่อมลอย.

ความคิดเห็นที่ 19
ฐานาฐานะ, 6 พฤษภาคม เวลา 20:10 น.

GravityOfLove, 11 นาทีที่แล้ว
             ตอบคำถามชุดที่ 2 ในโอฆตรณสูตร
             คำว่า ธรรมอันเป็นหมวดทุกะ ๗ หมวดที่อรรถกถากล่าวไว้ คืออะไร?
...
7:56 PM 5/6/2014

             ตอบคำถามได้ดีครับ.

ความคิดเห็นที่ 20
ฐานาฐานะ, 6 พฤษภาคม เวลา 20:12 น.

             เป็นอันว่า พระสูตรชื่อว่า โอฆตรณสูตร จบบริบูรณ์.
//84000.org/tipitaka/read/v.php?B=15&A=0&Z=29

              พระสูตรหลักถัดไป คือ นิโมกขสูตร [พระสูตรที่ 2].
              พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๕  พระสุตตันตปิฎก เล่ม ๗
              สังยุตตนิกาย สคาถวรรค
              ๒. นิโมกขสูตร
//84000.org/tipitaka/read/v.php?B=15&A=30&Z=50
              ศึกษาอรรถกถานี้ ได้ที่ :-
//84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=15&i=4

ความคิดเห็นที่ 21
GravityOfLove, 6 พฤษภาคม เวลา 20:26 น.

             ๒. นิโมกขสูตร
             กรุณาอธิบายค่ะ
             ตั้งแต่ [ในปุริมนัยนั้น ... ] ถึง [ ... แห่งขันธ์ ๕ เหล่านี้ดังพรรณนามาฉะนี้.]
//84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=15&i=4

             ๓. อุปเนยยสูตร
             1. ในเนื้อความพระไตรปิฎก ละเอาไว้ว่าเกิดขึ้นที่เดียวกับพระสูตรแรกๆ ใช่ไหมคะ
             2. กรุณาอธิบายค่ะ ตั้งแต่ [บทว่า ปุญฺญานิกยิราถ สุขาวหานิ ... ] ถึง [ ... พอถูกกระทบก็แตกไป]
//84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=15&i=7
             ขอบพระคุณค่ะ

ย้ายไปที่
//www.bloggang.com/mainblog.php?id=gravity-of-love&month=12-03-2013&group=1&gblog=1



Create Date : 11 พฤษภาคม 2557
Last Update : 12 พฤษภาคม 2557 7:11:59 น.
Counter : 739 Pageviews.

0 comments
ไม่ควรก่อแผลหรือก่อแผลเป็น ปัญญา Dh
(8 เม.ย. 2567 20:22:02 น.)
come from away พุดดิ้งรสกาแฟ
(7 เม.ย. 2567 19:24:46 น.)
: หยดน้ำในมหาสมุทร 29 : กะว่าก๋า
(6 เม.ย. 2567 05:12:09 น.)
: หยดน้ำในมหาสมุทร 26 : กะว่าก๋า
(3 เม.ย. 2567 05:14:00 น.)

Gravity-of-love.BlogGang.com

แก้วมณีโชติรส
Location :
  

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ผู้ติดตามบล็อก : 6 คน [?]

บทความทั้งหมด