การจัดการภาครัฐมีการพัฒนามาจากการจัดการภาครัฐในยุคพาราไดม์ที่6โดยมีรากฐานมาจากทฤษฎีทางเลือกสาธารณะและเศรษฐศาสตร์เชิงสถาบันใหม่หรือเศรษฐศาสตร์องค์การมีลักษณะเด่นคือความพยายามแก้ปัญหาของระบบราชการแบบดั้งเดิมโดยเฉพาะอย่างยิ่งการปรับปรุงในด้านประสิทธิภาพและการให้บริการประชาชน ทำงาน การบริหารจัดการภาครัฐเป็นศาสตร์ที่พัฒนามาจากทฤษฎีทางด้านรัฐศาสตร์และการบริหารภาครัฐ ซึ่งมีการพัฒนาการมาอย่างต่อเนื่อง พอจำแนกได้ดังนี้ 1. การแยกการบริหารกับการเมืองออกจากกันเป็นสองส่วน(ค.ศ. 1900-1926) ที่เป็นจุดเริ่มต้นของการศึกษาวิชาบริหารภาครัฐเป็นแนวความคิดของการแยกการบริหารกับการเมืองออกจากกันเป็นสองส่วน เป็นแนวความคิดของนักรัฐศาสตร์โดย Goodnow ได้กล่าวว่า รัฐบาลมีหน้าที่แตกต่างกันอยู่ 2 ประการคือการเมืองและการบริหารกล่าวคือการเมืองเป็นเรื่องของการกำหนดนโยบายหรือการแสดงออกซึ่งเจตนารมณ์ของรัฐส่วนการบริหารเป็นการนำนโยบายต่างๆ เหล่านั้น ไปปฏิบัติ ส่วน Leonard D.White ได้ชี้ให้เห็นว่าการเมืองไม่ควรเข้ามาแทรกแซงการบริหาร หน้าที่ของการบริหารก็คือประหยัดและประสิทธิภาพ
2. หลักของการบริหารจัดการ(ค.ศ. 1927-1937) มองว่าวิชาการบริหารภาครัฐเป็นเรื่องของหลักต่างๆของการบริหารที่มีลักษณะเป็นวิทยาศาสตร์และนักบริหารสามารถที่จะนำเอาหลักต่างๆเหล่านั้นไปประยุกต์ได้ และมองว่าการบริหารภาครัฐและธุรกิจสามารถใช้หลักของการบริหารอย่างเดียวกันได้ตัวอย่างหลักเกณฑ์การบริหารที่มีชื่อเสียง เช่น หลักที่เป็นหน้าที่ของนักบริหารคือ POSDCORBของ Gulick & Urwick เป็นต้น
3. การบริหารภาครัฐคือ รัฐศาสตร์ (ค.ศ. 1950-1970) เป็นยุคที่วิชาการบริหารภาครัฐได้กลับคืนไปเป็นสาขาหนึ่งของวิชารัฐศาสตร์อีกครั้ง
4. การบริหารภาครัฐคือวิทยาการทางการบริหาร (ค.ศ. 1956-1970)เป็นช่วงที่นักวิชาการทางการบริหารภาครัฐได้เริ่มค้นหาแนวทางใหม่โดยได้เริ่มมาศึกษาถึงวิทยาการทางการบริหารซึ่งหมายถึงการศึกษาเกี่ยวกับทฤษฎีองค์การ (Organization Theory) และวิทยาการการจัดการ (Management Science)การศึกษาทฤษฎีองค์การเป็นการศึกษาของนักวิชาการทางจิตวิทยาสังคม สังคมวิทยาบริหารภาครัฐและบริหารภาครัฐที่จะช่วยให้เข้าใจพฤติกรรมขององค์การ พฤติกรรมของคนดีขึ้นส่วนวิทยาการจัดการเป็นการศึกษาของนักวิชาการทางด้านสถิติ การวิเคราะห์ระบบคอมพิวเตอร์ศาสตร์ เศรษฐศาสตร์ และบริหารภาครัฐ ที่จะช่วยให้การบริหารมีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้นและเพื่อที่จะใช้วัดประสิทธิผลของการดำเนินงานได้อย่างถูกต้องแน่นอนยิ่งขึ้น การศึกษานี้จึงเป็นการศึกษาที่มุ่งถึงสิ่งหรือประเด็นที่ศึกษา(Focus) แต่ไม่กำหนดสถานที่จะศึกษา (Lucus)
5. การบริหารภาครัฐคือการบริหารภาครัฐ (ค.ศ. 1970) นักบริหารภาครัฐได้พยายามที่จะศึกษาในลักษณะของสหวิทยาการการสังเคราะห์ ความรู้ความสามารถในสาขาวิชาการต่างๆ มาใช้แก้ปัญหาในสังคมความโน้มเอียงไปสู่เรื่องที่สะท้อนให้เห็นถึงชีวิตในเมือง ความสัมพันธ์ทางการบริหารระหว่างองค์การของรัฐและองค์การของเอกชนเขตแดนร่วมกันระหว่างเทคโนโลยีและสังคม
6. การจัดการภาครัฐ (PublicManagement) ในทศวรรษ 1970 กลุ่มการจัดการภาครัฐแบ่งแนวทางการศึกษาของตนออกเป็นอีก3 สาขา คือ การจัดการเชิงปริมาณหรือเชิงวิเคราะห์ ซึ่งพัฒนามาจากการวิเคราะห์นโยบายและเศรษฐศาสตร์จะเน้นการใช้เทคนิคเชิงกลยุทธ์ชั้นสูงต่างๆ เช่น การพยากรณ์การวิเคราะห์ต้นทุนผลประโยชน์ โดยต้องให้ผู้บริหารได้มีโอกาสบริหารต้องสนับสนุนให้เกิดการคิดกลยุทธ์ต่างๆ โดยหาทางลดกฎระเบียบและการจัดการที่มุ่งเน้นตลาดดังนั้นการปฏิรูประบบราชการจึงเป็นภารกิจที่รัฐบาลในประเทศต่างๆรวมทั้งประเทศไทยได้ทุ่มเทและพัฒนาระบบราชการเพื่อการเป็นระบบราชการยุคใหม่ที่ดำเนินการภายใต้หลักธรรมาภิบาล จุดเน้นของการจัดการภาครัฐแนวใหม่ มีดังนี้ 1)รัฐจะมีบทบาทหน้าที่เฉพาะในส่วนที่จำเป็นจะต้องทำเท่านั้นเพื่อเปิดโอกาสให้ประชาชนและชุมชนมีบทบาทมากขึ้น2) การบริหารจัดการภายในภาคราชการจะมีความรวดเร็วคุณภาพสูงและประสิทธิภาพสูง 3) การจัดองค์กรมีความกะทัดรัดคล่องตัวและปรับเปลี่ยนได้อย่างรวดเร็วเน้นการทำงานที่ใช้เทคโนโลยีเป็นเครื่องมือ4) มีลักษณะของการทำงานที่ทันสมัยใช้เทคโนโลยีเครื่องมืออุปกรณ์ที่เหมาะสมต่อการทำงาน5) ข้าราชการและเจ้าหน้าที่ของรัฐมีคุณภาพสูง 6) ข้าราชการทำงานมุ่งผลสัมฤทธิ์โดยมีประชาชนเป็นเป้าหมาย 7) มีกลไกการบริหารงานบุคคลที่หลากหลายมีระบบค่าตอบแทนที่เป็นธรรมเพื่อเปิดโอกาสให้บุคคลที่มีความรู้ความสามารถเต็มใจมารับราชการเป็นอาชีพ8) มีวัฒนธรรมและบรรยากาศในการทำงานแบบมีส่วนร่วม9.