37.4 พระสูตรหลักถัดไป คือปฐมกัสสปสูตร [พระสูตรที่ 82]
การสนทนาธรรมนี้ต่อเนื่องมาจาก
37.3 พระสูตรหลักถัดไป คือปฐมกัสสปสูตร [พระสูตรที่ 82]
//www.bloggang.com/mainblog.php?id=gravity-of-love&month=01-07-2014&group=4&gblog=45

ความคิดเห็นที่ 33
ฐานาฐานะ, 24 มิถุนายน 2557 เวลา 22:16 น.

GravityOfLove, 4 นาทีที่แล้ว
             กรุณาอธิบายค่ะ
             ๘๘. ปัญจาลจัณฑสูตร
//84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=15&A=1495&Z=1504&bgc=honeydew&pagebreak=0

             ที่พระผู้มีพระภาคตรัส เป็นการหักล้าง หรือเสริมคำกล่าวของเทวบุตรองค์นี้คะ
..........
             โดยประกอบนัยของอรรถกถา
             บุคคลผู้มีปัญญามาก ได้ประสบโอกาส ในที่คับแคบหนอ
             น่าจะหมายถึง
             บุคคลผู้มีปัญญามาก ได้โอกาสบรรลุธรรมหรือได้ฌาน แม้อยู่ท่ามกลาง
กามคุณและสิ่งที่เอื้อต่อนิวรณ์ กล่าวคือแม้จะเอื้อให้ได้ฌาน/ตรัสรู้/บรรลุธรรม.

             พระผู้มีพระภาคตรัส น่าจะเป็นการเสริม โดยทรงแสดงวิธี
คือแต่ได้เฉพาะแล้วซึ่งสติ กล่าวคือ พึงมีสติตั้งมั่น.

             ๘๙. ตายนสูตร
//84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=15&A=1505&Z=1552&bgc=honeydew&pagebreak=0

             ๑. ท่านจงพยายามตัดกระแสตัณหา จงบรรเทากามเสียเถิด
             พราหมณ์ ฯ << เทวบุตรหมายถึงพระผู้มีพระภาคหรือคะ มาถวายคำแนะนำพระผู้มีพระภาคหรือคะ
             อรรถกถากล่าวว่า
             แต่เขาไม่รู้ว่า พระศาสนาเป็นธรรมนำสัตว์ออกจากทุกข์. เขามายังสำนักพระตถาคต
ด้วยประสงค์จะกล่าวคาถาคำร้อยกรอง ประกอบด้วยความเพียรอันเหมาะแก่พระศาสนา
จึงกล่าวคาถาว่า ฉินฺท โสตํ ดังนี้เป็นต้น.
             บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ฉินฺท เป็นคำสั่งที่ไม่แน่นอน.
             ความก็คือ
             1. นัยว่า ไม่รู้ว่า พระผู้มีพระภาคเป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
             2. ประสงค์จะแสดงธรรมที่เหมาะสม ซึ่งก็เหมาะสมจริงๆ
แก่ผู้ยังไม่บรรลุพระอรหัต ด้วยพระพุทธดำรัสว่า
             ตายนคาถาประกอบด้วยประโยชน์ เป็นเบื้องต้นแห่งพรหมจรรย์ ฯ
             3. คำว่า บทว่า ฉินฺท เป็นคำสั่งที่ไม่แน่นอน.
             อาจจะหมายถึงเป็นการสั่งหรือสอนโดยไม่ระบุบุคคลเฉพาะก็ได้
ซึ่งคืออาจจะเป็นการถวายคำแนะนำพระผู้มีพระภาคก็ได้
หรือกล่าวธรรมเปรยๆ ไม่ระบุก็ได้ หรือประสงค์จะฝากไปถึงพุทธบริษัทก็ได้.
             แต่นัยของคำว่า แต่เขาไม่รู้ว่า พระศาสนาเป็นธรรมนำสัตว์ออกจากทุกข์.
หรือก็คือ ไม่รู้ว่า พระผู้มีพระภาคเป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
ชัดเจนที่สุด น่าจะมีน้ำหนักมากที่สุด จึงสันนิษฐานในที่นี้ว่า
             เทวบุตรถวายคำแนะนำพระผู้มีพระภาค.

