"ยินดีต้อนรับสู่ บล็อกของคนใฝ่รู้ สำหรับผู้ใส่ใจใฝ่รู้ค่ะ" มีหลายหัวข้อเรื่องให้คุณอ่าน .. ขอบคุณที่มาเยี่ยมบล็อกค่ะ .. ขอจงมีแต่ความสุขกายสบายใจตลอดไปนะคะ
Group Blog
 
<<
พฤศจิกายน 2556
 
 12
3456789
10111213141516
17181920212223
24252627282930
 
12 พฤศจิกายน 2556
 
All Blogs
 
บันทึกของผู้เฒ่า (๑๗๑)





บันทึกของผู้เฒ่า (๑๗๑) ๑๙ มี.ค.๕๖

กลับคืนสู่ดิน

วันนี้เป็นวันแรกของปีที่ ๘๓ ในชีวิต จึงขอรำลึกชาติ กลับไปดูอดีตที่ผ่านมา ตั้งแต่เกิด และเจริญงอกงาม จนบัดนี้ชีวิตที่เหมือนกับการเดินทางของเรา ก็ได้มาถึงโค้งสุดท้าย ซึ่งได้เลี้ยวลงจากที่สูง จนเกือบจะถึงระดับพื้นดินราบ

เมื่อเหลียวมองกลับหลัง ไปดูเส้นทาง อันคดเคี้ยวที่ผ่านมา ก็จะเห็นได้ว่า ความสำเร็จที่ได้รับเป็นส่วนใหญ่นั้น ล้วนแต่ได้การประคับประคองเหนี่ยวรั้ง และผลักดัน จากท่านผู้มีพระคุณจำนวนมากมาย

ตลอดระยะทางอันยาวไกล ตั้งแต่ลืมตาขึ้นมาดูโลก นอกจากพ่อซึ่งเป็นต้นกำเนิดของชีวิต และแม่ผู้อุ้มชูเลี้ยงดูมาตั้งแต่อยู่ในครรภ์ จนเกิดมาเป็นคนแล้ว ก็ยังมีอีกเป็นลำดับ

เริ่มตั้งแต่คุณครูโรงเรียนมัธยม ที่ภรรยาท่านเคยเป็นผู้ทำคลอดเรา เมื่อครั้งที่พ่อรับราชการอยู่ต่างจังหวัด ท่านได้อบรมสั่งสอนมาตลอดเวลาที่เรียนกับท่านในชั้นมัธยม ตั้งแต่ต้นจนปลายเหมือนบุพการีคู่ที่สอง

ต่อมาก็คือญาติผู้ใหญ่เป็นนายทหาร ที่กรุณาดึงตัวเอาไปทำงานเป็นลูกจ้าง เมื่อหลังสงคราม ในยามที่กำลังจะอดตาย เหมือนลากเด็กที่กำลังจะจมน้ำให้รอดชีวิตขึ้นมาหายใจต่อไปอีกได้

เมื่อเข้ารับราชการเป็นพลทหารเกณฑ์ ท่านผู้บังคับหมวดทหารราบ ของหน่วยที่สังกัดอยู่ ก็ได้สนับสนุน ให้เข้าโรงเรียนนายสิบ จนจบการศึกษา เสมือนการเปิดประตูให้ก้าวออกไปสู่โลกอันกว้างใหญ่ไพศาล

เมื่อได้รับราชการต่อมา ผู้บังคับบัญชาหลายระดับชั้น ก็ได้อุปถัมภ์ค้ำจุน ให้ได้ไปทำงานพิเศษที่มีรายได้เพิ่มขึ้น ตั้งแต่เป็นนายสิบ จนเป็นนายทหารยศสูงสุด

และท่านสุดท้าย ซึ่งไม่ได้เป็นญาติทางสายไหนเลย เพียงแต่เป็นลูกศิษย์ส่วนตัวของแม่ ที่ได้เคยสั่งสอนอบรมกันมา ทั้งวิชาความรู้ทางหนังสือ และการบ้านการเรือน ตั้งแต่เยาว์วัย เมื่อท่านเติบโตมีฐานะเป็นหลักฐานมั่นคง

