เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับสัญญากู้ยืมเงิน




“การกู้ยืม” เป็นธุรกรรมในชีวิตประจำวันที่ชาวบ้านนิยมทำกันอย่างแพร่หลาย ถ้ากู้ยืมเงินกันทั่วไประหว่างบุคคลก็เรียกติดปากว่า “หนี้นอกระบบ” 
        เเต่เป็นตามกฎหมายบัญญัติไว้ว่า “การกู้ยืมเงิน” หมายถึงสัญญาอย่างหนึ่งซึ่งเกิดจากบุคคลใดบุคคลหนึ่งซึ่งเรียกว่า “ผู้กู้” มีความต้องการจะใช้เงิน เเต่ตนเองมีเงินไม่พอหรือไม่มีเงิน จึงไปขอกู้ยืมจากบุคคลอีกคนหนึ่งที่เรียกว่า “ผู้ให้กู้” เเละผู้กู้ตกลงจะใช้คืนภายในกำหนดเวลาใดเวลาหนึ่ง ซึ่งการกู้ยืมจะมีผลสมบูรณ์ก็ต่อเมื่อมีการส่งมอบเงินที่ให้ยืมให้แก่ผู้ยืมเท่านั้น โดยในการกู้ยืมนี้ผู้ให้กู้จะคิดดิกเบี้ยหรือไม่ก็ได้
        แน่นอนว่าเมื่อมีการกู้ยืมเกิดขึ้นก็จะมีหลักฐานเป็นลายลักษณ์อักษรนั่นก็คือ “สัญญากู้ยืม” นั่นเอง ซึ่งการทำสัญญากู้ก็มีประเด็นปลีกย่อยทางกฎหมายอีกหลายเรื่อง มาดูกันดีกว่าว่ามีเรื่องน่ารู้อะไรบ้าง จะไดเตรียมพร้อมไว้
        1.กรณีมีสัญญาที่คู่สัญญามีการกระทำหรือมีหน้าที่ต่อกัน คล้ายสัญญากู้ยืมเงินเเต่ไม่ใช่สัญญากู้ยืมเงิน จะไม่สามารถนำบทบัญญัติในเรื่องการกู้ยืมเงินไปใช้ได้ เช่น ยืมเงินทดรองสัญญาเล่นแชร์ เปียหวย ตัวแทนออกเงินทดรอง มอบเงินให้ไปดำเนินกิจการร่วมกัน สัญญาเบิกเงินเกินบัญชี และสัญญาบัตรเครดิต เป็นต้น
        2.การกรอกข้อความแก้ไขเปลี่ยนแปลงเพิ่มเติมในสัญญากู้ยืมเงิน หากทำต่างวาระจะทำให้ในทางกฎหมายมีผลแตกต่างกันดังนี้
        ✤ แก้ไขจำนวนเงินในขณะที่เขียนสัญญากู้ในกรณีที่มีการแก้ไขตัวเลขจำนวนเงินในขณะเขียนสัญญากู้ แม้ผู้กู้จะไม่ได้ลงชื่อกำหับก็ใช้ได้ เพราะถือว่าเป็นเจตนากู้ยืมกันครั้งเดียวตามจำนวนที่แก้ไขแล้วลงชื่อไว้ท้ายสัญญาแห่งเดียวก็พอ
        ✤ แก้ไขจำนวนเงินในสัญญากู้เดิมเมื่อมีการกู้ยืมเงินครั้งใหม่ หลังจากทำสัญญากู้จนเสร็จสมบูรณ์แล้ว ต่อมาผู้กู้ขอกู้เพิ่มเติม คู่กรณีไม่ทำสัญญาฉบับใหม่เเต่ใช้วิธีเปลี่ยนจำนวนเงินในสัญญาฉบับเก่า ถือว่าการกู้ครั้งใหม่ไม่มีหลักฐานเป็นหนังสือ ผู้กู้รับผิดเฉพาะเเต่การกู้ครั้งแรก
        ✤ แก้ไขจำนวนเงินในสัญญากู้ให้สูงขึ้นโดยผู้กู้ไม่ยินยอม เอกสารดังกล่าวถือเป็นเอกสารปลอม จำเลยไม่ต้องรับผิดตามสัญญากู้ปลอม
        3.กรณีกู้ยืมเงินเพียงครั้งเดียวแต่ผู้กู้ลงชื่อไว้ในสัญญากู้ 2 ฉบับ วัตถุประสงค์ต้องห้ามชัดแจ้ง โดยกฎหมายถือเป็นโมฆะ
        4.สัญญากู้ยืมเงินซึ่งไม่ได้ปิดอากรแสตมป์ในวันทำสัญญา หากเกิดการฟ้องร้องกันขึ้นในภายหลัง ผู้ให้กู้สามารถนำอากรแสตมป์มาปิดให้ครบถ้วนสัญญาในภายหลังได้
        5.การกู้ยืมโดยวิธีนำโฉนดที่ดินและหนังสือมอบอำนาจไปให้เจ้าหนี้ยึดถือไว้เป็นหลักฐานประกันเงินกู้ วิธีนี้แม้นิยมทำกันในผู้กู้ทั่วไป เพื่อช่วยให้ไม่ปรากฏหลักฐานหรือมีร่องรอยการกู้ยืมเงินของตนปรากฏให้คนอื่นทราบในหน้าสารบัญโฉนด แต่วิธีที่ไม่ควรทำอย่างยิ่ง เพราะเสี่ยงอันตรายเป็นอย่างยิ่งทั้งกับผู้ให้กู้เเละผู้กู้
        6.เรื่องของการค้ำประกันการกู้ยืมเงิน ปัจจุบันยังมีคนจำนวนมากไม่เข้าใจหรือรู่เท่าไม่ถึงการณ์ลงชื่อค้ำประกันหนี้ให้ผู้อื่น ซึ่งตามกฎหมายเเล้วการค้ำประกันก็คือการเข้าไปเป็นลูกหนี้ร่วมกับผู้กู้ยืม ถ้าหากผู้ให้กู้เรียกร้องหนี้ที่กู้ยืมกันไปกับผู้กู้ยืมไม่ได้ ผู้ค้ำประกันก็จะเป็นผู้รับผิดชอบและชดใช้หนี้จำนวนนั้นแทน
ที่มา : หนังสือรวยลัดกับธุรกิจขายฝาก-อนุชา กุลวิสุทธิ์




Create Date : 16 ตุลาคม 2561
Last Update : 16 ตุลาคม 2561 16:54:29 น.
Counter : 574 Pageviews.

0 comments
ชื่อ :
Comment :
 *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

สมาชิกหมายเลข 4741480
Location :
  

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed

 ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]



บ้านมือสอง คอนโดมือสอง
บ้านให้เช่า คอนโดให้เช่า
ลงประกาศขายบ้าน ประกาศขายบ้านฟรี



คำนวณสินเชื่อ (แบบง่าย)
คำนวณสินเชื่อ (กราฟ)
สินเชื่อที่เหมาะกับคุณ
อัตราหนี้สินต่อรายได้

ตุลาคม 2561

 
4
6
7
8
10
13
14
20
21
27
28
 
 
All Blog