 |
 |
 |
 |
 |
|
 |
 |
|
| 1 | 2 | 3 | 4 |
5 | 6 | 7 | 8 | 9 | 10 | 11 |
12 | 13 | 14 | 15 | 16 | 17 | 18 |
19 | 20 | 21 | 22 | 23 | 24 | 25 |
26 | 27 | 28 | 29 | 30 | |
|
|
|
|
 |
26 พฤศจิกายน 2549 |
|
 |
 |
|
 |
|
|
|
 |
 |
 |
 |
|
 |
 |
 |
 |
|
เราจะเอาจริงเรื่องวินัย และคุณธรรมของคนในชาติกันหรือยัง?
คำนำ เมื่อเข้ามาในบล็อกนี้แล้วจะเห็นว่าจะมีการเปลี่ยนแปลงหน้าแรกไปทุกวันอาทิตย์ โดยจะเลือกเรื่องที่เก็บไว้ในคลังความรู้นี้นำมาขึ้นเป็นหน้าแรก
ถ้าสนใจข่าวเดิมที่เคยขึ้นเป็นหน้าแรก หรือ จะอ่านข่าวเรื่องอื่นๆ เพิ่มสามารถเข้ามาคันหาเองได้ ขอเชิญคลิกเข้ามาดูบล็อกทางด้านซ้ายมือและลิงค์ทางด้านขวามือของท่านด้วย จะมีเนื้อหาอีกมากมาย ขอเชิญเข้ามาเลือกดูได้
หมายเหตุได้เก็บสะสมข่าวไว้มากหลายเรื่อง เพื่อนำมาใช้อ้างอิงได้ถ้าวันนี้ยังไม่ใช้วันหน้าเกิดนึกถึงจะนำมาอ้างอิงจะได้เข้ามาค้นหา
"เราจะเอาจริงเรื่องวินัย และคุณธรรมของคนในชาติกันหรือยัง?"
โดย สมชัย วุฑฒปรีชา อดีตปลัดกระทรวงและรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ จาก คอลัมภ์ กระแสทรรศน์ น.ส.พ.มติชนรายวัน วันเสาร์ ที่ 25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2549 ปีที่ 29 ฉบับที่ 10486
ปัจจุบันมีปัญหาในเรื่องวินัย และคุณธรรมของคนในชาติค่อนข้างมาก ทั้งในระดับเยาวชน คนหนุ่มสาว และประชาชนโดยทั่วไป รวมทั้งปัญหาการทะเลาะวิวาทของนักศึกษาอาชีวะ ซึ่งมีเรื่องรุนแรงค่อนข้างบ่อย
รัฐบาลชุดที่แล้วมีแนวความคิด ส่งเด็กบัญชีดำไปรับการอบรมจากทางกองทัพ ในรูปของโรงเรียนวิวัฒน์พลเมืองเพื่อที่จะแก้ไขและบรรเทาปัญหาเรื่องวินัย, ความประพฤติ, ความรุนแรง และการทะเลาะวิวาทซึ่งไม่ได้ผลมากนัก
รัฐบาลปัจจุบันได้เน้นนโยบายด้านคุณธรรมเป็นอย่างมาก ดังนั้นในโอกาสนี้ ขอเสนอแนวความคิดที่จะแก้ไขเรื่องวินัยและคุณธรรมของคนในชาติ

ดังต่อไปนี้
1.ใช้กิจกรรมลูกเสือเป็นเครื่องมือในการอบรมบ่มนิสัย ของนักเรียนในระดับประถมปีที่ 1 ถึงมัธยมปีที่ 3 เพราะนักเรียนทุกคนทั้งชายและหญิง ถูกบังคับให้เรียนวิชาลูกเสืออยู่แล้วตั้งแต่ ป.1 ถึง ม.3 แต่เป็นการเรียนที่ไม่ได้เอาจริงเป็นส่วนใหญ่ ทั้งผู้เรียน ผู้สอน และผู้บริหาร ถ้าหาทางปรับปรุงการเรียนการสอนวิชาลูกเสือ โดยมุ่งเน้นให้นักเรียนทุกคนเป็นลูกเสือทั้งกายและใจ โดยมีศีลของลูกเสือ (คำปฏิญาณและกฎของลูกเสือ) เป็นแนวทางการดำเนินชีวิต ถ้าทำได้จะเป็นการสร้างคุณธรรม ระเบียบวินัยให้กับนักเรียนเป็นอย่างมาก
