Group Blog
 
<<
มกราคม 2552
 123
45678910
11121314151617
18192021222324
25262728293031
 
6 มกราคม 2552
 
All Blogs
 

นักวิทฯสมัยก่อนรู้ได้อย่างไร ว่าดวงอาทิตย์เป็นศูนย์กลางของระบบสุริยะ

เป็นธรรมดาที่มนุษย์จะเข้าใจว่า โลกเป็นศูนย์กลางของระบบสุริยะจักรวาล ก็เพราะตัวผู้สังเกตอยู่บนโลก ย่อมเห็นดวงดาวทั้งหลายเคลื่อนที่ไปรอบๆ โลกบนแผ่นฟ้านั่น
แต่ก็มีนักปราชญ์บางท่านเห็นว่า คงจะไม่ใช่อย่างงั้น ดวงอาทิตย์ต่างหากน่าจะเป็นศูนย์กลาง นักปราชญ์ดังกล่าวในอดีตก็มีหลายท่านที่คิดเช่นนี้ เพียงแต่ว่าเหมือนแค่คิดลอยๆเท่านั้น มีเพียงนักปราชญ์ที่ยิ่งใหญ่ท่านเดียวที่วงการวิทยาศาสตร์ให้การยอมรับว่า วิธีการคิดนั้นมีหลักการที่น่าเชื่อถือ นั่นคือ นิโคลัส โคเปอร์นิคัส
ในยุคที่ยังไม่มียานอวกาศ ไม่มีแม้แต่กล้องส่องออกไปดู แล้วเขารู้ได้อย่างไร

ก่อนอื่นเราต้องมาทำความเข้าใจก่อนว่า อะไรบ้าง คือสิ่งที่เข้าใจกันว่าโคจรรอบโลก อะไรไม่ได้โคจร เราจะแบ่งเป็น ดาวฤกษ์ และ ดาวเคราะห์
ดาวฤกษ์ คือพวกดาวที่มองเห็นว่าไม่มีการโคจร ติดอยู่บนแผ่นฟ้าเรียงรายเป็นรูปต่างๆตามจินตนาการ มีปรากฏอยู่แทบทุกจุดบนท้องฟ้ากว้างนี้
ดาวเคราะห์ หรือ ดาวพเนจร คือดาวที่เห็นว่ามีการเคลื่อนที่ได้เมื่อเทียบกับดาวฤกษ์ซึ่งเป็นฉากหลัง ดาวเหล่านี้จำชื่อง่ายๆว่าเป็นดาวที่มีชื่ออยู่ในวันทั้งเจ็ด ยกเว้นดวงอาทิตย์ แต่ทว่า ดวงอาทิตย์เมื่อก่อนคนก็ถือว่าเป็นดาวเคราะห์อย่างหนึ่งเพราะมีการเคลื่อนที่ได้ (โดยคิดว่าโลกเป็นศูนย์กลาง)

การมองเห็นดาวเคราะห์เหล่านั้นเคลื่อนเปลี่ยนตำแหน่งได้โดยเทียบกับดาวฤกษ์ซึ่งเป็นฉากหลังนั้น ทำให้คิดได้ง่ายๆว่า โลกเป็นศูนย์กลางของระบบสุริยะ รวมถึงดวงอาทิตย์ก็โคจรรอบโลกด้วย?



เราจะมาวิเคราะห์ไปทีละอย่างกัน


ดวงอาทิตย์
นักปราชญ์โบราณอาจจะบอกว่า ลองคิดให้ดวงอาทิตย์อยู่เฉยๆ แล้วให้โลกโคจรไปรอบๆสิ จะเห็นดวงอาทิตย์โคจรไปเหมือนกันหรือเปล่า?
ก็เหมือนกัน... แต่ก็ยังไม่มีน้ำหนักพอให้เชื่อได้ 100% เพราะมันก็เพียง 50 - 50 เท่านั้น ยังไม่รู้ว่าใครโคจรรอบใครกันแน่ แม้จะเป็นเรื่องยากที่จะให้สิ่งใหญ่มาโคจรรอบสิ่งเล็ก แต่สมัยนั้นใครจะไปรู้ว่าอะไรใหญ่กว่าอะไร....

ดาวอังคาร
เราลองมาดูดาวเคราะห์ดวงอื่นๆกัน ดาวอังคารถือว่าเป็นสิ่งลึกลับมาแต่โบราณ นักดาราศาสตร์ได้สังเกตการณ์เคลื่อนที่ของดาวอังคารมานานแล้ว แต่มันเคลื่อนที่ผิดปกติ คือมี เดินหน้า ช้าลง ถอยหลัง และกลับมาเดินหน้าเร็ว เนียะหนะหรือ ดาวที่คิดว่าโคจรรอบโลก ถ้าโคจรรอบโลกจริงๆ ก็ต้องเคลื่อนผ่านฟ้าไปข้างหน้าด้วยความเร็วคงที่ตลอดสิ หรือว่ามันก็โคจรไปอย่างเร็วคงที่ของมัน แต่ว่าเราดันไม่ได้อยู่ตรงกลางวงกลม?
ลองขีดเส้นวงกลมลงบนสนาม ให้คุณไปยืนที่ศูนย์กลางวงกลม แล้วให้เพื่อนของคุณไปเดินบนเส้นรอบวงนั้น คุณจะมองเห็นเพื่อนของคุณเดินเทียบกับตึกรามบ้านช่องที่เป็นฉากหลังผ่านไปด้วยความเร็วคงที่เสมอ
แต่คุณลองเดินออกจากจุดกึ่งกลางวงกลมนั้น มาอยู่ซักครึ่งหนึ่งของรัศมีวงกลม คุณก็จะเห็นเพื่อนของคุณอยู่ใกล้บ้าง ไกลบ้าง เหมือนกับที่ความสว่างของดาวอังคารแปรเปลี่ยนได้ แต่นั่งยังไม่ชัดเท่าคุณเห็นเพื่อนของคุณเคลื่อนที่ช้าบ้าง เร็วบ้าง เมื่อเทียบกับฉากหลัง ทั้งๆที่เพื่อนของคุณเดินด้วยความเร็วคงที่



การวิเคราะห์นี้ยังไม่ปราบเซียนพอ เพราะจริงๆแล้วตัวผู้สังเกตก็กำลังเคลื่อนที่รอบจุดกึ่งกลางวงกลมด้วย คุณลองเดินรอบกึ่งกลางวงกลมไปทางเดียวกัน และก็สังเกตเพื่อนคุณไปด้วย โดยคุณเดินเร็วกว่าเพื่อนคุณนิดหน่อย เพราะโลกโคจรเร็วกว่าดาวอังคาร คราวนี้หละ คุณจะไม่เห็นแค่เพื่อนคุณช้าบ้าง เร็วบ้าง แต่จะเห็นเพื่อนคุณเคลื่อนที่ถอยหลังได้ด้วย เพราะเราวิ่งในลู่วิ่งวงใน ย่อมเห็นคนที่วิ่งช้ากว่าคล้อยหลังเราไป คุณจะเห็นอย่างงี้เมื่อคุณและเพื่อนโคจรมาใกล้กันมากที่สุด(ช่วงแซงกัน) คือมาอยู่เป็นแถวเดียวกันเมื่อเทียบกับจุดกึ่งกลาง


จาก //thaiastro.nectec.or.th/letters/may01.html

ดาวอังคารจะมีพฤติกรรมแปลกๆเมื่อมันมาอยู่ตรงข้ามกับดวงอาทิตย์อย่างงั้น ก็เป็นอันพิสูจน์ในทางเรขาคณิตวิเคราะห์ได้แล้วว่า ดาวอังคารโคจรรอบดวงอาทิตย์ และที่เห็นความสว่างของมันแปลเปลี่ยนได้ เพราะมันใกล้โลกและไกลโลกตามการเปลี่ยนแปลงในวงโคจรนั่นเอง หาใช่อื่นใดไม่
แต่ยังคงชี้ชัดไม่ได้ว่า โลกโคจรรอบดวงอาทิตย์หรือไม่ เพียงแต่สูญเสียดาวอังคารที่เคยคิดว่าโคจรรอบโลกไปแล้ว
หรือว่าดาวอังคารโคจรรอบดวงอาทิตย์ แล้วดวงอาทิตย์โคจรรอบโลกกันแน่...?

