ประเพณีชักพระวัดนางชี ประเพณีชักพระแห่งเดียวในกรุงเทพมหานคร วันที่ 20-22 พฤศจิกายน 2564 ![]() กรุงเทพมหานครฝั่งธนบุรี มีวัดเก่าแก่ที่สร้างขึ้นตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี มาจนถึงสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้นอยู่เป็นจำนวนมาก และมีความสำคัญทางประวัติศาสตร์ไม่แพ้ทางฝั่งพระนคร ซึ่งด้วยประวัติศาสตร์ที่ยาวนาน ซึ่งนั่นก็มีประเพณีที่ชาวฝั่งธนบุรีร่วมสืบสานและรักษาไว้เป็นเวลากว่า 100 ปี เป็นประเพณีนี้คือ ประเพณีชักพระ หรือ งานแห่พระบรมสารีริกธาตุ ที่วัดนางชี เขตภาษีเจริญ กรุงเทพมหานคร ปีนี้จัดให้มีขึ้นระหว่างวันที่ 20-22 พฤศจิกายน 2564 ![]() วัดนางชีโชติการาม หรือวัดนางชี เป็นพระอารามหลวงชั้นตรีชนิดสามัญ สังกัดคณะสงฆ์มหานิกาย ตั้งอยู่ในแขวงปากคลองภาษีเจริญ ใกล้ๆ กับวัดนาคปรก ซึ่งเป็นวัดโบราณ สันนิษฐานว่าสร้างขึ้นในสมัยกรุงศรีอยุธยา เนื่องจากพระประธานในพระอุโบสถและพระพุทธรูปในพระวิหารเป็นศิลปะสมัยอยุธยา ![]() ตามตำนานเล่ากันมาว่า เจ้าพระยาพิชัยมนตรีได้สร้างร่วมกับพระยาฤาชัยณรงค์และออกหลวงเสนาสุนทร เนื่องจากแม่อิ่ม ลูกสาวของเจ้าพระยาพิชัยมนตรีป่วยโดยไม่ทราบสาเหตุ ซึ่งเจ้าพระยาพิชัยมนตรีได้ฝันเห็นชีปะขาวบอกว่า ให้เจ้าพระยาพิชัยมนตรีแก้บนโดยให้เจ้าลูกสาวบวชชี ดังนั้น เมื่อแม่อิ่มหายป่วยแล้ว เจ้าพระยาพิชัยมนตรีจึงให้ลูกสาวบวชชีพร้อมกับสร้างวัดนี้ ต่อมาวัดขาดการดูแล อาจจะเนื่องจากมีการทำศึกสงครามกับพม่า ทำให้กลายเป็นวัดร้างในที่สุด ![]() จนกระทั่งในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช รัชกาลที่ 1 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ พระยาโชฎึกราชเศรษฐี พ่อค้าเรือสำเภาชาวจีน เกิดความศรัทธาต่อวัดนางชี จึงได้บูรณปฏิสังขรณ์วัดนางชีใหม่ทั้งหมด โดยดัดแปลงและแก้ไขรูปทรงพระอุโบสถและพระวิหาร ตลอดจนการตกแต่งต่างๆ ให้เป็นแบบจีน เมื่อบูรณปฏิสังขรณ์เสร็จ พระยาโชฎึกราชเศรษฐี ได้ถวายวัดนี้เป็นพระอารามหลวง แด่พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ![]() พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ซึ่งได้รับพระราชทานนามใหม่ว่า วัดนางชีโชติการาม ต่อมาในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 3 พระยาราชานุชิต (จ๋อง) ได้บูรณปฏิสังขรณ์วัดนี้อีกครั้ง ก่อนที่ในปี พ.ศ. 2556 สำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ ร่วมกับทางวัดนางชี จัดทำโครงการบูรณปฏิสังขรณ์วัดครั้งใหญ่ ทั้งพระอุโบสถ พระวิหาร พระปรางค์ และซุ้มพระป่าเลไลย์ จนเสร็จสมบูรณ์ โดยมีพระบรมสารีริกธาตุ และพระอรหันตธาตุ เป็นปูชนียวัตถุที่สำคัญยิ่งของวัดนางชี ![]() งานประเพณีชักพระได้อัญเชิญพระบรมสารีริกธาตุ ลงเรือดั้งของกองทัพเรือ 2 ลำ ออกเดินทางทางน้ำจากวัดนางชี เขตภาษีเจริญ กรุงเทพมหานคร