             ๒. กรรมอันย่อหย่อนอย่างใดอย่างหนึ่ง วัตรอันใดที่เศร้าหมอง
             และพรหมจรรย์ที่น่ารังเกียจ ทั้งสามอย่างนั้น ไม่มีผลมาก
             แปลว่าอะไรคะ เชิงอรรถฉบับมหาจุฬาฯ อ้างอิงไปที่ ดู ขุ.ธ. ๒๕/๓๑๑-๓๑๔/๗๐-๗๑

             ตอบว่า คำว่า เชิงอรรถฉบับมหาจุฬาฯ อ้างอิงไปที่ ดู ขุ.ธ. ๒๕/๓๑๑-๓๑๔/๗๐-๗๑
             น่าจะหมายถึง อรรถกถาเรื่องภิกษุว่ายาก [๒๒๗] ในคาถาธรรมบท
             คาถาธรรมบท นิรยวรรคที่ ๒๒
//84000.org/tipitaka/pitaka_item/r.php?B=25&A=1080&w=การงานอย่างใดอย่างหนึ่งที่ย่อหย่อน
//84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=25&i=32
             ๕. เรื่องภิกษุว่ายาก [๒๒๗]
//84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=25&i=32&p=5

             ตอบโดยนำอรรถกถาทั้ง 2 พระสูตรมาประกอบร่วมกัน คือ
             อรรถกถาตายนสูตร
//84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=15&i=238
             ๕. เรื่องภิกษุว่ายาก [๒๒๗]
//84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=25.0&i=32&p=5

             1. กรรมอันย่อหย่อนอย่างใดอย่างหนึ่ง
             คือ อะไรที่ทำโดยย่อหย่อน ไม่ใส่ใจ ประมาทเลินเล่อ ทำๆ หยุดๆ
ปรารภความเพียรอย่างการเดินของกิ้งก่า (เดินก้าวสองก้าวก็หยุดพัก)
             2. วัตรอันใดที่เศร้าหมอง
             ชื่อว่า เศร้าหมองเพราะการเที่ยวไปในอโคจร มีหญิงแพศยาเป็นต้น.
             บทว่า สงฺกิลิฏฺฐํ ความว่า วัตรที่ทำได้ยาก คือธุดงควัตรที่สมาทาน
เพราะปัจจัยลาภเป็นเหตุในพระศาสนานี้ ก็เศร้าหมองทั้งนั้น.
             น่าจะหมายถึง ข้อปฏิบัติที่เศร้าหมอง เพราะมีข้อตำหนิได้
ไม่ควรทำ หรือตั้งจิตไว้ไม่ดี แม้จะยังไม่ถึงศีลวิบัติ แต่ว่าก็เศร้าหมองแล้ว
เช่น ถือธุดงควัตร โดยหวังให้ชาวบ้านเลื่อมใสมากๆ เป็นต้น.
             3. พรหมจรรย์ที่น่ารังเกียจ
             บทว่า สงฺกสฺสรํ ได้แก่ ที่ระลึกด้วยความรังเกียจ คือที่สงสัย รังเกียจอย่างนี้ว่า
แม้ข้อนี้ ก็จักเป็นข้อที่ผู้นี้กระทำแล้ว แม้ข้อนี้ก็จักเป็นข้อที่ผู้นี้กระทำแล้ว.
             บทว่า สงฺกสฺสรํ ได้แก่ พึงระลึกด้วยความสงสัยทั้งหลาย คือเห็นสงฆ์
แม้ที่ประชุมกันด้วยกิจอย่างใดอย่างหนึ่ง ในบรรดากิจมีกิจด้วยอุโบสถเป็นต้น
แล้วระลึกด้วยความสงสัยของตน คือรังเกียจ ได้แก่ระแวงอย่างนี้ว่า
"ภิกษุเหล่านี้ทราบความประพฤติของเรา มีประสงค์จะยกวัตรเรา จึงประชุมกันแน่แท้."
             น่าจะหมายถึง ความประพฤติที่ระลึกถึงสิ่งนั้นๆ ก็สงสัยว่า
พระวินัยธรจะตำหนิเราหรือไม่ จะลงโทษเราหรือไม่ เป็นต้น
             นัยนี้ เป็นการแสดงสภาพถึงการปฏิบัติของผู้นั้นว่า ปรากฏแก่ใจของเขา
ผู้ปฏิบัติอย่างนั้น แม้แต่ตัวเขาเองก็ระแวงเอง เขานึกถึงก็ไม่ได้ความอิ่มใจ ปีติ
ภูมิใจในความประพฤติว่า เรามีความประพฤติสุจริต วิญญูชนพิจารณาแล้ว
ก็จะสรรเสริญ.
             ทั้ง 3 อย่างนี้ ไม่มีผลมาก กล่าวคือ อาจจะมีผลอยู่บ้าง แต่ไม่น่าจะชื่นใจเลย
เหมือนปลูกพืชในดินไม่ดี ทั้งไม่ดูแลรักษาต้นไม้นั้น ผลการปลูกอาจจะมีผลบ้าง
แต่ก็ยังไม่น่าพอใจตามที่ตั้งใจหวังผลไว้.