ตรงข้ามกับแม่ซึ่งได้ตกต่ำยากจนลงเป็นลำดับ จนถึงขั้นป่วยไม่สามารถหาเลี้ยงชีพตนเองได้ ด้วยความกตัญญูต่อแม่ ครูผู้มีพระคุณ ท่านจึงได้ยื่นมือเข้ามาโอบอุ้มช่วยเหลือเจือจาน ตั้งแต่เมื่อบ้านแตกสาแหรกขาด มาจากสวนฝั่งธนบุรี จนตลอดระยะเวลาของสงครามมหาเอเซียบูรพา

และผลของความกตัญญูกตเวทีของท่านนั้น ก็ได้ตกทอดมาถึงเรา และน้องก็ได้รับความอุปการะ ส่งเสียการกินอยู่และการเล่าเรียนจนจบประโยคครูมัธยมศึกษา ออกมาเป็นครูได้สำเร็จ

ทั้งยังได้ตามดูแลเอาใจใส่ ปลูกฝังความดีงามให้เกิดขึ้นในจิตใจต่อมา และได้ชักจูงชี้ทางไปสู่ธรรมะ และการทำบุญทำกุศล จนเป็นนิสัยอยู่ในปัจจุบัน

ท่านทั้งหลายที่ได้โอบอุ้มอุปถัมภ์เรา ด้วยความรักความเมตตา ตั้งแต่เด็กจนถึงวัยชราเหล่านั้น ก็ได้ล่วงลับไปจนหมดสิ้นแล้ว เราอาจจะได้มีโอกาสทดแทนพระคุณตอบแทนท่านบ้าง หรือตอบแทนแก่บุตรหลานของท่านบ้าง หรือไม่มีโอกาสเลยก็ตาม เราก็ระลึกถึงท่านด้วยความเคารพบูชาตลอดไป

ชีวิตของคนเรานี้ ไม่มีใครรู้ว่ามาจากไหน จะอยู่ยืนยาวไปได้นานสักเพียงใด จะสิ้นสุดลงเมื่อไร ที่ไหน อย่างไร และจากนั้นจะเป็นอะไรต่อไป ไม่มีใครที่จะให้คำตอบอย่างชัดเจนกระจ่างแจ้งได้ ไม่ว่าในอดีต ปัจจุบัน หรืออนาคตก็ตาม

ได้ตั้งใจไว้เมื่อ ครบ ๘๐ ปี ที่ไปทอดกฐินวัดใหม่ยายมอญ ว่าจะไม่ทำบุญใหญ่โต ให้หมดเปลืองทั้งเงินและเรี่ยวแรงอีกแล้ว ไม่ว่าจะอยู่ไปได้อีกสักกี่ปี เพราะไม่ได้มีความยินดี ในความมีอายุยืนต่อจากนี้ไป

ตาก็เจ็บ หูก็ตึง ฟันก็เหลือไม่กี่ซี่ ต้องกินอาหารปั่น หรือต้มจนเละเป็นโจ๊ก และพยายามหัดให้อิ่มโดยไม่กินมาก เพราะไม่อยากให้น้ำหนักขึ้นเกินกว่า ๖๕ ก.ก.

เวลานี้ต้องกินยาลดความดัน ลดไขมัน และ แอสไพริน ช่วยให้เลือดไหลเวียนดี เป็นประจำ และกินยารักษาโรคกรดไหลย้อน กับยาระบายทุกวัน โครงกระดูกก็มีการปวดหัวไหล่ เมื่อยคอ แขนซ้ายชานาน ๆ ครั้ง ไม่แน่ว่า เพราะกระดูกต้นคอชำรุด หรือท้องอืด หรือโรคหัวใจ กล้ามเนื้อก็เป็นตะคริวง่าย และเป็นได้ทุกแห่งทั่วร่าง

