ตุลาคม 2551

 
 
 
1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
11
12
13
14
15
16
17
18
19
20
21
22
23
24
25
27
28
29
30
31
 
 
26 ตุลาคม 2551
All Blog
ด้วงก้นกระดก
แมลงด้วงก้นกระดกนี้ มีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า Paederus fuscipes และมีชื่อสามัญภาษาอังกฤษว่า Rove beetles

โดยปกติแล้วเป็นแมลงที่มีประโยชน์ในฐานะตัวห้ำที่คอยกินแมลงตัวเล็กๆจึงพบมากในพื้นที่การเกษตร นอกจากนี้ยังสามารถพบได้ในแถบชานเมือง

หน้าฝนปีนี้เราย้ายมาอยู่สระบุรี ก็ได้มาเจอกับเจ้าด้วงก้นกระดก มันน่าโมโหนัก เพราะเจ้าพิของด้วงก้นกระดก นี่หละ

ความรุนแรงของโรค
ความรุนแรงของโรคมักมีจำกัดครับ ส่วนมากแล้วมักจะอยู่แค่การเจ็บแสบร้อนผิวหนัง หากทิ้งไว้ระยะหนึ่งก็สามารถหายเองได้
ยกเว้นก็แต่เข้าตา ถูกเป็นบริเวณกว้าง แพ้มาก หรือไปเกาจนติดเชื้อซ้ำซ้อนที่อาจจะเป็นปัญหาตามมาได้

เราคุ้นๆว่า พี่ๆพยาบาลที่มาจัดรายการที่สถานีเคยพูดให้ระวังตัวด้วงก้นกระดก แต่ก็ไม่ได้คิดว่าเราจะโดนพิษของมัน โดนที่ต้นแขนเป็นแนวยาวเหมือนผื่นตุ่มพองแดงและแสบร้อน ทีแรกตกใจคิดว่าเป็นงูสวัดรึเปล่า แต่นั่งๆคิดไปคิดมาถึงเรื่องด้วงก้นกระดก ทันใดนั้น ก็หันไปเจอ กับเจ้าแมลงตัวเล็กๆตัวหนึ่ง
เจ้าตัวร้าย มันอยู่หน้าคอมเรานี่เอง บังอาจทำแขนเราเป็นแผล แถมแสบๆคันเป็นอาทิตย์เลย แต่ที่กลัวมากที่สุดกลัวว่าจะเป็นแผลเป็นนี่สิ
รูปนี้ถ่ายไว้ตอนที่ใกล้จะหายจากอาการแสบๆคันๆแล้ว
โชคดีที่ไม่ได้เป็นมานะเนี่ย

เกร็ดเล็กน้อยเกี่ยวกับแมลงก้นกระดก
นพ.สุพรรณ ศรีธรรมมา โฆษกกระทรวงสาธารณสุข (สธ.)ให้สัมภาษณ์ว่า ช่วงฤดูฝนนี้
มักจะมีด้วงก้นกระดก หรือที่เรียกว่า ด้วงปีกสั้น ด้วงก้นงอน (Rove beetle) ชุกชุมกว่าฤดูอื่น ซึ่งด้วงชนิดนี้เป็นแมลงที่มีประโยชน
์ในการควบคุมแมลงศัตรูพืชตามธรรมชาติ แต่มีพิษทำให้เกิดผื่นแพ้ต่อผิวหนังอย่างเฉียบพลัน มีรายงานผู้ป่วยทั้งในและต่างประเทศ แต่ไม่ถึงขั้นเสียชีวิต โดยตัวด้วงกระดกจะมีพิษที่มีชื่อว่า เพเดอริน (Paederin) อยู่ทั่วตัว มีฤทธิ์ทำลายเซลล์เนื้อเยื่อ หากคนโดนสารพิษดังกล่าว เมื่อถูกผิวหนัง
จะเกิดอาการอักเสบ แสบร้อน พุพอง ส่วนใหญ่พิษจะมีในด้วงตัวเมีย การปล่อยน้ำพิษจะออกมาในกรณีที่ด้วงตกใจ ถูกตี ถูกบีบ หรือถูกบดขยี้
เพื่อป้องกันตัว ด้วง 1 ตัว จะมีสารพิษอยู่ในตัวประมาณร้อย 0.025 ของน้ำหนักตัว
สำหรับด้วงก้นกระดกชอบเล่นไฟในยามค่ำคืน มีมากในฤดูฝน ลักษณะด้วงก้นกระดกจะมีขนาดเล็ก ความยาวเพียง 4-7 มิลลิเมตร ลักษณะเป็นแมลงตัวยาว ๆ ส่วนหัวมีสีดำ ปีกสีน้ำเงินเข้ม ลำตัวมีสีดำสลับส้ม และมักจะกระดกส่วนท้องขึ้นๆ ลงๆ เมื่อเกาะบนพื้น ชอบอาศัยตามกองมูลสัตว์ กองไม้และบินเข้ามาเล่นแสงไฟในบ้านเรือน พบด้วงชนิดนี้ได้ทั่วโลก มากที่สุดที่อเมริกาเหนือ ซึ่งมีถึง 3,100 ชนิด สำหรับประเทศไทยคาดว่ามีประมาณ 20 ชนิด ตามปกติ ด้วงก้นกระดก จะไม่กัดหรือต่อยคน แต่คนจะได้รับพิษหากไปสัมผัส จับมาเล่น หรือ ตบตี บี้จนน้ำพิษแตกออกมา

1. การระบาดครั้งใหญ่ เกิดขึ้นที่โอกินาว่าเมื่อ1969 มีคนที่โดนแมลงตัวนี้แล้วเกิดอาการรุนแรง2000กว่าคน
//www.ajtmh.org/cgi/content/abstract/18/1/147
2. อาการ"ตาอักเสบแบบไนรูบี" เป็นชื่อเล่นๆของโรคตาอักเสบที่เกิดจากแมลงเหล่านี้เข้าตา เพราะแมลงเหล่านี้ก็พบได้มากแถวแอฟริกา
3. อาการทางผิวหนังอาจคล้ายคลึงจากการโดนแมลงที่ชื่อว่าBlister Beetle
4. ด้วงตัวที่มีพิษคือตัวเมีย ส่วนด้วงตัวผู้จะได้พิษจากแม่เพียงเล็กน้อย หรืออาจจะได้ในกรณีไปกินซากตัวเมีย ดังนั้นก็ไม่น่าแปลกใจที่บางคนจะเข้าใจว่าแมลงตัวนี้ไม่มีพิษ (เพราะอาจจะเคยโดน แต่โดนตัวผู้)






Create Date : 26 ตุลาคม 2551
Last Update : 26 ตุลาคม 2551 21:06:15 น.
Counter : 1936 Pageviews.

1 comments
  
ตอนนี้เราโดนพิษมันเหมือนกัน เป็นแผลน่าเกลียดมาก ไม่กล้าออกไปไหนเลย
โดย: ann IP: 180.180.185.52 วันที่: 12 พฤษภาคม 2554 เวลา:12:16:13 น.
ชื่อ :
Comment :
 *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

I'm ThoaLeks
Location :
ราชบุรี  Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]