2.ในระดับมัธยมปลาย, อาชีวศึกษา (ปวช. และ ปวส.) ตลอดจนถึงระดับอุดมศึกษา ให้นักเรียนและนักศึกษาทุกคน (ทั้งชายและหญิง) ต้องเรียนวิชารักษาดินแดน โดยเปลี่ยนหลักการจากเรียนรักษาดินแดนเพื่อหนีทหาร เป็นเรียนรักษาดินแดนเพื่อเตรียมเป็นกำลังสำรองที่มีคุณภาพของชาติ
สำหรับนักศึกษาหญิงอาจปรับหลักสูตรให้ต่างจากเพศชายบ้าง ซึ่งถ้าคุณภาพถึงระดับที่ต้องการ ทางทหารควรลดกำลังทหารประจำการลงได้ส่วนหนึ่ง วินัยเหล็กของรักษาดินแดนจะช่วยสร้างวินัยให้กับคนหนุ่มสาวและการฝึกร่วมกันเป็นเวลานาน จะแก้ปัญหาการทะเลาะวิวาทระหว่างสถาบันการศึกษา ส่วนปัญหาครูฝึกที่ไม่เพียงพอของกรมการรักษาดินแดนนั้นอาจเสริมกำลังฝึกโดยกองทัพภาคทั่วประเทศก็น่าจะทำได้
3.ในด้านคุณธรรมของเยาวชน และบุคคลทั่วไป ขอฝากข้อคิดไว้ 2 ประการ คือ
3.1 ใช้การศึกษาพื้นฐานในระดับการศึกษาภาคบังคับ (ป.1-ม.3) เป็นเบ้าหล่อหลอมคุณธรรมและวัฒนธรรมที่ต้องการให้กับเยาวชนในชาติ เพราะเด็กไทยทุกคนจะต้องเข้าสู่เบ้าหล่อหลอมนี้ ในฐานะที่เบ้าหล่อหลอมนี้เป็นการศึกษาภาคบังคับของเด็กไทยทุกคน ถ้าประเทศต้องการพลเมืองไทยในอนาคตให้มีคุณภาพ คุณธรรม วัฒนธรรมอย่างไร ก็จะต้องทำให้สำเร็จในระหว่างที่เด็กไทยเหล่านี้อยู่ในเบ้าหล่อหลอมของชาติ
3.2 สำหรับประชาชนทั่วไป โดยเฉพาะอย่างยิ่งประชาชนที่เป็นพุทธศาสนิกชน ซึ่งมีจำนวนสูงถึง 95% จะต้องหาวิธีการให้พุทธศาสนิกชนเหล่านี้เป็น
พุทธในทางปฏิบัติมากกว่าเป็นพุทธตามสำมะโนครัว
ภารกิจนี้ถ้าได้ปรึกษากับมหาเถรสมาคม เพื่อให้มีการกำหนดนโยบายเรื่องนี้ให้เป็นภารกิจหลักของวัดทุกวัดทั้งประเทศ โดยแต่ละวัดจะต้องจัดทำพื้นที่ที่วัดต้องรับผิดชอบ (Area coverage)
ภายในพื้นที่จะต้องมีข้อมูลเกี่ยวกับคุณธรรมของคนแต่ละกลุ่มอายุ (วัยเด็ก, วัยรุ่น, วัยสูงอายุ)
ภายในพื้นที่จะต้องกำหนดเกณฑ์การประเมินความสำเร็จในการยกคุณธรรมของประชาชนในพื้นที่เป็นเกณฑ์สำคัญสูงสุด โดยกำหนดแนวทางดำเนินการให้วัดทุกวัดเข้าไปทำและดำเนินกิจกรรมกับประชาชนในพื้นที่ โดยให้ความสำคัญกับกิจกรรมในเชิงรุกมากกว่าการตั้งรับที่วัด
ส่วนความสำเร็จในด้านอื่นควรเน้นให้ความสำคัญรองลงไปกว่าความสำเร็จในการยกระดับคุณธรรมของประชาชนในพื้นที่ที่วัดรับผิดชอบ ของดีอีกอย่างหนึ่งที่ควรจะฟื้นฟูเอาจริงเอาจัง และนำมาเสริมกิจกรรมของวัดและสถาบันศาสนา คือ