ไปยังสำนักงานเขตตลิ่งชัน โดยใช้เส้นทางคลองด่าน ผ่านคลองบางกอกใหญ่ เข้าคลองชักพระและสิ้นสุดที่สำนักงานเขตตลิ่งชัน สำหรับเที่ยวกลับ ขบวนอัญเชิญพระบรมสารีริกธาตุ ออกเดินทางจากสำนักงานเขตตลิ่งชันไปตามคลองบางกอกน้อย ออกแม่น้ำเจ้าพระยา เข้าคลองบางหลวง กลับสู่วัดนางชี เขตภาษีเจริญ กรุงเทพมหานคร ปีนี้จัดดให้มีขึ้นในวันที่ 20-22 พฤศจิกายน 2564 ![]() สำหรับที่มาของพระบรมสารีริกธาตุมีตำนานเล่ากันสืบต่อมาว่า ราว พ.ศ. 1219 คณะพราหมณ์ 3 คน และชาวจีน 9 คน ได้อัญเชิญพระบรมสารีริกธาตุบรรจุผอบทองคำ 2 ผอบ โดยเรือสำเภาจากชมพูทวีปเพื่อไปประดิษฐานที่เมืองปทาคูจาม อาณาจักรศรีวิชัย (นครศรีธรรมราชในปัจจุบัน) และที่เมืองเชียงใหม่ ซึ่งเมื่ออัญเชิญพระบรมสารีริกธาตุขึ้นประดิษฐานที่เมืองนครศรีธรรมราชแล้ว ![]() จึงเดินทางต่อเพื่อจะไปเมืองเชียงใหม่ แต่ทว่าระหว่างทางเรือเกิดอุบัติเหตุล่มลงตรงบริเวณปากน้ำคลองด่านในปัจจุบันพอดี คณะพราหมณ์และชาวจีน จึงได้พร้อมใจกันอัญเชิญเสด็จพระบรมสารีริกธาตุขึ้นฝั่ง โดยห่างจากจุดที่เรือล่มประมาณหนึ่ง และประดิษฐาน ณ ที่ตรงนั้นเรื่อยมา จนกาลเวลาผ่านไป หอบทองที่บรรจุพระบรมสารีริกธาตุถูกฝังจมดิน ![]() ต่อมาเมื่อมีการสร้างวัดนางชีเสร็จ พระบรมสารีริกธาตุได้เสด็จมาปรากฏให้แม่ชีอิ่มเห็นทั้ง 5 องค์ แม่ชีอิ่มจึงทูลเชิญเสด็จบรรจุในผอบแก้ว และประดิษฐานไว้ ณ วัดนางชี ตั้งแต่นั้นเป็นต้นนั้นมา โดยในวันแรม 2 ค่ำ เดือน 12 ของทุกปี วัดนางชี จะจัดงานสรงน้ำพระบรมสารีริกธาตุ พร้อมกับการอัญเชิญพระบรมสารีริกธาตุ และพระอรหันตธาตุ ขึ้นประดิษฐานบนบุษบกที่ตั้งอยู่ในเรือ แล้วชักแห่จากท่าน้ำหน้าวัดนางชีไปตามคลองด่าน เลี้ยวซ้ายเข้าคลองบางกอกใหญ่ผ่านคลองชักพระ แล้วไปทะลุคลองบางกอกน้อยจนถึงวัดไก่เตี้ย ![]() จากนั้นจะเชิญพระบรมสารีริกธาตุขึ้นประดิษฐานบนที่ซึ่งทางวัดจัดไว้ เพื่อให้พุทธศาสนิกชนแถวนั้นได้สักการะบูชา หลังจากนั้นจึงยกขบวนล่องไปยังปากคลองบางกอกน้อย มาตามแม่น้ำเจ้าพระยาเข้าคลองบางกอกใหญ่ แล้ววกเข้าคลองด่านกลับมายังวัดนางชีโชติการามตามเดิม ซึ่งชาวบ้านจะเรียกการแห่ว่า "แห่อ้อมเกาะ" ![]() ซึ่งตลอด 2 ข้างทางริมคลองที่เป็นเส้นทางแห่พระบรมสารีริกธาตุ จะมีพุทธศาสนิกชนให้ความสนใจพร้อมตั้งโต๊ะหมู่บูชา เพื่อสักการะพระบรมสารีริกธาตุ นอกจากนี้ยังมีการอัญเชิญพระบรมสารีริกธาตุ ขึ้น-ลงจากเรือ เพื่ออ้อมหรือยกสูงด้วยการชักรอก จากสะพานข้ามคลอง และสถานีรถไฟฟ้า MRT สถานีบางไผ่ ที่ตัดพาดผ่านเส้นทางเรือ เนื่องจากแห่พระบรมสารีริกธาตุจะต้องไม่มีการลอดสะพานหรือทางใดๆ ทั้งสิ้น ![]() ประเพณีชักพระวัดนางชี ถือเป็นประเพณีอันดีงามชองชาวฝั่งธนบุรี ที่ควรค่าแก่การสืบสานและรักษาไว้เป็นอย่างยิ่ง เพราะนอกจากจะเป็นงานบุญเก่าแก่ที่อยู่คู่พวกเราชาวภาษีเจริญแล้ว รวมถึงคนฝั่งธนบุรีแล้ว