พาชมวัดเมืองสองแคว ๒ วัด
 

วันนี้ผมช่างภาพวัดและธรรมชาติจะชวนคุณๆ ขึ้นไปไหว้พระที่จังหวัดพิษณุโลกนะครับ
พามาชมวัดที่เมืองสองแคว ๒ วัดนะครับ



เริ่มจากวัดแรกที่เมื่อมาเยือนจังหวัดพิษณุโลกต้องมาครับ นั่นก็คือ..
วัดพระศรีมหาธาตุวรมหาวิหารหรือ วัดใหญ่ หรือ วัดพระศรี
พระประธานองค์ใหญ่ที่ประดิษฐาน ในวิหารคือ “พระพุทธชินราช”
ชาวเมืองพิษณุโลกก็นิยมเรียกกันว่า “หลวงพ่อใหญ่” ตามไปด้วย
วัดใหญ่นับเป็นพระอารามหลวงที่สำคัญของจังหวัด
เพราะเป็นศูนย์รวมทางจิตใจของชาวเมืองและชาวไทยทั้งประเทศ ตั้งอยู่ที่ถนนพุทธบูชาตำบลในเมือง จังหวัดพิษณุโลก
ริมแม่น้ำน่านฝั่งตะวันออก สร้างขึ้นพร้อมกับการสร้างเมืองเมื่อพ.ศ. ๑๙๐๐
พระเจ้าศรีธรรมไตรปิฎก (พระมหาธรรมราชาลิไท) ทรงเป็นพระมหากษัตริย์ครองกรุงสุโขทัย





ทรงมีศรัทธาเลื่อมใสในบวรพุทธศาสนาเป็นอย่างยิ่ง
ทั้งยังได้ทรงศึกษาพระไตรปิฎกและคัมภีร์ศาสนาอื่น ๆ จนช่ำชองแตกฉาน หาผู้ใดเสมอเหมือนได้ยาก
พระองค์ได้ทรงสร้างวัดพระศรีรัตนมหาธาตุ ในฝั่งตะวันออกของแม่น้ำน่าน
มีพระปรางค์อยู่กลาง มีพระวิหาร ๔ ทิศ มีพระระเบียง ๒ ชั้น
และทรงรับสั่งให้ปั้นหุ่นหล่อพระพุทธรูปขึ้น ๓ องค์ เพื่อประดิษฐานเป็นพระประธานในพระวิหารทั้ง ๓ หลัง"



ต่อมาเมื่อ ปี พ.ศ.๒๔๕๘ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว
ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯให้ยกขึ้นเป็นพระอารามหลวงชั้นเอก ชนิดวรมหาวิหาร
เมื่อปัจจุบันจึงมีชื่อเต็มว่า วัดพระศรีรัตนมหาธาตุวรมหาวิหาร





วัดที่ ๒ นั่นก็คือ...วัดนางพญา





วัดนางพญา จ.พิษณุโลก
ตั้งอยู่ในบริเวณเดียวกันกับวัดพระศรีรัตนมหาธาตุ หรือ ‘วัดใหญ่’ และวัดราชบูรณะ
เป็นแหล่งค้นพบพระเครื่องพิมพ์สำคัญ “พระนางพญา” ๑
ในพระชุดเบญจภาคีที่เลิศเลอค่า ถึงแม้จะเป็นวัดเก่าแก่ที่มีขนาดไม่ใหญ่นัก
แต่เมื่อทราบประวัติความเป็นมาแล้ว ก็นับเป็นหนึ่งวัดสำคัญในประวัติศาสตร์เลยทีเดียว







“วัดนางพญา” นั้น สันนิษฐานว่าน่าจะมาจากชื่อของ พระวิสุทธิกษัตริย์ตรี พระอัครชายาของ
พระมหาธรรมราชา และพระราชมารดาของพระสุพรรณกัลยา, สมเด็จพระนเรศวรมหาราช
และสมเด็จพระเอกาทศรถ ซึ่งปรากฏหลักฐานว่าทรงสถาปนาพระอารามแห่งนี้
ขณะดำรงพระอิสริยยศเป็นแม่เมืองสองแคว ในคราวบูรณปฏิสังขรณ์วัดราชบูรณะ
ราวปีพ.ศ.๒๐๙๐ – ๒๑๐๐
และทรงสร้าง “พระนางพญา” บรรจุไว้ในองค์พระเจดีย์ตามคติความเชื่อแต่โบราณ 







