space
space
space
<<
มกราคม 2559
 12
3456789
10111213141516
17181920212223
24252627282930
31 
space
space
27 มกราคม 2559
space
space
space

ความมั่นคงทางด้านแรงงานของไทยเมื่อเข้าสู่ประชาคมอาเซียน
ความมั่นคงทางด้านแรงงานของไทยเมื่อเข้าสู่ประชาคมอาเซียน

ดร.ภคพร กุลจิรันธร

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ(2554)ระบุเป้าหมายสำคัญของการเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน คือการให้ประชากรของประเทศสมาชิกมีการค้าขายระหว่างกันมากขึ้นมีการไปมาหาสู่กันได้อย่างสะดวก และมีศักยภาพในการแข่งขันกับโลกภายนอกได้โดยต้องการให้เป็นตลาดและฐานการผลิตเดียว เน้นการเคลื่อนย้ายสินค้า การบริการ การลงทุนเงินทุน และแรงงานมีฝีมือระหว่างกันอย่างเสรี

การเคลื่อนย้ายแรงงานฝีมืออย่างเสรีนั้นในเบื้องต้น ได้มีการทำข้อตกลงร่วมกัน (Mutual Recognition Arrangement: MRAs) ใน 7 สาขาวิชาชีพ เกี่ยวกับ คุณสมบัติของวิชาชีพหลักแรงงานเชี่ยวชาญ หรือผู้มีความสามารถพิเศษเพื่ออำนวยความสะดวกในการเคลื่อนย้ายได้อย่างเสรี ใน 7 สาขาวิชาชีพดังกล่าว ได้แก่ วิศวกรรม พยาบาล สถาปัตยกรรม การสำรวจ แพทย์ ทันตแพทย์ และ บัญชี ทั้งนี้มีการคาดการณ์จากผู้เกี่ยวข้องว่า ประเทศไทยมีแนวโน้มเป็นศูนย์กลางการท่องเที่ยวและศูนย์กลางอาหารโลก ในส่วนของอุตสาหกรรมการผลิต และการบริการบางประเภทจะขยายตัวอาทิ การท่องเที่ยว การคมนาคม การบริการสาธารณสุข และโลจิสติกส์

อุตสาหกรรม5ประเภทที่สำคัญของประเทศที่เข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน ซึ่งเป็นอุตสาหกรรมที่มีแนวโน้มขยายตัวได้ดีคือ

Description: Image result for บุคลากรธุรกิจการท่องเที่ยว Description: Image result for ธุรกิจการท่องเที่ยว

1. ภาคการท่องเที่ยว การท่องเที่ยวของไทยยังคงมีพื้นฐานที่แข็งแกร่งและมีศักยภาพการเติบโตอย่างต่อเนื่อง สถานที่ท่องเที่ยวในประเทศไทยยังมีเอกลักษณ์และความเป็นไทยยังคงมีความน่าดึงดูดใจในสายตานักท่องเที่ยวต่างชาติ ภาคการท่องเที่ยวนับเป็นพระเอกที่มาช่วยพยุงเศรษฐกิจไทยไว้ในช่วงที่ผ่านมาและรายได้จากภาคการท่องเที่ยวมีแนวโน้มสูงขึ้นเรื่อยๆ โดยช่วง 8 เดือนแรกของปี 2558 มีนักท่องเที่ยวเข้ามาในประเทศไทยจำนวนมากถึง20 ล้านคน (นักท่องเที่ยวชาวจีนมากเป็นอันดับ 1 ที่ 5.5ล้านคน)

