ดาวน์โหลดโปรแกรม ดูละครย้อนหลัง อ่านเรื่องราวของความรู้รอบตัว วิทยาศาสตร์ ท่องเที่ยว สุขภาพ อาหาร รถยนต์ต่างๆ ไม่ทิ้งเรื่องราวความบันเทิงและเรื่องส่วนตัวอีกด้วย
Group Blog
 
<<
กรกฏาคม 2555
1234567
891011121314
15161718192021
22232425262728
293031 
 
26 กรกฏาคม 2555
 
All Blogs
 

เผยแพร่ผลงานทางวิชาการของ วันเพ็ญ พิมพา

ชื่อผลงาน
การพัฒนาแบบฝึกทักษะการแก้โจทย์ปัญหาการบวก ลบ คูณ หารระคน กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3

ผู้รายงาน
นางสาววันเพ็ญ พิมพา ตำแหน่ง ครู วิทยฐานะครูชำนาญการ

สถานศึกษา
โรงเรียนเทศบาลท่าอิฐ สังกัดกองการศึกษา เทศบาลเมืองอุตรดิตถ์

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อพัฒนาและหาประสิทธิภาพของแบบฝึกทักษะการแก้โจทย์ปัญหาการบวก ลบ คูณ หารระคน กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 (2) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียนด้วยแบบฝึกทักษะการแก้โจทย์ปัญหาการบวก ลบ คูณ หารระคน กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 (3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการใช้แบบฝึกทักษะการแก้โจทย์ปัญหาการบวก ลบ คูณ หารระคน กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3

กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้เป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3/7 โรงเรียนเทศบาลท่าอิฐ อำเภอเมือง จังหวัดอุตรดิตถ์ ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2554 จำนวน 31 คน ได้มาโดยใช้วิธีสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster Random Sampling) โดยใช้ห้องเรียนเป็นหน่วยในการสุ่ม

เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย 1) แบบฝึกทักษะการแก้โจทย์ปัญหาการบวก ลบ คูณ หารระคน จำนวน 5 ชุด 2) แผนการจัดการเรียนรู้เรื่องการแก้โจทย์ปัญหาการบวก ลบ คูณ หารระคน สาระที่ 1 จำนวนและการดำเนินการ จำนวน 5 แผน ใช้เวลาจัดการเรียนรู้ 20 ชั่วโมง 3) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียนและแบบทดสอบท้ายชุด 4) แบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการใช้แบบฝึกทักษะการแก้โจทย์ปัญหาการบวก ลบ คูณ หารระคน เก็บรวบรวมข้อมูลในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2554 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ( )
ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) และการทดสอบค่าทีแบบ Dependent group t-test

ผลการวิจัยพบว่า

1. แบบฝึกทักษะการแก้โจทย์ปัญหาการบวก ลบ คูณ หารระคน กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 มีประสิทธิภาพ 84.52/83.87 ซึ่งเป็นไปตามเกณฑ์ที่ตั้งไว้ 80/80

2. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนด้วยแบบฝึกทักษะการแก้โจทย์ปัญหาการบวก ลบ คูณ หารระคน กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

3. นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 มีความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนรู้โดยใช้แบบฝึกทักษะการแก้โจทย์ปัญหาการบวก ลบ คูณ หารระคน กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด




 

Create Date : 26 กรกฎาคม 2555
6 comments
Last Update : 26 กรกฎาคม 2555 9:43:04 น.
Counter : 1901 Pageviews.

 

เป็นผลงานที่สามารถนำไปใช้ได้จริง

 

โดย: ครูเทศบาล IP: 171.99.99.195 15 สิงหาคม 2555 0:33:40 น.  

 

เป็นผลงานที่สามารถนำไปพัฒนาผู้เรียนได้เป็นอย่างดี

 

โดย: สุดา ชัยพันธุ์ IP: 110.49.250.193 15 สิงหาคม 2555 10:26:25 น.  

 

เป็นผลงานที่สามารถนำไปพัฒนาผู้เรียนได้เป็นอย่างดี

 

โดย: สุดา ชัยพันธุ์ IP: 110.49.250.193 15 สิงหาคม 2555 10:28:05 น.  

 

เป็นผลงานที่เป็นประโยชน์ต่อผู้เรียน

 

โดย: ผู้ปกครอง IP: 182.53.215.50 16 สิงหาคม 2555 13:59:19 น.  

