 |
 |
 |
 |
 |
|
 |
 |
|
| 1 | 2 | 3 | 4 |
5 | 6 | 7 | 8 | 9 | 10 | 11 |
12 | 13 | 14 | 15 | 16 | 17 | 18 |
19 | 20 | 21 | 22 | 23 | 24 | 25 |
26 | 27 | 28 | 29 | 30 | |
|
|
|
|
 |
14 พฤศจิกายน 2549 |
|
 |
 |
|
 |
|
|
|
 |
 |
 |
 |
|
 |
 |
 |
 |
|
ความสุขมากที่สุดอันดับแรกจากการสำรววจ คือ การมีชีวิตครอบครัวไม่แตกแยก
กรุงเทพธุรกิจออนไลน์ :30 ตุลาคม 2549 16:41 น.
กรมสุขภาพจิต สำรวจความสุขคนไทยปี 2548 พบ 10 อันดับที่ทำให้คนไทยมีความสุขมากที่สุด

อันดับแรกคือ การมีชีวิตครอบครัวไม่แตกแยก
พบชาวอีสานมีความสุข โดยเฉพาะที่จังหวัดมหาสารคาม ส่วนในภาพรวมพบความสุขคนไทยในปี 2548 ลดลงจากปี 2546 เตรียมสำรวจความสุขคนไทยหลังมีคณะปฏิรูปการปกครองฯ
นพ.มล.สมชาย จักรพันธุ์ อธิบดีกรมสุขภาพจิต แถลงผลการสำรวจความสุขของคนไทยปี 2548 ในเขตกรุงเทพ และภูมิภาค 19 เขตราชการ จำนวน 3,340 ตัวอย่าง โดยใช้แบบประเมินดัชนีชี้วัดความสุขคนไทยของกรมสุขภาพจิต 15 ข้อ
พบว่าคนไทยส่วนใหญ่มีความสุขในระดัปกติ และ
เพศชายมีความสุขในระดับมาก มากกว่าเพศหญิง
โดยเพศชายมีความสุขในระดับมากร้อยละ 47.30
เพศหญิงมีความสุขในระดับมากร้อยละ 24.49
เนื่องจากเพศหญิงมีเรื่องจุกจิกให้ต้องคิดมากกว่าเพศชาย ทั้งในเรื่องการทำงานนอกบ้าน การทำงานบ้าน การเลี้ยงดูบุตร และ
ผู้ที่แต่งงานแล้วมีความสุขมากกว่าคนโสด
เมื่อแบ่งตามภาคพบว่า
ภาคอีสานมีความสุขมากที่สุด
ภาคใต้มีระดับความสุขน้อยที่สุด
จังหวัดที่มีความสุขมากที่สุด คือ มหาสารคาม การที่คนอีสานมีความสุขมากที่สุด อาจจะเกิดจากการที่ภาคอีสานเป็นพื้นที่ที่เน้นความรัก ความเข้าใจ และความอบอุ่นในครอบครัว ซึ่งคนอีสานจะมีการช่วยเหลือเกื้อกูลกัน เป็นห่วงเป็นใยในครอบครัวสูงมากจึงมีความสุขมากกว่าภาคอื่น แม้จะยากจนกว่าภาคอื่น นพ.มล.สมชายกล่าว
นพ.ม.ล.สมชาย กล่าวว่า จากผลการสำรวจยังพบว่า กลุ่มที่มีความสุขน้อยที่สุด คือ
กลุ่มคนว่างงานร้อยละ 52.22
นอกจากนี้ เมื่อถามถึงความคิดเห็นของประชาชนเกี่ยวกับการนำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้ในชีวิตประจำวัน พบประชาชนส่วนใหญ่นำหลักเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้บ้างเป็นบางโอกาสร้อยละ 62.49 นำไปใช้เป็นประจำร้อยละ 27.40 และไม่เคยนำไปใช้เลยร้อยละ 8.62 เมื่อถามความคิดเห็นของประชาชนต่อระดับความสุขที่ได้รับหลังจากนำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้ พบประชาชนที่นำไปใช้ในชีวิต ประจำวัน กลุ่มอายุที่นำไปใช้ในชีวิตประจำวันมากที่สุด คือกลุ่มอายุ 55-59 ปี รองลงมา เป็นกลุ่มอายุ 15-19 ปี