             ๓. มรรคพรหมจรรย์
             ตอบว่า
             ตายนคาถาประกอบด้วยประโยชน์ เป็นเบื้องต้นแห่งพรหมจรรย์”
พรหมจรรย์ หมายถึงมรรคพรหมจรรย์ (สํ.ส.อ. ๑/๘๙/๑๐๓)
             บทว่า อาทิพฺรหฺมจริยกา ได้แก่ เป็นเบื้องต้น คือเป็นที่ปรากฎแห่งมรรคพรหมจรรย์.

             นัยก็คือ เป็นเบื้องต้น เป็นประโยชน์เกื้อกูลต่อการบรรลุโลกุตรมรรค.
             คำว่า พรหมจรรย์
//84000.org/tipitaka/dic/v_seek.php?text=พรหมจรรย์

             อรรถกถาสามัญญผลสูตร (หน้าต่างที่ ๔/๗.)
             ก็ในคำว่า พฺรหฺมจริยํ ปกาเสติ นี้ ศัพท์ว่า พฺรหฺมจริย นี้
ปรากฏในอรรถเหล่านี้ คือ ทาน เวยยาวัจจะ ศีลสิกขาบท ๕
อัปปมัญญา เมถุนวิรัติ สทารสันโดษ วิริยะ องค์อุโบสถ
อริยมรรค ศาสนา.
//84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=9&i=91&p=4#พฺรหฺมจริย

ความคิดเห็นที่ 34
GravityOfLove, 24 มิถุนายน 2557 เวลา 23:05 น.

เข้าใจแล้วค่ะ ขอบพระคุณค่ะ

ความคิดเห็นที่ 35
GravityOfLove, 24 มิถุนายน 2557 เวลา 23:49 น.

             พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๕ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๗
             สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เทวปุตตสังยุต วรรคที่ ๑
             ๘๘. ปัญจาลจัณฑสูตร ว่าด้วยปัญจาลจัณฑเทวบุตร
//84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=15&A=1495&Z=1504&bgc=honeydew&pagebreak=0

             ปัญจาลจัณฑเทวบุตร กล่าวคาถาในสำนักพระผู้มีพระภาคว่า
                          บุคคลผู้มีปัญญามาก ได้ประสบโอกาส (ในที่นี้หมายถึงได้ฌาน)
                          ในที่คับแคบหนอ (ในที่นี้หมายถึงนิวรณ์)
                          ผู้ใดได้รู้ฌาน เป็นผู้ตื่น ผู้นั้นเป็นผู้หลีกออกได้อย่างองอาจ เป็นมุนี
             พระผู้มีพระภาคตรัสพระคาถาว่า
                          ชนเหล่าใด แม้อยู่ในที่คับแคบ
                          แต่ได้เฉพาะแล้วซึ่งสติเพื่อการบรรลุธรรม คือพระนิพพาน
                          ชนเหล่านั้น ตั้งมั่นดีแล้ว โดยชอบ

//84000.org/tipitaka/dic/d_seek.php?text=ฌาน
//84000.org/tipitaka/dic/d_seek.php?text=นิวรณ์_5

....................

             พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๕ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๗
             สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เทวปุตตสังยุต วรรคที่ ๑
             ๘๙. ตายนสูตร ว่าด้วยตายนเทวบุตร
//84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=15&A=1505&Z=1552&bgc=honeydew&pagebreak=0