จุดอ่อนประการแรกของคนไทยที่จะต้องแก้ไขอย่างเร่งด่วนคือ ทักษะด้านภาษาต่างประเทศบุคลากรในภาคการท่องเที่ยวของไทยนั้นหลาย ๆ คนยังใช้ภาษาที่ 2 อย่างภาษาอังกฤษในการสื่อสารได้ไม่คล่องทั้งนี้ไม่ต้องพูดถึงภาษาที่ 3 บุคลากรในที่นี้รวมไปถึงแม่บ้านพนักงานรักษาความปลอดภัย ฯลฯซึ่งแม้ในการทำงานจะไม่ต้องสื่อสารกับนักท่องเที่ยวมากนักแต่อาจมีบางสถานการณ์ที่ต้องสื่อสารกับนักท่องเที่ยว จุดอ่อนข้อนี้ถ้ายังไม่แก้ไขจะทำให้ภาคการท่องเที่ยวไทยเสียเปรียบประเทศเพื่อนบ้านมาก

ในการประชุม Tourism Human Resources Congress ครั้งที่2 ที่ประเทศฟิลิปปินส์ รัฐบาลฟิลิปปินส์แสดงให้เห็นว่าฟิลิปปินส์ให้ความสำคัญต่อการพัฒนาบุคลากรของประเทศมากโดยมองว่าแรงงานถือเป็นสินค้าส่งออกของประเทศอย่างหนึ่งเนื่องจากชาวฟิลิปปินส์มีจุดแข็งด้านภาษาอังกฤษ ที่ชาวฟิลิปปินส์ทุกคนสามารถสื่อสารได้เป็นอย่างดีจึงมีความพร้อมที่จะส่งออกแรงงานหลากหลายสาขาอาชีพ ไม่ว่าจะเป็นกลุ่มแม่บ้านไปจนถึงแพทย์ พยาบาล ครู สู่ประเทศอื่น ๆ ในอาเซียนนอกจากนี้รัฐบาลฟิลิปปินส์ยังส่งเสริมให้ประชาชนในประเทศเรียนรู้ภาษาที่ 3 อย่างภาษาสเปน ภาษาญี่ปุ่น ภาษาจีนให้ชำนาญซึ่งชาติที่ใช้ภาษาเหล่านี้ยังต้องการแรงงานอีกเป็นจำนวนมาก ประเทศไทยจึงควรหันมาให้ความสำคัญกับการพัฒนาภาษาที่2 และที่ 3 ของประชากรในประเทศเพื่อให้สามารถแข่งขันกับแรงงานประเทศอื่น ๆ ได้เมื่อเปิด AEC

นอกจากเรื่องทักษะภาษาต่างประเทศแล้วบุคลากรไทยยังต้องเรียนรู้และทำความเข้าใจวัฒนธรรมของประเทศสมาชิกอาเซียน บุคลากรภาคการท่องเที่ยวไทยควรเรียนรู้และทำความเข้าใจวัฒนธรรมของประเทศสมาชิกอาเซียนไว้ซึ่งจะมีส่วนช่วยในการสร้างความประทับใจในการให้บริการนักท่องเที่ยวเหล่านั้นนอกจากนี้การเรียนรู้วัฒนธรรมประเทศเพื่อนบ้านยังเป็นประโยชน์ต่อบุคลากรภาคการท่องเที่ยวและบริการอื่นๆ ที่จะออกไปทำงานในประเทศสมาชิกอาเซียนอีกด้วย

ผู้ประกอบการด้านการท่องเที่ยวไทยส่วนใหญ่เป็นผู้ประกอบการขนาดกลางและขนาดย่อม(SMEs) ซึ่งเมื่อเข้าสู่การเป็นAC แล้วอาจประสบปัญหาไม่สามารถแข่งขันกับผู้ประกอบการจากประเทศอื่นๆ ที่มีแนวโน้มว่าจะเข้ามาลงทุนในไทยสูง ผู้ประกอบการไทยจึงควรสร้างความร่วมมือระหว่างกันอาจร่วมมือกันโดยสร้างพันธมิตรทางการค้า หรือรวมกันโดยควบรวมกิจการกันเพื่อลดการแข่งขันกันเองและเสริมสร้างธุรกิจให้แข็งแกร่งมากยิ่งขึ้น การเข้าสู่การเป็นAC ก็จะกลายเป็นโอกาสสำหรับชาวไทยที่มีความถนัดด้านการท่องเที่ยวและบริการอยู่แล้วให้อุตสาหกรรมการท่องเที่ยวไทยเติบโต สร้างรายได้ให้กับประเทศมากกว่าเดิม