กิจกรรมลูกเสือชาวบ้านซึ่งมีจำนวนรวม 5 ล้านคนในปัจจุบัน ถ้าหาทางใช้การฝึกลูกเสือชาวบ้านเป็นการสร้างวินัยและคุณธรรมของคนในชาติ ก็น่าจะเป็นยุทธศาสตร์ที่ดีอีกอย่างหนึ่ง
ความคิดเห็นที่เสนอมานี้ก็โดยยึดหลักว่าทั้งกิจกรรมลูกเสือ, วิชารักษาดินแดน, การจัดการศึกษาพื้นฐาน, พุทธศาสนาและลูกเสือชาวบ้านเป็นของดีที่เรามีอยู่แล้วในชาติ ถ้ากำหนดให้นำสิ่งเหล่านี้มาเป็นยุทธศาสตร์ของชาติ และหาวิธีการที่จะนำยุทธศาสตร์นี้ไปสู่ความสำเร็จก็น่าจะแก้ปัญหา และเป็นประโยชน์ต่อชาติ
Create Date : 26 พฤศจิกายน 2549 |
Last Update : 21 ธันวาคม 2549 15:08:25 น. |
|
2 comments
|
Counter : 1256 Pageviews. |
 |
|
|
โดย: ผู้อยากให้ประเทศเจริญรุ่งเรือง (samrotri ) วันที่: 26 พฤศจิกายน 2549 เวลา:22:11:34 น. |
|
|
|
โดย: ผู้อยากให้ประเทศเจริญรุ่งเรือง (samrotri ) วันที่: 26 พฤศจิกายน 2549 เวลา:22:15:51 น. |
|
|
|
| |
|
|
 |
 |
 |
 |
|
|
มีชาวนาคนหนึ่งจำชื่อไม่ได้แล้ว ต้องการช่วยชาวบ้านให้พ้นความตาย ได้นำชาวบ้านให้พัฒนาตนเอง ให้เป็นคนมีคุณภาพ มาร่วมแรงร่วมใจกัน ปลูกพืชอาหาร น่าจะเป็น"มันภูเขา" ที่สามารถไปปลูกได้บนภูเขา
โดยปลุกใจนำชาวบ้านขึ้นเขาไปปลูกต้นมัน จนมีมัน เป็นอาหารให้ทานกันทั้งหมู่บ้านจนพ้นจากความตาย และ พัฒนาต่อเรื่องอื่นๆ จนความเป็นอยู่ของชาวบ้านดีขึ้น
รัฐบาลเกาหลีใต้ เห็นหมู่บ้านนี้ มีผู้นำพัฒนาชาวบ้านให้มีคุณภาพ ทำให้คนในหมู่บ้านมีความเป็นอยู่ดีขึ้น จึงนำมาทำเป็นหมู่บ้านนำร่อง ให้หมู่บ้านอื่นๆ เข้ามาเรียนรู้ นำสู่การปฏิบัติด้วยการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ จนขยายเป็นเกือบทั้งประเทศ
ทำให้ปัจจุบันเกาหลีใต้กลายเป็นประเทศที่ร่ำรวยมีรายได้ประชาชนเพิ่มขึ้น ความเป็นอยู่ของประชาชน ดีขึ้น จำได้ว่าเป็นโครงการ"แซมมูอวล อันดอง"หรือเปล่าไม่แน่ใจ ด้วยโครงการพัฒนาทรัพยากรบุคคล ให้ดี ทำให้ประเทศเกาหลีใต้ กลายเป็นประเทศที่หลุดพ้นจากความยากจน ประชาชนมีความสุขขึ้น
ถ้าประเทศเรา รัฐบาลใดก็ตามถ้านำแนวทางที่ท่านสมชัย วุฑฒิปรีชา อดีตปลัดกระทรวงและรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการเสนอข้างต้นมาปฏิบัติจริง ประเทศเราก็คงไม่แพ้ ประเทศเจริญแล้วได้ไม่ยาก จากการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ร่วมกับการพัฒนาทรัพยากร(4M-Man.Material,Money,Management)อื่นๆคู่ไปด้วย