Home is behind The world ahead
<<
เมษายน 2555
1234567
891011121314
15161718192021
22232425262728
2930 
24 เมษายน 2555

เช่าบ้าน ....จะมีประเทศไหนยุ่งยากกว่านี้อีกไหม

        อะไรนะ.... ถ้าไม่มีคนค้ำประกันเป็นคนญี่ปุ่น จะเช่าห้องไม่ได้.. แล้วถ้าจ้างบริษัทค้ำประกันมาค้ำประกันให้เรา โดยเราจ่ายเงินค่าธรรมเนียม ถ้าไม่มีเงินในบัญชีเงินฝากเกิน 1 ล้านเยน บริษัทค้ำประกันจะไม่ค้ำประกันให้  แล้วเราจะจ่ายเงินจ้างไปทำไม แล้วนี้....จะมีที่ซุกหัวนอนไหม

        การเช่าบ้านในญี่ปุ่นก็ไม่ใช่เรื่องหมู ๆ เลย ข้อแรก การจะเช่าบ้านต้องผ่าน real estate agent หรือฟุโดซัง ซึ่งจะคิดค่านายหน้าในการแนะนำห้องเช่า 50% - 100% ของค่าเช่าต่อเดือน

        ข้อสอง ฟุโดซังที่มีเจ้าหน้าที่พูดภาษาอังกฤษได้มีน้อยมาก และที่มีเจ้าหน้าที่พูดภาษาอังกฤษได้ก็คิดค่าเช่าแพงมาก ๆ และถึงแม้จะมีเจ้าหน้าที่พูดภาษาอังกฤษได้ สัญญาเช่าบ้านก็มักจะเป็นภาษาญี่ปุ่น 

         ข้อสาม ระบบเช่าบ้านที่ญี่ปุ่น จะมีค่า เรคิน ชิกิคิน ค่าเรคิน แปลตรงคือ เงินขอบคุณ (เ้จ้าของบ้านที่กรุณาให้เราเข้าไปอยู่อาศัย) ว่าง่าย ๆ คือ เงินกินเปล่า ปกติจะอยู่ที่ราคาค่าเช่า 1-2 เดือน

         ชิกิคิน หรือ เงินค้ำประกันความเสียหาย ปกติจะคิดที่ราคาค่าเช่า 1 เดือน เงินนี้ควรจะได้คืนตอนผู้เช่าย้ายออก ถ้าที่สภาพห้องยังดีอยู่ แต่กว่า 90% พอไปอ่านในสัญญาเช่าดี ๆ  จะพบข้อความว่าคิดค่าทำความสะอาดห้องเป็นค่าเช่า 1 เดือน ซึ่งหมายความว่า เงินค้ำประกันก็จะไม่ได้คืน

         ข้อสี่ ระบบเช่าบ้านที่ญี่ปุ่นต้องมีคนค้ำประกันเป็นคนญี่ปุ่น และคนค้ำประกันที่ว่าจะต้องรับผิดชอบ ในกรณีที่คนเช่าไม่จ่ายค่าเ่ช่า เพราะฉะนั้น ต่อให้เรามีเพื่อนเป็นคนญี่ปุ่น เป็นที่รู้กันดีว่าไม่มีใครค้ำประกันให้เพื่อนกันหรอก ถึงกับมีคำพูดของเพื่อนร่วมงานคนญี่ปุ่นว่า นอกจากลูกแล้ว ไม่เคยคิดจะค้ำประกันให้ใคร

        เพื่อแก้ปัญหานี้ จึงมีบริษัทค้ำประกัน ซึ่งผู้เช่าต้องจ่ายค่าธรรมเนียม ประมาณ 50% ของค่าเช่า เพื่อให้บริษัทค้ำประกันให้ แต่สำหรับนักเรียนต่างชาติทั้งหลาย บริษัทค้ำประกันมักจะไม่ค้ำประกันให้ ถ้าไม่มีเงินในบัญชีผู้เช่ามากกว่า 1 ล้านเยน ซึ่งหมายความว่าการเช่าบ้านในญี่ปุ่นสำหรับชาวต่างชาตินั้นแทบเป็นไปไม่ได้

        ยังดีที่มีห้องเช่าที่เน้นกลุ่มลูกค้าเป็นคนต่างชาติโดยเฉพาะ ซึ่งไม่ต้องมีคนค้ำเป็นคนญี่ปุ่น ไม่ต้องจ่ายเรคิน ชิกิคิน แต่ห้องพักมักจะแคบและแพง เช่น ห้องขนาด 15 ตารางเมตร (ห้องหรือนั่น) ค่าเช่าเดือนละ 65,000 เยน (จากราคาปกติ 30,000 เยน ที่คนญี่ปุ่นทั่วไปเช่า ๆ กัน)

