ข้อเเนะนำเลือกสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัยและการรีไฟแนนซ์


    สมัยนี้มีสินเชื่อให้เลือกเยอะเเยะมากมาย หลายธนาคารต่างก็ออกโปรโมชั่นเด็ดๆ มามัดใจลูกค้า นอกจากสินเชื่อเเล้วยังเรื่องการรีไฟแนนซ์อีก จะรีไฟแนนซ์กับธนาคารเก่าหรือธนาคารใหม่ดี เริ่มปวดหัวเเล้ว! ถ้ายังไม่ตัดสินใจ หรือยังไม่มีเเนวทาง ลองมาดูข้อแนะนำของเรากันก่อน!

1.ค่าธรรมเนียมเรียกเก็บในการชำระเงินกู้คืนก่อนกำหนด 
        ตามข้อกำหนดของธนาคารแห่งประเทศไทยนั้น กำหนดให้สถาบันการเงินมีสิทธิเรียกเก็บค่าธรรมจากลูกค้ากรณีที่มีการคืนเงินกู้ก่อนกำหนดภายใน 3 ปี โดยให้เรียกเก็บค่าธรรมเนียมได้ไม่เกิน 2% ทำให้เงื่อนไขส่วนนี้ของเเต่ละที่เเตกต่างกัน 
        สำหรับผู้กู้ยืม หากค่าธรรมเนียมในส่วนนี้กำหนดไว้อัตราต่ำ หรือไม่เก็บเลย ก็จะมีความยืดหยุ่นในการรีไฟแนนซ์ เพื่อให้ต้นทุนเงินกู้ลดลงได้

2.อัตราดอกเบี้ย
        อัตราดอกเบี้ยเงินกู้ส่วนใหญ่มักอ้างอิงจากอัตราดอกเบี้ย MLR หรือ MRR ในความเข้าใจของคนทั่วไปมักคิดว่าทั้งสองตัวเท่ากันทุกธนาคาร เเต่ในความเป็นจริงอัตราดอกเบี้ยทั้งสองนั้นไม่เท่ากัน เช่น MLR-1.0% ไม่ได้ความว่าอัตราดอกเบี้ยที่คิดจะเท่ากันในแต่ละสถาบันการเงินเเต่อย่างใด อย่าง MLR สถาบันการเงิน A อาจเท่ากับ 6% เเต่สถาบันการเงิน B อาจเเค่ 5.5% ดังนั้นถ้าคิดตามเงื่อนไข MLR-1.0%  สถาบันการเงิน A 5% ส่วน B 4.5%

3.ค่าธรรมเนียมในการประเมินราคาหลักประกัน
        สถาบันการเงินแต่ละแห่งเรียกเก็บค่าธรรมเนียมในการประเมินราคาหลักประกันไม่เท่ากัน ดังนั้นที่ไหนเก็บน้อยก็เป็นทางเลือกที่จะช่วยประหยัดเงินของเราได้

4.การร่วมมือกับเจ้าของโครงการ
        ปัจจุบันสถาบันการเงินบางเเห่งร่วมมือกับเจ้าของโครงการต่างๆ ให้อัตราดอกเบี้ยราคาพิเศษถ้าซื้ออสังหาฯ จากโครงการนี้ ซึ่งเงื่อนไขนี้อาจนำมาพิจารณาประกอบการตัดสินใจเลือกซื้อบ้านเเต่ละโครงการด้วย

5.ค่าธรรมเนียมในการยื่นขอสินเชื่อ
        เเต่ละธนาคารต่างก็เรียกเก็บค่าธรรมเนียมจำนวนนี้แตกต่างกัน สำหรับข้อนี้ก็คือเลือกสถาบันที่คิดค่าธรรมเนียมในข้อนี้น้อยๆ นั่นเอง

6.ค่าประกันอัคคีภัย
        มักแตกต่างกันในเเต่ละสถาบันการเงิน ดังนั้นควรสอบถามให้เเน่นอน ชัดเจน 

