Group Blog
มิถุนายน 2565

 
 
 
1
2
3
4
6
7
8
9
10
11
12
13
14
15
16
17
18
19
20
21
22
23
24
25
26
27
28
29
30
 
 
5 มิถุนายน 2565
All Blog
บันทึกกัมมัฏฐาน 6/9/64
บันทึกกัมมัฏฐาน 6/9/64

   *บันทึกกรรมฐานทั้งสิ้นทั้งปวงนี้* ล้วนแต่เป็นความรู้อย่างปุถุชนอย่างข้าพเจ้าจะเข้าไปรู้ัเห็น อนุมาน คาดคะเน ตรึกนึกพิจารณาหลังจากการปฏิบัติได้สภาวะนั้นๆตามที่บันทึกไว้นี้แล้ว ซึ่งยังไม่ถูกต้องและตรงตามจริง ยังสักแต่เป็นเพียงธรรมสมมติ ยังไม่แจ้งแทงตลอดก ยังทำไม่ได้ทุกครั้งที่ต้องการ ยังไม่ถึงวสี แต่เคยเข้าถึงได้เนืองๆพอที่จะรู้อาการที่จิตนี้มนสิการธรรมทั้งปวงได้ ซึ่งข้าพเจ้าได้ปฏิบัติตามที่สมด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า พระมหาศาสดาตรัสสอน อันมีพระอรหันตสงฆ์ พระอริยะสงฆ์นำพระธรรมเหล่านี้มาเผยแพร่สั่งสอนให้ข้าพเจ้าได้รับรู้ แล้วมาฝึกสืบต่อในแบบที่ตนพอจะมีปัญญาอย่างปุถุชนเข้าใจได้เท่านั้น
    ด้วยเหตุดังนี้ หากแนวทางใดผิดเพี้ยนไม่ตรงตามจริง ท่านที่แวะเข้าชมบันทึกนี้ทั้งหลายโปรดจงรู้ไว้ว่า เป็นเพียงธรรมที่ข้าพเจ้าปฏิบัติแล้วพิจารณายได้อย่างปุถุชนเท่านั้น ยังไม่แจ้งแทงตลอดถูกต้องและตรงตามจริงตามที่พระพุทธศาสดาทรงตรัสสอน
    หากธรรมนี้เป็นจริงมีประโยชน์เหล่าใดทั้งปวงแก่ท่านที่แวะเยี่ยมชม ก็ขอให้ท่านทั้งหลายโปรดจงรู้ไว้ว่า พระธรรมคำสอนทั้งปวงของสมด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า พระบรมศาสดา ที่ได้ทรงตรัสสอนมานี้ประกอบไปด้วยคุณ หาประมาณมิได้ ใช้ได้กับทุกคน ทุกเพศ ทุกวัย ทุกจริตนิสัย สามารถพลิกแพลงให้เข้ากับจริตตนแล้วนำมาใช้งานได้อย่างง่ายแต่มีคุณประโยชน์สูง เห็นผลได้ไม่จำกัดกาล ดังนี้


อริยะสัจ ๔ กัมมัฏฐาน
เป็นกัมมัฏฐานโดยส่วนตัวของข้าพเจ้า เฟ้นเห็นตัวทุกข์ รู้เหตุแห่งทุกข์ที่ควรละ แจ้งชัดความดับทุกข์ ถึงทางดับทุกข์ แบบสาสวะ คือ สะสมเหตุ โดยส่วนตัวเท่านั้น

คือ แนวทางการเจริญ พระอริยะสัจ ๔ แบบสาสะ สะสมเหตุ เพื่อเข้าถึงความ ไม่มีใจครอง เบิกบานพ้นแล้วจากสมมติกิเลสของปลอม  มีจิตแจ่มใส มีใจเอื้อเฟื้อ เว้นจากความเบียดเบียน ไม่ติดใจข้องแวะโลก เป็นผล

- โดยการเจริญพระอริยะสัจ ๔ กรรมฐานนี้ กว้างมาก เพราะเป็นการใช้กรรมฐานทั้ง ๔๐ หรือกองใดกองหนึ่งตามจริต ตั้งเป็นฐานจิต ฐานสมาธิ เข้าสู่อารมณ์ญาณทัสนะ คือ ใช้กรรมฐานทุกกองเจริญเข้าในมหาสติปัฏฐาน ๔  กาย เวทนา จิต ธรรม ตั้งฐานรู้ชัด + สัมมัปปธาน ๔ + อิทธิบาท ๔

ยกตัวอย่างเช่น

๑. พุทโธ+ลม สะสมมัคสมังคี มรรคสามัคคีรวมกัน เห็นสมมติกาย เห็นสมมติใจ(เวทนา และจิต เข้าสู้ธัมมารมณ์) เฆ็นสมมติธรรม(เห็นขันธสันดารของจิต)

๒. เมตตา(อาจจะกำหนดตามลมหายใจ เพื่อไม่ซ่านออกนอก และคลุมอารมณ์กัมมัฏฐาน) สะสมมัคสมังคี มรรคสามัคคีรวมกัน เห็นสมมติกาย เห็นสมมติใจ(เวทนา และจิต เข้าสู้ธัมมารมณ์) เฆ็นสมมติธรรม(เห็นขันธสันดารของจิต)

