แพทย์เวชศาสตร์ครอบครัว และ เวชศาสตร์ป้องกัน ร.พ.พนมสารคาม อ.พนมสารคาม จ.ฉะเชิงเทรา
<<
มกราคม 2550
 123456
78910111213
14151617181920
21222324252627
28293031 
 
14 มกราคม 2550
 
 

"สามเหลี่ยมเขยื้อนภูเขา"สามารถแก้ปัญหาสังคมที่ยากๆ เมื่อทำตามแนวทาง

"สามเหลี่ยมเขยื้อนภูเขา"

เสนอ โดย



ศ.น.พ.ประเวศ วะสี

มาจากการ ค้นหา "สามเหลี่ยมเขยื้อนภูเขา"จาก google ที่เวบข้างล่าง

//gotoknow.org/blog/ict-today/2297

"ภูเขา" หมายถึง สิ่งยากที่ดูเหมือนเขยื้อนไม่ได้ สามารถ

จัดการให้เขยื้อนได้โดย โครงสร้างสามเหลี่ยม หรือ สาม

มุมเชื่อมกันดังรูป ข้างล่าง



ดังนั้น สามเหลี่ยมเขยื้อนภูเขา ก็หมายถึง การจัดการความ

รู้เพื่อเคลื่อนสิ่งยากโดย การจัดการให้มีการสร้างความรู้

และจัดการให้มีการเรียนรู้ร่วมกัน ที่เรียกว่า "การเรียนรู้ร่วม

กันในการปฏิบัติ" ในการนี้ต้องมี "หน่วยจัดการความรู้ที่

เป็นอิสระ"ที่จัดกระบวนการเรียนรู้ดังกล่าวข้างต้นที่ไม่มีผล

ประโยชน์แอบแฝงของใคร นอกจาก ผลประโยชน์ของ

ส่วนรวมเท่านั้น

ซึ่งสามมุม ประกอบด้วย

มุมที่ 1 การสร้างความรู้ ด้วยการวิจัยเพื่อหาความ

รู้ในการแก้ปัญหาสังคมที่ต้องการ


การวิจัย มี 3 รูปแบบใหญ่ๆ ได้แก่

1.1การวิจัยเชิงพรรณา (Descriptive Research)ได้แก่

การศึกษาปัญหาเชิงบรรยายจากข้อมูลที่ได้มา นำมา

ประมวลเป็นข้อมูลทางสถิติ เพื่อเข้าใจปัญหาได้มากขึ้น

1.2การวิจัยเชิงวิเคราะห์(Analytic Research) ได้แก่ การ

นำข้อมูลเชิงสถิติ จากการวิจัยเชิงพรรณาข้อ 1.1 มา

วิเคราะห์ หาเหตุ-หาผลเพื่อนำมาใช้แก้ปัญหานั้น และ

1.3การวิจัยเชิงทดลอง(Experimental Research)

ได้แก่ การนำเหตุ-ผล จากการวิจัยเชิงวิเคราะห์ข้อ 1.2

มาทำการทดลอง ว่าเป็นไปตามที่วิเคราะห์ หรือไม่ ผลที่ได้

จะนำมาใช้ดำเนินการแก้ปัญหาซึ่งต้องดำเนินการตามวงจร

คุณภาพของเดมมิงส์ PDCA-P-Plan,D-Do,C-Check,,A-

Act

มุมที่ 2 การเคลื่อนไหวทางสังคม

หมายถึงการที่สังคมเข้ามาร่วมเรียนรู้ ร่วมบอกความต้อง

การ นี่คือการจัดการเรียนรู้ ซึ่งต้องแปรความรู้ในมุมที่ 1 ให้

อยู่ในรูปที่สังคมจะเข้าใจได้ง่าย เข้าร่วมได้ เรียกว่าความรู้

เพิ่มอำนาจให้สาธารณะ (empowerment)

