Home is behind The world ahead
 
กุมภาพันธ์ 2555
 1234
567891011
12131415161718
19202122232425
26272829 
6 กุมภาพันธ์ 2555

กฏระเบียบใหม่ของทางนิวกัง (入国管理局:入管)เริ่มใช้ตั้งแต่วันที่ 9 กรกฏาคมนี้

        ตั้งแต่วันที่ 9 กรกฏาคม 2012 เป็นต้นไป กรมตรวจคนเข้าเมืองของญี่ปุ่น หรือ ที่พวกเรารู้จักกันในนามของ นิวกัง (入管) จะออกกฏระเบียบใหม่ สำหรับคนที่มีวีซ่าพำนักอยู่ในญี่ปุ่นแล้ว กฏระเบียบจะมีการเปลี่ยนแปลงดังนี้



        (1) จากนี้ไปคนที่มีวีซ่าพำนักในญี่ปุ่น ไม่ต้องทำ re-entry permit (在入国許可) อีกต่อไป สามารถเดินทางออกนอกประเทศญี่ปุ่น และกลับมาที่ญี่ปุ่นได้โดยสะดวก แต่จะต้องกลับเข้ามาในญี่ปุ่นภายใน 1 ปี มิฉะนั้น สถานภาพวีซ่าที่ถืออยู่จะจัดเป็นโมฆะ  สำหรับผู้ที่ถือวีซ่าถาวร (永住ビザ:permanent visa) สามารถขอ re- entry permit ได้ ภายใต้กฏใหม่ re-entry permit จะหมดอายุภายใน 5 ปี (จากเดิมหมดอายุภายใน 3 ปี)



         (2) ระยะเวลาที่ได้รับสถานภาพพำนักสูงสุดจะขยายเป็น 5 ปี (จากเดิม 3 ปี) ผู้ที่มีวีซ่าทำงานที่ได้รับวีซ่า 3 ปีอยู่แล้ว จะได้รับวีซ่า 5 เมื่อต่อวีซ่าครั้งถัดไป



         (3) บัตรไกจิน (外国人登録証明書:foreign residence card) จะถูกแทนที่ด้วยบัตรใหม่ (在留カード: residence card) สำหรับคนที่มาญี่ปุ่นครั้งแรก สามารถทำบัตรนี้ได้ที่สนามบินนาริตะ หรือสนามบินฮาเนดะได้เลย ไม่ต้องไปทำบัตรที่ที่ว่าการอำเภอเหมือนแต่ก่อน สำหรับคนที่มีวีซ่าพำนักอยู่ที่ญี่ปุ่นอยู่แล้ว จะต้องทำบัตรใหม่ตอนต่อวีซ่า สำหรับคนที่ถือวีซ่าถาวร (永住者)ที่อายุเกิน 16 ปี ต้องทำบัตรใหม่ภายในวันที่ 8 กรกฏาคม 2015 สำหรับคนที่ถือวีซ่าถาวรที่อายุต่ำกว่า 16 ปี ต้องทำบัตรใหม่ก่อนวันครบรอบ 16 ปี หรือวันที่ 8 กรกฏาคม 2015 โดยวันไหนมาถึงก่อน ถือเป็นกำหนดเส้นตายที่ต้องไปทำบัตรใหม่


 


        (4) จากนี้ไปชาวต่างชาติที่พำนักอยู่ในญี่ปุ่น จะมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้าน (住民票) ซึ่งก่อนหน้านี้ ชาวต่างชาติจะไม่มีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้าน เอกสารราชการที่ยื่นยันที่อยู่ในญี่ปุ่นได้จึงมีแค่ใบบันทึกข้อมูลส่วนตัวของชาวต่างชาติ (外国人登録原票記載事項証明書) ทำให้ทางการญี่ปุ่นสามารถจัดการฐานข้อมูลชาวต่างชาติได้ดีขึ้น (ไม่รู้ว่าจริงรึเปล่า แต่ในเอกสารแนะนำระบบใหม่เขียนว่ายังงั้น)


 


       (5) ผลจากข้อ (4) ทำให้เราชาวต่างชาติ เวลาที่จะย้ายบ้าน ต้องไปยื่นเอกสารที่อำเภอ 2 รอบ รอบแรก ไปยื่น ย้ายออกที่ที่ว่าการอำเภอที่เราอยู่ ( 転出届) แล้วก็ไปยื่นย้ายเข้าที่ว่าการอำเภอที่เราย้ายไป (転入届) จากเดิมไม่เปลี่ยนข้อมูลชาวต่างชาติที่อำเภอที่เราย้ายไปเพียงอย่างเดียว


 


        สรุป เดี๋ยวพอถึงเดือนกรกฏาคมนี้ คงต้องปรับตัวกันอีกซักพักกว่าจะเข้าที่เข้าทาง


 






Free TextEditor


Create Date : 06 กุมภาพันธ์ 2555
Last Update : 6 กุมภาพันธ์ 2555 9:21:17 น. 5 comments
Counter : 5917 Pageviews.  

 
ก็ดูเหมือนจะสะดวกขึ้นปะคะ


โดย: เก่ง (keng_toshi ) วันที่: 6 กุมภาพันธ์ 2555 เวลา:9:34:34 น.  

 
มาศึกษาไว้ล่วงหน้าเลยค่ะ


โดย: ~@JaPPanNy@~ วันที่: 8 กุมภาพันธ์ 2555 เวลา:12:51:03 น.  