ต่อมาวัดนี้ถูกทิ้งร้างเป็นเวลานานเนื่องจากศึกสงคราม
กระทั่งเมื่อมีการขุดค้นพบ‘พระนางพญา’ วัดนางพญาจึงกลับมามีชื่อเสียงอีกครั้งหนึ่ง
มูลเหตุอีกประการหนึ่งคือ
ถ้าพิจารณาจากพุทธลักษณะจะเห็นได้ว่า องค์พระแทบทุกพิมพ์จะมีความงดงามสง่า
โดยจะเน้นบริเวณอกที่ตั้งนูนเด่นและลำแขนทอดอ่อนช้อยคล้ายกับ “อิสสตรี”
จึงเรียกกันว่า “นางพญา” และได้รับสมญา “ราชินีแห่งพระเครื่อง”
ซึ่งสนับสนุนข้อสันนิษฐานแรกได้เป็นอย่างดี 





พระนางพญา มีการขุดพบครั้งแรกในปี พ.ศ.๒๔๔๔ โดยทางวัดดำริสร้างศาลาเล็กๆ
ขึ้นบริเวณด้านหน้าของวัด  เพื่อเป็นปะรำพิธีในการรับเสด็จพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
เมื่อครั้งเสด็จประพาสเมืองพิษณุโลก เพื่อทอดพระเนตรการหล่อพระพุทธชินราชจำลอง
ครั้นพอขุดหลุมจะลงเสาก็ได้พบ ‘พระนางพญา’ จำนวนมหาศาลฝังจมดินอยู่กับซากปรักหักพัง
จึงได้เก็บรวบรวมไว้
และเมื่อล้นเกล้าฯ รัชกาลที่ ๕ เสด็จฯ ไปวัดนางพญา ก็ได้นำพระนางพญา
ส่วนหนึ่งขึ้นทูลเกล้าฯ ถวาย
ครานั้นพระองค์ทรงแจกจ่ายแก่ข้าราชบริพารที่ตามเสด็จกันโดยถ้วนหน้า
ดังนั้น พระนางพญาส่วนหนึ่งจึงมีการนำกลับยังกรุงเทพมหานคร





ไว้ผมจะมาเล่าเรื่องวัดให้ฟังอีกครับ
ขอให้ทุกคนมีสุขภาพแข็งแรงปราศจากโควิด-๑๙ อยู่บ้านหยุดเชื้อเพื่อชาติ
ด้วยความปรารถนาดีจากช่างภาพวัดและธรรมชาติครับ

 



Create Date : 22 เมษายน 2564
Last Update : 4 พฤษภาคม 2564 9:46:07 น.
Counter : 1470 Pageviews.

7 comments

ผู้โหวตบล็อกนี้...
คุณอุ้มสี, คุณหอมกร, คุณไวน์กับสายน้ำ, คุณSweet_pills, คุณสองแผ่นดิน

  
เทพ
โดย: อุ้มสี วันที่: 22 เมษายน 2564 เวลา:8:59:43 น.
  
สวยงามมากจ้า
ขอบคุณที่นำมาฝากกัน



โดย: หอมกร วันที่: 22 เมษายน 2564 เวลา:9:15:03 น.
  
ชอบนั่งมองพระพุทธชินราชนานๆครับ สวยจริงๆครับ
โดย: ทนายอ้วน วันที่: 22 เมษายน 2564 เวลา:11:10:20 น.
  
แก้คำผิด

ต้องใช้คำว่า "งาม" ครับ
โดย: ทนายอ้วน วันที่: 22 เมษายน 2564 เวลา:11:10:52 น.
  
ภาพสวยทั้งนั้นเลยครับ... ดูวัดใหญ่ใช้เลนซ์นี้ ดูสวยแปลกตาด้วย ชอบครับคุณเสริฐ
โดย: ไวน์กับสายน้ำ วันที่: 22 เมษายน 2564 เวลา:14:25:22 น.
  
กราบพระค่ะ
ภาพสวยงามมากค่ะ
โดย: Sweet_pills วันที่: 23 เมษายน 2564 เวลา:1:05:21 น.
  
มาชมภาพสวยๆครับ
โดย: สองแผ่นดิน วันที่: 23 เมษายน 2564 เวลา:23:16:58 น.
ชื่อ :
Comment :
 *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

Chansai.BlogGang.com

BlogGang Popular Award#20



SertPhoto
Location :
นนทบุรี  Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ผู้ติดตามบล็อก : 6 คน [?]

บทความทั้งหมด