        นักเรียนส่วนมากก็มักจะต้องพักห้องแคบ ๆ แพง ๆ นั่นแหละ สำหรับนักเรียนไทย เรายินดีไปเป็นล่ามให้ที่ฟุโดซัง แต่พอดำเนินการมาถึงตอนเซ็นสัญญาเช่า ซึ่งต้องมีคนค้ำประกันที่ต้องเป็นคนญี่ปุ่น ทุกอย่างก็มักจะถึงทางตัน ท้ายที่สุดน้อง ๆ ก็ต้องกลับไปอยู่ที่ห้อง แคบ ๆ แพง ๆ นั่นแหละ

        เราไม่เคยไปอยู่ต่างประเทศนาน ๆ นอกจากประเทศญี่ปุ่น เราไม่รู้ว่าประเทศอื่นเค้ามีวิธีเช่าบ้านที่แสนจะยุ่งยากอย่างประเทศญี่ปุ่นรึเปล่า แต่ขอบอกว่า เราถอดใจกับระบบเช่าบ้านของญี่ปุ่นไปแล้ว เป็นไปได้..เราแนะนำคนอื่น ๆ ให้เช่าบ้านสำหรับคนต่างชาติโดยเฉพาะเลยดีกว่า แพง แคบ แต่ไร้ปัญหา





Create Date : 24 เมษายน 2555
Last Update : 24 เมษายน 2555 13:35:15 น. 4 comments
Counter : 1368 Pageviews.  

 
ขอบคุณมากมายสำหรับเกร็ดความรู้ครับ
แตกต่างจากบ้านเราโดยสิ้นเชิงเลยครับแหะ


โดย: GoodMorning SunFlower วันที่: 24 เมษายน 2555 เวลา:14:35:45 น.  

 
คุณพระช่วย ทำไมต้องยากขนาดนั้นนะ


โดย: ssgarden วันที่: 24 เมษายน 2555 เวลา:15:22:29 น.  

 
ตายแล้ว อย่างนี้ คุณแฟนจะมีเงินเช่าไหมเนี้ย


โดย: เก่ง (keng_toshi ) วันที่: 24 เมษายน 2555 เวลา:17:16:21 น.  

 
ของเราโชคดีที่รู้จักเพื่อนคนญี่ปุ่น ที่เค้าทำธุรกิจให้เช่าบ้าน สำหรับนักเรียนต่างชาติ โดยไม่ต้องมีเงินหรือเอกสารอะไรให้วุ่นวายเลย แค่เสียค่าแรกเข้า 3หมื่นเยน ก็ย้ายเข้ามาอยู่ได้เลย เค้าแทบจะไม่ก็อปปี้พาสปอร์ตเราด้วยซ้ำ คิดไปแล้วก็อยากขอบคุณเค้ามากๆเลย ไม่อย่างนั้นเราคงต้องลำบาก กว่าจะได้บ้านก็เสียเงินเป็นแสนเยน เราคิดว่าบางทีเรื่องการมีเพื่อนหรือconnection ก็ทำให้เราทำอะไรสบายขึ้นได้ในการอยู่ตปท.เหมือนกันนะ


โดย: เป้ IP: 124.121.133.57 วันที่: 2 สิงหาคม 2555 เวลา:21:35:57 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิกช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

ปลาทองในกองหนังสือ
Location :
Kawasaki Japan

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 13 คน [?]




เป็นคนทำงานด้านเอกสารวีซ่านักเรียนของชาติต่าง ๆ ที่จะมาเรียนที่ญี่ปุ่น ในนั้นมีนักเรียนไทยประมาณ 10%

นอกจากนี้ยังเป็นล่ามจำเป็นให้นักเรียนเวลามีเรื่องกับตำรวจ หรือกรมตรวจคนเข้าเมือง

ดังนั้นเรื่องราวที่เกี่ยวข้องกับนักเรียนที่เขียนในบล็อคจึงมักจะเป็นเรื่องของนักเรียนที่มีปัญหาเสียส่วนมาก ซึ่งเป็นนักเรียนส่วนน้อย ประมาณ 0.5% ของนักเรียนทั้งหมด ไม่ได้หมายความว่าที่ที่เราทำงานอยู่มีแต่เด็กมีปัญหาแต่อย่างใด
[Add ปลาทองในกองหนังสือ's blog to your web]