เป็นที่ทราบกันดีว่า ช่วงเวลาตั้งแต่วันแรม ๑ ค่ำ เดือน ๘ จนถึงขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๑๑ เป็นช่วงเวลา แห่งการเข้าพรรษาของ พระภิกษุสงฆ์ ตามพุทธวินัย ในช่วงนี้เอง ก็เป็นช่วงเวลาที่พระภิกษุท่านจะได้ทำความเพียร ในการฝึกฝนอบรมตนเอง และ ศึกษาธรรมะของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าให้แตกฉานยิ่งขึ้น สำหรับฆาราวาสที่เป็นชาวพุทธ อย่างเรา ก็มักจะอาศัยเหตุแห่งการเข้าพรรษานี้ ตั้งใจทำความดีให้ยิ่งยวดขึ้นไป บ้างก็ตั้งใจเลิกดื่มเหล้า เลิกสูบบุหรี่ รักษาศีล ๕ ศีล ๘ ให้ได้ตลอดพรรษา บ้างก็ตั้งใจตักบาตรทุกวันตลอดพรรษา บ้างก็ตั้งใจฝึกสมาธิให้ได้ทุกวันตลอดพรรษา เป็นที่น่าอนุโมทนาอย่างยิ่งค่ะ เมื่อถึงวันออกพรรษา หรือ เรียกกันอีกชื่อหนึ่งว่า "วันมหาปวารนา" ซึ่งเป็นวันที่พระภิกษุสงฆ์ ทั้งพระผู้ใหญ่ พระผู้น้อย ต่างเปิดโอกาสอนุญาตแก่กันและกันให้ว่ากล่าวตักเตือนกันได้ ซึ่งประเพณีนี้ ฆาราวาสอย่างเราก็ทำได้ค่ะ คือ เปิดโอกาสให้ คุณพ่อ คุณแม่ (ปกติท่านทำหน้าที่นี้อยู่แล้ว) ญาติ พี่ น้อง เพื่อน ๆ ว่ากล่าวตักเตือนได้ เพื่อที่เราจะได้แก้ไขข้อบกพร่องนั้น ๆ ให้หมดสิ้นไป เราจะได้เป็นคนที่สมบูรณ์แบบยิ่ง ๆ ขึ้นไปค่ะ ส่วนตัวแล้ว คิดว่า ผู้ที่จะเตือนคนอื่นได้ เป็นผู้ที่ต้องใช้กำลังใจสูงมากทีเดียวค่ะ ต้องอาศัยความเมตตา ความปรารถนาดี อย่างจริงใจต่อผู้ถูกเตือน ความกล้าหาญ และ ต้องใช้สติปัญญาไตร่ตรอง เพื่อสรรหาคำพูดที่เหมาะสม ที่เมื่อเตือนแล้ว ผู้ฟังสามารถเข้าใจในคำเตือนนั้น และสัมผัสได้ถึงความหวังดีของผู้เตือนค่ะ ส่วนผู้ถูกเตือนอาจจะเจ็บปวดบ้าง แต่ถ้าเราตระหนักได้ถึงความหวังดี และความยากลำบาก ของผู้เตือนแล้ว เราจะรู้สึกขอบคุณเขามาก ๆ เลยทีเดียวค่ะ สำหรับปี พ.ศ.๒๕๕๐ นี้ วันออกพรรษาตรงกับวันวันศุกร์ที่ ๒๖ ตุลาคมค่ะ จ.ข.บ.ก็ขอปวารานาไว้ล่วงหน้าเลยนะคะ เพื่อน ๆ ท่านใดมีสิ่งใดจะแนะนำตักเตือน ขอเชิญได้เลยค่ะ จักเป็นพระคุณอย่างสูงค่ะ ช่วงเทศกาลออกพรรษา ในแต่ละท้องถิ่น แต่ละภูมิภาค ก็จะจัดกิจกรรมต่าง ๆ ให้สอดคล้องกับ วัฒนธรรม และ เอกลักษณ์ท้องถิ่น ของตนเอง ประเพณีที่สำคัญและนิยมจัดกันในทุกท้องถิ่น คือ ประเพณีตักบาตรเทโวโรหนะ คำว่า "เทโวโรหนะ" แปลว่า การหยั่งลงจากเทวโลก การตักบาตรเทโวโรหนะ มักจะทำกันในบริเวณพระอุโบสถ โดยมีการอัญเชิญพระพุทธรูป เป็นผู้นำแถวของพระภิกษุสงฆ์ ในการออกบิณฑบาตร ของที่ตักบาตรก็มีต่าง ๆ กันไปในแต่ละท้องถิ่น เช่น ที่อำเภอบางพลี จังหวัดสมุทรปราการ และ ที่วัดเขานางบวช อำเภอเมือง จังหวัดนครนายก จะถวายบัวให้กับพระพุทธรูป หรือ อย่างที่จังหวัดอุทัยธานี นิยมใช้ข้าวต้มมัด หรือ เรียกว่า ข้าวต้มลูกโยน โดยจะเอาข้าวเหนียวผัดมาห่อด้วยใบมะพร้าว ไว้หาง ใส่บาตรถวายพระพุทธรูป และ พระภิกษุสงฆ์