Description: //perfect-houses.com/images/con06.jpg Description: //onlineoneclick.com/wp-content/uploads/2015/05/hyy.jpg

2. ธุรกิจรับเหมาก่อสร้าง อุตสาหกรรมนี้ได้รับอานิสงส์โดยตรงจากโครงการลงทุนของรัฐบาลและต้นทุนการก่อสร้างอยู่ในระดับที่ควบคุมได้ (อัตราค่าแรงที่ยังทรงตัวราคาน้ำมันโลกที่ปรับตัวลดลง ดอกเบี้ยที่ยังคงอยู่ในระดับต่ำ) การดำเนินธุรกิจรับเหมาก่อสร้างในประเทศสมาชิกประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน มีปัจจัยที่เกื้อหนุนในหลายประการเนื่องจากการบริการรับเหมาก่อสร้างเป็นธุรกิจที่ผู้ประกอบการไทยมีศักยภาพสูงจากเทคนิคและความชำนาญทางวิศวกรรมโดยเฉพาะวิศวกรไทยได้รับการยอมรับว่ามีความสามารถทัดเทียมหรือเหนือกว่าวิศวกรของบางประเทศและแรงงานไทยมีความชำนาญ ทั้งงานก่อสร้างและงานระบบประกอบกับไทยมีอุตสาหกรรมสนับสนุนที่เข้มแข็งโดยเฉพาะอุตสาหกรรมการผลิตวัสดุก่อสร้าง

ขณะเดียวกันการเปิดเสรีธุรกิจบริการรับเหมาก่อสร้างภายใต้การเปิดAC นั้นจะส่งผลให้มีการลดข้อจำกัดเพื่ออำนวยความสะดวกในการเคลื่อนย้ายแรงงานวิชาชีพที่เกี่ยวเนื่องกับธุรกิจบริการก่อสร้างเช่น วิศวกร และสถาปนิก เป็นต้นซึ่งจะเกื้อหนุนให้เกิดโอกาสในการดำเนินธุรกิจรับเหมาก่อสร้างผู้ประกอบการไทยได้อย่างต่อเนื่อง

ผู้ประกอบธุรกิจในอุตสาหกรรมก่อสร้างปัจจุบันยังขาดแหล่งข้อมูลในการเข้าถึงให้ความรู้ และทำความเข้าใจเกี่ยวกับ AC อย่างจริงจังโดยสิ่งสำคัญสำหรับอุตสาหกรรมก่อสร้างในการก้าวเข้าสู่ AEC ก็คือการยกระดับมาตรฐานการก่อสร้างให้เทียบเท่าระดับสากล เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันกับผู้รับเหมาจากต่างชาติทั้งในฝั่งผู้นำเอเชียอย่างประเทศญี่ปุ่น จีน รวมทั้งจากฝั่งยุโรปและอเมริกาซึ่งการจะสร้างมาตรฐานการก่อสร้างได้อย่างยั่งยืนนั้นทั้งฝั่งภาครัฐและผู้ประกอบการเองต้องร่วมด้วยช่วยกันผลักดันซึ่งจะต้องไม่ใช่เพียงแค่เฉพาะกลุ่มเท่านั้นแต่จะต้องมีการสร้างและควบคุมมาตรฐานการก่อสร้างให้เป็นไปในระดับเดียวกันทั้งรายเล็กและรายใหญ่แต่ปัญหาสำคัญที่ต้องเร่งส่งเสริมและยกระดับให้แก่ ผู้ประกอบการธุรกิจก่อสร้างก็คือ การพัฒนาศักยภาพด้านภาษาและการขับเคลื่อนให้ธุรกิจก่อสร้างในประเทศไทยมีหน่วยงานหรือองค์กรสำคัญในการทำหน้าที่ขึ้นทะเบียนธุรกิจรับเหมาก่อสร้างเพื่อให้ธุรกิจก่อสร้างมีการดำเนินงานอย่างมีทิศทางที่ชัดเจนและความเข้มแข็งในการดำเนินธุรกิจอย่างยั่งยืนท่ามกลางสถานการณ์การแข่งขันจากผู้ประกอบการธุรกิจรับเหมาก่อสร้างที่จะทวีความรุนแรงมากขึ้น