 
อยากสอบถาม เรื่องเกี่ยวกับการต่อวีซ่านะค่ะ คือตอนนี้ ถือวีซ่า สมรสอยู่ แล้วเดือนสิงหานี้จะหมดอายุ
ดิฉันจะไปต่อวีซ่าได้ก่อนล่วงหน้ากี่เดือนก่อนจะหมดอายุ และต้องใช้เอกสารอะไรประกอบบ้างค่ะ
รบกวนด้วยนะค่ะ ขอบคุณล่วงหน้า


โดย: ann IP: 111.102.230.27 วันที่: 14 มิถุนายน 2555 เวลา:15:26:38 น.  

 
กวาดล้างต่างชาดที่ไม่มีวี..
สรุป กฎหมายควบคุมคนเข้าเมืองฉบับใหม่นี้ คือ....
ระยะเวลาอนุญาตพำนักสูงสุด จะถูกเปลี่ยนจาก 3 ปี เป็น 5 ปี ถึงแม้ว่า มีการจัดตั้ง ระบบการไม่จำเป็น ต้องขออนุญาตกลับเข้าเมืองอีกครั้ง ขึ้นมาใหม่โดยปรับปรุงให้ดีขึ้นก็ตาม สุดท้ายก็เป็นกฎหมาย ที่ใช้ในการกลั่นแกล้งคนต่างชาติ
กฎหมายควบคุมคนเข้าเมืองฉบับใหม่นี้ได้กำหนดบทบัญญัติภาคบังคับต่างๆสำหรับคนต่างชาติ หาก ละเมิด ก็จะมีบทลงโทษทางอาญา หรือถูกยกเลิกวีซ่า ซึ่งการกระทำอย่างเฉียบขาดเหล่านั้น ทำให้คนต่างชาติ ต้องปฏิบัติตามบทบัญญัตินั้น
ยิ่งไปกว่านั้น กฎหมายควบคุมคนเข้าเมืองฉบับใหม่นี้ หากผู้ที่ถือวีซ่าระยะกลาง และระยะยาวที่มีบัตรสถานภาพพำนัก แต่ไม่ได้เป็นผู้ที่ถือวีซ่าดังกล่าวแล้ว ตัวอย่างเช่น ผู้หญิงต่างชาติ ที่เป็นคู่สมรสของคนญี่ปุ่น แต่ไม่ได้ทำกิจกรรมตามสถานภาพอย่างต่อเนื่องเกินกว่า 6 เดือนแล้วถูก กระทรวงยุติธรรมยกเลิกวีซ่า , ผู้หญิงคนนั้น ต้องนำบัตรประจำตัวผู้พำนักไปคืนต่อกระทรวงยุติธรรมภายใน 14 วัน หากละเมิดหรือไม่ทำตามบทบัญญัตินั้น จะต้องถูกปรับเป็นเงินไม่เกิน 2 แสนเยน นี่คือระบบที่ใช้ในการยึดวีซ่าคืน และยังใช้บทลงโทษทางอาญา บังคับให้คืนบัตรประจำตัวผู้พำนักอีกด้วย
กฎหมายควบคุมคนเข้าเมืองฉบับใหม่นี้ คือ การปล้นศักดิ์ศรีและเสรีภาพของชาวต่างชาติทุกคน กฎหมายควบคุมคนเข้าเมืองฉบับใหม่ เป็นกฎหมายที่ไม่ดี กีดกันการอยู่ร่วมกันของชาวญี่ปุ่นและชาวต่างชาติ แต่พวกเราทุกคนที่อาศัยอยู่ในสังคมของญี่ปุ่น ควรจะจำข้อความดังต่อไปนี้ไว้
ชาวต่างชาติที่ได้รับอนุญาตให้เข้ามาภายในอาณาเขตของภาคีอนุสัญญา สามารถได้รับสิทธิที่กำหนดโดย สนธิสัญญา (สิทธิมนุษยชนระหว่างประเทศ ด้านสิทธิและเสรีภาพ) ชาวต่างชาติมีสิทธิที่จะได้รับการคุ้มครองอย่างเท่าเทียมกันตามกฎหมาย ซึ่งถ้าเป็นไปตามนั้นแล้ว ไม่ควรจะมีการแบ่งแยก, การเลือกปฏิบัติระหว่างชาวต่างชาติและประชาชนของประเทศนั้น


โดย: Kanji IP: 118.175.16.2 วันที่: 24 กรกฎาคม 2555 เวลา:12:30:05 น.  

 
re entry ใกล้หมดแล้วแต่รักษาตัวอยู่ สามารถต่อre entry ที่ประเทศไทยได้ไหมครับ


โดย: สรวิชญ์ IP: 171.7.194.195 วันที่: 10 ตุลาคม 2557 เวลา:21:02:32 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิกช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

ปลาทองในกองหนังสือ
Location :
Kawasaki Japan

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 13 คน [?]




เป็นคนทำงานด้านเอกสารวีซ่านักเรียนของชาติต่าง ๆ ที่จะมาเรียนที่ญี่ปุ่น ในนั้นมีนักเรียนไทยประมาณ 10%

นอกจากนี้ยังเป็นล่ามจำเป็นให้นักเรียนเวลามีเรื่องกับตำรวจ หรือกรมตรวจคนเข้าเมือง

ดังนั้นเรื่องราวที่เกี่ยวข้องกับนักเรียนที่เขียนในบล็อคจึงมักจะเป็นเรื่องของนักเรียนที่มีปัญหาเสียส่วนมาก ซึ่งเป็นนักเรียนส่วนน้อย ประมาณ 0.5% ของนักเรียนทั้งหมด ไม่ได้หมายความว่าที่ที่เราทำงานอยู่มีแต่เด็กมีปัญหาแต่อย่างใด
[Add ปลาทองในกองหนังสือ's blog to your web]