ซึ่งทั้งหมดนี้แสดงความเสื่อมของร่างกาย ที่ไม่มีวันจะคืนดี มีแต่จะมากขึ้น จนถึงเดินไม่ได้ หรือเป็น อัมพฤกษ์ อัมพาต ซึ่งไม่ใช่เรื่องควรยินดีเลย บ้านเราเหลือกันอยู่แก่ ๆ สามคน ใครจะช่วยใครได้

หน้าที่ของเราในปัจจุบันจนถึงอนาคต ที่ไม่ทราบว่าจะสิ้นสุดลงเมื่อใดนี้ ก็คือการให้ความอุปถัมภ์หรืออนุเคราะห์ แก่ผู้ที่มีความสัมพันธ์ในฐานะครอบครัว ญาติพี่น้อง มิตรสหาย และเพื่อนร่วมโลก ที่ด้อยกว่า เท่าที่จะทำได้ เพื่อชดใช้หนี้ที่ได้รับมาแต่หนหลัง

จนกว่าจะพบกับวาระสุดท้าย ที่จะมาถึงเมื่อไรก็ไม่รู้

จนกว่าจะพ่ายแพ้แก่โรคาพยาธิ ที่มาคุกคามเอาชีวิต

จนกว่าจะหมดแรงหายใจเข้าออก

จนกว่าชีวิตที่อุบัติขึ้นเมื่อหลายสิบปีก่อน จะเสื่อมโทรมผุพังจนใช้การไม่ได้ ประดุจดังว่าท่อนไม้และท่อนฟืน หาประโยชน์มิได้

จนกว่ากระดูกที่ถูกเผาไหม้เป็นธุลี จะร่วงหล่นผ่านห้วงน้ำ ลงไปแนบอยู่กับผืนดิน และสลายไปในที่สุด.

##########

๑๙ มีนาคม ๒๕๕๖

เพิ่งค้นเจอเมื่อ ๑๒ พฤศจิกายน ๒๕๕๖


โดย: เจียวต้าย 12 พฤศจิกายน 2556 14:53:34 น.



Create Date : 12 พฤศจิกายน 2556
Last Update : 12 พฤศจิกายน 2556 15:04:22 น. 6 comments
Counter : 556 Pageviews.

 
ขอบพระคุณพี่ปู่มากค่ะ ที่กรุณานำมาให้อ่านกันอีก

ชีวิตหนึ่ง ที่มีแต่ความภาคภูมิใจ
ด้วยต่อสู้ทั้งกายและใจมาชั่วชีวิต
สังขารอันไม่เที่ยง ย่อมมีเสื่อมไปเป็นของธรรมดา มันเป็นธรรมชาติ

หากทำใจว่าเป็นเรื่องธรรมดาแล้ว
กินอาหารปั่น ก็ง่ายดี ทำไมพี่ปู่ไม่ติมรสอันชอบล่ะคะ
ฟัน หู ตา ก็เป็นปรกติของมัน ใช้มานานแล้ว

มองด้วยตาไม่เห็นชัด ก็มองด้วย "ใจ" ซีคะ
หูตึง ฟังไม่ชัด ได้ยินไม่ถนัด ก็ "จินตนาการ" ว่าเขาพูดแต่สิ่งดีๆ มีมงคล กับเราซีคะ

แฮ่ม แม่ชีเฒ่า เยาว์พรรษาเจ๋อ ปุจฉา วิปัสนากับท่านสังฆราช

อย่าได้ถือสา โปรดเมตตา
ทำจิตใจให้หรรษานะคะพี่ปู่


โดย: นาถศรีมณีแสง (sirivinit ) วันที่: 12 พฤศจิกายน 2556 เวลา:15:11:36 น.  

 
ตามมาอ่านแล้วนะคะคุณปู่
ขอให้คุณปู่สุขภาพแข็งแรงค่ะ


โดย: AppleWi วันที่: 12 พฤศจิกายน 2556 เวลา:16:09:33 น.  

 
ออกัสคงดีใจ คุยกับใครๆ ว่า ปู่หนูอายุตั้งเป็นร้อย น่ายินดีออกค่ะคุณลุง

แวะเอาเข้ามาวางอีกนะคะ เผื่อจะหลงๆ เผลอวางไว้ที่โฟลเดอร์ไหน






โดย: สายหมอกและก้อนเมฆ วันที่: 12 พฤศจิกายน 2556 เวลา:17:36:22 น.  