ดาวพฤหัส
ดาวพฤหัสเป็นดาวเคราะห์ที่อยู่ไกลจากดาวอังคารออกไป อยากพิจารณาวงโคจรของดาวพฤหัส คุณอาจไม่ต้องตีวงให้เพื่อนคุณไกลออกไป เพียงแต่คุณต้องอยู่ใกล้จุดศูนย์กลางวงกลมเข้าไปอีกหน่อย จากนั้นทั้งเพื่อนและคุณก็เดินรอบวงกลมเหมือนเดิม แน่นอนว่าคุณยังเห็นความผิดปรกติในวงโคจรอยู่ คือความช้าและความเร็วและการถอยหลัง แต่เนื่องจากคุณได้อยู่ใกล้จุดศูนย์กลางวงกลมเข้าไปแล้ว ความผิดปรกติในวงโคจรจึงน้อยกว่าดาวอังคารมาก เทียบกับการอยู่ที่จุดกึ่งกลางวงกลมเลยก็จะไม่เห็นความผิดปรกติใด และดาวเสาร์ที่ยิ่งอยู่ไกลออกไปอีก ก็ยิ่งมีความผิดปรกติน้อยลงไปอีก
ดาวพฤหัสบดีและดาวเสาร์ จึงโคจรรอบดวงอาทิตย์

ดาวศุกร์
ดาวเคราะห์วงในอย่างดาวศุกร์นี่หละ ยิ่งสังเกตความผิดปรกติง่ายกว่าดาวอังคารอีก เพราะดาวอังคารอาจจะต้องพร็อตจุดที่เคลื่อนไปบนฟ้าจึงจะเห็นความผิดปรกติ แต่ดาวศุกร์ไม่ต้องทำอย่างงั้นเลย ก็เห็นความผิดปรกติได้
ถ้าเชื่อว่ามันยังโคจรรอบโลกอยู่ มันต้องปรากฏขึ้นไปที่กึ่งกลางท้องฟ้าเหมือนดาวอื่นๆบ้างสิ แต่นี่ทำตัวได้แค่วับๆแวมๆอยู่ทางขอบฟ้าทั้งสองข้าง หากโผล่ตอนเย็นทางทิศตะวันตกเรียกว่าดาวประจำเมือง หากโผล่ตอนเช้าทางทิศตะวันออกเรียกว่าดาวประกายพรึก และหากโผล่ตรงศีรษะเรียกดาวอะไร...? ก็เพราะมันไม่เคยโผล่ตรงศรีษะได้เลยหนะสิ เพราะอะไรถึงเป็นอย่างงั้นหละ ก็เพราะมันเป็นดาวเคราะห์วงในไง



เพียงเท่านี้ นอกจากจะรู้แล้วว่าดาวทั้งหลายโคจรรอบดวงอาทิตย์ ก็ยังรู้อีกว่า ดวงไหนอยู่ใกล้ดวงอาทิตย์มากกว่าโลก

ดาวพุธ
ก็เหมือนกับดาวศุกร์ครับ แต่เนื่องจากอยู่ใกล้ดวงอาทิตย์มากกว่า พิกัดการโผล่ขึ้นทางขอบฟ้าหลังดวงอาทิตย์ตกดินจึงน้อยกว่า และเห็นมันโคจรพันต้วมเตี้ยมอยู่แถวๆดวงอาทิตย์ ไม่ออกไปไหนไกลมาก ความสูงในการขึ้นสู่ท้องฟ้าจึงน้อยกว่าดาวศุกร์นัก

