36.1 พระสูตรหลักถัดไป คือฆัตวาสูตร [พระสูตรที่ 71]
การสนทนาธรรมนี้ต่อเนื่องมาจาก
35.3 พระสูตรหลักถัดไป คือนามสูตร [พระสูตรที่ 61]
//www.bloggang.com/mainblog.php?id=gravity-of-love&month=16-06-2014&group=4&gblog=35

ความคิดเห็นที่ 10
ฐานาฐานะ, 15 มิถุนายน 2557 เวลา 16:59 น.

              พระสูตรหลักถัดไป คือ ฆัตวาสูตร [พระสูตรที่ 71].
              พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๕  พระสุตตันตปิฎก เล่ม ๗
              สังยุตตนิกาย สคาถวรรค
              ฆัตวาสูตรที่ ๑
//84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=15&A=1252&Z=1262
              ศึกษาอรรถกถานี้ ได้ที่ :-
//84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=15&i=198

ความคิดเห็นที่ 11
GravityOfLove, 15 มิถุนายน 2557 เวลา 18:42 น.

             ๗๑. ฆัตวาสูตร
//84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=15&A=1252&Z=1262&bgc=honeydew&pagebreak=0

             พระองค์ชอบฆ่าอะไรซึ่งเป็นธรรมอันเดียว แปลว่าอะไรคะ
และพระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่าอย่างไรคะ
             ขอบพระคุณค่ะ

ความคิดเห็นที่ 12
ฐานาฐานะ, 15 มิถุนายน 2557 เวลา 19:11 น.

GravityOfLove, 21 นาทีที่แล้ว
              ๗๑. ฆัตวาสูตร
//84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=15&A=1252&Z=1262&bgc=honeydew&pagebreak=0

              พระองค์ชอบฆ่าอะไรซึ่งเป็นธรรมอันเดียว แปลว่าอะไรคะ
และพระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่าอย่างไรคะ
              ขอบพระคุณค่ะ
6:42 PM 6/15/2014

              พระองค์ชอบฆ่าอะไรซึ่งเป็นธรรมอันเดียว
              นัยน่าจะเป็นว่า
               ธรรมอันหนึ่งที่ควรฆ่า คืออะไร?
               ถ้าให้เลือกฆ่าเพียงอย่างเดียว ควรฆ่าอะไร? หรือฆ่าอะไรก่อน?
              และพระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า ฆ่าความโกรธ
ด้วยพระดำรัสว่า พระอริยเจ้าทั้งหลาย สรรเสริญการฆ่าความโกรธ ฯ
              นัยน่าจะเป็นว่า
              มิใช่แต่พระองค์เท่านั้นที่ทรงสรรเสริญการฆ่าความโกรธ
แม้พระอริยเจ้าทั้งหลายก็สรรเสริญการฆ่าความโกรธด้วย.

ความคิดเห็นที่ 13
GravityOfLove, 15 มิถุนายน 2557 เวลา 20:29 น.

เข้าใจแล้วค่ะ ขอบพระคุณค่ะ

ความคิดเห็นที่ 14
GravityOfLove, 15 มิถุนายน 2557 เวลา 20:36 น.

             พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๕ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๗
             สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เทวตาสังยุต ฆัตวาวรรคที่ ๘ (หมวดว่าด้วยการฆ่า)
             ๗๑. ฆัตวาสูตร ว่าด้วยการฆ่า
//84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=15&A=1252&Z=1262&bgc=honeydew&pagebreak=0

             เทวดากราบทูลพระผู้มีพระภาคด้วยคาถาว่า
                          ฆ่าอะไรหนอจึงอยู่เป็นสุข
                          ฆ่าอะไรหนอจึงไม่เศร้าโศก
                          พระองค์ชอบฆ่าอะไรซึ่งเป็นธรรมอันหนึ่ง
             พระผู้มีพระภาคตรัสตอบด้วยคาถาว่า
                          ฆ่าความโกรธเสียได้จึงอยู่เป็นสุข
                          ฆ่าความโกรธเสียจึงไม่เศร้าโศก
                          พระอริยเจ้าทั้งหลาย สรรเสริญการฆ่าความโกรธ ซึ่งมีรากเป็นพิษ มียอดหวาน

                          (มีรากเป็นพิษ คือมีวิบากเป็นทุกข์, มียอดหวาน คือพึงพอใจที่ได้ด่าตอบเป็นต้น)

---------------------

             พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๕ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๗
             สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เทวตาสังยุต ฆัตวาวรรคที่ ๘
              ๗๒. รถสูตร ว่าด้วยรถ
//84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=15&A=1263&Z=1270&bgc=honeydew&pagebreak=0

