29.4 พระสูตรหลักถัดไป คือโอฆตรณสูตร [พระสูตรที่ 1]
การสนทนาธรรมนี้ต่อเนื่องมาจาก
29.3 พระสูตรหลักถัดไป คือโอฆตรณสูตร [พระสูตรที่ 1]
//www.bloggang.com/mainblog.php?id=gravity-of-love&month=11-05-2014&group=4&gblog=5

ความคิดเห็นที่ 31
GravityOfLove, 8 พฤษภาคม เวลา 19:09 น.

              ตอบคำถามในพระสูตรทั้งสาม
              เมื่อศึกษาแล้วได้อะไรบ้าง.
              ๒. นิโมกขสูตร
//84000.org/tipitaka/read/v.php?B=15&A=30&Z=50

             ๑. พระผู้มีพระภาคตรัสว่า
             เพราะความสิ้นภพอันมีความเพลิดเพลินเป็นมูล
             เพราะความสิ้นแห่งสัญญาและวิญญาณ
             เพราะความดับ เพราะความสงบแห่งเวทนาทั้งหลาย
             เราย่อมรู้จักมรรคเป็นทางหลีกพ้น ผลเป็นความหลุดพ้น นิพพานเป็นที่สงัด
             ของสัตว์ทั้งหลายอย่างนี้
             ๒. ธรรมทั้งหมดเหล่านี้ (มรรค ผล) เป็นชื่อของพระนิพพาน
เพราะว่า สัตว์ทั้งหลายย่อมพ้น ย่อมหลุดพ้น ย่อมสงบระงับจากทุกข์ทั้งหมด
เพราะบรรลุพระนิพพาน เพราะฉะนั้น นิพพานนั้นแล ท่านจึงกล่าวว่า
นิโมกฺโข (หลีกพ้น) ปโมกฺโข (หลุดพ้น) วิเวโก (ที่สงัด)
             ๓. ได้ยินว่า สูตรนี้ชื่อว่า พุทธสีหนาท
             พระองค์ทรงบำเพ็ญบารมี ๓๐ ทัศให้เต็มแล้วแทงตลอดสัพพัญญุตญาณ
ทรงทราบโดยแท้จริง จึงบันลือสีหนาท
--------------------
              ๓. อุปเนยยสูตร
//84000.org/tipitaka/read/v.php?B=15&A=51&Z=59

             ๑. พระผู้มีพระภาคตรัสว่า
             ชีวิตคืออายุมีประมาณน้อย ถูกต้อนเข้าไปเรื่อย
             เมื่อบุคคลถูกชราต้อนเข้าไปแล้ว ย่อมไม่มีผู้ป้องกัน
             บุคคลเมื่อเห็นภัยนี้ในมรณะ พึงละอามิสในโลกเสีย มุ่งสันติเถิด
             ๒. เมื่อว่าโดยปรมัตถ์ ขณะแห่งชีวิตของสัตว์ทั้งหลายน้อยมาก (เกินเปรียบ)
คือสักว่าเป็นไปเพียงจิตดวงเดียวเท่านั้น
             เหมือนคำที่ท่านกล่าวไว้ว่า
             ในขณะแห่งจิตอันเป็นอดีต บุคคลชื่อว่าเป็นอยู่แล้ว
             มิใช่กำลังเป็นอยู่ มิใช่จักเป็นอยู่ ในขณะแห่งจิตอัน
             เป็นอนาคต บุคคลชื่อว่าจักเป็นอยู่ มิใช่เป็นอยู่แล้ว
             มิใช่เป็นอยู่ ในขณะแห่งจิตอันเป็นปัจจุบัน บุคคล
             ชื่อว่ากำลังเป็นอยู่ มิใช่เป็นอยู่แล้ว ไม่ใช่จักเป็นอยู่.

             ชีวิต อัตตภาพ สุขและทุกข์ทั้งหมด ประกอบด้วย
             จิตดวงเดียว ขณะของจิตนั้นย่อมเป็นไปเร็วพลัน.

             จิตเหล่าใดของสัตว์ที่กำลังดำรงอยู่ หรือกำลังตาย
             แตกดับไปแล้วในปวัตติกาลนี้ จิตเหล่านั้นทั้งหมด
             หาได้กลับมาเกิดอีกไม่ แม้ขันธ์ทั้งหลายก็เช่นเดียวกัน.