นอกจากนี้แรงงานในอุตสาหกรรมก่อสร้างก็เป็นอีกหนึ่งปัจจัยสำคัญในการขับเคลื่อนธุรกิจก่อสร้างในภูมิภาคอาเซียนเพราะปัญหาการขาดแคลนแรงงานฝีมือในปัจจุบันเป็นปัญหาที่ใหญ่ที่หลายประเทศในอาเซียนกำลังประสบปัญหาอย่างหนักโดยเฉพาะประเทศไทยที่ปัญหาขาดแคลนแรงงานเข้าขั้นวิกฤติต่อเนื่องตั้งแต่ปี 2555เป็นต้นมาทำให้ผู้รับเหมาและผู้ประกอบการธุรกิจก่อสร้างต้องแก้ปัญหาเฉพาะหน้าเพื่อเดินหน้าโครงการก่อสร้างที่เพิ่มขึ้นในตลาดอย่างต่อเนื่องโดยหลายบริษัทก่อสร้างรายใหญ่ในประเทศไทยได้นำเข้าแรงงานจากประเทศเพื่อนบ้านมาทดแทนแรงงานในประเทศโดยเฉพาะกลุ่มผู้รับเหมารายใหญ่ที่มีพันธมิตรธุรกิจอยู่แล้วก็จะเป็นที่ต้องการตัวมากเพราะช่วยลดความเสี่ยงจากปัญหาขาดแคลนแรงงานและผู้รับเหมาได้เป็นอย่างดี

Description: //www.manager.co.th/asp-bin/Image.aspx?ID=1982664

3. โรงพยาบาลและบริการด้านสุขภาพ  เพราะการเพิ่มขึ้นของสัดส่วนผู้สูงอายุทั่วประเทศ(ปัจจุบันประชากรที่มีอายุเกิน 60 ปึมีจำนวน 10 % ของประชากรทั้งหมด)และขีดความสามารถในการแข่งขันทางธุรกิจของโรงพยาบาลเอกชนไทยซึ่งมีคุณภาพและมีราคาที่เหมาะสม ประเทศไทยต้องมีการ เตรียมความพร้อมในด้านนี้เป็นอย่างยิ่งการลงทุนในมนุษย์เป็นการลงทุนด้านทรัพยากรที่สําคัญ

1. โดยเฉพาะด้านการบริการทางการแพทย์ทางทันตกรรมทางการพยาบาลเนื่องจากมีการลงทุนที่สูงและมีการอบรมขั้นสูงต่อเนื่องโดยต้องอาศัยร่างกายมนุษย์ประกอบการศึกษาและอบรม

2. การพัฒนาทางเทคโนโลยีทางการแพทย์และยาต่างก็มีต้นทุนที่สูงทั้งการลงทุนในภาคเอกชนและรัฐอัตราค่าตอบแทนในภาครัฐที่ไม่สมดุลไม่สะท้อนต่อตลาดแรงงาน จึงเป็นประเด็นที่ทําให้เกิดความขัดแย้งในสังคมในปัจจุบัน