             เทวดาทูลถามด้วยคาถาว่า
                          อะไรหนอเป็นสง่าของรถ
                          อะไรหนอเป็นเครื่องปรากฏของไฟ
                          อะไรหนอเป็นสง่าของแว่นแคว้น
                          อะไรหนอเป็นสง่าของสตรี
             พระผู้มีพระภาคตรัสตอบด้วยคาถาว่า
                          ธงเป็นสง่าของรถ
                          ควันเป็นเครื่องปรากฏของไฟ
                          พระราชาเป็นสง่าของแว่นแคว้น

                          ภัศดา (สามี) เป็นสง่าของสตรี

--------------------

             พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๕ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๗
             สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เทวตาสังยุต ฆัตวาวรรคที่ ๘
             ๗๓. วิตตสูตร ว่าด้วยทรัพย์เครื่องปลื้มใจ
//84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=15&A=1271&Z=1281&bgc=honeydew&pagebreak=0

             เทวดาทูลถามด้วยคาถาว่า
                          อะไรหนอเป็นทรัพย์เครื่องปลื้มใจอย่างประเสริฐของคนในโลกนี้
                          อะไรหนอที่บุคคลประพฤติดีแล้วนำความสุขมาให้
                          อะไรหนอเป็นรสดีกว่าบรรดารสทั้งหลาย
                          คนมีชีวิตเป็นอยู่อย่างไร นักปราชญ์ทั้งหลายกล่าวว่ามีชีวิตประเสริฐ
             พระผู้มีพระภาคตรัสตอบด้วยคาถาว่า
                          ศรัทธาเป็นทรัพย์เครื่องปลื้มใจอย่างประเสริฐของคนในโลกนี้
                          ธรรมที่บุคคลประพฤติดีแล้วนำความสุขมาให้
(ธรรม ในที่นี้หมายถึงกุศลกรรมบถ ๑๐)
                          ความจริงเท่านั้นเป็นรสที่ดียิ่งกว่ารสทั้งหลาย
                          คนที่เป็นอยู่ด้วยปัญญา นักปราชญ์ทั้งหลายกล่าวว่ามีชีวิตประเสริฐ

//84000.org/tipitaka/dic/v_seek.php?text=ศรัทธา
//84000.org/tipitaka/dic/d_seek.php?text=กุศลกรรมบถ_10

ความคิดเห็นที่ 15
ฐานาฐานะ, 16 มิถุนายน 2557 เวลา 15:52 น.

GravityOfLove, 19 ชั่วโมงที่แล้ว
...
8:35 PM 6/15/2014

              สรุปความได้ดีครับ.

ความคิดเห็นที่ 16
ฐานาฐานะ, 16 มิถุนายน 2557 เวลา 15:55 น.

              คำถามในพระสูตรทั้งสาม
              ๗๑. ฆัตวาสูตร
//84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=15&A=1252&Z=1262
              ๗๒. รถสูตร
//84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=15&A=1263&Z=1270
              ๗๓. วิตตสูตร
//84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=15&A=1271&Z=1281

              1. เมื่อศึกษาแล้วได้อะไรบ้าง.
              2. ขอให้ขยายความตามความเข้าใจในข้อว่า
               ความจริงเท่านั้นเป็นรสที่ดียิ่งกว่ารสทั้งหลาย

ความคิดเห็นที่ 17
GravityOfLove, 16 มิถุนายน 2557 เวลา 19:44 น.

              ตอบคำถามในพระสูตรทั้งสาม
              1. เมื่อศึกษาแล้วได้อะไรบ้าง.
              ๗๑. ฆัตวาสูตร
//84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=15&A=1252&Z=1262

             พระผู้มีพระภาคตรัสว่า
                         ฆ่าความโกรธเสียได้จึงอยู่เป็นสุข ฆ่าความโกรธเสียจึงไม่เศร้าโศก
                         แน่ะ เทวดา พระอริยเจ้าทั้งหลาย สรรเสริญการฆ่าความโกรธ
                         ซึ่งมีรากเป็นพิษ มียอดหวาน เพราะฆ่าความโกรธนั้นเสียแล้วย่อมไม่เศร้าโศก
------------------
              ๗๒. รถสูตร
//84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=15&A=1263&Z=1270

          พระผู้มีพระภาคตรัสว่า
                         ธงเป็นสง่าของรถ ควันเป็นเครื่องปรากฏของไฟ
                         พระราชาเป็นสง่าของแว่นแคว้น ภัศดาเป็นสง่าของสตรี
------------------
              ๗๓. วิตตสูตร
//84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=15&A=1271&Z=1281