พิจารณาเห็นทุกข์ เห็นเหตุแห่งทุกข์ แจ้งชัดความดับทุกข์ มรรครวมขึ้นโครตภูญาณ ทำโพชฌงค์ เข้าสังขารุเปกขา รอบ ๓ อาการ ๑๒ แห่งพระอริยะสัจ ๔ เกิดขึ้น มีปัญญาญาณเกิดขึ้นตัดสังโยชน์

หมายเหตุที่ ๑
- โดยส่วนตัวของข้าพเจ้า ที่ข้าพเจ้ามีใจน้อมทำอย่างนี้ เพื่ออบรมจิตสะสมเหตุใน ปฏิสัมภิทาญาณ และ ปารถนาพุทธภูมิ
- ความรู้นี้มันเกิดขึ้นเอง อาจเป็นแนวทางที่ผิด ไม่ถูกตรงตามจริง และข้าพเจ้าไม่รู้ธรรม จึงจำกัดเรียกเฉพาะทางที่ข้าพเจ้าใช้เจริญในกรรมฐานทั้ง ๔๐ และ ญาณทัสนะ ด้วยองค์ธรรมเพื่อเฟ้นเห็นตัวทุกข์ รู้เหตุแห่งทุกข์ที่ควรละ แจ้งชัดความดับทุกข์ ถึงทางดับทุกข์ ดังนี้ว่า อริยะสัจ ๔ กัมมัฏฐาน

หมายเหตุที่ ๒
- มหาสติปัฏฐาน ๔ เป็นกรรมฐานในญาณทัศนะ ที่เข้าได้กับทุกกรรมฐานทั้ง ๔๐ กอง ให้เป็นไปเพื่อ ญาณทัสนะ เพื่อโพชฌงค์ เพื่อวิมุตติ
- ทำไมพระป่าท่านสอนกายก่อน เพราะกายนี้เห็นง่ายสุด กายนี้คือที่ตั้งต้นแห่งเป็นสมาธิ เราอาศัยกายนี้อยู่ จับต้องได้ เห็นได้ สัมผัสได้ง่ายสุด เป็นฌาณ ๔ ใครรู้ลมหายใจก็รู้กายรู้ธาตุ ไม่รู้ลมก็ไม่รู้ธาตุ ม้างกายออกก็จะเห็นอนัตตา เห็นเวทนา เห็นจิตทันที จะอบรมจิตภาวนาได้ ดังความว่า..ทิ้งกายเห็นจิต ส่วนที่เรามามองกันว่าความรู้สึกนี้ๆ อาการนี้ๆ เพราะไม่มีสมาธิ ไม่อบรมสมาธิ ก็คือไม่อบรมกาย มันจะเห็นแต่ความคิดตัวเองเป็นส่วนใหญ่ เป็นเหตุให้หลงความคิดตัวเอง ไม่มีวิปัสนาเห็นแต่วิปัสนึก
- ดังนั้นผู้ที่กล่าวว่าพระป่าไม่เชี่ยวชาญขิต ข้อนี้ผิดมาก เพราะเชี่ยวชาญจึงรู้ทางรู้อุบาย และสอนได้ เพราะเชี่ยวชาญจิต ถึงบรรลุธรรมได้

** สมดั่งที่..องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า พระบรมศาสดา ตรัสกับ สัจจกนิครนต์ ว่า ดูกร! อัคคิเวสนะ! อบรมกายเธอยังไม่รู้จักเลย เธอจะรู้การอบรมจิตได้อย่างไร **

- สมดั่งคำ หลวงปู่บุญกู้ อนุวัฑฺฒโน ท่านสอนให้เห็นธาตุ ๖ เข้าธาตุวิภังค์ และสมดั่ง หลวงตาศิริ อินฺทสิริ ท่านสอนไว้ว่า หลงกายก็ม้างกายดู หลงใจก็ม้างกายดู การม้างกายก็ตือ กายานุปัสสนา การม้างใจก็คือ เวทนานุปัสสนา จิตตานุปัสสนา ลงธัมมานุปัสนา เป็นขันธ์ เห็นอนุสัยกิเลสอันนอนเเนื่องในจิต จิตทำรอบ ๓ อาการ ๑๒ ดั่งท่านว่าดังนี้..

หมายเหตุที่ ๓
- ความมีจิตแจ่มใจ (คือ ปราศจากกิเลสเครื่องเร่าร้อนหน่วงตรึงจิต คือ มีจิตเป็น พุทโธ แล้วนั่นเอง)
- มีใจเอื้อเฟื้อ (คือ มีใจเมตตา ทาน ถึง จาคะ)
- เว้นความความเบียดเบียน (คือ มีเจตนาเป็นศีล คือ ศีลลงใจ)
..เป็น สุจริต ๓ คือ มรรค เกิดขึ้นเมื่อมีอินทรีย์สังวรณ์บริบูรณ์
..ผลทั้งปวงเหล่านี้ย่อมเกิดแก่ผู้รู้ธรรมแท้ เจริญปฏิบัติมาดีแล้ว
(ไม่ได้หมายถึงตัวข้าพเจ้าถึงแล้วดังที่กล่าวมา เพียงแต่บันทึกทางธรรมนี้ไว้เท่านั้น)



Create Date : 05 มิถุนายน 2565
Last Update : 5 มิถุนายน 2565 14:53:49 น.
Counter : 83 Pageviews.

0 comments
ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
 *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

สมาชิกหมายเลข 1075032
Location :
  

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 4 คน [?]