             เพราะจิตไม่เกิด สัตว์โลกก็ชื่อว่าไม่เกิด
             เพราะจิตเกิดขึ้นเฉพาะหน้า สัตว์โลกก็
             ชื่อว่าเป็นอยู่ เพราะความแตกดับแห่งจิต
             สัตว์โลกจึงชื่อว่าตายแล้ว นี้เป็นบัญญัติ
             เนื่องด้วยปรมัตถ์.
             ๓. เทวดาองค์นี้เกิดในพรหมโลกที่มีอายุยาวนานจึงเห็นสัตว์ทั้งหลาย
ผู้กำลังตาย กำลังเกิดที่มีอายุน้อยในเทวดาชั้นกามาวจรเบื้องต่ำ เหมือนกับการตกลง
แห่งเม็ดฝนพอถูกกระทบก็แตกไป
             ๔. โลกามิส ๒ อย่าง คือปริยายโลกามิส (โลกามิสที่เป็นเหตุ เช่น
ทำบุญเพื่อหวังความสุขในสวรรค์)
             และนิปปริยายโลกามิส (โลกามิสที่ไม่เป็นเหตุ เช่น ความสุขในสวรรค์สมบัติ,
ในปัจจัย ๔).
             วัฏฏะอันเป็นไปในภูมิ ๓ เรียกว่าปริยายโลกามิส.
             ปัจจัยคือเครื่องอาศัย ๔ อย่าง เรียกว่านิปปริยายโลกามิส.
             ในที่นี้ ท่านประสงค์เอาปริยายโลกามิส แม้นิปปริยายโลกามิสก็ควรในที่นี้เหมือนกัน.
--------------------
              ๔. อัจเจนติสูตร
//84000.org/tipitaka/read/v.php?B=15&A=60&Z=68

             พระผู้มีพระภาคตรัสว่า
             กาลทั้งหลายย่อมล่วงไป ราตรีทั้งหลายย่อมผ่านไป
             ชั้นแห่งวัยย่อมละลำดับไป
             บุคคลเมื่อเห็นภัยนี้ในมรณะ พึงละอามิสในโลกเสีย มุ่งสันติเถิด

ความคิดเห็นที่ 32
ฐานาฐานะ, 8 พฤษภาคม เวลา 19:33 น.

GravityOfLove, 10 นาทีที่แล้ว
              ตอบคำถามในพระสูตรทั้งสาม
              เมื่อศึกษาแล้วได้อะไรบ้าง.
...
7:08 PM 5/8/2014

              ตอบคำถามได้ดีครับ.

ความคิดเห็นที่ 33
ฐานาฐานะ, 8 พฤษภาคม เวลา 20:18 น.

             เป็นอันว่า พระสูตรชื่อว่า นิโมกขสูตร, อุปเนยยสูตรและอัจเจนติสูตร จบบริบูรณ์.
//84000.org/tipitaka/read/v.php?B=15&A=30&Z=68

              พระสูตรหลักถัดไป คือ กติฉินทิสูตร [พระสูตรที่ 5].
              พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๕  พระสุตตันตปิฎก เล่ม ๗
              สังยุตตนิกาย สคาถวรรค
              ๕. กติฉินทิสูตร
//84000.org/tipitaka/read/v.php?B=15&A=69&Z=78
              ศึกษาอรรถกถานี้ ได้ที่ :-
//84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=15&i=11

ความคิดเห็นที่ 34
GravityOfLove, 8 พฤษภาคม เวลา 20:29 น.

             ๗. อัปปฏิวิทิตสูตร
//84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=15&A=91&Z=100&bgc=honeydew&pagebreak=0

             กรุณาอธิบายค่ะ
             ๑. ย่อมประพฤติเสมอในหมู่สัตว์ผู้ประพฤติไม่เสมอ
             ๒. พุทธะมีในก่อนแม้ทั้ง ๓ ย่อมสมควรในอรรถนี้.
             ขอบพระคุณค่ะ

ความคิดเห็นที่ 35
ฐานาฐานะ, 8 พฤษภาคม เวลา 22:14 น.

GravityOfLove, 1 ชั่วโมงที่แล้ว
              ๗. อัปปฏิวิทิตสูตร
//84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=15&A=91&Z=100&bgc=honeydew&pagebreak=0

              กรุณาอธิบายค่ะ
              ๑. ย่อมประพฤติเสมอในหมู่สัตว์ผู้ประพฤติไม่เสมอ
              ๒. พุทธะมีในก่อนแม้ทั้ง ๓ ย่อมสมควรในอรรถนี้.
              ขอบพระคุณค่ะ
8:28 PM 5/8/2014

              คำว่า ย่อมประพฤติเสมอในหมู่สัตว์ผู้ประพฤติไม่เสมอ
              อธิบายว่า
              คำว่า เสมอ นี้ มาจากคำว่า สม สะ-มะ
              คำนี้แปลว่า สม่ำเสมอ โดยนัยก็คือ สมควร เหมาะสม ถูกต้อง ดีงาม.
              คำว่า สม่ำเสมอ
//84000.org/tipitaka/dic/v_seek.php?text=สม่ำเสมอ&detail=on

              ดังนั้น คำว่า ย่อมประพฤติเสมอในหมู่สัตว์ผู้ประพฤติไม่เสมอ
จึงมีความหมายว่า ประพฤติถูกต้อง แม้อยู่ท่ามกลางหมู่สัตว์ที่ประพฤติไม่ถูกต้อง.