3. ปัญหาที่เกิดขึ้นคือทรัพยากรด้านสุขภาพของประเทศมีอยู่อย่างจํากัดและปัจจุบันบุคลากรสาธารณสุขโดยเฉพาะอย่างยิ่ง บุคลากรทางการแพทย์และพยาบาลมีความขาดแคลนในภาพรวม อีกทั้งมีการ กระจายตัวทางภูมิศาสตร์ที่ไม่เหมาะสมนอกจากนี้การผลิตบุคลากรทางการแพทย์และพยาบาลเกือบทั้งหมดอยู่ในภาครัฐซึ่งได้รับงบประมาณจากเงินภาษีของแผ่นดิน บุคลากรทางการแพทย์และพยาบาลจึงมีพันธกิจหลักในการให้บริการสุขภาพเพื่อประชาชนคนไทยเป็นสําคัญ

4. การเป็นศูนย์กลางสุขภาพนานาชาติถึงแม้อาจมีส่วนทําให้แพทย์ไทยที่ทํางานต่างประเทศจํานวนหนึ่งกลับเข้ามาทํางานในประเทศไทยขณะเดียวกันนโยบายนี้และระบบที่เป็นอยู่ทําให้เกิดการดึงแพทย์จากโรงพยาบาลรัฐโดยเฉพาะอย่างยิ่งโรงพยาบาลที่เป็นโรงเรียนแพทย์ไปสู่สถานพยาบาลในภาคเอกชน ส่งผลกระทบต่อการรักษาพยาบาลการเรียนการสอน และภาระงานในภาครัฐ

5. ในปัจจุบันการเปิดเสรีทางการศึกษาและบริการสุขภาพและการย้ายถิ่นให้บริการทางวิชาชีพระหว่างไทยกับประเทศสมาชิกอาเซียนอื่นยังมีขอบเขตจํากัดมีการกีดกันภายในประเทศ นอกเหนือจากอุปสรรคในประเทศปลายทางด้านภาษาและปัญหาเกี่ยวกับข้อตกลงในสัญญาว่าจ้างในขณะเดียวกันสําหรับในประเทศไทยในฐานะประเทศต้นทางนั้นความต้องการในการโยกย้ายถิ่นฐานไปให้บริการในต่างประเทศยังไม่ใช่กระแสหลักเนื่องด้วยเหตุผลหลายประการ ซึ่งที่สําคัญได้แก่ความต้องการทํางานเพื่อรับใช้คนในชาติยังเป็นจุดยืนสําคัญของบุคลากรทั้งทางการแพทย์และพยาบาลความรู้สึกว่าไม่ต้องการแยกจากครอบครัว ข้อจํากัดด้านความรู้ความสามารถในการปฏิบัติงานนอกประเทศและอายุ ทั้งนี้หลักสูตรและเงื่อนไขภายหลังจบการศึกษาของไทยยังไม่เอื้อต่อการแข่งขันเชิงธุรกิจการศึกษาระดับภูมิภาคเมื่อเปรียบเทียบกับประเทศคู่แข่งสําคัญอย่างสิงคโปร์หรือฟิลิปปินส์

6. นักศึกษาแพทย์และพยาบาลวิชาชีพเห็นว่าในการเตรียมความพร้อมที่เหมาะสมรองรับการเปิดเสรีการค้าบริการของอาเซียนและการเป็นศูนย์กลางสุขภาพนานาชาติของไทยนั้นต้องการผู้รู้มาชี้แนะช่องทางให้เห็นโอกาสที่ดีกว่าของความเป็นนานาชาติและการพัฒนาภาษาอังกฤษของผู้ให้บริการวิชาชีพนี้

Description: https://sites.google.com/site/sandiisungrung122/_/rsrc/1316165960416/home/4b106cf4904f49db61fe90adf.jpg

4. ธุรกิจโทรศัพท์เคลื่อนที่ ปัจจุบันผู้ใช้โทรศัพท์เคลื่อนที่ทุกระบบมีอยู่ประมาณ 88.3 ล้านเลขหมายความต้องการการใช้งานด้านอินเตอร์เน็ตของผู้บริโภคเพิ่มสูงขึ้นรวมถึงการประมูลคลื่นความถี่ 900 และ 1800 เมกะเฮิร์ต (4G) ที่กำลังจะเกิดขึ้น(การแข่งขันแย่งชิงส่วนแบ่งทางการตลาดจะเกิดขึ้นอย่างดุเดือด)