             พระผู้มีพระภาคตรัสว่า
                         ศรัทธาเป็นทรัพย์เครื่องปลื้มใจอย่างประเสริฐของคนในโลกนี้
                         ธรรมที่บุคคลประพฤติดีแล้วนำความสุขมาให้
                         ความจริงเท่านั้นเป็นรสที่ดียิ่งกว่ารสทั้งหลาย
                         คนที่เป็นอยู่ด้วยปัญญา นักปราชญ์ทั้งหลายกล่าวว่ามีชีวิตประเสริฐ
------------------------------------
              2. ขอให้ขยายความตามความเข้าใจในข้อว่า
               ความจริงเท่านั้นเป็นรสที่ดียิ่งกว่ารสทั้งหลาย
              เพราะว่าผู้ที่ตั้งอยู่ในสัจจะย่อมมีวิบากเป็นสุข
วิบากส่งผลในปัจจุบันและ/หรือในสัมปรายภพ เช่น รอดพ้นจากภัยอันตรายได้
             ตัวอย่างในชาดกเช่น พระโพธิสัตว์ตั้งสัจจกิริยาคือกล่าวคำสัตว์ไว้
ด้วยอานุภาพของคำสัตย์นั้น ไฟป่าที่กำลังไหม้อยู่ก็ไม่ลามไปไหม้พระโพธิสัตว์
และสัตว์อื่นๆ
             วัฏฏกชาดก ว่าด้วยความจริง
//84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=27&i=35
             วัฏฏกโปตกจริยาที่ ๙ ว่าด้วยจริยาวัตรของลูกนกคุ้ม
//84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=33&i=237

[แก้ไขตาม #18]

ความคิดเห็นที่ 18
ฐานาฐานะ, 16 มิถุนายน 2557 เวลา 20:58 น.

GravityOfLove, 13 นาทีที่แล้ว
              ตอบคำถามในพระสูตรทั้งสาม
...
7:43 PM 6/16/2014

              ตอบคำถามได้ดีครับ.
              ขอติงคำว่า พระโพธิสัตว์ สะกดด้วย ว. แหวน การันต์.
              คำว่า โพธิสัตว์ ท่านผู้ที่จะได้ตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้า ซึ่งกำลังบำเพ็ญบารมี ๑๐ คือ
                  ทาน ศีล เนกขัมมะ ปัญญา วิริยะ ขันติ สัจจะ อธิษฐาน เมตตา อุเบกขา
//84000.org/tipitaka/dic/v_seek.php?text=โพธิสัตว์

              ขอเสริมดังนี้ :-
              พระผู้มีพระภาคตรัสว่า
                    ฆ่าความโกรธเสียได้จึงอยู่เป็นสุข ฆ่าความโกรธเสียจึงไม่เศร้าโศก
                    แน่ะ เทวดา พระอริยเจ้าทั้งหลาย สรรเสริญการฆ่าความโกรธ
                    ซึ่งมีรากเป็นพิษ มียอดหวาน เพราะฆ่าความโกรธนั้นเสียแล้วย่อมไม่เศร้าโศก
              การฆ่าความโกรธด้วยอริยมรรคก็ตาม ด้วยขันติและเมตตาก็ตาม
เป็นความเจริญ เป็นความสุข กล่าวคือ ไม่ถูกกลุ้มรุมด้วยความโกรธแค้นอาฆาต
ทั้งเมื่อกระทำกาละแล้ว ย่อมได้สุคติเป็นที่ไปในเบื้องหน้า หากยังไม่สิ้นอาสวะ.
              ครั้งหนึ่ง พระโพธิสัตว์เสวยพระชาติเป็นดาบส ชื่อว่าขันติวาทิ
ซึ่งน่าจะแปลว่า ดาบสผู้กล่าวสรรเสริญขันติ.
              พระโพธิสัตว์ถูกพระราชาองค์หนึ่ง สั่งราชบุรุษให้ทำการตัดมือ เท้า
หูและจมูก แต่ดาบสนั้นไม่โกรธต่อพระราชานั้นเลย.
              นี้เป็นข้อที่ควรเลื่อมใสในขันติที่มั่นคง แม้วันนี้จะยังทำอย่างพระโพธิสัตว์ไม่ได้
แต่ก็ควรทำความเลื่อมใสให้เกิดขึ้น และควรปรารถนาขันติที่มั่นคงให้เกิดให้มีขึ้นด้วย.