ยังเป็นประเพณีที่ได้รับการขึ้นทะเบียนมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม ด้านศาสนพิธีและความเชื่อถือจากกรมส่งเสริมวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม ![]() ยังเป็นประเพณีชักพระเพียงหนึ่งเดียวของกรุงเทพมหานคร นับประเพณีที่มีคุณค่าที่มีการสืบทอดกันมาอย่างยาวนาน และมีความสำคัญทั้งในด้านการอนุรักษ์ ตลอดทั้งยังเป็นมรดกทางวัฒนธรรม จึงเป็นเรื่องที่ต้องช่วยกันสืบสานรักษาให้ประเพณีที่ดีงามแบบนี้ให้คงอยู่คู่แผ่นดิน และเป็นมรดกคงอยู่ให้แก่อนุชนคนรุ่นหลังสืบต่อไป ![]() ![]() ประเพณีชักพระวัดนางชี เขตถาษีเจริญ กรุงเทพมหานคร จึงเป็นการสืบสานอนุรักษ์วัฒนธรรมประเพณีอันดีงาม ซึ่งพุทธศาสนิกชนชาวฝั่งธนบุรี ที่ได้ยึดถือปฏิบัติสืบเนื่องกันมาเป็นเวลานานกว่า 100 ปี ในช่วงเวลาวันแรม 2 ค่ำ เดือน 12 ของทุกปี ตั้งแต่ต้นกรุงรัตนโกสินทร์จนถึงปัจจุบัน ![]() ![]() ขอฝากความรักและความปรารถนาดีมายังเพื่อนชาว bloggang แม้จะเปิดประเทศแล้วก็ตาม ฉีดวัคซีน 2 เข็มแล้วแต่การ์ดอย่าตก สวมใส่แมสตลอดและล้างมือบ่อยๆ นะครับ ที่สำคัญอ่านแล้วไม่มโนนะจ๊ะ ด้วยความห่วงใยจากช่างภาพวัดและธรรมชาติครับ ![]() ได้รู้ที่มาของคลองชักพระวันนี้ค่ะ
โดย: tuk-tuk@korat
![]() ![]() ช่วงนี้พวกเทศกาล ประเพณีก็จะเงียบเหงาหน่อย
โดย: คุณต่อ (toor36
![]() ![]() ภาพถ่ายทำให้รู้สึกถึงวิถีชีวิตของชาวบ้านได้ดีเลยครับ
การจัดวางองค์ประกอบภาพของ 3 ภาพแรก แสดงให้เห็นว่าวิถีชีวิตของชาวบ้านอยู่ภายใต้ของอิทธิพลของศาสนาได้ดีเลยครับ :) โดย: navagan
![]() อรุณสวัสดิ์ครับพี่ เป็นงานประเพณีที่น่าไปถ่ายรูปมากเลยครับ ![]() โดย: กะว่าก๋า
![]() ![]() งานประเพณีแบบนี้ หาดูได้ยากเลยนะครับ
ได้บุญ+สืบสานวัฒนธรรมอันดีด้วย ชอบบรรยากาศริมคลองมาก ร้านค้า+เรือขายอาหาร น่าไปเที่ยวมากเลยนะครับ ![]() ![]() ![]() โดย: multiple
![]() ภาพแบบนี้หายากครับ... เป็นประเพณีที่
คนไม่ค่อยเห็น.. มีใส่บาตรแบบยื่นใกล้ ด้วย .. ขอบคุณครับที่ไปเม้นท์ที่บล๊อก โดย: ไวน์กับสายน้ำ
![]() ![]() ขอบคุณครับ
น่าไปเที่ยวชม ร่วมงานบุญประเพณีที่ควรอนุรักษ์ไว้ตลอดไปครับ เสียดายไม่มีภาพยกพระธาตุขึ้นสูงด้วยการชักรอก จากสะพานข้ามคลอง และสถานีรถไฟฟ้า MRT สถานีบางไผ่ ![]() โดย: สองแผ่นดิน
![]() ![]() สวัสดีค่ะ ตามมาชมประเพณีพิธีชักพระ ชอบมากอยากไปดูด้วยตาตัวเองจริงๆแต่ได้มาชมบ้านนี้ก็เหมือนได้ไปด้วยตัวเองจริงๆค่ะ ภาพชัด บรรยายประวัติให้ความรู้ดีเยี่ยมค่ะทำให้ได้รู้ถึงความเป็นมาของประเพณีด้วย
เยี่ยมๆๆๆค่ะ ![]() ![]() ![]() โดย: กิ่งฟ้า
![]() ภาพถ่ายสวยงาม อยู่กทม มานานไม่เคยรู้มาก่อนมีประเพณีงามๆแบบนี้ด้วย ขอบคุณเรื่องราวค่ะ
โดย: mcayenne94
![]() ![]() ขอบคุณสำหรับกำลังใจให้บล็อก - ไผ่ขวาง สุพรรณบุรี ด้วยนะครับ
โดย: ทนายอ้วน
![]() ![]() |
บทความทั้งหมด
|