โลก
เมื่อพิสูจน์ได้แล้วว่า ดาวทั้งหลายโคจรรอบดวงอาทิตย์ แล้วโลกของเราหละ....?
ยังไงพวกเราก็ยังอยู่บนโลกนี้ ไม่อาจสังเกตุการณ์มาจากดาวดวงอื่นได้ จะให้คิดยังไง จะให้คิดว่าดาวทั้งหลายที่กล่าวมาโคจรรอบดวงอาทิตย์ แล้วดวงอาทิตย์โคจรรอบโลก ไหวไหม? ในเมื่อเสียงส่วนใหญ่ลงมติว่าดาวอาทิตย์เป็นศูนย์กลางของระบบสุริยะแล้ว โลกของเราซึ่งยังไม่รู้จะพิสูจน์ยังไง จะทนคิดว่าตัวเองยังเป็นศูนย์กลางได้อยู่อีกหรือ ถึงเวลาแล้วที่โลกของเราจะต้องลดอัตตาลง ตัวเองไม่ได้มีความสำคัญยิ่งใหญ่ขนาดนั้น ก็เป็นแค่วัตถุสิ่งหนึ่งไปเหมือนไร้จุดหมายเท่านั้นเอง

ดวงจันทร์
ครับ ดวงจันทร์เป็นเพียงสิ่งเดียวที่ความเชื่อพื้นฐานของมนุษย์นั้นถูกต้อง คือเคยเชื่อว่าทุกสิ่งโคจรรอบโลก ก็ถูกเพียงดวงจันทร์อย่างเดียวเท่านั้นครับ คือเหมือนมั่วถูกเลยน่ะ 555



อย่างไรก็ดี
แนวคิดนี้ก็มีทั้งคนที่เชื่อและไม่เชื่อคละกันไป แต่เข้าใจว่าคนไม่เชื่อจะมีมากกว่า รวมถึงนักดาราศาสตร์ที่มีเชื่อเสียงในยุคหลังจากนั้นที่ไม่เชื่อก็ยังมี จนกระทั่งเข้าสู่ยุคของกาลิเลโอ มีความสามารถในการประดิษฐ์กล้องโทรทัศน์ส่องออกไปดูดวงดาวต่างๆได้ ได้เห็นดวงจันทร์ของดาวพฤหัสบดีกำลังโคจรรอบดาวพฤหัส ทำให้ความคิดว่าสรรพสิ่งกำลังโคจรรอบโลกนั้นช่วยถูกทำลายลงไปอีกระดับหนึ่ง และช่วยยืนยันแนวคิดของนิโคลัส โคเปอร์นิคัส ได้ สามารถกลับไปดูได้ในบล็อค
ใช้กล้องซูม 12x สามารถถ่ายรูปดวงจันทร์ของดาวพฤหัสได้ //www.bloggang.com/viewdiary.php?id=sompop&month=12-2008&date=13&group=5&gblog=23




 

Create Date : 06 มกราคม 2552
1 comments
Last Update : 6 มกราคม 2552 18:30:11 น.
Counter : 2674 Pageviews.

 

black ground สวยดี

 

โดย: อ้วน อ้อ อ้น ผอม IP: 58.147.97.222 7 มกราคม 2552 22:08:41 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 


สมภพ เจ้าเก่า
Location :
นครราชสีมา Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 26 คน [?]




รูปภาพทั้งหมดในนี้ สามารถนำไปใช้ได้ฟรีนะครับ แต่ไม่ควรลบสัญลักษณ์แสดงความเป็นเจ้าของในรูปออกไป รูปใดไม่มีสัญลักษณ์ อยากให้ช่วยอ้างอิง จาก sompop.bloggang.com ด้วยครับ
Blog ล่าสุด
* สัมภาษณ์เทวดาในพระแก้วมรกต 18 มิ.ย. 60
* การสำรวจหินลอยได้ที่เขาคิชฌกูฏ 3 มี.ค. 60
* บทสัมภาษณ์เจ้าพ่อหลักเมือง กทม. 16 ธ.ค. 59
เรื่องเล่าบอกต่อ
* บั้งไฟพญานาค ถ่ายจากโดรนมุมสูง
* เชิญโหลด 7 ภาพยนต์เฉลิมพระเกียรติ
* เช็คอันดับ Blog ของคุณกับ truehits
Blog แนะนำ
* บทสัมภาษณ์เจ้าพ่อหลักเมืองกรุงเทพฯ 19 ก.ย. 57
* ยานพาหนะที่แล่นตามและทวนน้ำได้โดยไม่ใช้พลังงานอื่น
* ปรากฏการณ์ทางดาราศาสตร์ปี 2012
New Comments
Friends' blogs
[Add สมภพ เจ้าเก่า's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.