มีความโปร่งใสตรวจสอบได้จากแนวคิดการจัดการภาครัฐแนวใหม่นับได้ว่าเป็นนวัตกรรมทางการบริหารอย่างหนึ่งที่โดยสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ(ก.พ.ร)ซึ่งเป็นหน่วยงานหลักที่ตั้งขึ้นตามพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดินฉบับที่ 5 พ.ศ. 2545 ให้ดำเนินการขับเคลื่อนการปฏิรูประบบราชการจึงได้นำแนวคิดดังกล่าวมาประยุกต์ใช้เป็นหลักคิดหลักปฏิบัติโดยสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการได้วางเป้าประสงค์หลักของการพัฒนาระบบราชการไทยไว้4 ประการ คือ 1) พัฒนาคุณภาพการให้บริการประชาชนที่ดีขึ้น2) ปรับบทบาทภารกิจและขนาดให้มีความเหมาะสม 3)ยกระดับขีดความสามารถและมาตรฐานการทำงานให้อยู่ในระดับสูงและเทียบเท่าเกณฑ์สากลและ 4) ตอบสนองต่อการบริหารปกครองในระบอบประชาธิปไตย ทำให้เจ้าหน้าที่ของภาครัฐต้องมีความเป็นบุคลากรที่มีคุณภาพมากขึ้นเป็นมืออาชีพมากขึ้น แต่โดยที่การบริหารในภาครัฐราชการจะต้องอยู่ภายใต้กฎหมายและกฎระเบียบต่างๆมากมายและอยู่ภายใต้หลักการปกครองแบบ นิติรัฐ (Ruleof Law) ด้วยจึงทำให้ภาครัฐจำเป็นต้องปรับเปลี่ยนรูปแบบของการปกครองแบบเข้มงวดเคร่งครัดมายึดหลักการผ่อนปรนภายใต้ธรรมาภิบาล หรือการกำกับดูแลที่ดี(Good Governance) มากขึ้น
สาระสำคัญของแนวคิดการจัดการภาครัฐแนวใหม่ประกอบด้วยประการแรก มีการนำแนวคิดการจัดการ ภาคเอกชนมาใช้ในภาครัฐ โดยมองว่ารูปแบบการบริหารและการจัดองค์การแบบภาคเอกชนทำงานได้ดีกว่าภาครัฐในการบริหารงานและการนำนโยบายสาธารณะไปปฏิบัติ(Henry, 1995; Hood, 1991) เน้นหลักประสิทธิภาพโดยการส่งเสริมให้มีการแข่งขันกันในองค์การต่างๆของภาครัฐ และการใช้ทรัพยากรอย่างประหยัดและคุ้มค่า (Hood, 1991) เน้นเรื่องผลการดำเนินงานการบริหารแบบมืออาชีพการมีมาตรฐาน และตัวชี้วัดในการทำงานที่ชัดเจน ประการที่สอง การกระจายอำนาจและผ่อนคลายกฎระเบียบ(delegationand reregulation)เพื่อให้องค์การภาครัฐทำงานได้อย่างคล่องตัว จึงเน้นการกระจายอำนาจและมอบอำนาจและผ่อนคลายกฎระเบียบต่างๆ เพื่อทำให้องค์การของรัฐมีความเป็นอิสระและคล่องตัวมากขึ้นและเปิดโอกาสให้ผู้บริหารได้ใช้วิจารณญาณมากขึ้นรูปแบบองค์การที่ได้รับความนิยมจึงมีขนาดเล็ก ลักษณะแบบแบนราบ และประการที่สาม ใช้กลไกการตลาดและการทำสัญญา(contract) เป็นกลไกในการบริหาร แนวคิด