              คำว่า พุทธะมีในก่อนแม้ทั้ง ๓ ย่อมสมควรในอรรถนี้.
              อธิบายว่า ในอรรถกถากล่าวถึงพุทธะหรือผู้ตรัสรู้ 4 จำพวก
              คำว่า พุทธะ ท่านผู้ตรัสรู้แล้ว
//84000.org/tipitaka/dic/v_seek.php?text=ท่านผู้ตรัสรู้แล้ว&detail=on

              ในข้อสุดท้าย คือพหูสูต นัยนี้ยังอาจหมายถึงปุถุชนได้
ดังนั้น เหลือเพียง 3 จำพวกแรกเท่านั้น ที่สมควรในความหมายนี้
คือย่อมไม่ถูกจูงไปในวาทะของชนพวกอื่น.

ความคิดเห็นที่ 36
GravityOfLove, 8 พฤษภาคม เวลา 22:20 น.

เข้าใจแล้วค่ะ ขอบพระคุณค่ะ

ความคิดเห็นที่ 37
GravityOfLove, 8 พฤษภาคม เวลา 22:33 น.

             พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๕  พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๗
             สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เทวตาสังยุต นฬวรรคที่ ๑
             ๕. กติฉินทิสูตร ว่าด้วยบุคคลตัดอะไรจึงข้ามโอฆะได้
//84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=15&A=69&Z=78&bgc=honeydew&pagebreak=0

             เทวดาทูลถามพระผู้มีพระภาคด้วยคาถาว่า
             บุคคลควรตัดเท่าไร ควรละ (ตัด) เท่าไร ควรบำเพ็ญคุณอันยิ่งเท่าไร
ภิกษุล่วงธรรมเครื่องข้องเท่าไร พระองค์จึงตรัสว่า เป็นผู้ข้ามโอฆะแล้ว
             (พระผู้มีพระภาคตรัสตอบเป็นคาถาว่า)
             บุคคลควรตัดสังโยชน์เป็นส่วนเบื้องต่ำ ๕ อย่าง
             ควรละ (ตัด) สังโยชน์เป็นส่วนเบื้องบน ๕ อย่าง
             ควรบำเพ็ญอินทรีย์อันยิ่ง ๕ อย่าง
             ภิกษุล่วงธรรมเป็นเครื่องข้อง ๕ อย่าง
             เรากล่าวว่า เป็นผู้ข้ามโอฆะแล้ว

//84000.org/tipitaka/dic/d_seek.php?text=สังโยชน์_10
//84000.org/tipitaka/dic/d_seek.php?text=อินทรีย์_5
//84000.org/tipitaka/dic/d_seek.php?text=โอฆะ

             [อรรถกถา]
             ธรรมเป็นเครื่องข้อง ๕ อย่างคือ (๑) ราคะ ความกำหนัด
             (๒) โทสะ ความโกรธ (๓) โมหะ ความหลง
             (๔) มานะ ความถือตัว (๕) ทิฏฐิ ความเห็น

----------------------
             พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๕  พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๗
             สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เทวตาสังยุต นฬวรรคที่ ๑
             ๖. ชาครสูตร ว่าด้วยความตื่น
//84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=15&A=79&Z=90&bgc=honeydew&pagebreak=0

             เทวดาทูลถามพระผู้มีพระภาค (เป็นคาถา) ว่า
             เมื่อธรรมทั้งหลายตื่นอยู่ ธรรมประเภทไหนนับว่าหลับ
เมื่อธรรมทั้งหลายหลับ ธรรมประเภทไหนนับว่าตื่น บุคคลหมักหมมธุลีเพราะ
ธรรมประเภทไหน บุคคลบริสุทธิ์เพราะธรรมประเภทไหน
             พระผู้มีพระภาคตรัสตอบ (เป็นคาถา) ว่า
             เมื่ออินทรีย์ ๕ อย่างตื่นอยู่ นิวรณ์ ๕ อย่าง นับว่าหลับ
             เมื่อนิวรณ์ ๕ อย่างหลับ อินทรีย์ ๕ อย่าง นับว่าตื่น
             บุคคลหมักหมมธุลีเพราะนิวรณ์ ๕ อย่าง
             บุคคลบริสุทธิ์เพราะอินทรีย์ ๕ อย่าง