นพ.ม.ล.สมชาย กล่าวว่า จากผลการวิจัยเบื้องต้นพบว่าระดับความสุขของคนไทยที่สำรวจในปี 2548 น้อยกว่าระดับความสุขของคนไทยที่สำรวจเมื่อปี 2546 แต่ลดลงไม่มากนัก ทั้งนี้ เกิดจากปัจจัยรอบข้างเปลี่ยนไป ในปี 2546 เป็นปีที่เริ่มต้นรัฐบาลทักษิณ คนมีความหวัง แต่หลังจากนั้นปี 2547 เป็นการเริ่มต้นกระบวนการสนธิ ลิ้มทองกุล เศรษฐกิจเริ่มชะลอตัว มีเรื่องโน้นเรื่องนี้ทำให้คนมีความไม่สบายใจ เห็นได้ชัดเจนว่าระดับความสุขมีทั้งปัจจัยภายนอกและภายในมาเกี่ยวข้องกัน
ขณะนี้กรมสุขภาพจิตอยู่ระหว่างการเตรียมการเพื่อสำรวจความสุขของคนไทยในปี 2550 เพื่อเปรียบเทียบดัชนีชี้วัดความสุขอีกครั้งในระดับชาติ เพื่อเปรียบเทียบว่าความสุขของคนไทยภายหลังจากที่คณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นพระประมุข แล้วคนไทยมีความสุขมากน้อยแค่ไหน
นพ.ม.ล.สมชาย กล่าวว่า สิ่งที่ทำให้คนไทยมีความสุข 10 อันดับแรก คือ
1.การมีชีวิตครอบครัวที่ไม่แตกแยก
2. มีเงินพอใช้ไม่เป็นหนี้
3.การได้อยู่กับคนที่รัก
4.การไม่มีโรคภัยไข้เจ็บ แม้ว่าจะคิดถึงเรื่องสุขภาพมาก แต่คนยังนึกกถึงเป็นเรื่องรองจากปัจจัยอื่น ๆ
5.เหตุการณ์บ้านเมืองสงบสุข เมื่อปลายปี 2548 เริ่มมีเหตุรุนแรง อาจทำการสำรวจอีกครั้งภายหลังมีคณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ (คมช.)
6.เป็นที่ยอมรับของคนรอบข้าง
7.การได้ช่วยเหลือเพื่อนมนุษย์
8.การมีสภาพแวดล้อมที่ดี ปัจจัยนี้อยู่ในอันดับท้าย ๆ แสดงว่า ให้ความสำคัญไม่มากนัก กรณีภูฏาน คำนึงถึงสิ่งแวดล้อมในอันดับต้น ๆ
9.การมีชีวิตปลอดภัยในสังคม และ
10.สังคมมีคุณธรรมจริยธรรม
10 อันดับนี้ เป็นความสุขที่เกิดจากอารมณ์และความรู้สึก ไม่ได้มีตัวบ่งชี้ถึงสมรรถภาพความเข้มแข็งของจิตใจที่จะเผชิญกับอุปสรรคต่าง ๆ ที่ผ่านเข้ามาในชีวิตให้ผ่านพ้นไปได้อย่างมีความสุข
การที่คนเราจะมีความสุข ต้องมีความเข้มแข็งทางจิตใจ 4 ด้าน คือ
1.สภาพจิตใจ
2.สมรรถภาพทางจิตใจ
3.คุณภาพจิตใจ และ
4.ปัจจัยแวดล้อม
ซึ่งความเข้มแข็งทางจิตใจไม่ได้เกิดขึ้นเอง ต้องใช้เวลาในการฝึก ความฉลาดทางอารมณ์หรืออีคิวเป็นสิ่งสำคัญ รู้จักเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ รอคอย หากการเลี้ยงดูบุตรหลานในปัจจุบันไม่ได้ฝึกฝนความเข้มแข็งของจิตใจ เมื่อประสบปัญหาหรืออุปสรรคในชีวิต ก็เปรียบเหมือนคนที่ขาดภูมิต้านทานโรค อาจทำให้เกิดการตัดสินใจที่ผิดพลาด หรือเสียโอกาสที่ดีในชีวิต นพ.ม.ล.สมชายกล่าว ดังนั้น กรมสุขภาพจิต จึงได้จัดบริการฝึกความเข้มแข็งทางจิตใจให้ประชาชนผู้สนใจได้สามารถฝึกทักษะหรือเก็บสาระความรู้ที่เป็นประโยชน์ในการดำเนินชีวิต ในงานสัปดาห์สุขภาพจิตแห่งชาติจะจัดขึ้นระหว่างวันที่ 1-3 พฤศจิกายนนี้ที่กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข
Create Date : 14 พฤศจิกายน 2549 |
Last Update : 14 พฤศจิกายน 2549 21:16:41 น. |
|
0 comments
|
Counter : 550 Pageviews. |
 |
|
|
| |
|
|
 |
 |
 |
 |
|
|