ถ้าปราศจากความรู้ที่ถูกต้อง สังคมจะเคลื่อนไปได้ยาก ไม่

มีพลัง หรือเคลื่อนแล้วเพี้ยนไปทางอื่น

โดยมีการรวมตัวกันของผู้มีความรู้ ตามมุมที่ 1.ของ "สาม

เหลี่ยมเขยื้อนภูเขา"นั้น ขึ้นเป็นกลุ่มคน โดยมีผู้นำกลุ่มที่มีความสามารถนำความรู้นั้นให้ออก

มาเป็นการปฏิบัติที่เป็นรูปธรรมได้

มุมที่ 3 อำนาจรัฐ หรือ อำนาจทางการเมือง การ

เมืองเป็นองค์ประกอบที่ขาดไม่ได้ เพราะเป็นผู้ใช้อำนาจ

รัฐ บริหารการใช้ทรัพยากรของรัฐ และเป็นผู้ออกกฎหมายมาบังคับใช้ให้เป็นไปตามความรู้นั้นๆ


สามเหลี่ยมทั้ง 3 มุม จะต้องประกอบกัน ไม่อ่อนมุมใดมุม

หนึ่ง แม้มีนักการเมืองที่ดีเป็น มุมที่3 แต่ปราศจากมุมที่ 1

และมุมที่ 2 ก็ไม่สามารถแก้ปัญหายากๆ ได้ เช่น

ปัญหา หวยบนดิน ประชาชนยังหลงใหลในการพนัน

การยกเลิกหวยบนดิน ยังถูกต่อต้านจากผู้ได้ประโยชน์จาก

หวยบนดิน เป็นต้น

รูปแบบของ "สามเหลี่ยมเขยื้อนภูเขา" สามารถนำไปใช้ใน

ปัญหาเรื่อง และ ระดับต่างๆ ได้ไม่ว่าระดับประเทศ ระดับ

ภูมิภาค ระดับหน่วยงาน ระดับครอบครัว และ ระดับส่วน

บุคคล

ขอยกตัวอย่างระดับหน่วยงาน ที่ทำการรณรงค์

"สร้างสุขภาพทั้งหน่วยงาน" (ย้ายภูเขา)ด้วยการให้เจ้า

หน้าที่ ทั้งหมดออกกำลังกายสัปดาห์ละ3วัน วันละ 30

นาที ตามผลการวิจัย ว่าการออกกำลังกายทำให้สุขภาพ

แข็งแรง(มุมที่1)ได้นำมาใช้ในหน่วยงาน(มุมที่2)ให้คนใน

หน่วยงานออกกำลังกายตามความสมัครใจตามเกณฑ์ข้าง

ต้น ปรากฏว่า เมื่อเวลาผ่านไปคนออกกำลังกาย จะลดลง

เรื่อยๆ แต่เมื่อหัวหน้าหน่วยงาน นำสามเหลี่ยมเขยื้อนภูเขา

มาใช้(มุมที่3)มาใช้โดยการออก ระเบียบของหน่วยงานว่า

ถ้าออกกำลังกายไม่ถึง80%ของกิจกรรมจะไม่ได้รับการ

พิจารณาความดีความชอบขั้นพิเศษ จะไม่ได้รับโบนัส จาก

การทำงานเท่าผู้ทำกิจกรรมตามเกณฑ์

ผลปรากฏว่าเมื่อใช้มุมที่ 3 นี้มาบังคับทำให้คนในหน่วย

งานออกกำลังกายตามเกณฑ์ 100% ได้ เป็นต้น






 

Create Date : 14 มกราคม 2550
3 comments
Last Update : 14 เมษายน 2550 18:33:17 น.
Counter : 16263 Pageviews.

 





เข้ามาทักทายค่ะ มีความสุขมาก ๆ น่ะค่ะ


 

โดย: icebridy 14 มกราคม 2550 19:44:51 น.  

