Group Blog
 
<<
พฤษภาคม 2553
 
 1
2345678
9101112131415
16171819202122
23242526272829
3031 
 
3 พฤษภาคม 2553
 
All Blogs
 
ตับอักเสบจากไวรัส - Viral Hepatitis

ลักษณะทั่วไป 



ตับอักเสบจากไวรัส (ไวรัสลงตับ ก็เรียก) หมายถึง
การอักเสบของเนื้อตับ เนื่องจากการติดเชื้อไวรัส
พบเป็นสาเหตุอันดับแรกสุด ของอาการดีซ่าน (ตัวเหลือง ตาเหลือง)
ที่เกิดขึ้นในเด็กโตและผู้ใหญ่ จนเป็นที่เข้าใจกันว่า โรคดีซ่าน ก็คือ
ตับอักเสบจากไวรัส โรคนี้พบได้ในคนทุกวัย แต่พบมากในเด็กและคนหนุ่มสาว
บางครั้งอาจพบระบาด ตามหมู่บ้าน โรงเรียน โรงงาน กองทหาร เป็นต้น 



สาเหตุ 



ในปัจจุบันพบว่าไวรัสที่ทำให้เกิดโรคตับอักเสบมีอยู่ด้วยกันหลายชนิด
ที่สำคัญมีอยู่ 2 ชนิด ได้แก่



1. เชื้อไวรัสตับอักเสบชนิดเอ
(Hepatitis A virus) ซึ่งทำให้เกิดโรคตับอักเสบชนิดเอ (Hepatitis A )
หรือ เดิมเรียกว่า Infectious hepatitis
สามารถติดต่อโดยทางระบบทางเดินอาหาร กล่าวคือ โดยการกินอาหาร ดื่มนม
หรือน้ำที่เปื้อนอุจจาระของคนที่มีเชื้อโรคนี้ (เช่นเดียวกับโรคบิด
อหิวาต์ ไทฟอยด์) ดังนั้นจึงสามารถแพร่กระจายโรคได้ง่าย
โดยเฉพาะอย่างยิ่งในบ้านเรา ซึ่งการสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อม(เรื่องส้วม
และน้ำดื่ม) ยังไม่ดี บางครั้งอาจพบเป็นโรคระบาดได้ระยะฟักตัว
ของตับอักเสบชนิดเอ 15-45 วัน (เฉลี่ย 30 วัน) ซึ่งนับว่าสั้นกว่าชนิดบี 



2. เชื้อไวรัสตับอักเสบชนิดบี (Hepatitis B
virus) ซึ่งทำให้เกิดโรคตับอักเสบชนิดบี (Hepatitis B) หรือเดิมเรียกว่า
Serum hepatitis เชื้อนี้จะมีอยู่ในเลือด และยังอาจพบมีอยู่ในน้ำลาย
น้ำตา น้ำนม ปัสสาวะเชื้ออสุจิ เป็นต้นเชื้อสามารถเข้าสู่ร่างกาย โดยทาง
เพศสัมพันธ์ หรือถ่ายทอดจากแม่ไปยังทารกขณะคลอด หรือหลังคลอดใหม่ ๆ
(ทำให้ทารกมีเชื้อโรคนี้อยู่ในร่างกาย ซึ่งสามารถแพร่ให้ คนอื่นได้)
นอกจากนี้ โรคนี้ยังสามารถติดต่อโดยทางเลือด เช่น การให้เลือด การฉีดยา
การฝังเข็ม การสักตามร่างกาย การทำฟัน
การใช้เครื่องมือแพทย์ที่แปดเปื้อนเลือดของผู้ที่มีเชื้อไวรัสชนิดนี้
เป็นต้น ระยะฟักตัวของตับอักเสบชนิดบี 30-180 วัน (เฉลี่ย 60-90 วัน)
นอกจากไวรัสทั้ง 2 ชนิดนี้แล้ว ยังมีไวรัสชนิดอื่น ๆ รวมเรียกว่า
ไวรัสชนิดไม่ใช่ทั้งเอและบี ซึ่งทำให้เกิดโรคตับอักเสบชนิด 