7.วงเงินที่ธนาคารเเต่ละเเห่งให้กู้
        สำหรับวงเงินที่สถาบันการเงินเเต่ละแห่งให้กู้ก็จะแตกต่างกันไป รวมถึงเงื่อนไขระยะเวลาการกู้ยืม สถาบันที่ให้วงเงินค่อนข้างสูง เเละระยะเวลาการกู้ยืมที่ยาวนานกว่า จะทำให้ผู้กู้มีความยืดหยุ่นในการดำเนินการ 

8.การประเมินราคาหลักประกัน
        การประเมินราคาหลักประกันของสถาบันการเงินเเต่ละแห่งประเมินราคาสูงต่ำไม่เท่ากัน ซึ่งจะมีผลทำให้วงเงินให้กู้ยืมสูงต่ำไม่เท่ากัน เพราะวงเงินกู้ยืมผูกติดอยู่กับมูลค่าหลักประกัน

9.อัตราดอกเบี้ยที่สถาบันการเงินเสนอ

        มักมีหลายรูปแบบ เช่นแบบคงที่ ลอยตัว และผสมผสาน ส่วนแนวทางการเลือกอัตราดอกเบี้ยให้เหมาะสมคือ หากคิดว่าอัตราดอกเบี้ยในอนาคตมีแนวโน้มจะสูงขึ้น ควรจะเลือกแบบคงที่ให้ยาวที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ กลับกันถ้าอัตราดอกเบี้ยมีเเนวโน้มจะต่ำลง ก็ควรมาเปลี่ยนมาเลือกแบบลอยตัว หรือถ้าจะเลือกแบบคงที่ก็ให้สั้นที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้

10.เลือกกู้กับสถาบันที่มั่นคง
        เพราะการกู้ยืมเพื่ออยู่อาศัยหมายถึงการที่ท่านต้องผูกพันกับสถาบันการเงินในระยะยาว ถ้าหากสถาบันการเงินมีปัญหาในอนาคต อาจส่งผลกระทบต่อการกู้ยืมเเละต่อการถือครองหลักทรัพย์ได้

11.การทำรีไฟแนนซ์
        ไม่จำเป็นต้องทำกับสถาบันการเงินอื่นเสมอไป ยังสามารถรีไฟแนนซ์กับสถาบันการเงินเดิมได้ ซึ่งการดำเนินงานในลักษณะนี้จะช่วยลดค่าธรรมเนียมในการจดจำนอว 1% ของเงินกู้ได้

12.ในการรีไฟแนนซ์ต้องเเน่ใจเรื่องอัตราดอกเบี้ย
        ก่อนจะรีไฟแนนซ์ต้องเเน่ใจก่อนว่าอัตราดอกเบี้ยของสถาบันการเงินแห่งใหม่ต่ำกว่าการกู้เดิมจริงๆ ทั้งในระยะสั้นและในระยะยาวตลอดจนสิ้นสุดอายุสัญญา

ที่มา : หนังสือลงทุนในอสังหาฯ แบบมืออาชีพ - อนุชา กุลวิสุทธิ์





Create Date : 05 ตุลาคม 2561
Last Update : 5 ตุลาคม 2561 16:57:54 น.
Counter : 285 Pageviews.

0 comments
ชื่อ :
Comment :
 *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

สมาชิกหมายเลข 4741480
Location :
  

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed

 ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]



บ้านมือสอง คอนโดมือสอง
บ้านให้เช่า คอนโดให้เช่า
ลงประกาศขายบ้าน ประกาศขายบ้านฟรี



คำนวณสินเชื่อ (แบบง่าย)
คำนวณสินเชื่อ (กราฟ)
สินเชื่อที่เหมาะกับคุณ
อัตราหนี้สินต่อรายได้

ตุลาคม 2561

 
4
6
7
8
10
13
14
20
21
27
28
 
 
All Blog