              ขันติวาทิชาดก [บางส่วน]
              [๕๕๑] พระราชาพระองค์ใด รับสั่งให้ตัดมือ เท้า หู และจมูกของอาตมภาพ
              ขอพระราชาพระองค์นั้น จงทรงพระชนม์ยืนนาน
              บัณฑิตทั้งหลาย เช่นกับอาตมภาพ ย่อมไม่โกรธเคืองเลย.
//84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=27&A=2789&Z=2800

              พระโอวาทแสดงการเปรียบด้วยเลื่อย
              [๒๗๒] ดูกรภิกษุทั้งหลาย หากจะมีพวกโจรผู้มีความประพฤติต่ำช้า
เอาเลื่อยที่มีที่จับทั้งสองข้าง เลื่อยอวัยวะใหญ่น้อยของพวกเธอ แม้ในเหตุนั้นภิกษุ
หรือภิกษุณีรูปใดมีใจคิดร้ายต่อโจรเหล่านั้น ภิกษุหรือภิกษุณีรูปนั้น ไม่ชื่อว่า
เป็นผู้ทำตามคำสั่งสอนของเรา เพราะเหตุที่อดกลั้นไม่ได้นั้น
              ดูกรภิกษุทั้งหลาย แม้ในข้อนั้น เธอทั้งหลายพึงศึกษาอย่างนี้ว่า
              จิตของเราจักไม่แปรปรวน เราจักไม่เปล่งวาจาที่ลามก เราจักอนุเคราะห์ผู้อื่น
ด้วยสิ่งที่เป็นประโยชน์ เราจักมีเมตตาจิตไม่มีโทสะในภายใน เราจักแผ่เมตตาจิต
ไปถึงบุคคลนั้น และเราจักแผ่เมตตาอันไพบูลย์ใหญ่ยิ่ง หาประมาณมิได้ ไม่มีเวร
ไม่มีพยาบาท ไปตลอดโลกทุกทิศทุกทาง ซึ่งเป็นอารมณ์ของจิตนั้น ดังนี้
              ดูกรภิกษุทั้งหลาย พวกเธอพึงศึกษาด้วยอาการดังที่กล่าวมานี้แล.
              [๒๗๓] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็พวกเธอควรใส่ใจถึงโอวาท แสดงการเปรียบด้วยเลื่อยนี้
เนืองนิตย์เถิด ดูกรภิกษุทั้งหลาย พวกเธอจะไม่มองเห็นทางแห่งถ้อยคำที่มีโทษน้อย หรือโทษมาก
ที่พวกเธอจะอดกลั้นไม่ได้ หรือยังจะมีอยู่บ้าง ไม่มีพระเจ้าข้า เพราะเหตุนั้นแหละ
              ดูกรภิกษุทั้งหลาย พวกเธอจงใส่ใจถึงโอวาทแสดงการเปรียบด้วยเลื่อยนี้เนืองนิตย์เถิด
ข้อนั้นจักเป็นประโยชน์และความสุขแก่พวกเธอสิ้นกาลนาน ดังนี้แล.
              พระผู้มีพระภาคได้ตรัสพระพุทธพจน์นี้แล้ว
              ภิกษุเหล่านั้นมีใจชื่นชมยินดีภาษิตของพระผู้มีพระภาคแล้วแล.
//84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=12&A=4208&Z=4442#272top

              ครั้งหนึ่ง เคยนึกอยู่ว่า ในชาติก่อน ก็คงเคยฆ่าสัตว์มา และแม้ชาตินี้
ในวัยเด็ก ก็ได้ฆ่าสัตว์มามากพอประมาณ ถ้าหากอกุศลกรรมเหล่านั้นจะตาม
ให้ผลในชาตินี้ หรือในชาติใดๆ เวลาใดๆ ก็ตาม อันเป็นความทุกข์ หรือมีอันจะถูกฆ่า
สิ่งหนึ่งที่ปรารถนาไว้ ก็คือ เราอย่าได้โกรธต่อผู้ฆ่าผู้นั้นเลย.
- - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - -

              2. ขอให้ขยายความตามความเข้าใจในข้อว่า
                        ความจริงเท่านั้นเป็นรสที่ดียิ่งกว่ารสทั้งหลาย
              เพราะว่าผู้ที่ตั้งอยู่ในสัจจะย่อมมีวิบากเป็นสุข
วิบากส่งผลในปัจจุบันและ/หรือในสัมปรายภพ เช่น รอดพ้นจากภัยอันตรายได้
              ตัวอย่างในชาดกเช่น พระโพธิสัตว์ตั้งสัจจกิริยาคือกล่าวคำสัตย์ไว้
ด้วยอานุภาพของคำสัตย์นั้น ไฟป่าที่กำลังไหม้อยู่ก็ไม่ลามไปไหม้พระโพธิสัตว์
และสัตว์อื่นๆ
              วัฏฏกชาดก ว่าด้วยความจริง
//84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=27&i=35
              วัฏฏกโปตกจริยาที่ ๙ ว่าด้วยจริยาวัตรของลูกนกคุ้ม
//84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=33&i=237