 
ขอบคุณ น้องวิ น้องหนู ที่มาให้กำลังใจพี่ปู่มากค่ะ
น่ารักจริงๆ น้องเรา


งานชิ้นนี้ไม่มีผิดเลยค่ะ
ตก สระ ะ ที่เดียว นาถศรีเติมเรียบร้อย และซอยระหว่างช่วง ให้มากขึ้นนิดหน่อย จะได้อ่านกันง่ายๆ ค่ะ

พี่ปู่ จะหายเซ็ง เข้ามาดูไหมหนอ...


โดย: นาถศรีมณีแสง (sirivinit ) วันที่: 12 พฤศจิกายน 2556 เวลา:18:50:03 น.  

 
ตามมาอ่าน มาให้กำลังใจค่ะพี่ปู่


วันนี้อ่านแบบหวัดๆไปก่อน

จะเข้ามาอ่านแบบบรรจงวันหลัง

วันนี้เพลียตาจะปิดแล้วค่ะ

ตอนนี้พี่ปู่คงนอนหลับไปเรียบร้อยแล้ว

เพราะบอกไว้ที่บ้าน 29 ว่า ....เดี๋ยวนี้นอนทุ่มเดียว สองทุ่มก็หลับแล้ว


โดย: ร่มไม้เย็น วันที่: 12 พฤศจิกายน 2556 เวลา:21:10:26 น.  

 
บันทึกของผู้เฒ่า (๑๗๒)

หน้าสุดท้าย

เมื่อบันทึกลงในหนังสือเรื่อง เปิดใจนักเขียนชรา ถึงวันสุดท้าย ๒๘ กรกฎาคม ๒๕๕๖ ดังนี้

๒๘ ก.ค.๕๖ (๗)

เมื่อหมดห่วงเรื่องราชการแล้ว ก็ตั้งหน้าตั้งตาเขียนหนังสือต่อไป เพราะได้วางแผนไว้ก่อนที่จะเกษียณ ว่าจะเอานิยายอิงพงศาวดารจีนเรื่องสามก็ก ของท่าน เจ้าพระยาพระคลัง (หน) มาเรียบเรียงให้เป็นสามก๊ก ฉบับลิ่วล้อ ใช้นามปากกา “เล่าเซี่ยงชุน” ยัดเยียดเข้าไปแทรกในตลาดหนังสือให้ได้ และได้ลงมือตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๓๔ จนถึง พ.ศ.๒๕๔๑ ครบรอบการเขียนหนังสือ ๕๐ ปี อายุ ๖๗ ปี ได้รับการจัดพิมพ์สามก๊กฉบับลิ่วล้อ โดยสำนักพิมพ์ประพันธ์สาส์น ได้ค่าตอบแทนมากที่สุดจนแทบไม่น่าเชื่อ เช่นเดียวกับการได้ยศพันเอกในทางทหาร

สามก๊ก ฉบับลิ่วล้อ เรียบเรียงใหม่จาก ฉบับ เจ้าพระยาพระคลัง (หน) โดย “เล่าเซี่ยงชุน”
จำนวน ๓ เล่ม เล่มที่ ๑ จำนวน ๒๖ ชุด รวม ๔๐ ตอน เล่มที่ ๒ จำนวน ๒๓ ชุด รวม ๓๔ ตอน
เล่มที่ ๓ จำนวน ๑๘ ชุด รวม ๓๖ ตอน รวมทั้งสิ้น ๖๗ ชุด ๑๑๐ ตอน ได้ค่าตอยแทน ๘๔,๐๐๐ บาท