             ตายนเทวบุตรผู้เป็นเจ้าลัทธิ (เจ้าลัทธิที่มีทิฏฐิ ๖๒) มาแต่ก่อน
เมื่อล่วงปฐมยามแล้ว มีวรรณอันงาม เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคยังพระวิหารเชตวัน
ถวายบังคมแล้ว กล่าวคาถาในสำนักพระผู้มีพระภาคว่า
             (ตายตเทวบุตรไม่รู้ว่า พระศาสนาเป็นธรรมนำสัตว์ออกจากทุกข์
เขามายังสำนักพระตถาคต เพื่อจะกล่าวความเพียรอันเหมาะแก่พระศาสนา)
                          ท่านจงพยายามตัดกระแสตัณหา จงบรรเทากาม
                          มุนีไม่ละกาม ย่อมไม่เข้าถึงความที่จิตแน่วแน่ได้ (ไม่เข้าถึงฌาน)
                          ถ้าบุคคลจะพึงทำความเพียร พึงทำความเพียรนั้นจริงๆ
                          เพราะว่าการบรรพชาที่ปฏิบัติย่อหย่อน ยิ่งเรี่ยรายโทษดุจธุลี
                          (ย่อมโปรยธุลีคือกิเลสให้แปดเปื้อนยิ่งขึ้น)
                          ความชั่วไม่ทำเสียเลยประเสริฐกว่า
                          กรรมใดทำแล้ว ไม่เดือดร้อนในภายหลัง กรรมนั้นเป็นความดี
                          หญ้าคาอันบุคคลจับไม่ดี ย่อมบาดมือนั่นเองฉันใด
                          ความเป็นสมณะ อันบุคคลปฏิบัติไม่ดี ย่อมฉุดเข้าไปเกิดในนรก ฉันนั้น
                          กรรมอันย่อหย่อน วัตรที่เศร้าหมอง และพรหมจรรย์ที่น่ารังเกียจ
                          ทั้งสามอย่างนั้น ไม่มีผลมาก
             ตายนเทวบุตร ครั้นได้กล่าวแล้ว ก็ถวายบังคม ทำประทักษิณแล้วอันตรธานไป
             เมื่อล่วงราตรีนั้นแล้ว พระผู้มีพระภาคตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายมา
แล้วตรัสเล่าว่า เทวบุตรชื่อตายนะ มาเข้าเฝ้าพระองค์ แล้วกล่าวคาถาดังกล่าว
             พระผู้มีพระภาคตรัสต่อไปว่า
             เธอทั้งหลาย จงศึกษา จงเล่าเรียน จงทรงจำตายนคาถาไว้
             ตายนคาถาประกอบด้วยประโยชน์ เป็นเบื้องต้นแห่งพรหมจรรย์

             (เป็นประโยชน์ต่อการบรรลุโลกุตรมรรค)
//84000.org/tipitaka/dic/v_seek.php?text=ฌาน
//84000.org/tipitaka/dic/v_seek.php?text=พรหมจรรย์

             คำว่า ทิฏฐิ ๖๒
             ปุพพันตกัปปิกทิฏฐิ ๑๘
//84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=9&i=1&p=5#ปุพฺพนฺตกปฺปิกา
             อปรันตกัปปิกทิฏฐิ ๔๔
//84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=9&i=1&p=6#อปรันตกัปปิกทิฏฐิ
//topicstock.pantip.com/religious/topicstock/2011/12/Y11442477/Y11442477.html#291

ความคิดเห็นที่ 36
ฐานาฐานะ, 25 มิถุนายน 2557 เวลา 16:05 น.

GravityOfLove, 15 ชั่วโมงที่แล้ว
...
11:48 PM 6/24/2014

             สรุปความได้ดีครับ.

ความคิดเห็นที่ 37
ฐานาฐานะ, 25 มิถุนายน 2557 เวลา 16:06 น.

              คำถามในพระสูตรทั้งสอง
              ๘๘. ปัญจาลจัณฑสูตร
//84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=15&A=1495&Z=1504
              ๘๙. ตายนสูตร
//84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=15&A=1505&Z=1552

              เมื่อศึกษาแล้วได้อะไรบ้าง.

ความคิดเห็นที่ 38
GravityOfLove, 25 มิถุนายน 2557 เวลา 19:28 น.

             ตอบคำถามในพระสูตรทั้งสอง
             เมื่อศึกษาแล้วได้อะไรบ้าง.
             ๘๘. ปัญจาลจัณฑสูตร
//84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=15&A=1495&Z=1504
             ๑. พระผู้มีพระภาคตรัสว่า
                          ชนเหล่าใด แม้อยู่ในที่คับแคบ แต่ได้เฉพาะแล้วซึ่งสติ
                          เพื่อการบรรลุธรรม คือพระนิพพาน ชนเหล่านั้น ตั้งมั่นดีแล้ว โดยชอบ
             ๒. ที่คับแคบมี ๒ คือ ที่คับแคบคือนิวรณ์ และที่คับแคบคือกามคุณ
...........
              ๘๙. ตายนสูตร
//84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=15&A=1505&Z=1552