              ขยายความตามความเข้าใจในข้อว่า
                        ความจริงเท่านั้นเป็นรสที่ดียิ่งกว่ารสทั้งหลาย

              ความจริงหรือสัจจะนั้น ในพจนานุกรมแสดงความหมายไว้ว่า
              สัจจะ
                     1. ความจริง มี ๒ คือ
                        ๑. สมมติสัจจะ จริงโดยสมมติ เช่น คน พ่อค้า ปลา แมว โต๊ะ เก้าอี้
                        ๒. ปรมัตถสัจจะ จริงโดยปรมัตถ์ เช่น รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ
                     2. ความจริง คือ
                        จริงใจ ได้แก่ ซื่อสัตย์
                        จริงวาจา ได้แก่ พูดจริง และ
                        จริงการ ได้แก่ ทำจริง
(ข้อ ๑ ในฆราวาสธรรม ๔, ข้อ ๒ ในอธิษฐานธรรม ๔, ข้อ ๔ ในเบญจธรรม, ข้อ ๗ ในบารมี ๑๐)
//84000.org/tipitaka/dic/v_seek.php?text=สัจจะ#find4

              ความจริงนั้น เมื่อรู้ความจริงตามสภาพแล้ว ย่อมเบื่อหน่าย
เมื่อเบื่อหน่าย ย่อมคลายกำหนัด เพราะคลายกำหนัด จิตย่อมหลุดพ้น
//84000.org/tipitaka/pitaka_item/tipitaka_seek.php?text=ย่อมเบื่อหน่าย

              ความจริงนั้น เมื่อประพฤติจริงใจ จริงวาจา จริงการ ย่อมได้ชื่อว่า
ทำอย่างไร พูดอย่างนั้น, พูดอย่างไร ทำอย่างนั้น.

              อรรถกถาวิตักกสูตร [บางส่วน]
              ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า๖-
              ยถาวาที ภิกฺขเว ตถาคโต ตถาการี ตถาวาที อิติ ยถาวาที ตถาการี ยถาการี ตถาวาที ตสฺมา ตถาคโตติ วุจฺจติ
              ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ตถาคตพูดอย่างใด ทำอย่างนั้น ทำอย่างใด พูดอย่างนั้น เพราะตถาคตพูดอย่างใด ทำอย่างนั้น ทำอย่างใด พูดอย่างนั้น.
              ฉะนั้นจึงชื่อว่า ตถาคต พระผู้มีพระภาคเจ้าชื่อตถาคต เพราะทรงกระทำแต่ความแท้จริง ด้วยประการฉะนี้.
//84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=25&i=216&p=1

๖- ที. ปา. เล่ม ๑๑/ข้อ ๑๒๐   องฺ. จตุกฺก. เล่ม ๒๑/ข้อ ๒๓

              โลกสูตร
//84000.org/tipitaka/pitaka_item/sutta_item.php?book=21&item=23

ความคิดเห็นที่ 19
GravityOfLove, 16 มิถุนายน 2557 เวลา 21:16 น.

ขอบพระคุณค่ะ

ย้ายไปที่

สารบัญ ๑
//www.bloggang.com/mainblog.php?id=gravity-of-love&month=12-03-2013&group=1&gblog=1



Create Date : 16 มิถุนายน 2557
Last Update : 21 มิถุนายน 2557 22:15:36 น.
Counter : 787 Pageviews.

0 comments
Day..10 โฮมสเตย์ริมน้ำ
(11 เม.ย. 2567 08:25:45 น.)
ไม่ควรก่อแผลหรือก่อแผลเป็น ปัญญา Dh
(8 เม.ย. 2567 20:22:02 น.)
ได้คะแนน ปัญญา Dh
(7 เม.ย. 2567 12:52:45 น.)
: หยดน้ำในมหาสมุทร 28 : กะว่าก๋า
(5 เม.ย. 2567 04:10:07 น.)

Gravity-of-love.BlogGang.com

แก้วมณีโชติรส
Location :
  

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ผู้ติดตามบล็อก : 6 คน [?]

บทความทั้งหมด