ชีวิตของผมทั้งทางราชการ และส่วนตัวได้มาถึงจุดสูงสุดแล้ว ทั้งสองด้าน เหมือนตัวทากจากพื้นดิน ที่ค่อยไต่ขึ้นกำแพงอย่างช้า ๆ ไม่เคยหยุดพัก และไม่เคยถอยหลัง มีแต่คืบหน้าไปเรื่อย ๆ โดยไม่ย่อท้อ แม้จะไม่รู้เลยว่าข้างหน้าจะเป็นอย่างไร เมื่อถึงอายุ ๖๗ ปี ก็บรรลุถึงที่หมายปลายทาง เหมือนนิทานชาดกเรื่องพระชนก

ตามธรรมดาเมื่อถึงจุดสุดยอดแล้วก็จะต้องค่อย ๆ ลดต่ำลง แต่ในการเขียนหนังสือของผมแล้ว ยังคงเดินหน้าต่อไป มิได้มุ่งหวังสิ่งอื่นใด นอกจากการได้ทำในสิ่งที่รักและหลงใหลมาแต่วัยเด็ก และจะทำไปจนกว่าจะสิ้นแรง หมดกำลัง และหมดลมหายใจ.

##############

เมื่อ่อ่านทานแล้วก็นึกขึ้นได้ว่า ไหน ๆ ก็จะเลิกเขียนหนังสือขายแล้ว ควรจะรวบรวมผลงานที่ได้รับการตอบรับจากวารสารต่าง ๆ ไว้เป็นที่ระลึก ให้ลูกหลานดูในภายหน้าก็จะดีไม่น้อย เมื่อเอาบันทึกเรื่องงานเขียนมาเปิดดูแล้ว ก็พบว่า ตั้งแต่ พ.ศ.๒๔๙๑ ถึง พ.ศ.๒๕๕๑ เป็นเวลา ๖๐ ปี ที่เขียนหนังสืออย่างสม่ำเสมอติดต่อกันมาเท่าที่จะมีเวลานอกราชการ ซึ่งแบ่งได้เป็นสามช่วง ดังนี้

เริ่มตั้งแต่ พ.ศ.๒๔๘๙ ซึ่งลาออกจาก ร.ร.มัธยมวัดราชาธิวาส เพราะไม่มีเงินเสียค่าเทอม โดยมีใบสุทธิชั้น ม.๔ เท่านั้น เพราะ ม.๕ โรงเรียนปิด และ ม.๖ สอบตก เขียนแล้วส่งไปลงตะกร้าที่วารสารต่าง ๆ อยู่จนถึง ตุลาคม ๒๔๙๑ จึงได้ลงพิมพ์เรื่องแรกที่ นิตยสารโบว์แดง ซึ่ง สันต์ เทวรักษ์ นักประพันธ์ชื่อดัง เป็นบรรณาธิการ

ช่วงที่สองเขียนเรื่องสั้นส่งให้วารสารต่าง ๆ ทั้งรายวัน รายสัปดาห์ รายปักษ์ รายลอตเตอรี่ และรายเดือน ตลอดเวลาที่รับราชการ จนถึงพ.ศ.๒๕๑๘ จึงได้เข้าไปอยู่ในกองบรรณาธิการ และได้รับแต่งตั้งให้เป็น ผู้ช่วยบรรณาธิการเมื่อ พ.ศ.๒๕๓๐ เรื่องที่เขียนนั้น มีทั้งเรื่องสั้น สารคดี และเรื่องหรรษา เว้นแต่เรื่องทางวิทยาการทการสื่อสารเท่านั้น ซึ่งได้ลงพิมพ์นอกจากนิตยสารทหารสื่อสาร ซึ่งเป็นหน้าที่ประจำแล้ว ได้ส่งไปให้วารสารอื่น ๆ เช่น

โบว์แดง สายสัมพันธ์ ไทยใหม่

อารมณ์ จิตรวัฒนา สตรีสาร

หลักเมือง นครสาร แนวหน้า

พิมพ์ไทย หญิงไทย ศรีกรุง

ข่าวภาพ เมืองหลวง เดลิเมล์

เสนาสาร รักษาดินแดน กะดึงทอง

สกุลไทย วปถ.ปริทรรศน์ เพื่อนบ้าน

แฟนสัมพันธ์ ไทสัปดาห์

จากนั้นจึงได้เริ่มเรียบเรียง นิยายอิงพงศาวดารจีนในราชวงศ์ต่าง ๆ และมาถึง สามก๊ก บับหลวง ของ เจ้าพระยาพระคลัง(หน) เพราะตั้งใจไว้ว่า เมื่อเกษียณอายุราชการใน พ.ศ.๒๕๓๕ แล้วจะเขียนหนังสือเป็นงานหลัก

