<<
กันยายน 2560
 12
3456789
10111213141516
17181920212223
24252627282930
12 กันยายน 2560

ประกันสังคม มาตรา 40



สำหรับผู้ที่ไม่ได้ทำอาชีพประจำแล้วอยากทำประกัน ที่เหมือนประกันสังคมบ้าง วันนี้เรามีมาแนะนำค่ะ เป็นประกันสังคม มาตรา 40 บางท่านอาจจะยังไม่รู้จัก ไปรู้พร้อมกันค่ะ ผู้ประกันตน มาตรา 40 มีเงื่อนไชคือต้องไม่เป็นผู้ประกันตนตามมาตรา 39 (ผู้ประกันตนที่สมัครใจส่งเงินสมทบเข้ากองทุนประกันสังคมด้วยตัวเอง หรือ ผู้ที่สิ้นสุดการเป็นผู้ประกันตนตามมาตรา 33 แต่ยังต้องการใช้สิทธิ์ประกันสังคม)

โครงการนี้เกิดขึ้นมาเพื่อ พ่อค้าแม่ค้า เกษตรกร ผู้ขับขี่รถจักรยานยนต์รับจ้าง ได้มีหลักประกันในชีวิต ทำงานเป็นนายตัวเอง ไม่ว่าจะเป็นฟรีแลนซ์ ทำการค้าขาย ก็สามารถสมัครเป็นผู้ประกันตนตามมาตรา 40 ได้ เพียงนำบัตรประชาชนไปยื่นเรื่องขอสมัครได้ที่สำนักงานประกันสังคม ที่สำคัญคือไม่ต้องตรวจร่างกาย และยังสามารถใช้สิทธิ์รักษาบัตรทองได้ด้วย โดยจะมีคุณสมบัติในการสมัครอยู่ว่า อายุ 15-60 ปีบริบูรณ์ ไม่เป็นผู้ประกันตนตามมาตรา 33 มาตรา 39 ไม่เป็นข้าราชการหรือบุคคลที่ถูกยกเว้นตามกฎหมาย บุคคลพิการที่สามารถรับรู้สิทธิประกันสังคม มาพร้อมกับสำเนาบัตรประจำตัวประชาชน ที่สำนักงานประกันสังคมจังหวัด/เขตพื้นที่/สาขา ทั่วประเทศ

ทางเลือกในการจ่ายเงินสมทบ พร้อมสิทธิประโยชน์แต่ละแบบ

ผู้ประกันตนจ่ายสมทบ 70 บาท รัฐจ่ายสมทบ 30 บาท รวมเป็นจ่ายสมทบ 100 บาท ซึ่งรับสิทธิประโยชน์พื้นฐานคุ้มครอง 3 กรณี สิทธิประโยชน์ที่จะได้รับ จาก ประกันสังคม มาตรา 40 เงินทดแทนการขาดรายได้เมื่อเจ็บป่วยและนอนโรงพยาบาล, เงินทดแทนการขาดรายได้เมื่อทุพพลภาพ ยังให้สิทธิตามเดิม, ได้รับเงินค่าทำศพ จำนวน 20,000 บาท และได้เพิ่มเงินสงเคราะห์ให้อีก 3,000 บาท เมื่อจ่ายเงินสมทบมาแล้ว 60 เดือน

ผู้ประกันตนจ่ายสมทบ 100 บาท รัฐจ่ายสมทบ 50 บาท รวมเป็นเงินสมทบ 150 บาท ได้รับสิทธิประโยชน์พื้นฐานคุ้มครอง 4 กรณี สิทธิประโยชน์ที่จะได้รับ จาก ประกันสังคม มาตรา 40   เงินทดแทนการขาดรายได้เมื่อเจ็บป่วย เงินทดแทนการขาดรายได้เมื่อทุพพลภาพและเงินค่าทำศพ

ผู้ประกันตนจ่ายสมทบ 300 บาท รัฐจ่ายสมทบ 150 บาท รวมเป็นเงินสมทบ 450 บาท  ได้รับสิทธิประโยชน์พื้นฐานคุ้มครอง 5 กรณี สิทธิประโยชน์ที่จะได้รับ จาก ประกันสังคม มาตรา 40    ได้แก่ เงินทดแทนการขาดรายได้เมื่อเจ็บป่วย  เงินทดแทนการขาดรายได้เมื่อทุพพลภาพ ได้รับเงินค่าทำศพ  ได้รับเงินสงเคราะห์บุตร 200 บาท/เดือน  ได้รับเงินบำเหน็จชราภาพ

เงินสมทบในแต่ละปีสามารถนำไปใช้ลดหย่อนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา โดยใช้ใบเสร็จรับเงินที่ผู้ประกันตนจ่ายเงินสมทบเป็นหลักฐาน สามารถจ่ายเงินสมทบได้ที่สำนักงานประกันสังคม เคาน์เตอร์เซอร์วิส เคาน์เตอร์ธนาคารกรุงไทย เคาน์เตอร์ธนาคารกรุงศรีอยุธยา สามารถหักผ่านบัญชีธนาคารต่าง ๆ ธนาคารเพื่่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.), ธนาคารออมสิน,   ธนาคารกสิกรไทย จำกัด (มหาชน), ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน), ธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน), ธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน)   แต่สำหรับใครที่คิดว่ายังคุ้มครอง คุ้มค่าไม่พอ ยังมีอีกทางเลือกที่น่าสนใจคือ ประกันสุขภาพ ค่ะ 

ข้อมูลเพิ่มเติมที่  //www.sso.go.th และ //money.sanook.com/479473/




Create Date : 12 กันยายน 2560
Last Update : 12 กันยายน 2560 15:38:52 น. 0 comments
Counter : 1177 Pageviews.  

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

สมาชิกหมายเลข 4021939
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed

ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]




[Add สมาชิกหมายเลข 4021939's blog to your web]