//84000.org/tipitaka/dic/d_seek.php?text=อินทรีย์_5
//84000.org/tipitaka/dic/d_seek.php?text=นิวรณ์_5

----------------------
             พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๕  พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๗
             สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เทวตาสังยุต นฬวรรคที่ ๑
             ๗. อัปปฏิวิทิตสูตร ว่าด้วยผู้ไม่รู้แจ้งธรรม (ยังมิได้แทงตลอดด้วยญาณ)
//84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=15&A=91&Z=100&bgc=honeydew&pagebreak=0

             เทวดากล่าวคาถาในสำนักพระผู้มีพระภาคว่า
             ธรรมทั้งหลาย (อริยสัจ ๔) อันชนพวกใดยังไม่แทงตลอดแล้ว
ชนพวกนั้นย่อมถูกจูงไปในวาทะของชนพวกอื่น (วาทะของเดียรถีย์ หรือทิฏฐิ ๖๒)
ชนพวกนั้นชื่อว่ายังหลับไม่ตื่น
             (กาลนี้) เป็นกาลสมควร เพื่อจะตื่นของชนพวกนั้น
             (พระผู้มีพระภาคตรัสเป็นคาถาว่า)
             ธรรมทั้งหลาย อันชนพวกใดแทงตลอดดีแล้ว
             ชนพวกนั้นย่อมไม่ถูกจูงไปในวาทะของชนพวกอื่น
             บุคคลผู้รู้ดีทั้งหลาย รู้ทั่วถึงโดยชอบแล้ว
(ผู้ตรัสรู้ ๓ จำพวกแรก)
             ย่อมประพฤติเสมอในหมู่สัตว์ผู้ประพฤติไม่เสมอ
             (ย่อมประพฤติถูกต้อง แม้อยู่ท่ามกลางหมู่สัตว์ที่ประพฤติไม่ถูกต้อง)
//84000.org/tipitaka/dic/d_seek.php?text=อริยสัจ_4
//84000.org/tipitaka/dic/v_seek.php?text=ท่านผู้ตรัสรู้แล้ว&detail=on
             คำว่า ทิฏฐิ ๖๒
             ปุพพันตกัปปิกทิฏฐิ ๑๘
//84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=9&i=1&p=5#ปุพฺพนฺตกปฺปิกา
             อปรันตกัปปิกทิฏฐิ ๔๔
//84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=9&i=1&p=6#อปรันตกัปปิกทิฏฐิ

ความคิดเห็นที่ 38
ฐานาฐานะ, 9 พฤษภาคม เวลา 18:58 น.

              สรุปความได้ดีทั้ง 3 พระสูตร.
              กติฉินทิสูตร, ชาครสูตรและอัปปฏิวิทิตสูตร
//84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=15&A=69&Z=100

ความคิดเห็นที่ 39
ฐานาฐานะ, 9 พฤษภาคม เวลา 19:03 น.

              คำถามในพระสูตรทั้งสาม
              ๕. กติฉินทิสูตร
//84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=15&A=69&Z=78
              ๖. ชาครสูตร
//84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=15&A=79&Z=90
              ๗. อัปปฏิวิทิตสูตร
//84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=15&A=91&Z=100

              1. เมื่อศึกษาแล้วได้อะไรบ้าง.
              2. พระสูตรใด เทวดาทูลถาม
              พระสูตรใด เทวดาไม่ได้ทูลถามเป็นแต่เพียงกล่าวคาถาเท่านั้น
              สันนิษฐานว่า เพราะเหตุใด?

ย้ายไปที่
//www.bloggang.com/mainblog.php?id=gravity-of-love&month=12-03-2013&group=1&gblog=1



Create Date : 11 พฤษภาคม 2557
Last Update : 22 มิถุนายน 2557 20:50:42 น.
Counter : 643 Pageviews.

0 comments
: รูปแบบของชีวิต : กะว่าก๋า
(17 เม.ย. 2567 04:37:20 น.)
: หยดน้ำในมหาสมุทร 35 : กะว่าก๋า
(13 เม.ย. 2567 05:51:40 น.)
อยาก อยากได้ กฎที่ถูกที่ดี ปัญญา Dh
(14 เม.ย. 2567 05:37:27 น.)
สมบัติรูป สมบัตินามที่ถูกรูป ปัญญา Dh
(10 เม.ย. 2567 18:24:46 น.)

Gravity-of-love.BlogGang.com

แก้วมณีโชติรส
Location :
  

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ผู้ติดตามบล็อก : 6 คน [?]

บทความทั้งหมด