 

ตัวอย่างการนำสามเหลี่ยมเขยื้อนภูเขา ที่ กรุงเทพมหานคร นำมาใช้ ในการแก้ปัญหาน้ำเสีย ใน พื้นที่ กทม.

ข่าวจาก น.ส.พ.ไทยรัฐ
กทม.ยันเก็บแน่-ค่าน้ำเสีย [เสาร์ที่ 17 มี.ค. 50 - 03:51]

นายชนินทร์ รุ่งแสง โฆษกของกรุงเทพมหานคร เปิดเผยถึงการบริหารจัดการน้ำเสียในพื้นที่ กทม.ว่า ปัจจุบัน กทม.มีปริมาณน้ำเสียที่ปล่อยจากบ้านเรือน สถานประกอบการ จำนวน 2.6 ล้านลูกบาศก์เมตรต่อวัน ความสาสมารถในการบำบัดน้ำเสียของกรุงเทพมหานคร ประมาณ 992,000 ลบ.ม.ต่อวัน รวมกับระบบบำบัดน้ำเสียจากการเคหะแห่งชาติจำนวน 25,700 ลบ.ม.ต่อวัน แล้วคิดเป็นปริมาณน้ำเสียรวมที่บำบัดได้ 1,017,700 ลบ.ม.ต่อวัน หรือประมาณ 40% ของปริมาณน้ำเสียที่เกิดขึ้นในพื้นที่กรุงเทพมหานครทั้งหมด

ขณะนี้กรุงเทพมหานครมีโรงควบคุมคุณภาพน้ำ เปิดระบบบำบัดน้ำเสียแล้วจำนวน 7 แห่ง หรือประมาณ 40% ของน้ำเสียทั้งหมด ซึ่งจากการติดตามประเมินการบำบัดน้ำเสียพบว่าคุณภาพน้ำโดยรวมหลังการบำบัดดีขึ้น

แต่ปัจจุบันกรุงเทพมหานครมีอุปสรรคเรื่องค่าใช้จ่ายในการเดินระบบ โดยส่วนใหญ่ เป็นค่ากระแสไฟฟ้า ประมาณเดือนละ 6.7 ล้านบาท ซึ่งในการจัดการค่าใช้จ่ายนี้จะมีการเรียกเก็บค่าธรรมเนียมการบำบัดน้ำเสียในอนาคต เป็นลักษณะผู้ใช้น้ำต้องรับผิดชอบในการปล่อยน้ำเสีย หากใช้มากต้องเสียค่าธรรมเนียมมากด้วย.

โฆษก กทม.กล่าวอีกว่า วิธีการที่กรุงเทพมหานครแก้น้ำเสียเป็นการใช้โรงควบคุมคุณภาพน้ำ รวบรวมน้ำเสียจากแหล่งกำเนิดไปบำบัดให้ได้มาตรฐานก่อนปล่อยลงคลอง โดยเมื่อไม่มีน้ำเสียไหลลงคลองโดยตรง น้ำในคลองจะค่อยๆปรับสภาพให้ดีขึ้น ดังนั้นจึงต้อง ได้รับความร่วมมือจากประชาชนและเจ้าของสถานประกอบการในการรวบรวมน้ำเสียให้ลงสู่ท่อที่ เชื่อมต่อไปยังโรงควบคุมคุณภาพน้ำ ไม่ทิ้งลงคลองโดยตรง ส่วนพื้นที่ใดที่ยังไม่มีระบบบำบัดน้ำเสียจะใช้การรณรงค์ โดยดึงทุกภาคส่วนเข้ามามีส่วนร่วม โดยเฉพาะฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาลแต่ละเขตให้เข้มงวดกับสถานประกอบการต้องบำบัดน้ำเสียก่อนปล่อย บ้านเรือนต้องไม่ทิ้งขยะ สิ่งปฏิกูลลงแหล่งน้ำ ปล่อยน้ำทิ้งลงท่อระบายน้ำ ไม่ปล่อยลงคลองโดยตรง