จุดแข็งของกลุ่มสายงานอาชีพไทย ที่เป็นที่ต้องการในตลาดโลก อาทิ1. การบริการ 2. นักครีเอทีฟคนไทยเด่นเรื่องสร้างสรรค์ ตัวอย่างเช่น การครีเอทีฟด้านการตลาด อาทิ โปรโมชันหรือแคมเปญต่างๆ 3. นักจัดดอกไม้ในโรงแรมเพราะคนไทยมีฝีมือประณีต งานละเอียด เป็นที่ยอมรับจาก

บุคลากรที่ตลาดต้องการยังคงเป็นผู้ที่มีความรู้ในสายคณิตศาสตร์วิทยาศาสตร์ และวิศวกรรมศาสตร์ ซึ่งยังผลิตไม่ทันความต้องการ "พนักงานขาย" เป็นอีกอาชีพที่ตลาดแรงงานต้องการมากแต่ถ้าจะขายสินค้าเกี่ยวกับเครื่องยนต์กลไกก็ต้องการผู้มีความรู้เฉพาะทางอย่างวิศวกรรมเพื่อนำมาผสมผสานกับทักษะการสื่อสารให้ดียิ่งขึ้น เช่น เอ็กซอนโมบิล (ExxonMobil)ยักษ์ใหญ่พลังงานของโลก ที่มองหาคนมีความสามารถ 3ภาษา ทั้งไทย อังกฤษ และภาษาที่สามเพื่ออยู่ในเซอร์วิส เซ็นเตอร์ บริการลูกค้านานาประเทศทั่วโลก

Description: //www.marinerthai.net/pic-news3/2013-06-01_003.jpg

5. การบริการด้านโลจิสติกส์ เช่น ขนส่ง การเก็บรักษาสินค้าและการตรวจสอบคุณภาพสินค้า รวมทั้งพิธีการศุลกากรสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติจึงได้แบ่งโครงสร้างของบริการลอจิสติกส์ไทย ไว้เป็น 5 ประเภท ได้แก่ การขนส่งสินค้าการจัดเก็บสินค้า บริการด้านพิธีการต่างๆบริการงานลอจิสติกส์ที่เกี่ยวข้องกับการให้บริการเสริมและบริการพัสดุและไปรษณียภัณฑ์

ปัจจุบันพบว่าผู้ประกอบการธุรกิจลอจิสติกส์ในประเทศไทย มี 5 กลุ่มหลัก ได้แก่ ผู้ประกอบการขนส่งทางบก ขนส่ง ทางน้ำขนส่งทางอากาศ ตัวแทนออกของและตัวแทนขนส่ง และคลังสินค้า รวมกว่า 10,000 บริษัท และกว่าร้อยละ 80 เป็นผู้ประกอบการขนาดย่อมและขนาดกลางหรือSMEs ส่วนผู้ให้บริการลอจิสติกส์แบบครบวงจรมักเป็นบริษัทข้ามชาติ หรือผู้ประกอบการไทยรายใหญ่ๆ เท่านั้นและแม้ผู้ประกอบธุรกิจบริการลอจิสติกส์ของไทยจะมีจุดแข็งที่ความยืดหยุ่นในการให้บริการแต่เมื่อเปรียบเทียบต้นทุนลอจิสติกส์ของไทยซึ่งมีตัวเลขเฉลี่ยประมาณ 17.9% ของผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ ก็ยังสูงกว่าประเทศคู่แข่งโดยเฉพาะอย่างยิ่งสิงคโปร์และมาเลเซีย
ผู้ประกอบการมีพัฒนาการในการบริหารจัดการโลจิสติกส์ที่ทันสมัยมากขึ้นเนื่องมาจากแรงกดดันและการแข่งขันจากภายนอกทำให้ผู้ประกอบการจำเป็นต้องพัฒนาตนเองให้สามารถแข่งขันได้แต่การพัฒนาเห็นชัดเฉพาะในส่วนโลจิสติกส์ภาคอุตสาหกรรมภาคการเกษตรยังไม่ปรับปรุงเท่าใดนัก ซึ่งผู้ประกอบการไทยมีจุดอ่อนสำคัญคือยังขาดจิตสำนึก (Spirit) ในการทำงานร่วมกันในห่วงโซ่อุปทาน