ไม่ใช่ทั้งเอและบี (Non-A, Non-B hepatitis) ในปัจจุบันพบเชื้อ
ไวรัสตับอักเสบชนิดซี (Hepatitis C virus) ซึ่งสามารถติดต่อโดย ทางเลือด
(การให้เลือด, การใช้เข็มฉีดยาร่วมกันในกลุ่มผู้ใช้ยาเสพติด)
และเพศสัมพันธ์เช่นเดียวกับชนิดบี (ระยะฟักตัวเฉลี่ย 6-7 สัปดาห์),
เชื้อไวรัสตับอักเสบชนิดอี (Hepatitis E virus)
ซึ่งสามารถติดต่อโดยทางอาหารการกินเช่นเดียวกับชนิดเอ,
เชื้อไวรัสตับอักเสบชนิดจี (Hepatitis G virus)
ซึ่งสามารถติดต่อโดยทางเลือด (เช่น การให้เลือด, 
การใช้เข็มฉีดยาร่วมกัน ในผู้ใช้ยาเสพติด) นอกจากนี้ยัง
พบเชื้อไวรัสตับอักเสบชนิดดี (Hepatitis D virus)
ซึ่งมักพบร่วมกับการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบชนิดบี
พบมากในกลุ่มผู้ใช้ยาเสพติด โดยการฉีดเข้าหลอดเลือดดำ
และอาจทำให้อาการตับอักเสบจากเชื้อไวรัสบีมีความรุนแรงมากขึ้น 



อาการ



ตับอักเสบจากไวรัสทุกชนิด มักจะมีอาการแสดงคล้าย ๆ กัน
(จะแยกกันได้แน่ชัด ก็โดยการตรวจหาเชื้อในเลือด)  

ระยะนำ ผู้ป่วยมักมีอาการอื่น ๆ นำมาก่อนจะมีอาการตาเหลือง ประมาณ
2-14 วัน ด้วยอาการเบื่ออาหาร อ่อนเพลีย เหนื่อยง่าย อิดโรย คลื่นไส้
อาเจียน และเป็นไข้ (ประมาณ 38-39 ํซ.) บางคนอาจมีอาการปากคอจืด
และเหม็นเบื่อบุหรี่อย่างมาก บางคนอาจมีอาการปวดเสียด
หรือจุกแน่นแถวลิ้นปี่ หรือชายโครงขวา
บางคนอาจมีอาการถ่ายเหลวหรือท้องเดิน หรือมีอาการเป็นหวัด เจ็บคอ ไอ
คล้ายไข้หวัด หรือไข้หวัดไหญ่ หรืออาจมีอาการปวดตามข้อ มีลมพิษ
ผื่นขึ้นก่อนมีอาการตาเหลือง 1-5 วัน
ผู้ป่วยจะปัสสาวะสีเหลืองเข้มเหมือนขมิ้น และอุจจาระสีซีดกว่าปกติ
ระยะนี้มักจะพบว่าตับโต และเคาะเจ็บ 