การที่ต้องอัญเชิญพระพุทธรูปมาเป็นผู้นำในขบวนแถวของพระภิกษุสงฆ์ ในการออกบิณฑบาตร เทโวโรหนะ นั้น เป็นการปฏิบัติเพื่อระลึกถึงเหตุการณ์ครั้งสำคัญ ของวันออกพรรษาวันหนึ่ง ในสมัยพุทธกาล ดังที่มีบันทึกไว้ ดังนี้ค่ะ ในปีนั้น พระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้เสด็จไปจำพรรษาที่สวรรค์ชั้นดาวดึงส์ เพื่อ ไปแสดงธรรมเทศนา โปรด ชาวสวรรค์และพระพุทธมารดา เมื่อถึงวันออกพรรษา พระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้เสด็จลงมายังโลกมนุษย์ ณ เมืองสังกัสสะ ในวันนั้น เป็นวันแห่งการเปิด ภพสาม ได้แก่ โลกสวรรค์ โลกมนุษย์ และ โลกนรก มนุษย์ในเมืองสังกัสสะนคร เทวดา และ สัตว์นรก ต่างมองเห็นซึ่งกันและกันได้ มนุษย์ เทวดา และสัตว์นรกที่เป็นสัมมาทิฏฐิ ต่างเกิดความรู้สึกรักบุญ กลัวบาป ขึ้นมาอย่างเอกอุ บ้างก็ปรารถนาพุทธภูมิ กล่าวคือ ตั้งความปรารถนาจะเป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์หนึ่งบ้างในอนาคต...บ้างก็เกิดความเลื่อมใส ศรัทธาในอานุภาพอันไม่มีประมาณ ของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า... เมื่อเราได้ร่วมในพิธีตักบาตรเทโวโรหนะ แล้วทำจิตให้เลื่อมใส ไปถึงพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ประหนึ่งว่าเราได้ถวายทานแด่ท่านด้วยมือของเราเอง ก็จะเป็นทางมาแห่งบุญกุศล ของเรายิ่งขึ้นไปค่ะ
ในวันออกพรรษาของทุกปี มีเหตุการณ์หนึ่งเกิดขึ้นเป็นประจำที่ลำน้ำโขง...ช่วงที่เป็นพรมแดน ระหว่างประเทศไทย กับ ประเทศลาว...โดยเฉพาะที่ อ.บ.ต.จุมพล อำเภอโพนพิสัย จังหวัดหนองคาย อำเภอโขงเจียม จังหวัดอุบลราชธานี กล่าวคือ มีดวงสว่าง ผุดขึ้นมาจากผิวน้ำ ลอยขึ้นไปในอากาศ แล้วก็หายไป..โดยจะมีมากในวันพระจันทร์เต็มดวง (บางปี วันออกพรรษาของไทย พระจันทร์ยังไม่เต็มดวง...) บางแห่งก็นับได้ ๗๐ ดวง บางแห่งก็นับได้ถึง ๑๐๐ ดวง ในวันนั้น...ทั่วทั้งโลกใบนี้...มีดวงสว่างดังกล่าวเกิดขึ้นอย่างหนาแน่นก็ที่ริมฝั่งโขงนี้เท่านั้น....ดวงสว่างดังกล่าวมีผู้พบเห็น...โดยเล่าขานสืบต่อกันมา...ย้อนไปได้เป็น ร้อย ๆ ปี...และเรียกกันว่า "บั้งไฟพญานาค"....ทำไมดวงสว่างนั้นต้องมาเกิดขึ้นในวันออกพรรษา...เกิดจากอะไร...และเกิดได้อย่างไร... ที่นี่มีคำตอบค่ะ
คุณณัฐนารถ ปิ่นเพื่อง ผู้ที่มีประสบการณ์เห็นพญานาคกลางลำน้ำโขง อ่านประสบการณ์ของเธอได้ที่นี่ค่ะ ได้เรียบเรียงหนังสือขึ้นมาเล่มหนึ่ง โดยใช้ความรู้ที่ได้จาก โรงเรียนฝันในฝันวิทยา ออกอากาศทางช่อง DMC ค่ะ (ปี ค.ศ.๒๐๐๗ นี้ DMC ได้รับรางวัล Telly Awards ถึง 12 รางวัล ในฐานะที่เป็นแฟนคลับ รายการ DMC คนหนึ่ง ขอบอกว่า ปลื้มกับรางวัลนี้มากเลยค่ะ) หนังสือเล่มนั้นชื่อว่าตำนานพญานาคสองฝั่งโขง เนื้อหาในเล่มได้กล่าวถึง ตำนานพญานาค ที่มีการเล่าสืบต่อกันมาจนถึงปัจจุบัน รวมถึง "บั้งไฟพญานาค ในทรรศนะของโรงเรียนอนุบาลฝันในฝันวิทยา" พร้อมภาพประกอบ ๔ สีงดงาม เพื่อน ๆ สามารถดาวน์โหลดได้ที่ลิ้งค์ด้านล่างค่ะ วันหยุดนี้ หวังว่าหนังสือเล่มนี้ คงได้ให้ความรู้ และ ความเพลิดเพลินกับเพื่อน ๆ บ้างนะคะ
|