ทั้งนี้ ในอนาคต กทม.มีโครงการก่อสร้างระบบบำบัดน้ำเสียอีก 3 แห่ง คือ
1. โรงควบคุมคุณภาพน้ำบางซื่อ บำบัดได้ 120,000 ลบ.ม.ต่อวัน ขณะนี้ออกแบบแล้ว อยู่ระหว่างเตรียมการประมูลด้วยระบบ อิเล็กทรอนิกส์
2. โรงควบคุมคุณภาพน้ำคลองเตยบำบัดได้ 48,000 ลบ.ม.ต่อวัน อยู่ระหว่างจ้างที่ปรึกษาและขออนุมัติจาก ครม. ซึ่งหาก 2 แห่งนี้แล้วเสร็จจะสามารถบำบัดน้ำเสียได้ทั้งหมด 600,000 ลบ.ม.ต่อวัน หรือเท่ากับ 68% ของน้ำเสียทั้ง กทม.


 

โดย: samrotri (samrotri ) 18 มีนาคม 2550 12:52:37 น.  

 

ขออธิบาย ตัวอย่าง การนำสามเหลี่ยมเขยื้อนภูเขา ที่ กรุงเทพมหานคร นำมาใช้ ในการแก้ปัญหาน้ำเสีย ใน พื้นที่ กทม.ดังนี้

มุมหนี่งของสามเหลี่ยม คือ ความรู้ว่าการทิ้งขยะ หรือ น้ำเสีย ลงท่อระบายน้ำ จะไหลลงไปสู้ระบบกำจัดน้ำเสีย ก่อนปล่อยลงสู่แม่น้ำลำคลอง ทุกคนรู้แล้ว

มุมอีกมุมหนึ่ง คือ การที่ประชาชนเลือก คนมาบริหาร กรุงเทพมหานคร เป็นมุมที่สอง การรวมกลุ่มกันเป็นองค์กร เมื่อ รู้ความรู้ข้างต้น แล้ว ต้องกำจัดน้ำเสีย ปรับให้เป็นน้ำดี ก่อนปล่อยออกสู่แม่น้ำลำคลอง โดย กรุงเทพมหานคร รับผิดชอบ

มุมที่สาม การออกกฏหมายมาบังคับ เป็นมุมที่สำคัญ ของสามเหลี่ยม ถ้าขาดไป ไม่ว่ามุมใดมุมหนึ่งก็ตาม จะไม่สามารถแก้ปัญหาน้ำเสียได้ จึงต้องออกกฏหมาย เก็บค่าบำบัตน้ำเสีย ตามที่ผู้ส่งน้ำเสียเข้าสู่กระบวนการบำบัด ส่งมามาก ก็ควรต้องจ่ายมาก ถ้าไม่อยากจ่ายมากก็ต้องลดน้ำเสีย ลงให้ได้

นี้คือ การอธิบายให้เห็นการนำ"สามเหลี่ยมเขยื้อนภูเขา"มาใช้ให้เห็น.

 

โดย: samrotri (samrotri ) 1 เมษายน 2550 14:00:24 น.  

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

 

samrotri
Location :
ฉะเชิงเทรา Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed

ผู้ติดตามบล็อก : 2 คน [?]




น.พ.สำเริง ไตรติลานันท์
แพทย์เวชศาสตร์ครอบครัว และ เวชศาสตร์ป้องกัน
ตำแหน่ง นายแพทย์เชี่ยวชาญ หัวหน้ากลุ่มงานเวชปฏิบัติครอบครัวและชุมชน ร.พ.พนมสารคาม และ ร.พ.สร้างเสริมสุขภาพตำบลเขาหินซ้อน อ.พนมสารคาม จ.ฉะเชิงเทรา โทรฯ 0896112714
[Add samrotri's blog to your web]

 
pantip.com pantipmarket.com pantown.com
pantip.com pantipmarket.com pantown.com