NPMมีจุดอ่อนสำคัญ คือ 1)ไม่สนใจประเด็นการมีส่วนร่วมของประชาชน 2) เกิดจากความต้องการให้หน่วยงานภาครัฐเลียนแบบการทำงานจากภาคเอกชนที่มุ่งสร้างความพึงพอใจสูงสุดแก่ลูกค้า ซึ่งเป็นประโยชน์ระยะสั้นของผู้ใช้ บริการแต่ละคนแนวคิดนี้จึงขาดการมองเป้าหมายระยะยาวในการพัฒนางาน สาธารณะ 3) ลักษณะพิเศษของประชาชน ในยุคโลกาภิวัตน์ซึ่งพวกเขามิได้ต้องการเป็นเพียงลูกค้าที่รอคอยบริการจากรัฐ แต่เพียงฝ่ายเดียวอีกต่อไปแต่พวกเขาคาดหวังถึงการพัฒนาคุณภาพชีวิตที่ดี โดยมองว่า ลำพังภาครัฐมิอาจตอบสนองต่อการพัฒนาดังกล่าวได้ในแง่นี้จึง ทำให้ภาคธุรกิจและภาคประชาสังคมในหลาย ๆ แห่งลุกขึ้นมาเพื่อเข้าร่วมใน ฐานะเป็น ภาคี (Partner) ที่มีความเท่าเทียมกับรัฐ เพื่อร่วมมือกันดำเนินงาน และให้บริการสาธารณะแต่ NPM ไม่มีพื้นที่ว่างสำหรับภาคธุรกิจและภาค ประชาสังคมที่ผันตัวเองจากการเป็นเพียง ลูกค้า (ผู้รอรับบริการ) มาเป็น ภาคี เพื่อนำไปสู่ความร่วมมือกับภาครัฐในรูปของ เครือข่าย(Networks) ในการดำเนินงานสาธารณะได้
ประเด็นการเปลี่ยนสถานะประชาชนพลเมืองให้กลายเป็นเพียง "ลูกค้า" ตามวิธีคิดแบบภาคเอกชนในแนวคิดแบบ New Public Management (NPM) โดยมองข้ามความเป็นพลเมืองในฐานะผู้ที่ได้รับสิทธิตามที่กฎหมายรัฐธรรมนูญรับรองทั้งในแง่สิทธิ ความคุ้มครอง และการปฏิบัติอย่างเท่าเทียมเสมอภาคโดยที่บางกรณีผู้ที่ไม่เสียภาษี รัฐจำต้องให้การยกเว้น เช่น คนชรา เด็กและผู้ด้อยโอกาสทางสังคม (ผู้พิการช่วยตนเองไม่ได้ เป็นต้น) ก็คือการลดฐานะของประชาชนเป็นเพียง"ลูกค้า" และในกรณีที่ "ลูกค้า" ไม่จ่ายค่าบริการ/ภาษีเขาก็อาจจะไม่ได้รับบริการหรือแม้จะได้รับบริการก็อาจเป็นบริการที่ไม่เท่าเทียมเสมอภาค และต่อมาในคำประกาศแห่งเมืองแบล็คเบิร์ก (BlacksburgManifesto) ระบุว่า ความชอบธรรมทางการบริหารจำเป็นต้องมีความรับผิดชอบต่อพลเมืองซึ่งคือ จุดมุ่งหมายของรัฐ ในทางกลับกัน ความรับผิดชอบจำเป็นต้องมีกรอบแนวคิดสำหรับการตีความคุณค่าพื้นฐานซึ่งต้องพัฒนาร่วมกันระหว่างข้าราชการและพลเมืองในสถานการณ์ที่เป็นจริงมากกว่าที่จะกำหนดเพียงข้อสมมติฐานเท่านั้นกล่าวอีกนัยหนึ่ง รัฐก็เป็นส่วนหนึ่งของพลเมืองตื่นรู้นั่นเอง ทำให้การบริหารงานภาครัฐถึงเวลาต้องปรับเปลี่ยนแนวคิดเพื่อให้สอดคล้องกับความต้องการของประชาชนมากที่สุดนั่นเอง