 

เป็นผลงานที่มีประโยชน์สำหรับนักเรียน

 

โดย: เพื่อนร่วมอาชีพ IP: 180.183.183.22 25 สิงหาคม 2555 17:44:05 น.  

 

เผยแพร่ผลงานทางวิชาการ

การวิจัยเรื่องรายงานผลการจัดกิจกรรมเสริมประสบการณ์ โดยใช้ ชุดปริศนาคำทาย เพื่อพัฒนาทักษะความสามารถทางภาษาของเด็กปฐมวัย ชั้นอนุบาลศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนเทศบาล 5 (วัดกลางวรวิหาร) เทศบาลนครสมุทรปราการ มีวัตถุประสงค์ของการวิจัยครั้งนี้เพื่อสร้างและหาประสิทธิภาพของชุดปริศนา คำทายสำหรับเด็กปฐมวัยชั้นอนุบาลปีที่ 1 มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80และเพื่อเปรียบเทียบความสามารถทางภาษาของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมเสริมประสบการณ์โดยใช้ชุดปริศนาคำทายก่อนและหลังการจัดกิจกรรม ประชากรที่ใช้ในในการวิจัยในครั้งนี้ ได้แก่ นักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 1 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2553 โรงเรียนเทศบาล 5 (วัดกลางวรวิหาร) เทศบาลนครสมุทรปราการ จังหวัดสมุทรปราการ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยในครั้งนี้ ได้แก่ นักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 1/1 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2553 โรงเรียนเทศบาล 5 (วัดกลางวรวิหาร) เทศบาลนครสมุทรปราการ จังหวัดสมุทรปราการ มีจำนวนทั้งหมด 29 คน นักเรียนชาย 15 คน นักเรียนหญิง 14 คน ซึ่งได้มาโดยวิธีสุ่มแบบกลุ่ม แบบจับสลากเนื้อหาที่นำมาใช้ในการทดลองเป็นเนื้อหาเกี่ยวกับการจัดประสบการณ์ที่ส่งเสริมพัฒนาการด้านสติปัญญา ของนักเรียนระดับอนุบาล เรื่องการใช้ภาษา ตามหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พุทธศักราช 2546 จำนวน 10 สัปดาห์ นำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์ข้อมูลหาประสิทธิภาพของ ชุดปริศนาคำทาย ชั้นอนุบาลปีที่1ตามเกณฑ์มาตรฐาน80/80ใช้ค่า E1//E2 และเปรียบเทียบความสามารถทางภาษา โดยวิธีการหาค่าสถิติวิเคราะห์คือ ค่าเฉลี่ย(Mean) ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) ค่าเฉลี่ยร้อยละ และค่าทดสอบการประเมินผลก่อนเรียนและหลังเรียน และทดสอบด้วยค่า t – test (t-dependent) ผลการวิจัย พบว่า


จากการวิเคราะห์ข้อมูล สามารถสรุปผลการวิจัยได้ดังนี้
1. ผลการสร้างและพัฒนาประสิทธิภาพ ชุดปริศนาคำทาย ชั้นอนุบาลปีที่ 1โรงเรียนเทศบาล 5 (วัดกลางวรวิหาร) เทศบาลนครสมุทรปราการ จังหวัดสมุทรปราการ มีประสิทธิภาพเท่ากับ 81.95/82.76 สูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด 80/80
2. ความสามารถทางภาษาของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมเสริมประสบการณ์ โดยใช้ชุดปริศนาคำทายก่อนและหลังการจัดกิจกรรม มีความสามารถทางภาษาของนักเรียนหลังการใช้ชุดปริศนาคำทายสูงขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01

 

โดย: นางธีรนันท์ จันทรวงศ์ IP: 58.9.170.134 5 กันยายน 2555 20:32:59 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 


scimovie
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 108 คน [?]




แหล่งรวบรวมความรู้ โปรแกรม เพลง หนัง เกมส์ วิทยาศาสตร์ ดูละคร เรื่องย่อ ภาพยนตร์ การเงิน และอื่นๆ อีกมากมาย สุดท้ายขอกำลังใจให้มีแรงอัพเดทตลอดๆ ครับ ขอบคุณทุกท่านที่เข้ามาเยี่ยมเยียนกันครับ
Friends' blogs
[Add scimovie's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.