space
space
space
 
ตุลาคม 2558
 123
45678910
11121314151617
18192021222324
25262728293031
space
space
14 ตุลาคม 2558
space
space
space

ความขัดแย้งในประเทศตะวันออกกลางสู่กำเนิด ISIS
โดย ดร. ภคพร กุลจิรันธร  
อาหรับสปริง(อังกฤษ: Arab Spring) เป็นคลื่นการปฏิวัติที่ไม่เคยปรากฎมาก่อนโดยมีการเดินขบวนและการประท้วงซึ่งเกิดขึ้นในตะวันออกกลางและแอฟริกาเหนือตั้งแต่วันที่ 18ธันวาคม พ.ศ. 2553 จนถึงปัจจุบันการประท้วงในตูนิเซีย อียิปต์ และลิเบียได้ปรากฎการปฏิวัติ แอลจีเรีย บาห์เรนจิบูตี อิรัก จอร์แดน โอมาน และเยเมนได้ปรากฎการประท้วงขนานใหญ่ และการประท้วงย่อยๆ ได้เกิดขึ้นในคูเวต เลบานอน มอริเตเนีย โมร็อกโก ซาอุดีอาระเบีย ซูดาน ซีเรียและเวสเทิร์นสะฮาราการประท้วงมีรูปแบบเป็นการต่อต้านของพลเมืองในการรณรงค์ต่าง ๆซึ่งรวมไปถึงการนัดหยุดงาน การเดินขบวน เช่นเดียวกับการใช้สื่อสังคม อย่างเช่นเฟซบุ๊กและทวิตเตอร์ เพื่อจัด ติดต่อสื่อสารและเร่งความตระหนักในความพยายามปราบปรามของรัฐบาลและการเซ็นเซอร์อินเทอร์เน็ต

เหตุการณ์ 'อาหรับ สปริง' ที่มีจุดเริ่มต้นจากประเทศตูนิเซีย และลุกลามกลายเป็นการประท้วงต่อต้านรัฐบาลทั่วทั้งภูมิภาคจนทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองในหลายประเทศ เหตุการณ์การลุกฮือของประชาชนเพื่อต่อต้านรัฐบาลในตะวันออกกลางหรือ "Arab Spring" นั้นเริ่มต้นขึ้นที่หมู่บ้านแห่งหนึ่งในประเทศตูนิเซีย เมื่อชายขายผักคนหนึ่งจุดไฟเผาตนเองเนื่องจากไม่พอใจรัฐบาล จากนั้น การประท้วงก็ได้เริ่มลุกลามจนขยายเป็นวงกว้างไปทั่วประเทศ และทั่วภูมิภาคตะวันออกกลาง รวมถึงแอฟริกาเหนือ

จุดเริ่มต้นดังกล่าวได้นำไปสู่การขับไล่ประธานาธิบดีซิเน่ อัล-อะบิดีน เบน อาลี วัย 74 ปี ที่ครองตำแหน่งผู้นำประเทศตูนิเซียมานานถึง 23 ปีให้ลงจากตำแหน่งแม้ว่าก่อนหน้านี้ ประธานาธิบดีเบน อาลี จะแสดงท่าทีที่อ่อนลงโดยแถลงผ่านสถานีโทรทัศน์ของทางการว่าเขาขอสัญญาว่าจะไม่ให้กองกำลังด้านความมั่นคงใช้กระสุนจริงกับผู้ประท้วงจะยอมให้เจ้าหน้าที่ปล่อยตัวผู้สื่อข่าว และจะยุติการเซ็นเซอร์เว็บไซต์ที่ต่อต้านรัฐบาลแต่ดูเหมือนว่ากลุ่มผู้ประท้วงจะไม่ยอมรับข้อเสนอดังกล่าวทำให้การประท้วงทวีความรุนแรงขึ้นเรื่อยๆ จนท้ายที่สุด ประธานาธิบดีเบนอาลี ต้องเดินทางออกนอกประเทศ ไปยังซาอุดิอาระเบีย เมื่อวันที่ 14 มกราคม เรื่องราวของการลุกฮือของชาวตูนิเซียได้กลายเป็นข่าวใหญ่ในประเทศอียิปต์ ประชาชนจำนวนมากใช้ช่องทางของโซเชียลมีเดีย เพื่อนำเสนอเรื่องราวเหล่านี้ จนเกิดเป็นกระแสต่อต้านรัฐบาล นอกจากนี้ปัญหาเศรษฐกิจตกต่ำ และความยากจนก็ได้ช่วยจุดชนวนการประท้วงให้ทวีความรุนแรงขึ้นอย่างรวดเร็ว จนชาวอียิปต์กว่า 1,000,000คน ได้ออกมารวมตัวกันเมื่อวันที่ 1 กุมภาพันธ์เพื่อเรียกร้องให้ประธานาธิบดีฮอสนี มูบารัก ก้าวลงจากตำแหน่งซึ่งนายมูบารักก็ได้เสนอทางออกในช่วงนั้นว่าเขาจะยอมถ่ายโอนอำนาจให้แก่รองประธานาธิบดี แต่จะไม่ก้าวลงจากตำแหน่งในทันที ตามที่ผู้ประท้วงต้องการ