หน่วยงานทั้งภาครัฐและภาคเอกชนได้จัดการฝึกอบรมอย่างต่อเนื่องแต่การพัฒนากำลังคนในภาพรวมที่ผ่านมาเพิ่มขึ้นในเชิงปริมาณมากกว่าคุณภาพจึงยังขาดแคลนแรงงานที่มีคุณภาพและสามารถปฏิบัติงานได้จริงทั้งในระดับปฏิบัติการและหัวหน้างานหลักสูตรการศึกษาและอบรมไม่มีคุณภาพและยังไม่สอดคล้องกับความต้องการของภาคธุรกิจรวมทั้งขาดประสิทธิภาพในการเผยแพร่และประยุกต์ใช้ผลงานวิจัยเพื่อการนำไปใช้ประโยชน์ในภาคธุรกิจและสนับสนุนการกำหนดนโยบายของภาครัฐ

สรุป

1. แรงงานของไทยเป็นแรงงานที่มีฝีมือเป็นที่ต้องการของภูมิภาคแต่ยังขาดทักษะด้านการสื่อสารและการรับรู้วัฒนธรรมชาติอื่นในการทำงานนอกประเทศ

2. บัณฑิตที่จบมาระดับปริญญาตรีของไทยมักไม่มีขีดความสามารถเฉพาะทางรวมถึงขาดทักษะด้านภาษาต่างประเทศในการสื่อสาร

3. ผู้เรียนจบสายวิชาชีพในระดับปวช. ปวส. มีความรู้เฉพาะทางและมีแนวโน้มที่จะได้รับการว่าจ้างจากชาติอื่นในภูมิภาค

ข้อเสนอแนะ

1. ควรจัดการเรียนการสอนการฝึกอบรมในด้านการสื่อสารภาษาต่างประเทศในลักษณะการสื่อสาร 4 แบบ คือ ฟัง พูด อ่านเขียน และให้เน้นที่ทักษะการฟังและการพูดและเนื้อหาที่นำมาใช้ควรเป็นสถานการณ์ที่จะเกิดขึ้นในลักษณะการดำเนินชีวิตต่าง ๆรวมถึงในการทำงานในอุตสาหกรรมนั้น ๆ

2. ควรเน้นการเรียนการสอนในด้านการทำงาน หรือ ฝึกงานระหว่างเรียนจาก 1 เทอมเป็น 1 ปี เพื่อให้นักศึกษาสามารถสร้างเสริมทักษะในการทำงานและสามารถทำงานได้จริงในสาขาที่ตนจบมา

3. ควรมีการจัดระดับช่างวิชาชีพที่จบระดับ ปวช. หรือ ปวส. และให้กำหนดฐานเงินเดือนเริ่มต้นตามระดับความสามารถเพื่อดึงดูดให้คนมาเรียนในสายวิชาชีพมากขึ้นเพราะมีความขาดแคลนบุคลากรในสายวิชาชีพเป็นจำนวนมากกว่า 80,000คน




Create Date : 27 มกราคม 2559
Last Update : 27 มกราคม 2559 14:51:06 น. 0 comments
Counter : 1470 Pageviews.

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 
space

สมาชิกหมายเลข 972112
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 2 คน [?]






space
space
[Add สมาชิกหมายเลข 972112's blog to your web]
space
space
space
space
space