ช่วงที่สาม คือการเขียนอย่างอิสสระ ตั้งแต่เกษียณอายุราชการ พ.ศ.๒๕๓๕ ถึง พ.ศ.๒๕๕๑ ครบ ๖๐ ปีของการเขียนหนังสือ และอายุใกล้จะ ๘๐ ปีแล้ว จึงวางมือไม่ได้เขียนอะไรให้เป็นเรื่องเป็นราวอีกเลย สรุปผลงานที่ได้ลงพิมพ์แล้ว และนำมาวางในบล็อกของพันทิป ตั้งแต่ พ.ศ.๓๕๕๐ ปรากฏว่าเขานับได้ ๑๕๑๓ ชิ้น



แบ่งแยกได้ดังนี้

สามก๊ก ๒๑๗ ตอน นามปากกา “เล่าเซี่ยงชุน” “เจียวต้าย”

ซ้องกั๋ง ๕๕ “

เปาบุ้นจิ้น ๓๗ “

พงศาวดารจีนเรื่องอื่น ๆ ๖๓ “

เรื่องสั้น ฉากชีวิต ๑๒๔ “ นามปากกา “เพทาย”

บันทึกของคนเดินเท้า ๖๒ “ “ “เทพารักษ์”

ย้อนอดีต ๘๒ “ “ พ.สมานคุรุกรรม

เบ็ดเตล็ด ๖๓๐ “ นามปากกาต่าง ๆ

ไม่มีสาระ ๒๔๓ “ “เจียวต้าย”

บัดนี้ผู้บันทึกมีอายุครบ ๘๓ ปี ใน ๑๙ มีนาคม ๒๕๕๗ มีสิทธิที่จะตายได้แล้ว แต่เมื่อไรก็ยังไม่รู้ จึงเหลือแต่ชื่อ “เจียวต้าย” ที่พอจะเขียนอะไรที่ไม่ค่อยมีสาระได้เล็ก ๆ น้อย ๆ เพื่อหาเพื่อนคุย ในเวปพันทิป

จนกว่ามือจะหมดแรง ยกมือขึ้นจิ้มคอมพิวเตอร์ได้อีกต่อไป เท่านั้น.
๑๘ พฤศจิกายน ๒๕๕๖

##############


โดย: เจียวต้าย วันที่: 21 พฤศจิกายน 2556 เวลา:8:59:28 น.  

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

sirivinit
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 224 คน [?]





/



2558

2556

2555

น้ำใจจากคุณ krittut 2554

2553


สิริสวัสดิ์วรวาร
เปรมปรีดิ์มานรื่นรมณีย์นะคะ ยินดีต้อนรับ
สู่บล็อกของคนใฝ่รู้ สำหรับผู้ใส่ใจใฝ่รู้ค่ะ