ระยะตาเหลือง เมื่อมีอาการตาเหลือง อาการต่าง ๆ จะเริ่มทุเลา
และไข้จะลดลงทันที (หากยังมีไข้ร่วมกับตาเหลืองอีกหลายวัน
ควรนึกถึงสาเหตุอื่น ตาจะเหลืองเข้มมากที่สุดในสัปดาห์ที่ 1และ 2
แล้วจะค่อย ๆ จางหายไปใน 2-4 สัปดาห์ โดยทั่วไปผู้ป่วย
มักจะมีอาการตาเหลืองอยู่ประมาณ 3-5 สัปดาห์ และน้ำหนักตัวอาจลดไป 2-3
กิโลกรัม ในขณะที่ตาเหลืองเริ่มจางลง
ผู้ป่วยจะสังเกตเห็นอุจจาระกลับมีสีเข้มเหมือนปกติ และปัสสาวะสีค่อย ๆ
จางลง ระยะนี้ตับยังโตและเจ็บ แต่จะค่อย ๆ ลดน้อยลง
ต่อมน้ำเหลืองที่หลังคอและม้ามอาจโตได้ระยะฟื้นตัว หลังจากหายตาเหลืองแล้ว
ผู้ป่วยจะรู้สึกสบายขึ้น แต่ยังอาจรู้สึกเหนื่อยล้า ตับจะยังโต
และเจ็บเล็กน้อย กินเวลาประมาณ 2-6 สัปดาห์ ส่วนใหญ่อาการจะหายสนิทภายใน
3-4 เดือน หลังมีอาการแสดงของโรคผู้ป่วยบางคน อาจไม่แสดงอาการตาเหลือง
(ดีซ่าน) ให้เห็น หรือคลำตับไม่ได้ มีเพียงอาการเพลียคล้ายไข้หวัดใหญ่
หรือปวดเสียดชายโครงขวา ท้องอืด คลื่นไส้ อาเจียน 



สิ่งตรวจพบ 

ตาเหลือง ตับโต ลักษณะนุ่ม ผิวเรียบ กดเจ็บเล็กน้อย 



อาการแทรกซ้อน 



ส่วนมากมักจะหายเป็นปกติ โดยไม่มีอาการแทรกซ้อน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง
ถ้าเป็น ตับอักเสบชนิดเอ ส่วนน้อยเท่านั้นที่อาจมี อาการแทรกซ้อน
ซึ่งจะพบในผู้ป่วยที่เป็นตับอักเสบชนิดบีหรือซี และมักเกิด 
ในผู้ป่วยสูงอายุ หรือมีโรคอื่น ๆ (เช่น หัวใจวาย เบาหวาน มะเร็ง
โลหิตจางรุนแรง เป็นต้น)
อยู่ก่อนโรคแทรกซ้อนที่เป็นอันตรายร้ายแรงถึงกับทำให้เสียชีวิตในเวลารวด
เร็ว (ซึ่งพบได้น้อยมาก) ได้แก่ตับอักเสบชนิดร้ายแรง (Fulminant
hepatitis) ซึ่งเซลล์ของตับถูกทำลาย จนเนื้อตับเสีย
เกือบทั้งหมดผู้ป่วยจะมีอาการตาเหลืองจัด บวม และหมดสติ ประมาณ 10%
ของผู้ป่วยที่เป็นตับอักเสบชนิดบี อาจกลายเป็น โรคตับอักเสบเรื้อรัง
(chronic hepatitis) ซึ่งจะมีอาการอ่อนเพลีย และตาเหลือง อยู่นานกว่า 6
เดือน ถ้าเป็นชนิดคงที่ (chronic persistent hepatitis)
อาการจะไม่รุนแรงและมักจะหายได้เป็นปกติภายใน 1-2 ปี
แต่ถ้าเป็นชนิดลุกลาม (chronic active hepatitis)
ก็อาจกลายเป็นโรคตับแข็งได้
แพทย์สามารถแยกชนิดคงที่ออกจากชนิดลุกลามได้ด้วย การเจาะเอาเนื้อตับพิสูจน์
นอกจากนี้ยังพบว่า ผู้ป่วยที่เป็นโรคตับอักเสบชนิดบีหรือซีแบบเรื้อรัง
หรือเป็นพาหะของเชื้อชนิดบีหรือซีอยู่นาน30-40 ปีขึ้นไป
อาจมีโอกาสเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งตับ ได้





Create Date : 03 พฤษภาคม 2553
Last Update : 3 พฤษภาคม 2553 13:56:56 น. 0 comments
Counter : 181 Pageviews.

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

somsee53
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed

ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]




Friends' blogs
[Add somsee53's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.