ท้ายที่สุดนายมูบารักก็ถูกบังคับให้ก้าวลงจากตำแหน่ง โดยคณะกรรมาธิการทหารที่ตั้งขึ้นมาเพื่อบริหารประเทศชั่วคราว ท่ามกลางการเฉลิมฉลองของประชาชนทั้งประเทศและเมื่อเดือนสิงหาคมที่ผ่านมา นายมูบารัก พร้อมกับบุตรชายทั้งสองคนก็ได้ขึ้นศาลเพื่อรับฟังการพิจารณาคดี ที่พวกเขาถูกตั้งข้อหาว่า ทุจริตคอรัปชั่นโดยนายมูบารักและบุตรชาย ได้ปฏิเสธทุกข้อกล่าวหา ขณะที่ประชาชนในอียิปต์กำลังรวมตัวกันประท้วงต่อต้านรัฐบาลอยู่นั้นที่ประเทศบาห์เรน ก็เริ่มเกิดการปะทะกันระหว่างตำรวจกับผู้ชุมนุมเนื่องจากชาวบาห์เรนที่นับถือศาสนาอิสลาม นิกายชิอะห์ ซึ่งเป็นคนส่วนใหญ่ของประเทศไม่พอใจการปกครองของชนชั้นปกครอง ที่นับถือศาสนาอิสลาม นิกายซุนนีความขัดแย้งในครั้งนี้ ทำให้รัฐบาลบาห์เรนต้องประกาศกฎอัยการศึกพร้อมนำกำลังเข้าสลายการชุมนุม โดยมีมิตรประเทศอย่างซาอุดิอาระเบียและสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ส่งกองกำลังมาช่วยเหลือรัฐบาลบาห์เรนด้วยเช่นกัน อย่างไรก็ตามรัฐบาลได้ประกาศยกเลิกการบังคับใช้กฎอัยการศึกในวันที่ 1 มิถุนายนที่ผ่านมา และขณะนี้ทั้งสองฝ่ายก็กำลังดำเนินการเจรจาเพื่อหาแนวทางในการปรองดอง

อีกหนึ่งประเทศ ที่มีการชุมนุมประท้วงต่อเนื่องยาวนาน ก็คือประเทศเยเมนซึ่งตั้งแต่ต้นปีที่ผ่านมา ประชาชนได้รวมตัวกันต่อต้านประธานาธิบดีอาลีอับดุลเลาะห์ ซาเลห์ ที่ปกครองประเทศมานานถึง 33 ปีการประท้วงทวีความรุนแรงขึ้นเรื่อยๆ แม้ว่าประธานาธิบดีซาเลห์จะแถลงการณ์ว่าเขาจะยอมก้าวลงจากอำนาจ เพื่อให้เหตุการณ์นองเลือดยุติลง แต่ดูเหมือนว่าคำแถลงดังกล่าวไม่ได้เกิดผลอันใดทั้งสิ้นเนื่องจากการสลายการชุมนุมและสังหารประชาชนยังคงเกิดขึ้นทุกวัน