             ๑. เทวบุตรที่เคยเป็นเจ้าลัทธิมาก่อน มากล่าวคาถาในสำนักพระผู้มีพระภาคว่า
              ท่านจงพยายามตัดกระแสตัณหา ฯลฯ และพระผู้มีพระภาคทรงให้ภิกษุทั้งหลาย
จงศึกษา จงเล่าเรียน จงทรงจำตายนคาถาดังกล่าวไว้ ตายนคาถาประกอบด้วยประโยชน์
เป็นเบื้องต้นแห่งพรหมจรรย์
             ๒. เจ้าลัทธิมาแต่ก่อน ได้แก่ นันทะ มัจฉะ กิสะ สังกิจจะ และที่ชื่อว่าเดียรถีย์ทั้งหลายมีปุรณะเป็นต้น
             ๓. ตายนเทพบุตรนี้ ตอนที่เป็นมนุษย์ถือทิฐิ แต่ได้ทำกรรมดี เช่น ให้ทาน (เป็นกัมมวาที)
ด้วยวิบากนี้ เมื่อทำกาละแล้วจึงบังเกิดในสวรรค์

ความคิดเห็นที่ 39
ฐานาฐานะ, 25 มิถุนายน 2557 เวลา 21:00 น.

GravityOfLove, 1 ชั่วโมงที่แล้ว
             ตอบคำถามในพระสูตรทั้งสอง
...
7:28 PM 6/25/2014

             ตอบคำถามได้ดีครับ.
             ขอเสริมว่า พระผู้มีพระภาคตรัสว่า
             ดูกรภิกษุทั้งหลาย ตายนเทวบุตรครั้นได้กล่าวดังนี้แล้ว
ก็อภิวาทเรา ทำประทักษิณแล้วอันตรธานไปในที่นั้นเอง
             ดูกรภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลาย จงศึกษา จงเล่าเรียน
จงทรงจำตายนคาถาไว้
             ดูกรภิกษุทั้งหลาย ตายนคาถาประกอบด้วยประโยชน์
เป็นเบื้องต้นแห่งพรหมจรรย์ ฯ
//84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=15&A=1505&Z=1552

             เป็นการแสดงคาถาของตายนเทวบุตร โดยความเป็นตายนคาถา
เป็นอันไม่ทรงตระหนี่ในคำสรรเสริญอันจะเกิดแก่ตายนเทวบุตร
เมื่อประกาศคาถาของตายนเทวบุตร โดยความเป็นตายนคาถา.

             พระไตรปิฎก เล่มที่ ๓๕  พระอภิธรรมปิฎก เล่มที่ ๒
             วิภังคปกรณ์
             [๙๑๐] อิสสา ความริษยา เป็นไฉน
//84000.org/tipitaka/read/?35/910
//84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=34&i=719#ว่าด้วยมัจฉริยนิทเทส

ความคิดเห็นที่ 40
ฐานาฐานะ, 25 มิถุนายน 2557 เวลา 21:05 น.

             เป็นอันว่า พระสูตรชื่อว่า ปัญจาลจัณฑสูตรและตายนสูตร จบบริบูรณ์.
//84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=15&A=1495&Z=1552

              พระสูตรหลักถัดไป คือ จันทิมสูตร [พระสูตรที่ 90].
              พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๕  พระสุตตันตปิฎก เล่ม ๗
              สังยุตตนิกาย สคาถวรรค
              จันทิมสูตรที่ ๙
//84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=15&A=1553&Z=1576
              ศึกษาอรรถกถานี้ ได้ที่ :-
//84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=15&i=241

ย้ายไปที่

สารบัญ ๑
//www.bloggang.com/mainblog.php?id=gravity-of-love&month=12-03-2013&group=1&gblog=1



Create Date : 01 กรกฎาคม 2557
Last Update : 1 กรกฎาคม 2557 10:41:48 น.
Counter : 412 Pageviews.

0 comments
หลักของสติ **mp5**
(16 เม.ย. 2567 12:14:57 น.)
: รูปแบบของการตระหนักในการรับรู้ : กะว่าก๋า
(15 เม.ย. 2567 05:37:45 น.)
เติมให้ความมี เติมให้ความไม่มี ปัญญา Dh
(14 เม.ย. 2567 20:54:29 น.)
สมบัติรูป สมบัตินามที่ถูกรูป ปัญญา Dh
(10 เม.ย. 2567 18:24:46 น.)

Gravity-of-love.BlogGang.com

แก้วมณีโชติรส
Location :
  

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ผู้ติดตามบล็อก : 6 คน [?]

บทความทั้งหมด