สิงหาคม 2560
 12345
6789101112
13141516171819
20212223242526
2728293031 
7 สิงหาคม 2560

การประกันภัยต่อ คืออะไร? ผู้บริโภคทั่วไปยังไม่ค่อยรู้จัก



การประกันภัยต่อ คืออะไร บางคนอาจจะเพิ่งเคยได้ยิน เพิ่งทราบกันวันนี้ มาเรียนรู้เรื่องประกันภัยไปพร้อมกันค่ะ การประกันภัยต่อ หรือ Reinsurance หมายถึง การที่ผู้รับประกันภัยตรง มีวิธีการบริหารการจัดการความเสี่ยงภัยหรือโอนความเสี่ยงภัยที่รับประกันภัย ไว้ไปยังผู้รับประกันภัยต่อรายอื่น ซึ่งอาจเป็นรายเดียว หรือ หลายรายก็ได้ เพื่อให้เหลือความรับผิดอยู่ในระดับที่เหมาะสมกับฐานะการเงินของบริษัทและเพื่อป้องกันไม่ให้ได้รับผลกระทบในเรื่องของเสถียรภาพทางการเงินหากเกิดความเสียหายขึ้นมาด้วยโดยทุนประกันภัยส่วนที่ผู้รับประกันภัยตรงรับผิดชอบความเสี่ยงภัยไว้เอง เรียกว่า RETENTION อีกส่วนของความเสี่ยงภัยที่เอาประกันภัยต่อเรียกว่า  CESSION และสัญญาที่เกิดขึ้นระหว่างบริษัทที่โอนความเสี่ยงไปให้บริษัทอื่น เรียกว่า บริษัทเอาประกันภัยต่อ (CEDING COMPANY) กับบริษัทที่ยอมรับภัยที่โอนมาเรียกว่า บริษัทผู้รับประกันภัยต่อ (REINSURER)

ส่วนการประกันภัยต่อโดยทั่วไปนั้นแบ่งออกเป็น 2 ประเภทหลักๆ คือ การประกันภัยต่อแบบเฉพาะราย และการประกันภัยต่อตามสัญญา

1.การประกันภัยต่อเฉพาะราย (FACULTATIVE REINSURANCE) เป็นการประกันภัยต่อที่ไม่มีการตกลงกันไว้ล่วงหน้า บริษัทรับประกันภัยต่อ  ผู้เอาประกันภัยต่อต้องนำเสนอรายละเอียดทั้งหมดของภัยแต่ละราย จึงอาจตอบรับหรือปฏิเสธการเอาประกันภัยต่อก็ได้ ซึ่งการพิจารณาจะดำเนินการ เป็นรายๆ ไป

2.การประกันภัยต่อตามสัญญา (TREATY REINSURANCE) เป็นการประกันภัยต่อที่มีการทำสัญญาต่อกันระหว่าง DIRECT COMPANY หรือ CEDING COMPANY กับ REINSURER เป็นการล่วงหน้า  จึงต้องรับประกันภัยต่อทุกรายตามสัญญาแบบอัตโนมัติ การประกันภัยต่อตามสัญญานี้ยังแบ่งออกเป็น 2 ประเภทอีกเช่นกัน

2.1 สัญญาแบบกำหนดสัดส่วนแน่นอน คือ การประกันภัยต่อที่มีการกำหนดสัดส่วนล่วงหน้าเกี่ยวกับจำนวนเงินเอาประกันภัยต่อ เบี้ยประกันภัยต่อ รวมถึงค่าสินไหมทดแทนการประกันภัยต่อตามสัดส่วนแน่นอน

2.2 สัญญาแบบไม่กำหนดสัดส่วนแน่นอน   การประกันภัยต่อแบบนี้ จำนวนเงินความคุ้มครองจากการประกันภัยต่อขึ้นอยู่กับความเสียหาย มิได้ขึ้นอยู่กับจำนวนเงินเอาประกันภัยต่อ เบี้ยประกันภัยต่อแต่อย่างใด

เมื่อต้องการเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนจากการประกันภัยต่อ

ผู้เอาประกันภัยสามารถใช้สิทธิ์เรียกร้องค่าสินไหมทดแทนโดยตรงจากบริษัทผู้รับประกันภัยตรง INSURER หรือ DIRECT COMPANY หรือ CEDING COMPANY

โดยบริษัทผู้รับประกันภัยตรง จะเป็นผู้ที่รับผิดชอบจ่ายค่าสินไหมทดแทนตามสัญญาประกันภัย ให้กับผู้เอาประกันภัยหรือผู้รับประโยชน์ และจะเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนในส่วนของการ เอาประกันภัยต่อจาก REINSURER ที่เป็นกระบวนการดำเนินงานภายในระหว่างบริษัทที่ร่วมรับประกันภัยไว้ ดังนั้น ผู้เอาประกันภัยไม่มีสิทธิ์ไปเรียกร้องค่าสินไหมทดแทน โดยตรงจากบริษัท ผู้รับประกันภัยต่อ (REINSURER) ทุกกรณี

ประโยชน์ของการประกันภัยต่อมีหลายอย่างที่ทำให้ลูกค้าตัดสินใจได้ง่ายขึ้น เพิ่มศักยภาพในการรับประกันภัย, เพื่อให้เกิดเสถียรภาพกับผลการรับประกันภัยมากขึ้น, เพื่อกระจายความเสี่ยงภัยออกไปให้กว้างขวางมากขึ้น, เพื่อเพิ่มความมั่นคงทางด้านการเงิน, เพื่อรับความรู้ บริการทางวิชาการจากบริษัทรับประกันภัยต่อ

พอจะเข้าใจกันบ้างแล้วใช่ไหมคะ หากใครต้องการจะทำประกันภัยต่อมาอ่านกันตรงนี้ต่อค่ะ เราจะมาแจ้งให้ทราบถึงวิธีการทำประกันภัยต่อ คือ  วิธีแรกทำประกันภัยต่อกับบริษัทประกันภัยต่อโดยตรง และวิธีที่สองทำประกันภัยต่อโดยผ่านนายหน้าบริษัทประกันภัยต่อ

อ่านมาถึงตรงนี้แล้วหลายคนคงสงสัยว่าเราจำเป็นไหมในการทำประกันภัยต่อ ถ้าลูกค้ามีความจำเป็นตรงกันกับข้อเหล่านี้ ทำไปเลยค่า คือ ข้อแรก ทรัพย์สินที่เอาประกันภัยมีมูลค่าสูงกว่าเงินกองทุนของบริษัท, ทรัพย์สินที่เอาประกันภัยมีความเสี่ยงภัยสูง, สิ่งแวดล้อมรอบ ๆ ทรัพย์สินที่เอาประกันภัยมีความเสี่ยงภัยสูง, ข้อจำกัดของกฎหมายที่กำหนดให้บริษัทประกันภัยรับเสี่ยงภัยไว้เองได้ไม่เกินร้อยละ 10 ของเงินกองทุน เป็นยังไงกันบ้างคะ มีข้อไหนตรงไหม หากตรงก็รีบจัดการกับการทำประกันภัยกันได้เลยค่ะ

ดูข้อมูลการทำประกันธุรกิจเพิ่มเติมได้ที่ www.locktonwattana.co.th




 

Create Date : 07 สิงหาคม 2560
0 comments
Last Update : 18 เมษายน 2561 11:11:57 น.
Counter : 15543 Pageviews.

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 


สมาชิกหมายเลข 4021939
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed

ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]




[Add สมาชิกหมายเลข 4021939's blog to your web]