โดยเมื่อเดือนมิถุนายนที่ผ่านมา ประธานาธิบดีซาเลห์ได้รับบาดเจ็บจากเหตุระเบิดทำให้เขาต้องเดินทางออกนอกประเทศเพื่อไปรักษาตัว ไม่กี่เดือนต่อมา ประธานาธิบดีซาเลห์ก็เดินทางกลับประเทศท่ามกลางการประท้วงที่ยังคงรุนแรงอย่างต่อเนื่อง ล่าสุด ประธานาธิบดีซาเลห์ได้ยอมลงนามในข้อตกลงที่จะก้าวลงจากตำแหน่งแต่ยังคงรักษาตำแหน่งประธานาธิบดีเอาไว้ จนกว่าเยเมนจะมีการเลือกตั้งและได้ผู้นำคนใหม่ในอนาคต

สำหรับเหตุการณ์การชุมนุมประท้วงที่โดดเด่นที่สุดในภูมิภาคแอฟริกาเหนือคงหนีไม่พ้นเหตุการณ์ในประเทศลิเบีย แม้ว่าทุกคนจะทราบจุดจบเรากันดีว่าพันเอกโมอัมมาร์ กัดดาฟี ประธานาธิบดีลิเบีย ที่ปกครองประเทศมานานถึง 41 ปี ได้ถูกฝ่ายตรงข้ามสังหารจนเสียชีวิตลงขณะที่บุตรชายของเขา ก็ถูกจับกุมอยู่ที่ลิเบีย

ซึ่งก่อนหน้านี้การต่อสู้ระหว่างฝ่ายรัฐบาลและฝ่ายต่อต้านรัฐบาลเป็นไปอย่างเข้มข้นจนองค์การนาโต้และกองกำลังของยูเอ็น ต้องเข้ามาแทรกแซง เพื่อปกป้องชีวิตของพลเรือนหลังจากที่ประชาชนจำนวนมากได้เสียชีวิตลง  ล่าสุดรัฐบาลใหม่ของลิเบียให้สัญญาว่า จะปกครองประเทศอย่างโปร่งใสและให้ความเป็นธรรมกับฝ่ายตรงข้ามให้มากที่สุดเพื่อป้องกันความขัดแย้งที่อาจเกิดขึ้นอีกในอนาคต

ปิดท้ายที่ประเทศซีเรียที่เหตุการณ์การประท้วงยังคงเกิดขึ้นจนถึงปัจจุบัน ซึ่งหลังจากเหตุการณ์ผ่านมากว่า9 เดือน ล่าสุด ยูเอ็นก็ได้ออกรายงานฉบับใหม่ที่สรุปยอดผู้เสียชีวิตในซีเรียว่ามีมากถึง 5,000 รายแล้วโดยก่อนหน้านี้ ประธานาธิบดีบาชาร์ อัล-อัดซาด ได้ให้สัญญาว่าเขาจะก้าวลงจากตำแหน่ง และเปิดโอกาสให้มีการเลือกตั้ง ในเดือนกุมภาพันธ์ปี 2555ซึ่งคำสัญญานี้ ไม่ได้ช่วยให้สถานการณ์ในประเทศดีขึ้นเพราะรัฐบาลยังคงออกคำสั่งให้ปราบปรามฝ่ายตรงข้ามอย่างต่อเนื่องโดยจะเห็นได้จากภาพวิดีโอ ที่กลุ่มผู้ประท้วงนำมาเผยแพร่ในเว็บไซต์ยูทูบ

ขบวนการก่อการร้าย ISIS

ในโลกมุสลิม มีผู้เชื่อว่าอิหร่านคือผู้นำชีอะห์ในปัจจุบันส่วนซาอุดิอาระเบียได้รับการยอมรับว่าเป็นผู้นำสายซุนนี 2 ฝ่ายแข่งขันกันโดยมีชาติตะวันตัวเข้ามาเกี่ยวข้องด้วย

เมื่อเอ่ยถึงสถานการณ์ซีเรียกับอิรักในขณะนี้ รองประธานาธิบดีโจ ไบเดนกล่าวอย่างชัดเจนว่า ตุรกีซาอุดิอาระเบีย สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ และประเทศอื่นๆ เช่น กาตาร์ “มุ่งมั่งโค่นล้มอัสซาดและทำสงครามตัวแทนของซุนนี-ชีอะห์ ...พวกเขาให้เงินหลายร้อยล้านดอลลาร์และอาวุธคิดเป็นน้ำหนักหลายพันตันแก่ใครก็ตามที่ต่อสู้อัสซาด”และเอ่ยชื่อกลุ่มก่อการร้ายอย่างAl-Nusra อัลกออิดะห์และพวกญิฮาดสุดโต่งต่างๆ ที่มาจากทั่วทุกมุมโลกซึ่งรวมถึงรัฐอิสลาม (IS/ISIL/ISIS) ด้วย