เชิญอ่านตามสบายนะคะ
มีดีๆให้คุณได้ทราบหลากหลายค่ะ

๑ - ๑/๑ ฉันรักในหลวง
๒.๓.๑๐.๑๕.๓๐.๒๔.๕๙.๖๓.๙๐.ธรรมะ
๔ - ๔/๑ รวมพลคนดัง
๕. ศาสนาพุทธสุดประเสริฐ
๖. ความรู้ทั่วไปในศาสนาพุทธ
๗. ๑๖. ประวัติศาสตร์
๘ - ๙/๑ ไม้ดอก ไม้ใบ
๑๑ - ๑๑/๑ เกม
๑๒.๓๗.๔๐-๔๓.๕๓.๗๕.๘๖.ศิลปะเทศ
๑๔ - ๑๔/๑. ๒๐๘. ข่าวคนดังเทศ
๑๘. ๑๙. ๒๒. ราชวงศ์ไทย
๒๐.๑๑๖-๑๑๖/๒ ๑๙๐-๑๙๐/๘ ละคร ทีวี
๒๑. ๓๑. ๒๐๘. ราชวงศ์เทศ
๒๔. นักเขียนไทย
๒๔/๑. กลอนชั้นบรมครู
๒๙/๑-๒๙/๔โปสการ์ดจากเพื่อนบล็อก
๓๓. สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช
๓๙.๑๘๑-๑๘๑/๗ สุธาโภชน์รสเลิศล้ำ
๔๑.๔๒.๕๐.๕๘.๖๐.๖๑.๘๖.มหาวิหาร
๕๗. ปราสาท พระราชวัง คฤหาสน์เทศ
๖๒. วัด
๖๕ - ๖๕/๑ การ์ตูน
๖๕/๒. นิทานเซน
๖๗. ความตายมาพรากให้จากไป
๖๙ - ๖๙/๒ สารพัดสัตว์
๗๔. สุนัข
๗๖. อุทยานสวรรค์
๗๗. ซูเปอร์แมน - แบทแมน
๗๘ - ๘๓. แสตมป์สะสม
๘๕-๘๕/๑ หนังสือสะสม
๘๗ - ๘๗/๒ ๒๑๕ ข่าวกีฬา
๘๙. ๘๙/๑ จีนแผ่นดินใหญ่
๙๐/๑ .ทิเบต
๙๑. จันทร์สูริย์ดารา
๙๒. สมเด็จพระปิยมหาราชเจ้า
๙๓ - ๙๓/๒ ภาพยนตร์
๙๔ - ๙๔/๓ ยานยนต์
๙๕ - ๙๕/๑ ดูดวง
๙๖ - ๙๖/๑ . ๒๑๑ วิทยาศาสตร์
๙๗ - ๙๗/๑.๒๐๙ แวดวงวรรณกรรม
๙๘. ภาพพุทธประวัติ
๙๙. ๑๒๗ - ๑๒๗/๑ ดนตรี
๑๐๑. ป้าย R สะสม
๑๐๒. บัตรภาพตราไปรฯสะสม
๑๐๓. DIY
๑๐๗/๑ เล่าเรื่องเมืองญี่ปุ่น
๑๐๘ - ๑๐๘/๑ หนังสือ
๑๑๓ - ๑๑๓/๑ บ้านสวย
๑๑๕. พระเครื่อง
๑๒๐. พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
๑๒๓. เจ้าฟ้าเพชรรัตน์ฯ
๑๒๕. เหรียญที่ระลึก
๑๒๕/๑ เหรียญสะสมต่างประเทศ
๑๒๕/๒ เหรียญที่ระลึกจังหวัด
๑๒๕/๓ ธนบัตรที่ระลึก
๑๒๕/๔ บัตรโทรศัพท์
๑๒๕/๕ กล่องไม้ขีด และอื่นๆ
๑๓๑.เรื่องสั้นชั้นครู"เจียวต้าย"
๑๖๔.บล็อกพิเศษ วันเดียวอั๊พ 100
เอนทรี่ ให้คุณป้า"ร่มไม้เย็น"ชม
๑๙๐/๓ เรื่องย่อละคร
๑๙๓. คดีเขาพระวิหาร
๒๑๒. ศิลปะ
๒๑๗. วิถีแห่งอำนาจ บูเช็กเทียน
๒๑๗/๑.วิถีแห่งอำนาจ เจงกิสข่าน
๒๑๗/๒.วิถีแห่งอำนาจ จูหยวนจาง
๒๑๗/๓.วิถีแห่งอำนาจ ซูสีไทเฮา
๒๑๗/๔.วิถีแห่งอำนาจ หงซิ่วฉวน
๒๑๗/๕.วิถีแห่งอำนาจ แฮรี่ พอตเตอร์

ข่าวทั่วไปล่าสุด บล็อกล่างสุดค่ะ

เปิดบล็อก 1 มกราคม 2552



free counters
08.27 - 250811

207 flags collected 300316



Friends' blogs
[Add sirivinit's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.