ภายใต้แนวคิดนี้ บางคนเชื่อว่ารัฐอิสลาม (IS/ISIL/ISIS) คือตัวแทนของพวกซุนนี ประเทศที่ถูกพาดพิงว่าสนับสนุน IS ต่างปฏิเสธ ทั้งยังประกาศชัดว่ามีนโยบายต่อต้านลัทธิก่อการร้ายที่ประชุมสันนิบาตอาหรับ (Arab League) เห็นพ้องที่จะใช้มาตรการทุกอย่างเพื่อต่อต้าน IS การที่กองทัพอาหรับหลายประเทศเข้าร่วมกับสหรัฐโจมตีIS ในขณะนี้ เป็นการแสดงออกในเชิงรูปธรรมอย่างหนึ่ง ดังนั้น ซุนนีอาจมีความขัดแย้งกับชีอะห์ แต่รัฐบาลอาหรับปฏิเสธการมีส่วนเกี่ยวข้องกับ IS ไม่ยอมรับว่าIS เป็นเครื่องมือของตนเพื่อจัดการพวกชีอะห์

ชื่อ ISIL หรือ ISIS (ปัจจุบันคือ IS) ก็ปรากฏตัวเป็นข่าวของอิรักหรือที่บางคนเรียกว่า “กลุ่มอัลกออิดะห์อิรัก” กองกำลัง IS ที่ก่อนหน้านี้กำลังสู้รบในซีเรียเพื่อโค่นล้มรัฐบาลอัสซาดได้แบ่งกำลังส่วนหนึ่งเข้ามาในอิรัก การปรากฏตัวของ IS การควบคุมพื้นที่ทั้งในอิรักกับซีเรียกลายเป็นเหตุบานปลายอย่างที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน

สถานการณ์ล่าสุดของอิรัก แม้อิรักได้นายกฯ คนใหม่ที่ทุกฝ่ายรับรองแต่พวกซุนนีบางกลุ่มยังปฏิเสธให้ความร่วมมือต่อต้าน IS ซ้ำยังเห็นว่าจำต้องร่วมมือกับ IS ต่อไป

ประการที่ 2 จุดเริ่มต้นในซีเรียไม่ใช่เรื่องศาสนา

อาหรับสปริงในซีเรียมีจุดเริ่มต้นจากการที่กลุ่มผู้ประท้วงเรียกร้องให้รัฐบาลปฏิรูปประเทศให้มีการเลือกตั้งโดยเสรี จัดตั้งรัฐสภาที่เป็นตัวแทนของประชาชนแต่ประธานาธิบดีอัสซาดเห็นว่าหากซีเรียปกครองด้วยประชาธิปไตยแบบตะวันตกจะยิ่งทำให้ประเทศอ่อนแอจึงปฏิเสธข้อเรียกร้องการชุมนุมที่เริ่มต้นโดยสงบกลายเป็นการชุมนุมที่ใช้ความรุนแรง เพราะเมื่อเจ้าหน้าที่รัฐใช้ความรุนแรงฝ่ายประชาชนก็ตอบโต้ด้วยความรุนแรงเช่นกัน

และดังที่ทราบกันทั่วไปว่า จากนั้นเริ่มปรากฏกลุ่มก่อการร้ายต่างๆในซีเรีย หนึ่งในกลุ่มเหล่านี้คือ IS และกลายเป็นกลุ่มที่มีพลังมากที่สุด

จุดเริ่มต้นของอาหรับสปริงซีเรียจึงเป็นเรื่องที่ชาวซีเรียบางส่วนเรียกร้องการปกครองที่ประชาชนมีส่วนร่วมมากขึ้นผลประโยชน์ของชาติกระจายอย่างทั่วถึง จากนั้นเกิดการแทรกแซงโดยกองกำลังที่มาจากต่างชาติหลายประเทศส่วนหนึ่งอยู่ในนาม IS

ประการที่ 3 IS กวาดล้างทุกความเชื่อชนทุกกลุ่มในพื้นที่

ข้อเท็จจริงที่ปรากฏคือ IS ทำสงครามสังหารทุกกลุ่มสังหารพวกชีอะห์ในอิรัก พวกนับถือคริสต์ ชนกลุ่มน้อยยาซิดี (Yazidi) ที่นับถือศาสนาโซโรอัสเตอร์ (Zoroastrianism) รวมทั้งพวกเคิร์ดในอิรักกับซีเรียซึ่งนับถือนิกายซุนนี

ดังนั้น กองกำลัง IS เป็นศัตรูกับทุกศาสนาความเชื่อ ถ้ามองในแง่เชื้อชาติคือจำกัดชนทุกกลุ่มยกเว้นพวกซุนนีอาหรับผู้ที่จะอาศัยในเขตอิทธิพลของพวกเขาจำต้องเปลี่ยนความเชื่อส่วนคนเชื้อชาติอื่นจะตกอยู่ในสภาพเป็นทาสหรือกึ่งทาส ดังนั้นไม่ได้มุ่งเป้าชีอะห์อย่างเดียว

การกระทำเช่นนี้คล้ายกับการที่พวกชีอะห์จัดการกับพวกซุนนีในกรุงแบกแดดกับพื้นที่ใกล้เคียงหลังทหารอเมริกันถอนตัวออกจากอิรักนั่นคือการขับไล่พวกซุนนีออกจากพื้นที่ หรือจัดพื้นที่เสียใหม่เพื่อให้พวกชีอะห์สามารถอยู่ในเมืองในตำแหน่งที่พวกเขาต้องการ

ผู้นำศาสนาไม่ยอมรับ :

แนวทางค้นหาคำตอบว่าเป็นสงครามตัวแทนซุนนี-ชีอะห์ที่ดีแนวทางหนึ่งคือ เริ่มจากการพิจารณาว่า IS เป็นตัวแทนของซุนนีหรือชีอะห์หรือไม่ข้อมูลที่ปรากฏคือ IS ไม่เพียงไม่เป็นตัวแทนของซุนนีหรือชีอะห์ยังเป็นศัตรูของอิสลามด้วย

องค์กร ผู้นำจิตวิญญาณทั้งฝ่ายซุนนีกับชีอะห์จึงประกาศชัดว่าพวกตนไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับ IS และ IS เป็นศัตรูของอิสลาม ดังนั้น ความขัดแย้งในขณะนี้ไม่ใช่สงครามตัวแทนระหว่างซุนนี-ชีอะห์แต่ประกาศใดส่วนผู้ที่สนับสนุน IS ไม่ว่าจะเป็นใครก็แล้วแต่คือ “ผู้อยู่เบื้องหลัง” ศัตรูหมายเลข1 ของอิสลาม

เรื่องสงครามตัวแทนซุนนี-ชีอะห์เป็นประเด็นถกเถียงได้หลายแง่มุมหนึ่งในแง่มุมสำคัญคือความสามารถที่จะอธิบายปรากฏการณ์ทั้งหมดผ่านความขัดแย้งทางศาสนา จริงอยู่ที่มีความขัดแย้งทางศาสนาแฝงอยู่ โดยเฉพาะกรณีของอิรักแต่เหตุผลดังกล่าวเพียงข้อเดียวไม่อาจอธิบายความจริงได้ทั้งหมดเพราะกองกำลัง IS ไม่เพียงตั้งตัวเป็นศัตรูกับชีอะห์ ซุนนีเท่านั้นแต่เป็นศัตรูกับทุกคนทุกความเชื่อที่ขัดขวางปฏิบัติการของ IS ซึ่งในช่วงนี้คือการยึดครองพื้นที่ซีเรียกับอิรัก การวิเคราะห์โดยมองมิติเชิงพื้นที่ให้คำตอบที่ใกล้เคียงความจริงมากกว่า




Create Date : 14 ตุลาคม 2558
Last Update : 14 ตุลาคม 2558 12:13:07 น. 0 comments
Counter : 1458 Pageviews.

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 
space

สมาชิกหมายเลข 972112
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 2 คน [?]






space
space
[Add สมาชิกหมายเลข 972112's blog to your web]
space
space
space
space
space